หัวเราะบำบัดชว่ยทำให้คนปว่ยนอ้ยลง
บ้านเราได้ชื่อว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม ซึ่งต่างชาติร่ำลือกัน
แต่จะด้วยสภาพสังคมวิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป
การสานสัมพันธ์ครั้งแรกด้วยรอยยิ้มดูเหมือนจะเหือดหายไป ยิ่งหัวเราะคงจะเป็นเรื่องยากเข้าไปใหญ่เพราะเรามักจะปล่อยเสียงหัวเราะออกมาได้
ต่อเมื่อมีสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งเร้าอื่นทำให้เกิดการหัวเราะออกมาเช่น การพูดในกลุ่มเพื่อน
การดูตลก เชี่อไหมว่าการหัวเราะนั้นมีประโยชน์มากมาย
ตั้งแต่ทำให้จิตใจรู้สึกสดชื่นแจ่มใสแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้ เพราะการหัวเราะบำบัดอย่างถูกวิธีจะทำให้ร่างกายขับสารเคมีได้

ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรมที่ปรึกษาโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ โครงการบริการวิชาแก่ชุมชน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นคนหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยเรื่องหัวเราะมาหลายสิบปี
อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้กับชมรมหัวเราะให้กับประเทศต่างๆ อธิบายว่า ความจริงมีศาสตร์หัวเรามาตั้งนานแล้วที่ประเทศอินเดีย
แต่ประเทศเรายังเกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าการหัวเราะเป็นเรื่องติงต๊องไป ประเทศไทยมีการศึกษาได้มาระยะหนึ่ง แต่เป็นการทำอย่างไม่ต่อเนื่อง โดยริเริ่มหัวเราะบำบัดจากการจัดกิจกรรมให้กับนิสิตก่อนที่จะเริ่มไปยังประชาชนทั่วไป ซึ่งในสมัยนั้นทางกรุงเทพมหานครเห็นด้วย เพราะมีพื้นที่ให้ร่วมกิจกรรมมากมาย ทว่าช่วงนั้นมีคนฆ่าตัวตายทุกวัน เนื่องมาจากโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล ศาสตร์หัวเราะคือ การหัวเราะให้ถูกต้องซึ่งแต่ละส่วน ต้องขยับให้เกิดจังหวะในการขับเคลื่อนของเลือดลม ลมหายใจ และศิลปะคือ
สิ่งที่แต่ละคนมีความแตกต่างอ่อนไหว หรือแข็งแกร่งที่ไม่เหมือนกัน และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ ..


สรุปแล้วการหัวเราะ คือการออกกำลังภายในที่การออกกำลังกายที่คุ้ยเคยกันคือการออกกำลังแต่ภายนอกให้กับกล้ามเนื้อ แต่การหัวเราะคือการออกกำลังกายข้างใน เข้าถึงขบวนการเส้นประสาทและขบวนการคลื่นไฟฟ้า ในมุมมองของดร.วัลลภ มองว่าการหัวเราะบำบัดที่ถูกต้องได้ผลกว่าการออกกำลังกายปกติ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศ บอกว่าการออกกำลังกายครึ่งชั่วโมงต่อวัน เท่ากับการหัวเราะ5 นาที และการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ 10 นาที เท่ากับการหัวเราะ 1 นาที ซึ่งจะเห็นว่าอัตราการเผาผลาญดีมาก ยิ่งถ้าใครได้หัวเราะอย่างต่อเนื่อง 5 นาที ยิ่งได้ผลดีทั้งสุขภาพกายและจิตใจ และนั่นคือเวลาที่แชมป์โลกได้ทำสถิติหัวเราะเอาไว้ได้
ประโยชน์ของการหัวเราะ
1.ช่วยระบบการหายใจให้ถูกต้อง
2.ช่วยเรื่องเลือดลมไหลเวียน เส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ดี
3.ทำให้กระบวนการย่อยอาหารได้ดีขึ้น
4.ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
5.ทำให้อยู่รอดได้ดี มีกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่น ทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนพร้อมที่จะสู้


ดร.วัลลภได้อธิบายเพิ่มว่า การหายใจเข้าออกให้ถูกต้องคือ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ ถือเป็นปัจจัยลำดับแรกที่ทำให้การหัวเราะบำบัดได้ผลที่ถูกต้อง แต่ทุกวันนี้คนเราส่วนใหญ่ยังมีระบบการหายใจที่ไม่ถูกต้องอยู่ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ อย่างแรกคือ การหายใจเข้าท้องยุบ หายใจออกท้องพอง และส่วนใหญ่ยังหายใจแบบนี้กันอยู่ สองคือ หายใจเข้าออกเกือบพร้อมกัน ซึ่งธรรมชาติของการหายใจออกต้องยาวกว่าการหายใจเข้าอย่างน้อยเกือบสองเท่า และส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยา อื่นๆตามมา เช่น อาการหาวนอน ทั้งนี้เพราะมีการหายใจไม่ค่อยสมดุล ฉะนั้นปรับสมดุลเรื่องการหายใจ สามคือ การหายใจสวนกันทำให้เกิดสำลัก หรือเครียดได้ สี่คือ การหายใจไม่เข้าออกทางปาก หรือในเวลาเครียดจัดก็เกิดการเหม็บปาก และสุดท้ายคือ การหายใจเข้าไม่ลงท้อง
นอกจากนั้น การหัวเราะบำบัดยังช่วยเหลือคนที่มีอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ โรคซึมเศร้า ความดันสูง พวกย้ำคิดย้ำทำ มีอาการหวาดระแวง มีอาการนอนกรน ซึ่งก็เกิดจากการหายใจไม่เป็น มีอาการขาดความมั่นใจ หรือเข้ากับคนไม่ได้ โดยรวม หัวเราะบำบัดสามารถป้องกันรักษาโรคได้ทั้งกาย ใจและด้านสังคม


หัวเราะบำบัด - หัวเราะแบบธรรมชาติ
ทั้งสองการหัวเราะนั้นแตกต่างกัน การหัวเราะโดยธรรมชาติจะต้องมีสิ่งเร้าให้เกิดอารมณ์ขัน ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง สิ่งประหลาด ฯลฯ บางคนหัวเราะจนท้องแข็ง น้ำตาไหล หรือขากรรไกรค้าง
แต่ขณะที่การหัวเราะบำบัดคือ การทำให้เราหัวเราะได้เองโดยที่ไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้นอารมณ์ขันแต่อย่างใด นั่นคือตัวเราเป็นฝ่ายกระทำอย่างรู้สึกตัว และสิ่งที่ได้จากการหัวเราะบำบัดคือจะไปช่วยในเรื่องระบบหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับถ่ายเกิดการขับเคลื่อนไหลเวียน ระบบการไหลเวียนดี เพราะการหัวเราะบำบัดร่างกายจะมีการปล่อยสาร ที่มีความสุขหรือเอ็นดอร์ฟิน เช่นเดียวกับการออกกำลังกายออกมา ขณะที่มีการขับเคลื่อนสารเคมีหรือสิ่งสกปรก ที่อยู่ในร่างกายในสมอง ขับถ่ายออกมาเป็นแก๊สทางปอดได้ ซึ่งการหัวเราะมีหลายรูปแบบทั้งแบบสุขภาพดี ที่สังเกตเห็นได้จากความดัง กังวาน หัวเราะได้ยาวนานแบบอารมณ์ดี ความสัมพันธ์ดีและหัวเราะอย่างมีเอกลักษณ์ดี


วิธีการหัวเราะบำบัด
ดร.วัลลภ บอกว่าถ้าคนเราหัวเราะโดยธรรมชาติได้บ่อยก็จะยิ่งดีกว่าแต่โอกาสที่แต่ละคนจะหัวเราะธรรมชาตินั้นเกิดได้น้อย
และมักเป็นการหัวเราะแบบฝ่ายรับมากกว่าที่ต้องมีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดการหัวเราะขึ้น และจากการศึกษาพบว่าเพศชาย หรือผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นวิศวกร บัญชี และหมอจะใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าเพศหญิง หรืออาชีพอื่น การจะทำอะไรมักใช้เหตุผลเป็นตัวตัดสินเป็นหลัก อีกทั้งยังพบว่าเพศชายมีอาการป่วยเป็นโรคหัวใจวายได้ง่ายกว่าเพศหญิง

ขอบคุณหมอแดง ดิ อโรคยา
ขอบคุณพื้นที่บอร์ดบ้านมหาดอดคอม