กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: ..มารู้จักเขมราฐกันค่ะ..

  1. #1
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946

    ..มารู้จักเขมราฐกันค่ะ..

    อำเภอเขมราฐเดิมมีฐานะเป็นเมือง และเป็นเมืองที่มี

    บทบาทสำคัญต่อเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคนี้พอสมควรเพราะเป็นเมืองที่เทียบได้กับหัวเมือง

    เอก ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มิได้ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานีเช่นเมืองอื่นๆ นอกจาก

    นั้นเมืองเขมราฐยังมีเมืองขึ้นอีกหลายเมือง เช่น เมืองอำนาจเจริญ เมืองคำเขื่อน

    แก้ว เป็นต้น

    สำหรับการตั้งเมืองเขมราฐ ปรากฏเอกสารที่เป็นหลักฐานว่าใน

    พ.ศ. 2357 ซึ่งเป็นปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า

    ตั้งเมืองยโสธรขึ้น อุปฮาด (ก่ำ) ซึ่งเป็นอุปฮาดเมืองอุบลราชธานี ไม่พอใจที่ทำ

    ราชการกับพระพรหมราชวงศา (ท้าวทิศพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 จึง

    อพยพไพล่พลไปหาทำเลที่เหมาะสมตั้งเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการสนองพระบรม ราโช

    บายในการตั้งเมืองขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลานั้นๆ ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ

    หล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโศกกงพะเนียง ขึ้นเป็นเมืองเขมรา

    ฐธานีขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2357 พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้

    อุปฮาด (ก่ำ) เป็นพระเจ้าเทพวงศาเมือง

    ตลอดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองเขมราฐมีความสำคัญ และ

    ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครตลอดมา ครั้นถึง พ.ศ. 2371 เมื่อเสร็จสิ้นสงคราม

    ปราบกบฏเจ้าอนุแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้เมือง

    โขงเจียม ซึ่งเคยขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองจำปาสัก มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ เป็นผลให้

    เมืองเขมราฐมีบทบาทมากขึ้น เมื่อโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองคำเขื่อนแก้วในปี พ.ศ.

    2388 เมืองอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2401 ก็โปรดเกล้าให้ขึ้นตรงต่อเมือง

    เขมราฐเช่นกัน

    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการปรับ

    ปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ เพื่อให้บังเกิดผลตามที่กำหนดใน “ พระราช

    บัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ” มณฑลอีสานถูกแบ่งออกเป็น 8

    บริเวณ สำหรับเมืองอุบลราชธานีที่อยู่ 3 เมือง คือเมืองอุบลราชธานี เมืองเขมรา

    ฐ และเมืองยโสธร แต่ละเมืองมีพื้นที่ขึ้นตรงหลายอำเภอดังที่ปรากฏว่าในปี พ.ศ.

    2445 เมืองเขมราฐมีพระเขมรัฐเดชธนีรักษ์ (คำบุ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง และมี

    อำนาจอยู่ในปกครอง 6 อำเภอ คือ อำเภออุทัยเขมราฐ อำเภอประจิมเขมราฐ

    อำเภออำนาจเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอโขงเจียม และอำเภอวารินชำราบ

    อันแสดงให้เห็นว่าเมืองเขมราฐ ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก

    ต่อมาใน พ.ศ. 2452 ได้มีการปรับปรุงการปกครองภายใน

    บริเวณเมืองอุบลราชธานีอีก ครั้งหนึ่ง เมืองเขมราฐถูกลดฐานะเป็นอำเภอ

    และรวมอำเภออุทัยเขมราฐ และอำเภอประจิมเขมราฐ เข้าด้วยกันเป็นอำเภออุทัย

    เขมราฐขึ้นกับเมืองยโสธร แต่ก็ยังเป็นบริเวณอุบลราชธานีอยู่เหมือนเดิม

    ในราชการพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการแยก

    มณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี กับ

    มณฑลร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2455 และมีการปรับปรุงให้เหมาะสม

    เมืองยโสธรถูกยกเลิกไป เมืองอุทัยเขมราฐก็มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัด

    อุบลราชธานีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านกง

    พะเนียง ขึ้นเป็นเมืองชื่อ “ เมืองเขมราษฎร์ธานี ” ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร

    พร้อมกันนั้นได้ตั้งให้อุปฮาด (ก่ำ) เป็นเจ้าเมืองคนแรกในปี พ.ศ. 2357 แม้ว่า

    เมืองเขมราษฎร์ธานี จะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองเขมราฐในภายหลัง แต่ก็มีความหมายเดียว

    กันคือ “ ดินแดนแห่งความเกษมสุข ” (ราษฎร์) เป็นคำที่มาจากภาษาลีสันสกฤตมี

    ความหมายตรงกับ “รัฐ” หรือ “รัฏฐ” ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง แว่น

    แคว้น หรือดินแดนนั้นเอง ส่วน “เขม” เป็นคำมาจากภาษาบาลี หมายถึง ความ

    เกษมสุข ซึ่งหมายความตรงกับ เกษม ที่มาจากภาษาสันสกฤต)

    เมืองเขมราฐเปลี่ยนมาเป็นอำเภอเขมราฐ ขึ้นกับจังหวัด

    อุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2452 โดยมีพระเกษมสำราญรัฐ เป็นนายอำเภอคน

    แรก อำเภอเขมราฐ ได้แบ่งเขตการปกครองแยกเป็นอำเภอต่างๆ ดังต่อไปนี้

    1. อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อปี พ.ศ.2511
    2. อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2525
    3. อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2537
    ปัจจุบันมี นายศุภโชค เกษมพงษ์ เป็นนายอำเภอเขมราฐ ลำดับที่ 42 โดยได้รับ

    การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

    1. ข้อมูลทั่วไปอำเภอเขมราฐ

    อำเภอเขมราฐ เป็นอำเภอชั้น 2 และเป็นอำเภอชายแดน อยู่ในเขตการ

    ปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี มีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด

    ระยะห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 105 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะ

    ทางประมาณ 750 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 123 หมู่บ้าน มี

    ประชากร จำนวน 77,599 คน แยกเป็นชาย 39,111 คน และหญิง 38,488

    คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 85

    2. อาณาเขตและพื้นที่

    อำเภอเขมราฐ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 526.75 ตาราง

    กิโลเมตรและมีอาณาเขต ดังนี้

    ทิศเหนือ จดแนวฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณตรงข้ามเมืองสองคอนแขวงสะหวันเขต ประเทศ

    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นแนวยาวตามลำน้ำโขง


    ทิศตะวันออก จดแนวฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณตรงข้ามเมืองคอนพะเพ็ง แขวงสาละ

    วัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และอำเภอนาตาล

    จังหวัดอุบลราชธานี

    ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาตาล และอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัด

    อุบลราชธานี

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

    3. ลักษณะภูมิประเทศ

    อำเภอเขมราฐ มีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับ

    เนินเขา ลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และมีสภาพเป็นดินเหนียวตาไหล่เขา มีป่าไม้

    เบญจพรรณอยู่ทั่วไปเป็นลักษณะป่าโปร่ง มีแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวชายแดน

    ด้านทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกตลอดแนวประมาณ 43 กิโลเมตร

    4. การปกครองท้องที่

    อำเภอเขมราฐ แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 9 ตำบล 123 หมู่บ้าน คือ

    4.1 ตำบลเขมราฐ 22 หมู่บ้าน

    4.2 ตำบลขามป้อม 17 หมู่บ้าน

    4.3 ตำบลหัวนา 15 หมู่บ้าน

    4.4 ตำบลหนองผือ 14 หมู่บ้าน :l-4.5 ตำบลนาแวง 13 หมู่บ้าน


    4.6 ตำบลหนองนกทา 13 หมู่บ้าน

    4.7 ตำบลแก้งเหนือ 10 หมู่บ้าน

    4.8 ตำบลหนองสิม 10 หมู่บ้าน

    4.9 ตำบลเจียด 9 หมู่บ้าน

    5. การปกครองท้องถิ่น

    อำเภอเขมราฐ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จำนวน 10 แห่ง

    แยกเป็นเทศบาลตำบล 5 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง คือ
    1. เทศบาลตำบลเขมราฐ

    2. เทศบาลตำบลเทพวงศา

    3. เทศบาลตำบลขามป้อม

    4. เทศบาลตำบลหนองผือ:l-

    5. เทศบาลตำบลหัวนา

    6. องค์การบริหารส่วนตำบลเจียด

    7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสิม

    8. องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งเหนือ

    9. องค์การบริหารส่วนตำบลนาแวง

    10. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนกทา

    6. ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธนาคาร/

    ธนาคารพาณิชย์ และสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 41 แห่ง

    ที่ว่าการอำเภอเขมราฐ ตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 63 ไร่ 1 งาน 10

    ตารางวา
    (หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ 1494 ออกให้ ณ วันที่ 9 เมษายน 2540)


    ขอบคุณ www.ubu.ac.th

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ตำนานเมืองเขมราฐ เก่าแก่เนาะบ่น่าถืกลดเป็นแค่อำเภอเลย

    ขอบใจน้องหลินเด้อจ้าที่หาข้อมูลเมือง"เขมราฐ"มาให้ได้ฮู้จัก

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    เป็นหยัง ตำบลหนองผือ 14 หมู่บ้าน และ เทศบาลตำบลหนองผือ คือเป็นสีแดง


    แสดงว่า ตำบลหนองผือ เป็นคอมมิวนิสต์ กรี๊ดดดดดดดดดด ย่านๆๆๆๆๆๆๆๆ เอิ้กๆ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ปั้ม อาภัพ
    วันที่สมัคร
    May 2010
    กระทู้
    359
    แล้วน้องหลินเขมราฐ นี่ขึ้นตรงกับไผคับ 55

  5. #5
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    อยากฮู้จักแต่น้องหลิน (เขมราฐ) ล่ะจ้า อยากมายามบ้านนำแมะ อิอิ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •