กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ
    สัญลักษณ์ของ ฅนภูค่าว
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    นครโคราช บ้านเกิดกาฬสินธุ์
    กระทู้
    1,206

    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง

    มะอึก : มะเขือป่าอุดมขนและผลโต



    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    อาจกล่าวได้ว่า มะอึกเป็นญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง โดยเฉพาะมะแว้งต้น) เพราะเป็นมะเขือป่าที่มีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองด้วย เรามาทำความรู้จักกับมะอึกพอสังเขปก่อน


    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    มะอึกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum ferox Linn. เป็นพืชวงศ์ Solanaceae เช่นเดียวกับมะเขือพวงและมะแว้งนั่นเอง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 150 - 200 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาไม่มากเท่ามะเขือพวง ใบคล้ายของมะเขือพวง แต่ขนาดโตกว่าเล็กน้อย มีหนามตามลำต้น และกิ่งก้านเช่นเดียวกัน กลีบดอกสีม่วงและเกสรตัวผู้สีเหลือง ออกผลเป็นกลุ่มเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่ามะเขือพวงหรือมะแว้ง ปกติติดผลช่อละ 3 - 5 ผล ผลมีขนาดโตกว่ามะเขือพวง คือ ผลกลม เส่นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือขนาดผลพุทราพื้นบ้าน ผลอ่อนของมะอึกมีสีเขียว เมื่อผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงแสดเมื่อผลสุก ในผลสุกมีเมล็ดขนาดเล็กมากมายเช่นเดียวกับมะเขือพวงและมะแว้ง ผลสุกมีรสเปรี้ยว ต่างจากผลสุกของมะเขือพวงและมะแว้ง ลักษณะสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ของมะอึกก็คือ ทั้งลำต้น กิ่งก้าน ใบ และผลตั้งแต่อ่อนจนสุก จะปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว ขนค่อนข้างยาวและหนากว่าญาติมะขือทุกชนิดที่คนไทยนำมาบริโภค มะอึกมีชื่อเรียกต่างกันตามภาค คือ มะอึก (กลาง) มะเขือปู่ มะปู่ (เหนือ) บักเอิก (อีสาน) และอึก (ใต้)


    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    มะอึกในฐานะผัก ส่วนของมะอึกที่นำมาใช้ประกอบอาหารคือ ผลทั้งดิบและสุก นิยมนำไปเป็นเครื่องชูรส เพราะมีรสเปรี้ยว ในอดีตคนไทยนิยมนำมะอึกมาปรุงเครื่องจิ้มต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำพริกมะอึกจะมีรสเปรี้ยวแทนที่มะนาวหรือมะขาม เช่น น้ำพริกสามมะ (มะอึก มะดัน มะขาม) น้ำพริกกะปิ น้ำพริกเสวย น้ำพริกพริกไทยอ่อน น้ำพริกผักต้มกะทิ น้ำพริกลงเรือหมูหวาน น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกแมงดา น้ำพริกไข่เค็ม น้ำพริกนครบาล น้ำพริกผักต้มสำเร็จ น้ำพริกหลนผักหรู น้ำพริกกุ้งแห้ง น้ำพริกปลาสลาด น้ำพริกผักดองสด น้ำพริกนางลอย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากเครื่องจิ้มแล้ว มะอึกยังใช้ในการปรุงแกงที่ออกรสเปรี้ยวบางตำรับ เช่น แกงคั่วส้มต่าง ๆ (ปลาไหลย่าง ตะพาบน้ำ เป็ด หมูป่า ขาหมู หมูสามชั้น ฯลฯ) แกงคั่วต่าง ๆ (อ้น เป็ด ฯลฯ) แกงหมูตะพาบน้ำ เป็นต้น


    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    การนำผลมะอึกทั้งดิบและสุกมาใช้ปรุงอาหารนั้น ต้องถูเอาขนอ่อนที่ปกคลุมผิวนอกผลออกให้เกลี้ยงเสียก่อน เพราะมะอึกเป็นมะเขือป่ามีผลปกคลุมด้วยขนเพยงชนิดเดียวที่คนไทยนำมาประกอบอาหาร คนไทยนิยมนำผลมะอึกสุกมาประกอบอาหารมากกว่าผลดิบ ส่วนใหญ่จะใช้ผลสุกเป็นหลัก อาหารบางตำรับใช้มะอึกผลดิบบ้าง แต่ต้องใช้ร่วมกับผลสุกเสมอ ไม่ใช้ผลดิบเพียงอย่างเดียว รสชาติของมะอึกแม้จะมีรสเปรี้ยวเป็นหลัก แต่ก็มีรสและกลิ่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำให้อาหารที่ใช้มะอึกปรุงมีรสชาติต่างออกไปจากการใช้รสเปรี้ยวจากแหล่งอื่น ๆ ( เช่น มะนาว มะม่วง มะขาม มะดัน ฯลฯ) คนไทยในอดีตจึงเลือกใช้เครื่องปรุงที่ให้รสเปรี้ยวจากพืชต่าง ๆ หลายชนิด เพื่อให้เกิดความหลากหลายในรสชาติ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างน้ำพริกตำรับต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายนับร้อยนับพันตำรับ เป็นต้น


    มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง


    ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของมะอึก เนื่องจากมะอึกเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมชนิดหนึ่งของไทย คนไทยจึงรู้จักนำมะอึกมาใช้ประโยชน์มายาวนาน ทั้งด้านอาหารและยา อันถือเป็นปัจจัย 4 ของการดำรงชีวิตที่สำคัญที่สุด ตำราสมุนไพรไทยบรรยายสรรพคุณทางยาของมะอึกไว้ว่า

    ผล : รสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต
    ราก : รสเปรี้ยว เย็นน้อย แก้ดีฝ่อ ดีกระตุก (นอนสะดุ้งผวา หลับ ๆ ตื่น ๆ เพราะโทษน้ำดีทำ) แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน


    ในมาเลเซียใช้เมล็ดมะอึกรักษาอาการปวดฟัน โดยมวนเมล็ดมะอึกแห้งในใบตองแห้งแล้วจุดสูดควันเข้าไป ลักษณะร่วมกันของมะเขือป่าทั้ง 3 ชนิด (มะเขือพวง มะแว้ง และมะอึก) คือ ผลสุกมีสีสดใส (แสดแดง) ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวดึงดูดนกให้มากินผลสุกแล้วนำเมล็ดไปถ่ายตามที่ต่าง ๆ เป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของมะเขือป่าหลายชนิด เช่นเดียวกับพืชดั้งเดิมบางชนิด เช่น ฝรั่ง (ฝรั่งขี้นก) และพริก (พริกขี้นก) รวมทั้งมะระหรือผักไห่ (มะระขี้นก) เป็นต้น มะอึกจึงเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับปลุกเอาไว้ในสวนครัวหรือสวนหลังบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งปลุกง่าย แข็งแรงทนทานต่อโรคแมลง และดินฟ้าอากาศ ปลุกครั้งเดียวใช้ประโยชน์ได้หลายปี เป็นทั้งอาหารและยา ตลอดจนล่อนกให้มาเยี่ยมเยียน เรียกว่าปลูกครั้งเดียวได้ทั้งอาหารปาก อาหารตา อาหารใจ เป็นทั้งยารักษาร่างกายและเป็นการสร้างกุศลไปในคราวเดียวกัน



    ขอขอบคุณเจ้าของต้น บักเอิก สาวทองแพง เมื่อวันที่ ๑๔ ส.ค. ๒๕๕๔ มีโอกาสไปทำบุญกับพี่น้อง บ้านมหา ดอทคอม ยูบ้านท่าเยี่ยม ต.กุดโบสถ์ อ.เสิงสาง เลยถ่ายรูปต้น บักเอิก และหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก www.nongtoob.com/content มานำเสนอให่เบิ่งกัน เว้าพื้นต้น บักเอิก นับมื้อสิหายากแล้วเด้อครับ เฮือนไผมีกะช่วยกันอนุรักษ์ ไว่แน่เด้อครับ ขอบคุณมากกกกก
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ฅนภูค่าว; 17-08-2011 at 23:52. เหตุผล: จัดเว้นวรรคใหม่ เปลี่ยนลิ้งค์

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวอิง
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    877
    ใส่ตำบักกอแซบหลาย แถวบ้านบ่เห็นแล้วว่าสิหาแนวมาปลูกยุ

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    ใส่ตำกะปิ กะแซบเด้อ แต่ว่าหนามหลายคัก

  4. #4
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความรู้จ้า พืชใกล้ตัวเฮาก็มีประโยชน์มากมายน้อจ้า
    แถวบ้านกะหายากแล้วละจ้าต้นบักอึก แต่โดยส่วนโตแล้วมักกินบักอึกหลาย
    เฒ่าแม่ก็หามาปลูกไว้จ้า ใส่ส้มตำ ใส่น้ำพริกต่างๆเฮ็ดให้รสชาติดีจ้า
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวทองแพง; 18-09-2011 at 12:33.
    เมื่อความจนผลักไส ดิ้นรนเท่าไรยิ่งไกลบ้าน

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ภูเบตร์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    กระทู้
    197
    ขอบคุณข้อมูลดีๆ มากมาย
    และ
    รูปสวยๆ ครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •