กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: โสกราตีส กับ บททดสอบกลั่นกรองสามชั้น

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    โสกราตีส กับ บททดสอบกลั่นกรองสามชั้น


    โสกราตีส กับ บททดสอบกลั่นกรองสามชั้น





    โสกราตีส - Socrates



    โสกราตีส (4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล - 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล)

    (อักษรกรีกΣωκράτης; อักษรละติน: Socrates)

    เป็นนักปราชญ์กรีกและเป็นชาวเมืองเอเธนส์

    ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก


    (Socrates ( กรีก : Σωκράτης, กรีกโบราณออกเสียง : [sɔkratɛːː s] , Sōkrátēs; c. 469 BC - 399 BC, ออกเสียง / sɒkrətiː z / ในภาษาอังกฤษ) )




    โสกราตีส กับ บททดสอบกลั่นกรองสามชั้น




    โสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไรคงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของบุคคลอย่าง อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato)อริสโตฟานเนส (Aristophanes) หรือ ซีโนฟอน(Xenophon)

    นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้อย่างแน่นอน


    โสกราตีส มีบิดาชื่อ โสโฟรนิกัส (Sophronicus) และ มารดาชื่อ แฟนาเรต (Phaenarete)



    โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง 3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้ เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้ โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่พลาโตได้กล่าวว่า โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิ
    ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา

    โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียงศิลปิน และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์

    อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน"ซิมโพเซียม"ว่า โสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง

    ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่นเอลซีไบเดส (Alcibiades)


    โสกราตีส กับ บททดสอบกลั่นกรองสามชั้น




    การไต่สวนและเสียชีวิต



    โสกราตีสใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลียนแปลงในอาณาจักรเอเธนส์ จากจุดสูงสุดของอาณาจักรเอเธนส์ถึงยุคเสื่อมภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับกรุงสปาร์ตา (Sparta)


    มีบุคคลสามคนสำคัญที่ยุให้ศาลสาธารณะของกรุงเอเธนส์ไต่สวน


    โสกราตีส โดนข้อกล่าวหาว่า โสกราตีสเป็นผู้ที่สร้างความเสื่อมศรัทธาในศาสนา และเยาวชนในกรุงเอเธนส์ เรื่องราวทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ เมื่อนึกถึงสถานการณ์ในเมืองเอเธนส์ภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับสปาร์ตานั้น ชาวเมืองเอเธนส์ ผู้ยังเชื่อถือในเทพเจ้าผู้ปกป้องเมืองต่างๆ มองว่าการพ่ายแพ้ของเอเธนส์เป็นเพราะเทพเจ้าเอเธนา (Athena) ผู้เป็นเทพปกครองเมืองเอเธนส์นั้นประสงค์จะลงโทษเมืองเอเธนส์เพราะผู้คนในเมืองเสื่อมศรัทธาในศาสนา


    การที่โสกราตีสตั้งคำถามและสนทนาเกี่ยวกับปรัชญาจึงเท่ากับเป็นการทรยศชาติ การไต่สวนตัดสินว่าโสกราตีสมีความผิด เขาถูกประหาร โดยการดื่มยาพิษ
    คณะผู้ปกครอง Oracle ที่ Delphiได้กล่าวหาเขาว่า เขาผิดปกติจากบุคคลธรรมดา


    โสกราติส เชื่อว่าสิ่งที่ Oracle ได้กล่าวว่าว่าโสกราติสเป็นบุคคลที่ผิดธรรมดา
    เพราะว่าโสกราติส เชื่อว่าตัวเขาไม่บ้าและทดสอบข้อกล่าวหา จากชาย ที่ถือว่าผู้ชายถือว่าฉลาดที่สุดในเอเธนส์ ซึ่งได้แก่ statesmen, กวี, และช่างฝีมือในเพื่อที่จะลบล้างคำวินิจฉัยของ ออราเคิล ได้อย่างดีที่สุด

    “Socrates สรุปได้ว่าในขณะที่แต่ละคนคิดว่าเขารู้มากและได้ฉลาดในความเป็นจริงพวกเขารู้เรื่องน้อยมากและไม่ฉลาดเลย”


    Socrates ได้สร้างความตระหนักว่า สิ่งที่ Oracle ที่คิดว่าตัวเองถูกต้องและคนฉลาด ความจริงแล้ว ออราเคิล ไม่ฉลาดเลย ความไม่รู้ของตัวเอง และมีภูมิปัญญาขัดแย้ง


    เมื่อ Socrates ถูก พิพากษาต่อมาไปสู่ความตายโดยการดื่มเครื่องดื่มผสม ที่มี พิษพืชที่มีพิษชนิดหนึ่ง


    เขามีโอกาสหนีออกไปได้ โดยXenophon, Plato ตั้งใจให้การป้องกันต่อต้านการตัดสินครั้งนี้โดยการติดสินบนยาม

    แต่ Socrates ยอมรับว่ามีโอกาสที่จะหลบหนี แต่เขายินดีที่จะตาย เพราะ



    1 Socrates เชื่อไม่มีนักปรัชญาที่แท้จริงได้ความกลัวของการเสียชีวิต

    2 ถ้า Socrates หนีไปเอเธนส์แล้ว การเรียนการสอนของเขาจะไม่ดีขึ้น การเผยแพร่คำสอนของเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับ

    3 Socrates มีเจตนาตกลงที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายของเมืองนี้ Socrates ก็ต้องบังคับโดยปริยายด้วยตัวเองและความเป็นไปได้ที่จะถูกกล่าวหาว่าการก่ออาชญากรรม และการตัดสินโดยคณะลูกขุนของเมืองว่า Socrates ผู้กระทำผิด เพราะถ้า Socratesหนีไปแล้วอาจทำลาย " สัญญาประชาคม " กับรัฐและอื่น ๆ เป็นอันตรายต่อรัฐ, การกระทำที่ขัดกับหลักการ ของ Socratic



    วิธี Socratic หรือ elenchus


    ยังคงเป็นเครื่องมือที่ใช้กันทั่วไปในวงกว้างของการอภิปรายและเป็นประเภทของ การเรียนการสอน ซึ่งชุดคำถามที่ไม่เพียงแต่จะต้องคิดหาคำตอบของแต่ละคน แต่ยังเพื่อส่งเสริมให้มีความเข้าใจพื้นฐาน


    ซึ่งวิธีคิดของโสกราตีส ผ่านเพลโต นั้นเป็นส่วนสำคัญในด้านของการ
    ญาณวิทยาและ ตรรกะ


    และแนวคิดที่มีอิทธิพลและความคิดของเขายังคงแข็งแกร่งในการให้บริการพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกมากที่สุด





    บททดสอบกลั่นกรองสามชั้นของโซเครติส The triple filter of Socrates



    วันหนึ่งมีคนรู้จักบังเอิญพบกับนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้และพูดขึ้นว่า..

    "คุณรู้อะไรไม๊? ผมได้ยินเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนของคุณมาเรื่องหนึ่ง"



    "ช้าก่อน..." โสเครติสตอบ

    "ก่อนที่ท่านจะบอกข้า ข้าอยากที่จะให้ท่านผ่านการทดสอบสักเล็กน้อย ข้าจะเรียกมันว่าบททดสอบกลั่นกรองสามชั้น"


    "กลั่นกรองสามชั้น?"

    "ถูกต้องแล้ว" โสเครติสกล่าวต่อไป


    "ก่อนที่ท่านจะเล่าให้ข้าฟังเกี่ยวกับเรื่องของเพื่อนของข้า มันอาจจะเป็นการดี ที่จะใช้เวลาสักเล็กน้อยและการกลั่นกรองเรื่องที่ท่านจะพูด และนั่นคือสาเหตุว่าทำไม ข้าจึงเรียกมันว่า บททดสอบตัวกลั่นกรองสามชั้น ตัวกลั่นกรองแรก คือ "ความจริง" ท่านแน่ใจจริงๆ หรือว่าสิ่งที่ท่านกำลังจะบอกข้านั้นเป็นเรื่องจริง?"


    "เปล่าหรอก..." ชายผู้นั้นตอบ


    "อันที่จริง ข้าก็แค่ได้ยินเรื่องนี้มาเท่านั้นเอง แล้วก็..."



    "เอาเถอะ เอาเถอะ ไม่เป็นไร" โสเครติสกล่าว

    "ถ้าเช่นนั้น ท่านก็ไม่รู้ว่าเรื่องที่ท่านรู้มาจริง หรือ เท็จ คราวนี้มาลองทดสอบตัวกลั่นกรองตัวที่สองกันดู ตัวกลั่นกรองที่สอง คือ "ความดี"


    เรื่องที่ท่านกำลังจะบอกข้าเกี่ยวกับเพื่อนของท่านเป็นเรื่องดี หรือไม่?"


