ความเป็นมา ขี่ม้าฟันดาบเป็นกีฬาพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานี สันนิษฐานว่าเป็นกีฬาที่จำลองหรือเลียนแบบมาจากการขี่ม้าทำสงครามในสมัยโบราณ เชื่อได้ว่ากีฬาขี่ม้าฟันดาบน่าจะเป็นกีฬาที่เก่าแก่มากอีกชนิดหนึ่งของไทย เพราะปรากฏหลักฐานว่ามีการเล่นต่อสู้กันบนหลังม้า หลังช้าง ตลอดจนการเล่นขี่ม้าตีคลีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว

โอกาสที่เล่น เล่นได้ทุกโอกาสที่ว่างตามปกติมักจัดให้มีการแข่งขันประจำปี หรืองานรื่นเริงต่างๆ ของชาวบ้าน ผู้เล่น เล่นกันในหมู่ชาย ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่

อุปกรณ์การเล่น
๑. หมวกมีพู่กันสีติดที่ปลายหมวก จำนวน ๒ ชุด ชุดลพเท่าๆ กัน คือ เท่ากับจำนวนผู้เล่นของแต่ละชุด หมวกแต่ละชุดจะมีสีแตกต่างกัน

๒. ก้านกล้วยที่ริดเอาใบออกหมดแล้ว สถานที่เล่น บริเวณสนามกว้าง เช่น สนามหญ้าโรงเรียน ลานวัด หรือชายทุ่ง

วิธีเล่น
๑. ผู้เล่นแต่ละคนต้องตกลงกันว่าใครจะเป็นม้า ใครจะเป็นคนขี่ ให้คนขี่สวมหมวก มือถือดาบก้านกล้วย และขึ้นขี่หลังคนเป็นม้า

๒. ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายขี่หลังเป็นคู่กันยืนเป็นแถวหน้ากระดาน

๓. เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่ม ผู้เล่นจะต้องวิ่งเข้าหากัน พยายามใช้ดาบฟันพู่บนหมวกของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายใดใช้ดาบก้านกล้วยฟันพู่เป็นหมวกคู่ต่อสู้ได้สำเร็จ เป็นฝ่ายชนะ

๔. ขี่ม้าหลังโปก ความเป็นมา ขี่ม้าหลังโปกเป็นกีฬาพื้นเมืองเก่าแก่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางจังหวัดเรียกม้าหลังโปกนิยมเล่นกันมากในจังหวัดสกลนคร ยโสธร มหาสารคาม เป็นต้น การเล่นขี่ม้าหลังโปกเป็นการเลียนแบบการขี่ม้าโดยสมมติให้คนล่างเป็นม้า คนอยู่บนเป็นคนขี่ สันนิษฐานว่าการขี่ม้าหลังโปกมีมานานแล้ว

โอกาสที่เล่น นิยมเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ หรืองานประจำปี

ผู้เล่น เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนผู้เล่นฝ่ายละเท่าๆ กัน เพื่อสะดวกในการจับคู่ขี่หลัง อุปกรณ์การเล่น ก้อนผ้า ซึ่งทำมาจากผ้าขาวม้าม้วนให้เป็นก้อนกลมๆ

สถานที่เล่น เป็นลานที่มีบริเวณกว้างขวาง เพื่อความสะดวกในการวิ่งหนี เช่น ลานวัด ลานบ้าน หรือสนามหญ้าโรงเรียน เป็นต้น

วิธีเล่น
๑. ห้ามผู้เล่นฝ่ายเป็นม้ากลั่นแกล้งฝ่ายที่เป็นคนขี่ เช่น ห้ามเขย่าตัว โยกตัว

๒. ผู้เล่นฝ่ายเป็นม้าสามารถส่งก้อนผ้าต่อกัน เพื่อนำไปขว้างฝ่ายเป็นคนขี่ได้ แต่ต้องไม่ให้ก้อนผ้าตกดิน ถ้าก้อนผ้าตกดินถือว่าหมดสิทธิ์การขว้าง

๓. ในกรณีการกำหนดขอบเขตสนามเด็กเล่น ฝ่ายเป็นคนขี่จะหนีออกนอกสนามเล่นไม่ได้ ให้มีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคน เป็นผู้ควบคุมการเล่น และตัดสินผลการแข่งขัน


เครดิตที่มา
โค้ด PHP:
http://thaifolksport.wordpress.com/category/