เตาความร้อนจากแสงอาทิตย์ในสถานการณ์ฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ

มีหลากหลายวีธีทำครับ

1.ทำจาก ยางในรถยนตร์ใช้แล้ว


๑) ท่านไปร้านปะยางแถวๆบ้าน หาซื้อยางในรถยนตร์ที่เก่าๆแล้ว ได้ยางรถบรรทุกยิ่งดี หากมันรั่วก็จ้างร้านปะยางให้ปะให้เรียบร้อย จากนั้นก็ให้สูบลมให้เต็มเหมือนกับที่จะใช้งานจริงลักษณะก็เหมือนกับยางในรถยนตร์ที่มีให้เช่าสำหรับเล่นน้ำ ตามชายทะเล จากนั้นก็เอากลับมาบ้าน ราคาน่าจะคุยกันได้ ไม่น่าจะเกิน 200 บาท

๒) ขั้นตอนที่สองให้หาแผ่นไม้อัดขนาดหนาไม่น้อยกว่า 1 ซม. กว้างกว่ายางในรถยนตร์มาลองด้านล่างจะเป็นไม้เก่าก็ไม่ว่ากันแต่ต้องหนา หากไม่มีไม้อัดจะใช้ไม้พื้นมาต่อกันให้เป็นแผ่นก็ไม่ผิดกติกา เสร็จแล้วให้ทาสีดำ นำมารองยางใน ส่วนนี้ราคาอาจจะไม่มีหรือมีไม่เกินร้อยบาท

๓) ขั้นตอนที่สาม ส่วนนี้จะมีราคาแพงที่สุด วัดขนาดวงนอกของยางในรถยนตร์แล้วไปจ้างร้านตัดกระจกให้ตัดกระจกให้ใหญ่กว่าขอบนอกยางใน จะตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือทรงกลมก็ได้แล้วแต่ว่าแบบไหนร้านกระจกไหนจะคิดราคาแบบไหนถูกที่สุด อย่าลืมให้ร้านกระจกลบความคมของกระจก ตามขอบตามมุมให้หมด จะได้ไม่บาดมือ ราคาของกระจกขึ้นอยู่กับขนาดความกว้าง ยาว และความหนาของกระจก แต่เลือกให้หนาสักหน่อยจะได้แตกยาก

ทีนี้ท่านก้ได้เตาหุงต้มพลังแสงอาทิตย์แล้ว ท่านเพียงหาภาชนะที่ไม่สูงกว่าความสูงของยางใน และมีฝาบิด ท่านก็สามารถหุงต้้มอาหารได้แล้ว เพียงแค่ท่านเอายางในรถยนตร์ที่วางอยู่บนแผ่นไม้ ออกไปวางกลางแดด เอาภาชนะที่จะหุงต้มวางลงภายในวงยางใน แล้วเอาแผ่นกระจกปิดด้านบนให้สนิท อย่าให้มีช่องว่างให้ความร้อนออกมาได้ เป็นอันเสร็จ มีข้อกำหนดว่าภาชนะต้องทาสีดำ
ตอนนี้ท่านก็ไปทำอะไรอย่างอื่นระหว่างรอให้อาหารสุก หรือเปื่อย

บางท่านอาจจะใช้ กระดาษหนังสือพิมพ์มาปูรองภายในวงยางในไม่ให้อากาศร้อนไหลออก และกรุด้วยกระดาษอลุมมิเนี่ยมแบบที่ใช้ห่ออาหาร มากรุภายในวงยางใน จะทำให้แสงสะท้อนขึ้นมาที่ภาชนะหุงต้มมากขึ้นจะทำให้อาหารสุกเร็วขึ้น

อย่างที่บอกไปแล้วในตอนต้นว่าเตาแบบนี้เหมาะสำหรับหุงต้ม ที่ไม่เร่งรีบแต่ต้องการประหยัดเชื้อเพลิง เช่นต้มอะไรให้เปื่อยๆเช่นต้มขาหมู ต้มเนื้อเปื่อย หรืออาจจะทำผสมกันคือ ในเบื้องต้นอาจจะใส่วัตถุดิบเครื่องปรุงรสด้วยเตาแก๊ซจนรสชาดดีแล้วจึงยกมาใส่เตาหุงต้มนี้เพื่อเคี่ยวต่อให้เปื่อยต่อไปก็จะเป็นวิธีที่จะประหยัดเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยทีเดียว

มีบางท่านเคยเอาไปทดลองหุงข้าว บอกว่าใช้เวลาประมาณสามชั่วโมง ประเด็นที่น่าพิจารณาว่าเรา ไม่ต้องเสียเงินค่าเชื้อเพลิงเป็นแต่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นท่านต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของท่าน
แต่ที่แน่ๆ ต้นทุนในการทำเตานี้ต่ำมาก ทำได้ง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ หากเกิดกรณีฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีฟืน ไม่มีแก๊ซ ท่านก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไปได้ก่อนที่สำคัญหม้อต้องทาสีดำ นะครับ



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=nC6-MMRHJdw#!


ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=X24sj-EsmMQ#!



2.ทำเตาแสงอาทิตย์ใช้เอง


เตาแสงอาทิตย์ (solar oven)
คืออุปกรณ์รวมแสง,รวมความร้อนจากแสงอาทิตย์แล้วส่งผ่านความร้อนนั้นมายังภาชนะทำให้อาหารสุกได้ มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่จะมีการออกแบบกัน แบบที่นำเสนอนี้เป็นแบบที่สร้างขึ้นเองได้ง่ายๆสามารถนำไปใช้ได้จริง


อุปกรณ์

-แผ่นพลาสติก ฟิวเจอบอร์ด หรือกระดาษลูกฟูก ขนาด 1×0.50 เมตร

-อลูมิเนียมฟลอย

-หม้ออลูมิเนียมพ่นสีด้านนอกให้เป็นสีดำ(ด้าน) ด้านในไม่ต้องพ่น

-ถุงพลาสติกใสขนาดเอาหม้อลงไปใส่ได้

-กาวน้ำหรือชนิดไดก็ได้ที่สามารถยติดอลูมิเนียมฟลอยกับแผ่นพลาสติก ฟิวเจอบอร์ด ได้(ผมใช้แป้งเปียก)



วิธีทำ

1.ขยายแบบแล้วคัดลอกลงบนแผ่นพลาสติกฟิวเจอร์บอร์ด

2.ตัดแผ่นพลาสติกฟิวเจอบอร์ดตามแบบ ใช้สันใบมีดคัตเตอร์กรีดตามรอยเส้นสำหรับพับ

3.อีกด้านหนึ่ง(ตรงข้ามกับด้านที่กรีดด้วยคัตเตอร์)ทากาวแล้วติดแผ่นอลูมิเนียมฟลอย

4.พับแผ่นพลาสติกฟิวเจอบอร์ดที่ติดแผ่นอลูมิเนียมฟลอยแล้วตามรูป

5.ที่ช่องสลอตให้เอาปีกใส่แล้วกลัดด้วยไม้จิ้มฟันหรือตะปูตัวเล็กเพื่อกันหลุด


การนำไปใช้

ตัวอย่างการนำไปใช้โดยการหุงข้าว

-นำข้าวจ้าวมาใส่ในหม้อใส่น้ำให้น้ำท่วมข้าวสูงประมาณ 1ข้อนิ้วชี้(เหมือนหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า)

-ปิดฝาแล้วนำใส่ในถุงพลาสติกใสมัดด้วยหนังยางให้แน่น

-นำไปวางในแผงรับแสงอาทิตย์โดยให้แผงหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์

-รอสักครู่ประมาณ1ชั่วโมงครึ่งถึง2ชั่วโมงขึ้นอยู่กับแสงแดดในวันนั้น ข้าวจะสุก


ข้อจำกัด
-ต้องขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ
-ใช้เวลานาน

ข้อดี
-ประหยัดพลังงาน
-มีเวลาเพิ่มขึ้น
-ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
-ประหยัดเงิน


สิ่งควรจำ
-ในวันที่มีแสงแดดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้งานเตาแสงอาทิตย์คือ 9.00-17.00 น.
-ถ้าเป็นธัญพืชหรือผักต้องใส่น้ำจะทำให้สุกเร็ว
-การอบขนมปังหรือเค๊กควรทาน้ำมันที่หม้อเพี่อป้องกันแป้งติดหม้อ
-อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ไม่ต้องใส่น้ำและควรจะทำให้มีชิ้นบางๆเพื่อให้สุกง่าย
-ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารควรทำจากโลหะที่นำความร้อนได้ดี เช่น เงิน,ทองแดงหรืออลูมิเนียมและผิวด้านนอกต้องพ่นหรือทาด้วยสีดำ แนะนำให้ใช้สีดำด้านเพราะจะดูดความร้อนได้ดี

หลักการทำงาน
เมื่อแดดส่องมายังแผงรับแสงจะเกิดการสะท้อนแสงไปยังหม้ออลูมิเนียมที่บรรจุอาหารอยู่ภายในทำให้เกิดความร้อนขึ้น หม้ออลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะที่นำความร้อนได้ดีและถูกพ่นสีดำก็จะดูดความร้อนแพร่กระจายไปทั่วหม้อและส่งผ่านไปที่อาหารที่อยู่ภายใน ความร้อนส่วนหนึ่งถูกระบายออกจากผิวของหม้อแต่ไม่สามารถระบายออกด้านนอกได้เนื่องจากมีถุงพลาสติกปิดกั้นไว้ทำให้เกิดความร้อนสะสมจนทำให้อาหารที่อยู่ภายสุกได้ หลักการนี้เป็นหลักการเดียวกันกับปฎิกิริยา กรีนเฮ้าเอฟเฟค ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นนั้นเอง

ระยะเวลาที่ใช้ในการปรุงอาหารชนิดต่างๆ ด้วยเตาพลังแสงอาทิตย์


ระดับความสุก

1. อาหารที่สุกง่าย 1-2 ช.ม. / ไก่ ไข่ ผัก ผลไม้ ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว

2. อาหารที่สุกปานกลาง 3-4 ช.ม. / มะเขือเทศ ผักหัวหรือราก เมล็ด ขนมปัง

3. อาหารที่สุกยาก 5-8 ช.ม. / ซุป สตูล ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อสัตว์ อาหารปริมาณมากๆ หรือการต้มน้ำในปริมาณมากๆ

ถ้าจะหุงข้าวสวย ควรแช่ข้าวสาร ทิ้งไว้ก่อนหุง(ก่อนแดดจะมา) ประมาณ 2 ช.ม. เพื่อจะได้สุกไว...


บทความนี้มิได้ต้องการให้ท่านละทิ้งความสะดวกสบายจากพลังงานที่ใช้อยู่ แต่ต้องการให้เราหยุดคิดว่านอกจากพลังงานที่เราใช้กันจนจะหมดโลกอยู่แล้ว ยังมีพลังงานที่อยู่ไกล้ตัวเรามากจนเราสัมผัสได้จากความร้อนที่ถูกต้องตัวเราทุกเมื่อเชื่อวันก็คือแสงแดดจากดวงอาทิตย์ และก็ยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆอีกมากมายที่รอให้เรามาเลือกใช้ ถ้าเราหันหลังกลับมามองแล้วช่วยกันหาวิธีประยุกต์ใช้กันอย่างจริงจังในสถานการณ์ฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ ครับ





__________________

อยู่พอเพียง แล้วจะ เพียงพอ


จาก ห้องภัยพิบัติและการเตรียมการ ที่มา board.palungjit.com