    "ไม่เป็นเรื่องตรงกันข้าม..."


    "ถ้าเช่นนั้น" โสเครติส กล่าวต่อ "ท่านต้องการบอกข้าเกี่ยวกับเรื่องไม่ดีของเขา แต่ท่านไม่แน่ใจว่า มันเป็น เรื่องจริงหรือไม่... ไม่เป็นไรยังไงเสีย ท่านอาจจะผ่านการทดสอบนี้ก็ได้ เพราะยังเหลือตัวกลั่นกรองอีกหนึ่ง : ตัวกลั่นกรองสุดท้ายนี้คือ



    "ความมีประโยชน์" ท่านคิดว่าเรื่องที่ท่าน กำลังจะบอกข้าเกี่ยวกับเพื่อนของข้านั้น จะเป็นประโยชน์อะไรกับข้าหรือไม่?"



    "ไม่รู้สิท่าน...คงจะไม่"


    "อื่มมม" โสเครติสสรุป "ถ้าเรื่องที่ท่านจะบอกข้านั้น ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องดี และ ไม่มีประโยชน์ เหตุใดท่านจึงอยากบอกข้าเล่า?"


    และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้โสเครติสเป็นมหาปราชญ์ และ ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง...




    สรุปว่าตัวกลั่นกรอง 3 ชั้น ที่ควรรับฟัง ก็คือ



    1 ความจริง

    2 ความดี

    3 มีประโยชน์


    ถ้าขาดทั้ง 3 สิ่งนี้ไป คนที่รับฟัง ก็ไม่ควรจะรับฟัง







    ขอบคุณ
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    เว็บครูนอกกะลา









    ………………………………………………………................................................






    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ ลุนนี ศรีเกษ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ศรีสะเกษ กรุงเทพ จอมเทียนชลบุรี
    กระทู้
    789
    บล็อก
    1
    จริง ดี มีประโยชน์ มันยอดมาก ข้าน้อยขอคารวะ โสคราตีสคันเอาหลักธรรมะมาจับ มันกะอันเดียวกันนั้นหละแสดงว่าแก่นแท้ของความจริง ไผสิเว่า ยุไส มื้อได๋ ความจริงกะคือกันคือเก่า
    แม่นบ่อ ข้อยเว่าแม่นบ่อ

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ คมคาย ครบุรี
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    418
    1 ความจริง

    2 ความดี

    3 มีประโยชน์


    ถ้าขาดทั้ง 3 สิ่งนี้ไป คนที่รับฟัง ก็ไม่ควรจะรับฟัง


    ทุกคนหากมีสามอย่างนี้อยู่ในตัวแล้ว โลกนี้สดใสแน่ครับ

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    ขอบคุณครับเอื้อยครูเล็ก...
    พระพทุธเจ้ากะสอนในลักษณะเดียวกันสอดคล้องกับ Triple filter เช่นกันแต่ละเอียดกว่า

    เรื่องบ่จริง บ่ถืกต้อง บ่เกิดประโยชน์ เว่าไปแล้วผู้ฟังบ่มัก = บ่ควรเว่า
    เรื่องจริง ถืกต้อง, บ่เกิดประโยชน์ เว่าไปแล้วผู้ฟังบ่มัก = บ่ควรเว่า
    เรื่องจริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, แต่หากเว่าไปแล้วคนฟังอาจบ่ชอบใจ = เลือกเวลาเว่า เรื่องบ่จริง บ่ถืกต้อง บ่เกิดประโยชน์ ถึงเว่าไปแล้วคนฟังจะชอบฟัง = ก็บ่ควรเว่าไป
    เรื่องจริง บ่ถืกต้อง, บ่เป็นประโยชน์, ถึงอาจเป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง - บ่เว่า
    เรื่องจริง ถูกต้อง, แต่บ่เป็นประโยชน์, ถึงอาจเป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง - เลือกเวลาเว่า

    จะเห็นว่าการเว่าหยังออกไปต้องระวังอย่างมาก คล้ายกันทั้ง ปรัชญา ของ โสเครตีส และ พระพุทธเจ้าเนาะครับ...

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •