เรียนรู้เกษตรอินทรีย์(ข้าว) จากปราชญ์ชาวบ้าน





1 เรื่องราวของ ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปราชญ์ชาวบ้าน
เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์






ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=6BKuA5HOlgM



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=UWcnc660Lfc



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=kQ6hsL5mY6Q



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=6rygXhYoChE



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=6P231bTE2iE



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=2kZWmKxVva0





ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปราชญ์ชาวบ้าน




เรียนรู้เกษตรอินทรีย์(ข้าว) จากปราชญ์ชาวบ้าน




นายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง


ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ


เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๔๘๗ ปัจจุบันอายุ ๖๖ ปี
สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔


ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ อาชีพทำนา ประจำปี ๒๕๔๙


ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ๔ ของสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


และได้รับการยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ของสถาบันการพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑



นายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง เป็นต้นแบบของเกษตรกรในการทำเกษตรธรรมชาติ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเกษตรกรรมและการพัฒนาพันธุ์ข้าว


เป็นผู้สนใจใฝ่รู้และศึกษาจากการปฏิบัติจริงด้วยตนเองจนได้รับการยอมรับและเชิญให้

เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ไปทั่วประเทศ เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรกรรม(ข้าว) โดยใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการทำนาแบบอินทรีย์


คิดค้นวิธีการทำนาให้ได้ผลผลิตมากขึ้น มีการดัดแปลง พัฒนา ปรับปรุง เครื่องจักร เครื่องมือทางการเกษตร ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ มีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อใช้เองและผลิตสารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำนา ในด้านการคัดและผสมพันธุ์ข้าว



ได้ใช้วิธีคัดพันธุ์ข้าวโดยการเพาะเมล็ดด้วยวิธีการแกะเปลือกออก คัดเอาเมล็ดที่สมบูรณ์ไปเพาะขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์สำหรับนำไปเพาะปลูกต่อไป ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะสูง มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือสังคม มีความเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมีเครือข่ายกับชาวนาเป็นจำนวนมากที่จะช่วยประสานงานในการถ่ายทอดความรู้เพื่อยกระดับชาวนา ช่วยต่อยอดความรู้แก่ลูกหลานชาวนา และจะเป็นกำลังสำคัญของมหาวิทยาลัยทั้งด้านการเรียนการสอน การประสานงานกับเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและการพัฒนาศูนย์ข้าวสุวรรณภูมิต่อไป


จากความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำนาแบบอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ความสามารถทางด้านเกษตรธรรมชาติ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรดีเด่นของประเทศ รวมทั้งได้ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยเสียสละและอุทิศตนเพื่อถ่ายทอดความรู้ทางด้านการเกษตร การทำนาและการพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดมา สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จึงเห็น สมควรมอบปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป



.................................................................




2 เปิดตัวชาวนาดีเด่นแห่งชาติ กรมข้าวยกย่องผลงานทำนาอินทรีย์"ลุงบุญมี"และ3 สถาบันเกษตรกร




ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมการข้าว คัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 จำนวน 4 สาขา เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประกอบด้วย



1.เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ได้แก่ นายบุญมี สุระโคตร อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 7 ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ


ซึ่งยึดหลักการทำนาแบบอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ได้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด แปรรูปผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก ในนามกลุ่มเกษตรกรเกษตรทิพย์ และข้าวตราลุงบุญมี เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค


2.ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่


ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลใหม่นาเพียง อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเมื่อ 2544 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 85 คน โดยศูนย์ฯแห่งนี้มีการจัดอบรมให้สมาชิกได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกขั้นตอน บริหารจัดการแปลงพันธุ์อย่างครบถ้วน



3.ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่นๆ ได้แก่

ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี จัดตั้งเมื่อปี 2545 ปัจจุบันมีสมาชิก 41 คน ซึ่งศูนย์ฯ ได้จัดทำแปลงผลิตพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ปทุมธานี 80 สุพรรณบุรี 1 พิษณุโลก 2 และสุพรรณบุรี 3 รวมพื้นที่ 980 ไร่ สามารถผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดีได้ 700 ตัน ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี



4.กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่นแห่งชาติ


ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านวังเย็น ต.ห้วยม้า อ.เมือง จ.แพร่ จัดตั้งกลุ่มเมื่อปี 2549 มีสมาชิก 100 คน โดยมีผลผลิตรวม 3 ปี ได้เมล็ดพันธุ์รวม 1,800 ตัน คิดเป็นร้อยละ 103.93 ของเป้าหมายการผลิต ทั้งนี้ กลุ่มมีการกำหนดกฎระเบียบและมอบหมายหน้าที่แก่คณะกรรมการและสมาชิกอย่างชัดเจน จึงสามารถควบคุมแผนการผลิตของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผ่านมาตรฐานคุณภาพแปลงขยายพันธุ์ครบทุกแปลง




หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อเกษตรกร นะคะสำหรับเรื่องราวของบุคคลที่ได้รับการยกย่อง และขอคารวะ ความเป็นปราชญ์ชาวบ้านอย่างแท้จริง สำหรับผลงานของท่านนะคะ


…………………………………………