กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ตำนานบ้านหมากแข้ง

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ
    สัญลักษณ์ของ ฅนภูค่าว
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    นครโคราช บ้านเกิดกาฬสินธุ์
    กระทู้
    1,206

    ตำนานบ้านหมากแข้ง

    ตำนานบ้านหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี เดิมมีชื่อเรียกว่า “บ้านหมากแข้ง” เป็นหมู่บ้านร้างมานาน และหมู่บ้านนี้ก็มีต้นหมากแข้ง หรือมะเขือพวงต้นใหญ่อยู่หนึ่งต้น ขนาดเส่นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซม. และหมู่บ้านแห่งนี้ก็มีตำนานเล่าขานมาว่า

    ตำนานบ้านหมากแข้ง

    วังของ”กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” ตั้งอยู่ที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบัน หันหน้าทางทิศเหนือ หน้าวังด้านซ้ายมือมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ้งปัจจุบันจังหวัดอุดรธานี ได้อนุรักษ์เอาไว้ ด้านตรงข้ามของวัง “เสด็จในกรม” มีวัดอยู่วัดหนึ่ง ชื่อว่า “วัดเก่า” ต่อมาจึงตั้งชื่อว่า “วัดมัชฌิมาวาส” บริเวณวัดมีลักษณะเป็นโนน ชาวบ้านเรียกว่า “โนนหมากแข้ง” มีเจดีย์ศิลาแลง สัณฐานคล้ายกรงนกเขา ตั้งอยู่บนโนนแห่งนั้น เป็นเจดีย์ คล่อมตอหมากแข้งใหญ่เอาไว้

    ตำนานยังกล่าวไว้ว่า สถานที่แห่งนี้เคยมีต้นหมากแข้งขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง เจ้ามหาชีวิตแห่งล้านช้างร่มขาว ได้ให้ทหารมาโค่นไปทำกลองใหญ่ได้ถึง 3 ใบ เจ้ามหาชีวิตให้เก็บกลอง 1 ใบไว้เพื่อใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุ เมื่อมีศัตรูมารุกรานราวีที่เมืองศรีสัตนาคนหุต เวียงจันทร์ กลองใหญ่ใบที่สอง ได้สั่งให้ น้ำไปไว้ที่เมืองหลวงพระบาง ส่วนใบที่สามนั้นมีขนาดเล็กกว่าสองใบแรก เจ้ามหาชีวิตแห่งอณาจักรล้านช้างให้ทหารนำไปไว้ที่วัดเก่าตั้งอยู่ริมหนองบัวมีชื่อเรียกว่า “วัดหนองบัว” เมื่อได้กลองมาจาก “เจ้ามหาชีวิตแห่งลาว” แล้วจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดหนองบัวกลอง” เมื่อกลองหายไป ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “วัดหนองบัว” ตามเดิม แต่ปัจจุบันได้ตั่งชื่อว่า “วัดอาจสุรวิหาร”

    มีตำนานเล่าแยกแยะออกมาอีกว่า สาเหตุที่ “เจ้ามหาชีวิตแห่งลาว” ได้ให้เก็บกลองใบแรกไว้เพื่อให้ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุเมื่อมีศัตรูมารุกรานราวีที่นครเวียงจันทร์นั้น เพราะกลองใบนี้เมื่อตีแล้วจะมีเสียงดังมาก และดังไปจนถึงเมืองบาดาล เป็นสัญญาณให้ ”พญานาค” นำไพร่พลขึ้นมาช่วยรบจนข้าศึกพ่ายแพ้ทุกครั้ง กลองใหญ่ใบนี้ชาวลาวหวงแหนมาก ต้องจัดทหารเข้าเวรยามรักษาอย่างเข้มแข็ง ไม่ยอมให้ผู้คนเข้าไปใกล้เพราะเกรงว่าจะถูกขโมยไป


    ตำนานบ้านหมากแข้ง

    ต่อมาก็ได้มีคนปัญญาดี เกิดขึ้นในแผ่นดินสยาม นามว่า “เซียงเมี่ยง” ตามตำนานนิทานพื้นบ้าน ของอีสาน หรือ “ศรีธนญชัย” คนปัญญาไวแห่งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง เมื่อกองทัพไทยยกพลไปตีเมืองเวียงจันทร์ ก็พ่ายแพ้ทุกครั้งเพราะนาคขึ้นมาช่วย “เซียงเมื่ยง” คนปัญญาดีจึงได้อาสาไปหลอกให้เจ้ามหาชีวิตเอากลองไปทำลาย ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองจะเกิดเหตุเพทภัยร้าย เจ้าลาวหลงเชื่อสั่งให้ทหารนำเอากลองไปทำลายทิ้ง จากนั้น “เซียงเมี่ยง” จึงได้ส่งสัญญานให้กองทัพเข้าตีเมืองและยึดใด้ในที่สุด เมื่อยึดได้แล้ว “เซียงเมี่ยง” จึงได้ ช่างฝีมือดีจัดการปิดรูพญานาคเอาไว้ และสถานที่ตรงนั้นก็คือ “พระธาตุหลวง” ที่ก่อสร้างด้วยศิลปกรรมล้านช้างอันงดงามในปัจจุบัน

    ครับ หันมาว่าเรื่อง “ต้นหมากแข้ง” ใหญ่ กันต่อไป เมื่อถูกตัดไปแล้วก็คงเหลือแต่ตอ จะใหญ่หรือไม่ขนาดพระภิกษุ 8 รูปขึ้นนั่งฉันจังหันได้อย่างสบาย นี้คือการเล่าสืบทอดต่อกันมา แต่ผู้เขียนคิดว่าพระภิกษุ 8 รูป คงไม่ได้ขึ้นนั่งฉันอาหารอยู่บนตอหมากแข้งหรอก คงนั่งล้อมวงฉันจังหันรอบตอหมากแข้งกระมัง

    ต้นหมาแข้ง จะโตขนาดใหน ก็ลองหันไปฟังท่านเจ้าคุณปู่ พระเทพวิสุธาจารย์ (บุญ ปุญสิริมหาเถร) หรือ “หลวงปู่ดีเนอะ” เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เคยพูดไว้ว่า

    ที่โนนมากแข้งแห่งนี้ มีต้นหมากแข้งขนาดเล็กอยู่มากมาย แต่มีต้นใหญ่เท่าต้นมะพร้าวอยู่ต้นหนึ่งแต่ต้นไม่สูง เป็นพุ่มกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไป ประมาณ ปี พ.ศ.2442 ก็มีแพะซึ้งเป็นสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมาก ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ผู้ปกครองมณฑลลาวพวน อุดรธานี เข้าไปกัดกินกิ่งก้านต้นหมาก แข้งจนตายและสุญพันธุ์ไป หลวงปู่เนอะเข้าใจว่า ต้นหมากแข้งต้นนี้คงเป็นลูกหลานของต้นหมากแข้ง ที่เจ้ามหาชีวิตแห่งอาณาจักรล้านช้างร่มขาว ตัดเอาไปทำกลองเพลก็ได้ ส่วนเจดีย์ศิลาแลงนั้นตั้งอยู่ตรงกลางพระอุโบสถในปัจจุบัน



    เนื้อหาบางส่วนจาก
    หนังสือพิมพ์ข่าวท้องถิ่น
    หน้า 11 ฉบับที่ 291 ประจำวันที่ 1-15 สิงหาคม 2553


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Udon-city.com และ


    ที่มาของหัวข้อ: ตำนานบ้านหมากแข้ง

    ข้อมูลเพิ่มเติม มะเขือพวง

    ตำนานบ้านหมากแข้ง

    "จ้ำจี้มะเขือพวง เมียน้อยเมียหลวงมาสอยดอกแค..."

    ข้อความที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นตอนต้นของเพลงร้องประกอบการเล่นของเด็กไทยภาคกลางในอดีตเรียกว่าเล่น "จ้ำจี้" ซึ่งมีเพลงประกอบหลายเพลง แต่ที่นิยมร้องมากก็คือ จ้ำจี้มะเขือพวง และจ้ำจี้มะเขือเปราะ เป็นต้น
    น่าสังเกตว่า เนื้อหาของเพลงที่เด็กนำมาขับร้องนั้น มักมาจากสิ่งที่พบเห็นและคุ้นเคยในสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม การทำมาหากินธรรมชาติ และชีวิตประจำวันในสมัยที่เกิดเพลงนั้นขึ้น เช่น เพลงจ้ำจี้มะเขือพวง กล่าวถึงเมียน้อยและเมียหลวง ซึ่งคงเป็นเรื่องปกติธรรมดาในยุคนั้นที่ผู้ชายที่มีฐานะดีมักจะมีเมียหลายคน และคงอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จึงไปสอยดอกแคด้วยกันได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงผักพื้นบ้านที่นิยมกันในสมัยนั้นอีกสองชนิดคือ ดอกแคและมะเขือพวงนั่นเอง แสดงว่าทั้งดอกแคและมะเขือพวง พบอยู่ทั่วไปจนนำมาสื่อให้เข้าใจได้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน


    ตำนานบ้านหมากแข้ง ตำนานบ้านหมากแข้ง

    มะเขือพวง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum Torvum Sw. อยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของพืชพวกพริกและมะเขือต่าง ๆ นั่นเอง มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือนมะเขือชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตรทีเดียว

    ประโยชน์ด้านอื่นของมะเขือพวง
    ผลดิบของมะเขือพวงใช้เป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร การกินผลมะเขือพวงดิบเป็นอาหาร (เช่น ในเครื่องจิ้มชนิดต่าง ๆ) ก็คงมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนรากของมะเขือพวงใช้รักษาโรคฝ่าเท้าแตก หรือโรคตาปลา

    ในด้านการเกษตร มะเขือพวงนับเป็นมะเขือที่เหมาะกับการเกษตรแบบยั่งยืนที่ไม่ใช้สารเคมี (ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ฯลฯ) เพราะเป็นมะเขือที่ทนทาน แข็งแรง ต้นสูงใหญ่ และอายุยืนหลายปี ไม่ต้องปลูกและดูแลรักษามากเหมือนมะเขือชนิดอื่น การเก็บผลมะเขือพวงใช้แรงงานมาก เพราะผลเล็กอยู่บนต้นขนาดใหญ่ จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่ใช้แรงงานเป็นทุนหลัก ดังจะเห็นว่าในหมู่ชนพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น ชาวไทยภูเขาต่าง ๆ นิยมปลูกมะเขือพวงไว้ในระบบเกษตรพื้นบ้าน เช่น วนเกษตร หรือไร่หมุนเวียนในเขตป่าภาคเหนือและภาคตะวันตก

    สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกผักสวนครัว เอาไว้บริโภคเองในครอบครัว ก็อาจปลูกมะเขือพวงเอาไว้สักต้นก็จะเก็บผลไปประกอบอาหารได้นานหลายปี โดยไม่ต้องปลูกใหม่หรือเอาใจใส่มากเท่าพืชหรือมะเขือชนิดอื่น

    นอกจากประโยชน์สำหรับมนุษย์แล้ว มะเขือพวงยังเป็นอาหารที่ดีสำหรับนกหลายชนิดอีกด้วย ผลมะเขือพวงสุกมีสีแสดแดงสะดุดตาดึงดูดนกมากิน และนำเมล็ดไปถ่ายไว้ในที่ต่าง ๆ เป็นการขยายพันธุ์มะเขือพวงตามธรรมชาติ เมื่อมะเขือพวงมีขนาดทรงพุ่มสูงใหญ่พอสมควรก็จะมีนกมาทำรังออกลูกเพาะพันธุ์กันบนต้นมะเขือพวงได้อีกด้วย ซึ่งผู้ปลูกจะได้รับความเพลิดเพลินจากการสังเกตศึกษาชีวิตนก พร้อมกับได้บุญกุศลไปด้วย สมกับคำพังเพยที่ว่า "เสียกระสุนนัดเดียว แต่ได้นกหลายตัว" นั่นเอง ผิดกับคำพังเพยนิดเดียวตรงที่ นกหลายตัวจากการปลูกมะเขือพวงนั้นเป็นนกที่มีชีวิตและมีความสุข มิใช่นกที่ถูกยิงตายจากกระสุนนัดเดียวดังเช่นคำพังเพย


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ฅนภูค่าว; 06-06-2011 at 14:15. เหตุผล: เพิ่มลิ้งค์

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ข้าวต้มมัด
    วันที่สมัคร
    Aug 2010
    กระทู้
    986
    ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ คนอุดรต้องอ่าน ผูกพันนธ์และเป็นตำนานที่น่าศึกษาอย่างยิ่งค่ะ

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    ขอบคุณคือกันค่ะ ได้ความรู้อื่นๆประกอบนำเนาะค่ะ เพิ่งเคยรู้ประวัติครั้งแรกคือกันจ้า ได่ยินแต่ชื่อมาดนแล้ว ตอนคัดเลือกตัวนักเรียนโควต้าสมัยสิเข้าเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์กา-สินกะไปคัดอยู่รร.หมากแข้งนิล่ะค่ะ..เป็นความทรงจำครั้งแรกแต่น้อยๆ.. เข้ามาอ่านแล้วเดอน้องมัด. . :l-
    มองต่าง..อย่างปลง

  4. #4
    ศิลปิน นักแสดง สัญลักษณ์ของ kitty
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    ลำลูกกา คลอง 2
    กระทู้
    1,135
    ขอบคุณหลายๆ ค่ะ สำหรับความรู้ บ้านหมากแข้ง จัหวัดอุดรฯ บ้านเกิด แต่ว่ายุคนละอำเภอจ้า
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kitty; 07-06-2011 at 09:14.

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ สาวทุ่งฝน
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    ห้องพี่สาว
    กระทู้
    490
    เป็นคนอุดรแท้ๆ แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องตำนานเก่าแก่เหล่านี้เลย พอจะได้ยินมาบ้างเรื่องต้นหมากแข้งใหญ่ แต่เนื้อหาผิดเพี้ยนไปจากนี้มาก คิคิ ฟังต่อๆกันมาเนาะจ้า ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันจ้า

  6. #6
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ Sweet_M
    วันที่สมัคร
    Oct 2007
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    1,097
    เป็นคนอุดรเหมือนกันจ้าา แต่ไม่เคยรู้มากอ่น ขอบคุณจ้าาา
    .....โลกหมุนไป ใจอยู่กับเสียงเพลง ชีวิตฉันคืออิสระ I am what I am.....

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •