กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 2 เมืองรัตนบุรี

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 2 เมืองรัตนบุรี



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 2 เมืองรัตนบุรี

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 2 เมืองรัตนบุรี




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 2 เมืองรัตนบุรี




    ก่อนรู้จักกับเมืองรัตนบุรี


    รัตนบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดสุรินทร์
    มีเจ้าเมืองคนแรกคือ พระศรีนครเตา (เชียงสีหรือตากะอาม)
    มีประวัติศาสตร์และประเพณียาวนานกว่า 200 ปี
    มีชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวอีสาน


    แต่เดิมเรียกว่า บ้านกุดหวาย หรือเมืองตา ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองในพ.ศ. 2302 รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งถูกเรียกว่าเมืองรัตนบุรี
    ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่ที่ราบสูง ตอนเหนือจดลำน้ำมูล ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มตอนใต้ค่อนข้างสูง พื้นที่ส่วนมากเป็นทราย
    ลำน้ำมีความสำคัญ ห้วยแก้ว ห้วยทับทัน แม่น้ำมูล ห้วยไผ่ ห้วยกู่ ห้วยจริง



    แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าก็คือ
    ประวัติ- ดินแดนในแถบนี้ หมายถึงดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



    ภาพรวมของดินแดนในแถมภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกี่ยวข้อง


    พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีอากาศร้อนจัด และหนาวจัด พื้นดินไม่เก็บน้ำจึงมีสภาพแห้งแล้ง พื้นที่อันกว้างขวางจึงเป็นป่าดงและทุ่งหญ้า อย่างไรก็ตามในระยะต่อมาเมื่อได้มีโครงการชลประทานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาคนี้กลับกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำแหล่งที่สองรองจากภาคกลาง


    ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในวงกระหนาบของประเทศลาวและเขมร

    1 ดินแดนที่ติดต่อกับประเทศลาวทำได้สะดวกตลอดแนวชายแดน เพราะมีเพียงลำน้ำโขงกั้นอยู่ และประชาชนเป็นชนเผ่าเดียวกันกับไทย

    2 ดินแดนที่ติดต่อกับเขมรนั้น ทิวเขาพนมดงรักกั้นอยู่อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ การติดต่อถูกจำกัดอยู่ตามช่องทางต่าง ๆ ผ่านเขาที่สูงชัน และเป็นแนวยาวตลอด


    ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายปากปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ โดยมีทิวเขาเลยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาดงพระยาเย็น และทิวเขาสันกำแพงอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ทิวเขาพนมดงรักอยู่ทางด้านทิศใต้ มีภูเก้าและภูพานอยู่ทางด้านทิศเหนือ และเชื่อมต่อกับทิวเขาเลยมามาพบทิวเขาพนมดงรัก พื้นที่โดยทั่วไปสูงเหนือระดับน้ำทะเล ประมาณ 140 - 200 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 50 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นน้อย ๆ เนื้อดินเป็นดินปนทราย และเกือบไม่มีดินตะกอนอยู่เลย


    ภูมิประเทศ ทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง

    ทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร


    ตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้ แบ่งภาคอีสานออกเป็น 2 ส่วน คือ

    - แอ่งโคราช คือ บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด

    - แอ่งสกลนคร คือบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง



    ดินแดนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่อดีต ชุมชนต่าง ๆ ได้มีพัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นรัฐ โดยมีแหล่งชุมชนโบราณจำนวนมากกระจายอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและลุ่มแม่น้ำมูล

    มีกลุ่มวัฒนธรรม 2 กลุ่มคือ

    1 กลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งนิยมทำคูน้ำคันดินเป็นวงรี หรือวงกลมรอบเมือง นิยมตั้งเมืองใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการชักน้ำเข้ามาเก็บในคูเมือง

    2 กลุ่มวัฒนธรรมขอม ที่ผังเมืองมักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีการขุดบารายไว้เป็นแหล่งน้ำในเมือง


    ประวัติศาสตร์ ในสมัยโบราณภาคนี้เคยเป็นอาณาจักรขอมก่อนที่จะตกมาเป็นของไทย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีชนชาวเขมร และส่วยปะปนอยู่กับชนชาติไทยทางตอนใต้ของภาค ส่วนทางตอนเหนือและตะวันออก มีชนชาวเวียตนามเข้ามาปะปนอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้มีชาวเวียตนามอพยพเข้ามาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีชนชาติอยู่ทั่วไปทั้งที่เป็นจีนแท้ และลูกผสม


    เมื่อประมาณ พ.ศ. 1100 พวกละว้าเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจินละ หรืออิศานปุระ ส่วนพวกละว้าก็ถอยร่นไปทางทิศเหนือ เมื่อขอมแผ่อิทธิพลและมีอำนาจครอบครองดินแดนเดิมของละว้าแล้ว ขอมได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ภาค โดยตั้งเมืองศูนย์กลางการปกครองบังคับบัญชาขึ้น 3 เมือง คือ เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) และเมืองสกลนคร แต่ละเมืองมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชเท่าเทียมกัน และปกครองบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนครวัด อันเป็นราชธานีของขอม ซึ่งอยู่ในดินแดนเขมร


    อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่ขยายครอบคลุม ดินแดนอีสานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 14 หลังจากนั้นอาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ดินแดนอีสาน โดยมีอิทธิพลสูงมากในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 - 18


    เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1761) อิทธิพลของขอมในแผ่นดินอีสานเริ่มเสื่อมลง หัวเมืองภาคอีสานของไทยนับตั้งแต่หนองหานลงไป จนถึงเมืองร้อยเอ็ด แต่ก่อนอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมทั้งหมด ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.1827 เมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 แขวงเมืองร้อยเอ็ดได้ตกอยู่ปกครองของอยุธยา ดังนั้น พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพลงไปตีเอาเมืองร้อยเอ็ดและเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองพระศาสตร์ เมืองพระสะเขียน เมืองพระลิง เมืองพระนารายณ์ เมืองพระนาเทียน เมือง เซขะมาด เมืองสะพังสี่แจ เมืองโพนผิงแดด


    ในสมัยโบราณภาคนี้เคยเป็นอาณาจักรขอมก่อนที่จะตกมาเป็นของไทย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีชนชาวเขมร และส่วยปะปนอยู่กับชนชาติไทยทางตอนใต้ของภาค


    ส่วนทางตอนเหนือและตะวันออก มีชนชาวเวียตนามเข้ามาปะปนอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้มีชาวเวียตนามอพยพเข้ามาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีชนชาติอยู่ทั่วไปทั้งที่เป็นจีนแท้ และลูกผสม


    เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยก็เริ่มมีอำนาจและเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ และได้มีการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ส่วย” “กวย” หรือ “กุย” ที่อาศัยในแถบเมืองอัตปือแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112) พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา โดยแยกกันหลายพวกด้วยกัน


    พ.ศ. 1896-1916 เริ่มยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ที่ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนอีสาน ครอบคลุมอาณาเขต 2 ฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง ชุมชนโบราณขนาดใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนขนาดเล็ก และรับอิทธิพลแบบของล้านช้าง


    เมื่ออาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาในดินแดนอีสาน ทั้งสองอาณาจักรจึงประนีประนอมปักปันเขตแดนในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โดยอาณาจักรล้านช้างทำการปกครองตั้งแต่ ดงสามเส้า หรือ ดงพระยาไฟ ไปจนถึงภูพระยาพ่อและแดนเมืองนครไทย และรวมก่อตัวเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง

    เมืองที่เก่าแก่ที่ปรากฏในทำเนียบ เมืองโบราณแถบอีสานคือเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างเมืองนครราชสีมาขึ้นใหม่ บริเวณที่ตั้งเมืองในปัจจุบันนี้ แทนเมืองโคราชเก่า (ปัจจุบันคือในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ที่กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากราษฎรอพยพหนีความแห้งแล้งและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีฐานะของเมืองเทียบเท่าเมืองชั้นเอก


    เมืองนครราชสีมา คงจะสร้างในสมัยเดียวกันกับเมืองนครราชสีมา เพราะมีประตูเมือง หอรบ และถนนกลางเมืองแบบเดียวกัน ลักษณะของเมืองมีความมั่นคงมาก มีป้อมปราการหอรบที่แข็งแรง ข้าศึกจะเข้ายึดเมืองได้ยาก เมื่อสร้างเสร็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราช (สังข์) ซึ่งเป็นขุนนางที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยมาก มาเป็นเจ้าเมืองเพื่อพระราชทานเป็นความดีความชอบในการปฏิบัติราชการ


    ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีเมืองขึ้น 4 เมือง ได้แก่

    เมืองชัยภูมิ
    เมืองแปะ (เมืองบุรีรัมย์)
    เมืองนครจันทึก (สีคิ้ว)
    เมืองพิมาย

    ช่วงต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองนครราชสีมา ได้ปกครองเมืองขึ้น 10 เมือง ได้แก่ เมืองพุทไธสง เมืองภูเขียว เมืองชัยภูมิ


    เมืองรัตนบุรี


    เมืองรัตนบุรี ได้ปรากฏเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงการปกครองเมืองนครราชสีมา และเมืองก็อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมาหลายครั้ง


    สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อประมาณ พ.ศ.2200 มีชาวกวย กลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป (แสนปาง) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ฝั่งขวาแล้วเดินเลี่ยงตามเชิงเขาพนมดงรักมาทางฝั่งทิศเหนือ ไปทางทิศตะวันตก จนมาถึงดินแดนเมืองรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์) แล้วแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ คือ


    พวกที่ 1 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคก เมืองเต่า หรือบ้านกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสี หรือตากะฮาม

    พวกที่ 2 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองทีอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม

    พวกที่ 3 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะ และเชียงขัน

    พวกที่ 4 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง

    พวกที่ 5 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านโคกอัจจะ หรือโคกดงยาง (เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ

    พวกที่ 6 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดผไท (บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์) มีเชียงชัย เป็นหัวหน้า


    เมืองอัตปือ เดิมเรียกว่าบ้านทุ่งอัตกระบือ หรืออัตกระบือ เป็นเมืองสำคัญหนึ่งอยู่ในเขตลาว ตั้งอยู่ฝั่งโขงตะวันออก ยกฐานะเป็นเมืองอัตกระบือในสมัยกรุงธนบุรี ปัจจุบันเรียกว่า เมือง อัตปือ ด้านการปกครองนั้นขึ้นอยู่กับจำปาศักดิ์ ชื่อเสียงของเมืองอัตปือมีชื่อเสียงด้านมีช้างชุกชุม และคนพื้นเมืองมีความสามารถพิเศษในการจับช้าง หัวหน้าผู้อาวุโส เป็นผู้ปกครองทำนองพ่อบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน ไม่ขึ้นแก่ใครในช่วงนั้นซึ่งปกครองกันเองอย่างเป็นอิสระมีอาชีพในการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาดำในพื้นที่ลุ่มรอบ ๆ หมู่บ้าน


    ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ครองกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงหนีออกจากเมืองหลวงเข้าป่าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ โปรดเกล้าให้สองพี่น้อง เป็นหัวหน้ากับไพร่พล 30 นาย ออกติดตามคณะติดตามได้รับคำแนะนำจากเจ้าเมืองพิมายว่า มีพวกกวยซึ่งชำนาญในการจับช้างตามหลักตำราคชศาสตร์ ซึ่งได้พากันไปติดตามช้างจนจับช้างได้โดยความช่วยเหลือจากหัวหน้าหมู่บ้านกวย หลังจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านกวยติดตามและไปส่งจนถึงกรุงศรีอยุธยา สองพี่น้องกราบทูลถึงการที่สามารถจับช้างเผือกเพราะได้รับความช่วยเหลือจากพวกหัวหน้าหมู่บ้านกวย


    การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้รับความบอบช้ำ ต้องเสียกรุงและไพร่พลเมืองตลอดจนพม่าได้ทำการเผาผลาญและทำลายบ้านเมืองไม่ยอมยั้งมือ ทำให้ยากแก่การปฏิสังขรณ์บูรณะเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระยาวชิรปราการ ขณะนั้น) ทรงพิจารณาเมืองธนบุรีแล้ว ทรงเห็นว่าเมืองธนบุรีเหมาะสมมากกว่าหลายประการคือ เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไร่พลของพระองค์ในขณะนั้น เป็นเมืองหน้าด่าน สามารถป้องกันไม่ให้ชุมชน ใหญ่ ๆ อย่างชุมชนพระยาพิษณุโลก ชุมชนเจ้าพระยาฝางติดต่อซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์จากชาวต่างประเทศได้โดยสะดวก และข้อสำคัญที่สุดก็คือ หากป้องกันเมืองธนบุรีไว้ไม่ได้แล้วก็อาจจะล่าถอย ไปตั้งหลักที่เมืองจันทบุรีได้อีกด้วย 1 และพระยาวชิรปราการจำพระทัยปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี แต่ประชาชนทั่วไปขนานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตาก เมื่อพ.ศ.2310 และทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานี มีนามว่า กรุงธนบุรีศรีสินทรมหาสมุทร



    พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองพิมาย โดยให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังจาก

    เมืองปะทายสมันต์
    เมืองขุขันธ์
    เมืองสังขะ
    เมืองรัตนบุรี


    เพื่อยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ แล้วตั้งให้พระยาสุโพ เป็นผู้รั้งเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง รวมทั้งคุมเอาตัวพระเจ้าองค์หลวง (คือ เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร) ยกกองทัพล้อมมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเลื่อนเจ้าเมืองทั้ง 3 เมือง คือ ขุขันธ์ สังฆะ สุรินทร์ ขึ้นเป็นตำแหน่ง “พระยา”


    พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบโดยเกณฑ์กำลังจาก เมืองขุขันธ์ ปะทายสมันต์ สังขะ สมทบกับทัพหลวง ไปตีเมืองกำพงสวาย เมืองบรรทายเพชร เมืองบรรทายมาศ เมืองซูงตำแรย์ (ถ้ำช้าง) ในช่วงนั้นเป็นระยะเวลาในช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี


    +++++++++++++++++++++++++++++++++++






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-12-2011 at 17:13.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ขอบคุณครับกว่าที่จะมาเป็นเมืองรัตนะบุรีได้นี่ไม่ใช่ธรรมดาแน่นอนและ
    กว่าจะมาถึงยุคปัจจุบันนี้ก็สุดยุคเป็นเมืองขึ้นเป็นประเทศราชของทั้งเขมร
    และพระเจ้าโง้มและลาวแล้วทุกวันนี้เรายังมากัดกันเพื่อโกงกินกันโดยไม่
    อายเจ้าของแผ่นดินที่ท่านได้สละเลือดเนิ้อแลกเอาไว้เฮ้อๆๆๆ

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    ยามไปนาก่อนสิกินข้าวทุกครั้ง พ่อกับแม่จะให้ปั้นข้าวคำหนึ่ง และกับข้าว ใส่ใบตองหรือใบไม้อะไรก็ได้ไปวางแล้วเรียกว่า " พ่อใหญ่สีครเตาเอ้ย มากินข้าวนำลูกนำหลานเด้อ "

    พ่อใหญ่สีครเตา น่าจะเพี้ยนมาจาก พ่อใหญ่ศรีนครเตา ตามที่คุณครูเล็กนำประวัติมาให้อ่าน

    ...............................................................................................................

    ผมมีเรื่องสงสัยมานานมากแล้วขอรบกวนสอบถามด้วยนะครับ

    คือว่าชื่อเมืองเตานี้ ยังมีอีกที่หนึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านผม ชื่อว่าบ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ และมีแม่น้ำไหลผ่านชื่อว่า แม่น้ำเตา

    ไม่ทราบว่า ทั้งสองเมืองนี้ คือ เมืองเตา รัตนบุรี สุรินทร์ กับเมืองเตา พยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม มีความเกี่ยวข้องกันไหมครับ หรือว่าชื่อเหมือนกันเฉยๆ

    ...........................................................................................


    เมืองเก่าแถวบ้านผม มีชื่อดังนี้ครับ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ประมาณ 1,000 หลังคาเรือน ทั้งนั้น แต่ปัจจุบันนี้บางเมืองก็กลายเป็นอำเภอ บางเมืองก็เป็นแค่หมู่บ้านธรรมดา

    บ้านเมืองหงส์ อำเภอจตุรพักตร์พิมาน ร้อยเอ็ด
    บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย ร้อยเอ็ด
    บ้านเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง ร้อยเอ็ด
    บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม ตระกูลยายผมมาจากบ้านนี้
    บ้านเมืองเสือ
    บ้านเมืองเจีย
    บ้านเมืองลีง จัวหวัดสุรินทร์


    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=806771

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •