กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กับ เสรีภาพของชนชั้น

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กับ เสรีภาพของชนชั้น


    ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กับ เสรีภาพของชนชั้น





    ความหวังแห่งเสรีภาพของชนผิวสี


    "....ผมฝันว่าสักวันหนึ่ง มนุษย์จะไม่ตัดสินว่า ใครเป็นอย่างไร เพียงด้วยสีของผิวแต่ตัดสินด้วยเนื้อหาของความเป็นคนของเขา..."

    นี่คือคำพูดของผม ..
    .




    คำพูด ณ.ลานบันไดอนุสาวรีย์อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น กรุงวอชิงตัน ในวันที่ 8 สิงหาคม 1963


    ท่างกลางผู้คนที่มาประท้วงครั้งสำคัญ ที่มากกว่า 200,000 คน ในระหว่างการประท้วงครั้งสำคัญที่เรียกขานกันว่า คือ

    "การยาตราสู่วอชิงตันเพื่อเรียกร้องงานและเสรีภาพ" (Marching On Washington For Jobs & Freedom )


    ผู้ร่วมฟังสุนทรพจน์ของผม ที่มีทั้ง ทั้งผิวดำ ผิวขาว ผิวเหลือง มากกว่า 2 แสนคน น้ำตาไหลอาบหน้า ซาบซึ้งในสุนทรพจน์นี้ และหวังว่า สักวันความเท่าเทียมกันในสังคมจะได้บังเกิดขึ้น


    จากคำพูดที่ว่า


    "....ผมฝันว่าสักวันหนึ่ง มนุษย์จะไม่ตัดสินว่า ใครเป็นอย่างไร เพียงด้วยสีของผิวแต่ตัดสินด้วยเนื้อหาของความเป็นคนของเขา..."



    คือมนตราแห่งความหวัง สำหรับคนผิวสี ที่ได้รับความขมขื่นและโหดร้าย มาตลอดชีวิต

    ผมขอถามว่า...เขาผิดหรือที่เกิดมาเป็นคนผิวสี....


    ความโหดร้ายที่คนสีผิวได้รับการเหยียดหยาม ที่พวกเขาถูกมองเหมือนเป็นอีกกลุ่มชนชั้นหนึ่งที่ไม่อาจร่วมสังคมได้


    ชนผิวดำที่ถูกแบ่งแยกออกมา ไม่อาจเรียนร่วมกันได้กับคนผิวขาว มันเป็นความทุกข์ทรมานมาก


    “ขอโทษ...กรุณาลงจากรถไฟ ขบวนนี้ด้วย เนื่องมาจากรถไฟขบวนนี้รับเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น”

    “เราไม่อาจให้บุตรของคุณ เรียนที่นี่ได้ เพราะคุณเป็นคนผิวสี”

    “ขอโทษด้วยนะ ห้องอาหารแห่งนี้รับเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น”

    “คุณทำงานที่นี่ได้นะ แต่ห้ามออกไปหน้าร้านเป็นอันขาด”

    “โรงภาพยนตร์ที่นี่ต้อนรับเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น”


    “วิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ต้องการอาจารย์ที่มีสีผิว”



    สิ่งเหล่านี้ คือกริยาและคำพูดที่ดูถูกเหยียดหยาม เหมือนพวกเขาทั้งหลาย พวกคนผิวสีไม่ใช่มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันอย่างศานติ และพวกเขาเหมือนกับพลเมืองชั้นสองของประเทศ


    คนทั่วไปที่มีอิสรเสรี ในประเทศที่ไม่มีการเหยียดสีผิด นับว่าโชคดีมาก ส่วนผมหรือครับ ผมโชคร้ายที่เกิดมาในประเทศที่รังเกียจและแบ่งแยกชนชั้น


    ความ ยุติธรรม ความเป็นเสรีชน ความเป็นประชาธิปไตย ความหวังและความรัก คือสิ่งที่ทุกคนตระหนัก คือสิ่งที่ผมหวังที่จะทำลายกำแพงแห่งการเหยียดชนผิวสี



    จากสุนทรพจน์ของผม


    "I have a Dream"


    มีความตอนหนึ่งว่า


    "....ผมฝันว่าสักวันหนึ่ง มนุษย์จะไม่ตัดสินว่า ใครเป็นอย่างไร เพียงด้วยสีของผิวแต่ตัดสินด้วยเนื้อหาของความเป็นคนของเขา..."


    ซึ่งมันเป็นความสั่งสมที่บอกถึงความต้องการความมสิทธิเสมอภาคของชนผิวสี และผมนะหรือครับ


    ผมก็คือ....



    ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Dr. Martin Luther king Jr. X)



    ผู้นำจิตวิญญาณชาวผิวดำของอเมริกันชน ที่ได้รับการขนานนามนั่นเอง


    แม้ผมจะคือบุคคล ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ


    ในการเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่าง ชาวอเมริกัน ก็ตาม

    แต่ความภาคภูมิใจของผม ก็คือการที่ได้ทุ่มเทแรงกายทั้งหมดในการเคลื่อนไหวต่อเนื่องนานนับสิบปี เพื่อสิทธิของชนผิวสี



    ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์  กับ เสรีภาพของชนชั้น



    ต่อมาอีก 5 ปี ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ก็ถูกลอบสังหารที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี


    และนับตั้งแต่วันนั้น ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง คือสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนถึงปัจจุบันนี้


    นั่นคือความหวังที่จะทลายกำแพงแห่งการเหยียดผิวเริ่มสั่นคลอนลงไป



    วันนี้ ความหวังอันยาวนานถึง 48 ปี ได้เริ่มประจักษ์ขึ้นมา เมื่อ
    อเมริกา ประเทศที่ยิ่งใหญ่ได้ต้อนรับ การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีผิวสีคนแรก


    บารัค โอบามา ในปี 2008 ด้วยคะแนนเสียงที่ท่วมท้นถล่มทะลาย 333 ต่อ155


    ดอกไม้ที่ ดอกไม้แห่งเสรีเริ่มผลิกลีบแย้มบานอย่างงดงามเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งแล้วนั่นเอง

    และในงานฉลองตำแหน่งอย่างเป็นทางการที่ Lincoln Memorial , Washington D.C.

    บทเพลงหนึ่งก็ถูกขับขานขึ้นที่นี่มันเป็นบทเพลงในดวงใจของบารัค โอบามาตั้งแต่ยังเด็กและเขายังหยิบยืมคำคำหนึ่ง นั่นคือ " Change "


    จากบทเพลงนี้ในการรนณรงค์หาเสียงตลอดมาจนได้รับชัยชนะ ของ บารัค โอบามา กับคำว่า " Change "


    ที่นำมาจากบทเพลง A Change Is Gonna Come นั่นเอง



    จากเสียงของ Sam Cooke ยอดนักร้องเพลง Soul Pop อเมริกัน

    โดยที่ Sam Cooke เป็นผู้แต่งและบันทึกเสียงไว้ราวปลายปี1963


    ด้วยแรงบันดาลใจจากเพลง Blowing in the wind
    และพลังจากสุนทรพจน์อันลือลั่นนั้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1963 (พ.ศ.2506)


    แต่กว่าจะตัดออกมาเป็นซิงเกิ้ลก็ปลายปี1964
    หลังจาก Sam Cooke เสียชีวิตไปแล้ว20 วัน
    ไม่ได้อยู่รับรู้ว่ามันกลายเป็นบทเพลงประวัติศาสตร์ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในบทเพลงอมตะตลอดกาล


    เป็นบทเพลงแห่งความหวังของผองผู้ต่ำต้อยและเป็นเกียรติยศล้ำค่า ที่ประดับแด่ Sam Cooke ผู้ล่วงลับไปแล้วตลอดกาล




    นี่คือบทเพลงที่งดงามพร้อมพรั่งทั้งท่วงทำนอง เสียงร้อง ดนตรี และความหมาย




    A Change Is Gonna Come - Sam Cooke




    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=gbO2_077ixs





    was born by the river in a little tent
    Oh and just like the river I've been running ever since
    It's been a long, a long time coming
    But I know a change gonna come, oh yes it will

    It's been too hard living but I'm afraid to die
    Cause I don't know what's up there beyond the sky
    It's been a long, a long time coming
    But I know a change gonna come, oh yes it will

    I go to the movie and I go downtown somebody keep telling me don't hang around
    It's been a long, a long time coming
    But I know a change gonna come, oh yes it will

    Then I go to my brother
    And I say brother help me please
    But he winds up knockin' me
    Back down on my knees

    Ohhhhhhhhh.....

    There been times that I thought I couldn't last for long
    But now I think I'm able to carry on
    It's been a long, a long time coming
    But I know a change gonna come, oh yes it will











    .................................










    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 27-09-2011 at 12:51.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    ใช่จริงๆแล้วเกิดการเปลี่ยนโลกรับรู้ว่าไม่มีการเหยียดสีผิวอีกต่อไป. แต่ในความจริงบางกลุ่มก็ยังยึด สามีเพือนเกิดในเขตที่ถูกสอนให้เกลียดคนผิวดำ พวกเขายังเป็นแบบนั้นนั่งแท็กซี่ที่คนผิวดำขับ ไม่แม้แต่มองหน้าและยื่นภาระการจ่ายเงินให้ภรรย. เห็นได้ว่ายังอยู่ในสายเลือด

    แต่ในขณะเดียวกันบางกลุ่มของสีผิวเมื่อได้รับการยอมรับ และให้สิทธ์อะไรหลายอย่าง กลับเรียกร้องมากขึ้น จนทุกวันนี้บางส่วนเป็นภาระของสังคม เรียกว่ารับจนเคยตัวส่งผลถึงลูกหลาน. นี่คือความไม่พอดีของมนุษย์

    อิอิ ส่วนคนเอเชียตีกันเอง แต่ก็ขยัน ไม่เป็นภาระสังคม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •