กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: วันฉัตรมงคล 5 พค.

  1. #1
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    วันฉัตรมงคล 5 พค.

    วันฉัตรมงคล 5 พค.

    วันฉัตรมงคล 5 พค.
    ความสำคัญ
    วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้า ฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

    พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

    1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายบสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมภูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมภูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ 18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร

    2. พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้วย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์

    3. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ไดแก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจักร หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

    4. พิธีเบื้องปลาย เมื่อเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง

    5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสด็จพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี

    การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต

    แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย

    พระบาทสมเด็จรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดิสิมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้า ฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษา ประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน

    การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน

    ในขั้นตอนการจัดงานฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทน์วินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย

    ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

    ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์

    ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี

    ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์

    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี

    และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง


    มื้อนี้กะเป็นวันหยุดพักผ่อนอีกมื้อหนึ่ง...ไก่น้อยกะสิเมื่อบ้านก่อนเด้อ บาดนิ ... 8)


    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490

    Re: วันฉัตรมงคล 5 พค.

    ไก่น้อย..สิเมือบ้านบ่อเอิ้นเลยน๊อ...ย้านแต่เมือนํา.....ไปถูกอยู่เด้อยางตลาด
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ฉัตรมงคล /ฉัด-ตระ-มง-คน

    ความหมายวันฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม

    พิธีราชาภิเษก หมายถึง พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อรับรองฐานะความเป็นประมุขของรัฐอย่างเป็นกิจลักษณะ

    ส่วนคำว่า ฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองเศวตฉัตร ซึ่งทำในวันตรงกับวันบรมราชาภิเษก ดังนั้น วันฉัตรมงคล ก็คือวันที่พระมหากษัตริย์ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์นั่น เอง

    โดยธรรมเนียมพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า “พระบาท”นำหน้าคำว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และจะยังไม่ใช้นพปฎลเศวตฉัตรหรือฉัตร ๙ ชั้น (คำว่าเศวตฉัตร คือ ฉัตรสีขาวใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน)

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ด้วยเหตุนี้ เราจึงถือว่า วันที่ ๕ พฤษภาคมของทุกปีเป็นมงคลสมัย เป็นวันเฉลิมฉลองวันครบรอบแห่งงานพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อย่าง สมบูรณ์

    ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า “พระราชพิธีฉัตรมงคล” ซึ่งในวันนี้จะเป็นวันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยยา ภรณ์ตราจุลจอมเกล้าแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานทั้งหญิงและชายด้วย โดยสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป จะได้ใช้คำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” ถ้าได้รับทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ใช้คำนำหน้านามว่า “ท่านผู้หญิง” ส่วนสตรีที่ไม่มีสามี หากได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าตั้งแต่จตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป ให้ใช้คำนำหน้านามว่า “คุณ”

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศขณะนั้นได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนี กราบบังคมทูลฯขอพระราชทานอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

    โดยขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา และเนื่องจากพระองค์ยังทรงศึกษาไม่จบ จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ทรงเปลี่ยนการศึกษาจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิชากฏหมายและการเมืองเพื่อเตรียมพระองค์ให้พร้อมที่จะรับพระราชภาระ ในการบริหารประเทศและดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรต่อไป

    ครั้นเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ต่อจากนั้นก็ได้โปรดเกล้าฯจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ และจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓

    ในหนังสือวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวถึง พระราชพิธีฉัตรมงคล ว่า ได้ริเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งแต่เดิมก่อนหน้านี้ ยังไม่มีพระราชพิธีดังกล่าว มีเพียงการจัดงานสมโภชเครื่องราชูปโภคในเดือนหกทางจันทรคติของพนักงานฝ่าย หน้าและฝ่ายในพระบรมมหาราชวัง และยังไม่ถือเป็นงานหลวง

    ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศทั้งหลายที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือว่าวันนั้นเป็นวัน นักขัตฤกษ์มงคลกาล ต่างก็จัดงานขึ้นเป็นอนุสรณ์ ส่วนประเทศของเรายังไม่เคยมีการจัดจึงควรจัดขึ้น แต่หากจะประกาศให้คนทั้งหลายว่าจะจัดงานวันฉัตรมงคลหรือวันบรมราชาภิเษก ผู้คนขณะนั้นยังไม่คุ้นเคย และไม่เข้าใจจะต้องทรงอธิบายยืดยาว จึงโปรดให้เรียกตามชื่อเก่าไปก่อนว่า “งานสมโภชเครื่องราชูปโภค” แต่ทำในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ และรุ่งขึ้นอีกวัน พระสงฆ์ฉันที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้วยเหตุนี้

    จึงถือว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีการยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และการเวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ อันหมายถึง เครื่องหมายแสดงความเป็นราชาธิบดี มี ๕ อย่าง ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฏ พระแสงขรรค์ชัย ธารพระกร (ไม้เท้า) วาลวิชนี (พัดกับแส้จามรี) และฉลองพระบาท ที่รวมเรียกว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์” (อ่านว่า เบน-จะ-ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน) และต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ยังได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัติยาธิ ราชด้วย

    สำหรับ พระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดงาน ๓ วัน (วันแรกตรงกับ)
    - วันที่ ๓ พฤษภาคม จะเป็นงานพระราชราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อุทิศถวายแด่พระบรมราชบุรพการี เป็นพิธีสงฆ์ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี (สดับปกรณ์คือ พิธีสวดมาติกาบังสุกุล)
    - วันที่ ๔ พฤษภาคม เริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆเจริญพระพุทธมนต์เย็น
    - วันที่ ๕ พฤษภาคม อันเป็นวันฉัตรมงคล จะมีงานเลี้ยงพระและสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ทหารยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ๒๑ นัด และวันนี้ก็จะมีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปิดปราสาทพระเทพบิดรในพระบรมมหาราชวังให้พระบรม วงศานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมรูปตั้งแต่ ๙.๐๐-๑๗.๐๐ น.

    ในส่วนประชาชนและหน่วยงานต่างๆ อาจจะร่วมเฉลิมฉลองในวันนี้ด้วยการประดับธงชาติตามอาคารสถานที่ตั้ง หรืออาจจะจัดการเสวนา หรือสัมมนาทางวิชาการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชพิธีฉัตรมงคลและ ความสำคัญของพระราชพิธีนี้ว่าเป็นมาอย่างไร หรือกิจกรรมอื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสม แต่ที่สำคัญที่ประชาชนชาวไทยทุกคนควรระลึกถึงในวันฉัตรมงคลนี้ก็คือ เป็นวันที่เราได้พระมหากษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง ด้วยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

    นับแต่ได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร อันเป็นพระปรมาภิไธยตามพระสุพรรณบัฏ หรือที่ประชาชนชาวไทยได้น้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ก็ได้ทรงตรากตรำพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการเพื่อพสกนิกร ชาวไทยสมดังพระราชปณิธานที่ตั้งไว้ทุกประการ

    ดังนั้น จึงควรที่เราทุกคนจะได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วยความจงรักภักดีและ พร้อมใจกันประพฤติปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาทให้สมกับที่พระองค์ได้ทรง เสียสละเพื่อพวกเราชาวไทยตลอดมา


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.nutthnet.com/forum/topic.php?id=473
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •