กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4 คนกุลา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4 คนกุลา



    +++++++++++++++++++++++++++++++++

    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4 คนกุลา

    +++++++++++++++++++++++++++++++++




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4 คนกุลา




    [WMA]http://khonsurin.webs.com/000Numbankai.wma[/WMA]

    เพลงหนุ่มบ้านไกล – หนู มิเตอร์






    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา





    กุลา จากชนเผ่าพ่อค้าเร่ สู่ตำนานแห่งท้องทุ่ง


    เขามาจากที่ไกล เดินทางรอนแรม
    สู่พื้นที่เขตแล้ง ทางแห่งชาวกุลา
    นายกองตองสู เดินทางขายสินค้า
    ผ่านดินพงพนา สู่ท้องทุ่งกว้างใหญ่


    พื้นที่กว้าง หนทางเงียบเหงา
    จากบุรีรัมย์ยากเดา พื้นที่ต่อไป
    ถึงมหาสารคาม ครวญคร่ำน้ำตาไหล
    โอ้หนอคิดว่าจบได้ ความเหนื่อยล้าแรง



    เดินทางหาบของ มองตะวันเม็ดเหงื่อริน
    สองมือปาดเหงื่อถวิล โอ้คนถิ่นไกล
    ถึงสุรินทร์ เกือบสิ้นใจ
    คนค้าคนขาย ร่างกายต้องทน


    โอ้เอ๋ย...จำจร รอนแรมไป
    ฟ้าจรดทราย ดินจรดฟ้าทุกแห่งหน
    ผ่านทุ่งมหาสารคาม อ้างว้างหมองหม่น
    คนค้าขายสุดทน นั่งร้องไห้ในทุ่งกุลา





    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    ร้องเพลงหวานแว่ว
    ฝากลมพัดแผ่วพริ้วไปสู่แดนไกล



    เส้นทางเดินของชาวกุลา



    ชาวกุลา คือชนชาติไทยใหญ่ ของนายกองตองสู หรือตองสู้ หรือต้องสู้ ที่เดินทางค้าขายอยู่ในภาคอีสาน ตามวิธีเรียกจากพงศาวดารภาคที่ 4
    เรียกพวกกุลาว่า นายกองตองสู หรือตองสู้ หรือต้องสู้


    ชาวกุลาคงจะเดินทางเร่ขายสินค้าในภาคอีสาน จนมีชื่อเรียกทุ่งกุลาร้องไห้ (ซึ่งเป็นทุ่งที่กว้างใหญ่มีพื้นที่ติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสุรินทร์)


    การเร่ขายสินค้าของชาวกุลาหรือต้องสู้นี้ จะเดินทางเป็นกองพ่อค้าวัวต่างจำนวนมาก บางคณะอาจจะมีถึง 100 คน




    หลักฐานเอกสารปี พ.ศ. 2381 ใน รัชกาลที่ 3

    หลักฐานเอกสารที่บันทึกเรื่องราวของชาวกุลานี้ พบเก่าที่สุดในปี พ.ศ. 2381 (รัชกาลที่ 3) ข้อความบันทึกของราชการที่กักตัวพวกกุลาหรือต้องสู้ที่เดินทางค้าขายในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ตาก สวรรคโลก และกำแพงเพชร




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    อุ่นลำนำบทเพลงรักจากดวงใจ
    จากหนุ่มบ้านไกลส่งใจมาถึงเธอ




    สมัยรัชกาลที่ 4 บันทึกการเข้าสู่ ภาคอีสาน ของชาวกุลา


    ส่วนภาคอีสานนั้น ปรากฏเอกสารเก่าที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่บันทึกเรื่องราวของชาวกุลาในภาคอีสาน นั่นคือบันทึกเรื่องราวขัดแย้งระหว่างต้องสู้ กับเจ้าเมืองร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิและขอนแก่น กรณีโคประมาณ 600- ตัวที่ต้องสู้ซื้อในเมืองเหล่านี้


    บันทึกมีว่า ต้องสู้ได้ซื้อโคในร้อยเอ็ด 66 ตัว ในสุวรรณภูมิ 178 ตัว และในขอนแก่น 333 ตัว แล้วเจ้าเมืองเหล่านี้ก็ยึดโคทั้งหมดไว้ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองเหล่านี้ชดใช้ราคาโคแก่ชาวต้องสู้ ซึ่งขณะนั้นรออยู่ที่กรุงเทพฯ โดยให้ขายโคคืนแก่เจ้าของเดิม หรือขายให้ใครก็ได้เพื่อนำเงินมาชดใช้ให้ต้องสู้ แต่เจ้าเมืองเหล่านี้ก็ดำเนินการช้ามาก ทางกรุงเทพฯ จึงต้องจ่ายเงินค่าโคให้ต้องสู้ไปก่อน 2,763.5 บาท แล้วสั่งให้เจ้าเมืองใช้เงินคืนให้ทางกรุงเทพฯ โดยไม่ชักช้า


    เจ้าหน้าที่กรุงเทพฯ เองก็สงสัยอยู่ว่าพม่า-อังกฤษ (ขณะนั้นพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว) มีความในใจอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังการค้าของต้องสู้ และสั่งให้เจ้าเมืองในภาคอีสานมิให้ขายโคกระบือแก่ชาวต่างชาติ




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    แม้ยามค่ำคืนทนข่มขื่น
    เหงาจนแทบขาดใจ




    จากเหตุการณ์ในภาคเหนือและภาคอีสาน


    เหตุการณ์ในภาคเหนือและภาคอีสานครั้งนั้น ก่อให้เกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับการค้าในระยะแรกๆมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับสัตว์พาหนะได้ถดถอยลง จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ทางไทยห้ามค้าในที่สุด


    พวกต้องสู้ที่เป็นพ่อค้าเร่ในภาคเหนือ บางทีก็ถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจับพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยเหตุการณ์ในร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ และขอนแก่น เกิดขึ้นก่อนที่ สนธิสัญญาบาวริง ซึ่งได้รับการให้สัตยาบันในวันที่ 5 เมษายนพ.ศ. 2399 จะมีผลบังคับใช้


    ข้อแรกของสนธิสัญญานี้บังคับว่า ต้องรับประกันว่าบุคคลในบังคับอังกฤษที่เดินทางมาประเทศสยาม จะต้องได้รับความคุ้มครอง และได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากรัฐบาลสยาม ในการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยและอำนวยความสะดวกทางการค้าอย่างดี


    และผลประโยชน์ของบุคคลในบังคับอังกฤษทุกคน จะต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎระเบียบของกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ตลอดทั้งการพิพากษาคดีความ คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิเดินทางได้ทั่วไป ภายใต้การคุ้มครองของหนังสือเดินทางของอังกฤษ และตราประทับร่วมของเจ้าหน้าที่ไทยที่กำหนดชื่อไว้โดยเฉพาะ


    ข้อตกลงในสัญญาเหล่านี้ รวมทั้งภาคผนวก ซึ่งลงลายมือในเดือนพฤษภาคม 2399 เป็นพื้นฐานในการกำหนดกฎเกณฑ์การค้าของกุลาหรือต้องสู้ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากเมืองมะละแหม่ง และเป็นคนในบังคับอังกฤษ


    หลังจากสนธิสัญญาฉบับนี้ กิจการค้าของกุลาหรือต้องสู้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากท่าทีที่เจ้าหน้าที่สยาม อำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างด้าวจากพม่าในบังคับอังกฤษดีมาก


    ในเวลาต่อมา เอกสารทางราชการไทยจำนวนมากที่ประกาศไปยังเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ เกี่ยวกับแผนการเดินทางตามปรารถนาของบุคคลในบังคับอังกฤษ ตามรายงานของกงสุลอังกฤษในสยาม




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา




    ด้วยปัญหาเกาะกุมสุมอยู่มากมาย
    ขาดเธอนั้นอยู่คู่กาย ทำไฉนคนดี





    สถานที่ซึ่งกุลาหรือต้องสู้มีแผนการเดินทางเพื่อการค้าโดยทั่วไป คือหัวเมืองในลาวฝ่ายเหนือ (มณฑลลาวพวนหรืออุดร) หรือนครราชสีมา ตาก เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน น่าน ซึ่งเดินทางไปบ่อย และบริเวณที่ไม่บ่อยนัก คือนครสวรรค์ สวรรคโลก ลพบุรี หล่มสัก เป็นต้น


    กลุ่มที่เดินทางไปทางนครราชสีมา มักจะเดินทางต่อไปยังมะละแหม่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยเดินทางผ่านหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ


    สินค้าที่ต้องสู้ต้องการซื้อโดยทั่วไปที่นครราชสีมา และลาวฝ่ายเหนือ คือ ช้าง งาช้าง เขาสัตว์ ไหม และโคกระบือ พวกเขาสนใจไม้ซุงด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นผลิตผลในเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน และน่าน สินค้าที่นำไปขายเป็นพิเศษก็คือปืนและผ้าไหม คนกุลาหรือต้องสู้ จะเดินทางเป็นหมู่ถึง 48 คน พ่อค้ากุลาหรือต้องสู้เหล่านี้มีปืนและดาบเป็นอาวุธ


    รัฐบาลไทยจะแนะนำเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ ให้อำนวยความสะดวก และความปลอดภัยแก่ต้องสู้ในการค้าขาย ส่วนราคานั้นสุดแท้แต่จะตกลงกันเอง เจ้าหน้าที่เป็นเพียงผู้บันทึกรายละเอียดของโคกระบือที่ตกลงซื้อขายกันแล้วเท่านั้น แต่เมื่อการค้าขยายตัวก้าวหน้ามากขึ้น การปฏิบัติก็นับเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้เกิดปัญหามากจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    แต่ความหวังยังมีที่เธอคนนี้
    จะสู้ทนขวากหนามที่มี




    เมื่อถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า กุลา คือคนกลุ่มไหนกันแน่



    ท่านตอบได้ทันทีว่ากุลา คือ พวกพ่อค้าเร่ที่มักจะเข้ามาค้าขายผ้าผ่อนแพรพรรณ และพักค้างคืนตามวัดในหมู่บ้านอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (กุลาเที่ยวขายผ้านอนที่วัด)


    การรับรู้ว่าคำว่า กุลา เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กุลา กลายเป็นชื่อที่เรียกพวกพ่อค้าชาวไทยใหญ่ที่มีสัญชาติพม่าในขณะนั้น (ในภาษาพม่า กุลา มาจากคำว่า กาลา (kala) ซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น)


    มีกลุ่มพ่อค้าเร่จำนวนมากจากประเทศพม่า เดินทางเข้ามาค้าขายตามหมู่บ้านต่างๆ ตลอดที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล สิ่งของต่างๆ ที่พวกเขานำมาขายมีทั้งเสื้อผ้า, กลอง, เครื่องเงินและเครื่องประดับอื่นๆ เป็นต้น


    ในสายตาของคนลาวซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ คนกุลา เป็นผู้ชายตัวสูง ใส่ตุ้มหูและโพกผ้าขาวรอบศีรษะ พวกเขามิได้ใช้วัวเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของเข้ามาขาย แต่เดินเท้าเข้ามาพร้อมกับ หาบ (หาบ ในที่นี้คือ ตะกร้าขนาดใหญ่มากคู่หนึ่ง ใหญ่กว่าที่คนลาวใช้กันเสียอีก)


    คนลาวมองว่า คนกุลาเป็นคนแปลกหน้าที่มีความเก่งกล้าสามารถ อีกทั้งยังมีความรู้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางพุทธศาสนาหรือเวทมนตร์คุณไสยต่างๆ พวกเขาเดินทางไปไหนต่อไหนได้โดยไม่ต้องพะวงกับพรมแดนของประเทศ คนลาวเห็นว่าเพราะคนพวกนี้มีวิชาปกป้องตนเองจึงสามารถทำเช่นนั้นได้


    ชาวกุลาบางคนแต่งงานกับผู้หญิงลาวในพื้นที่ เช่น ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และที่หมู่บ้านในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
    คนลาวเห็นว่า คนกุลาปฏิบัติตัวดีเป็นที่ยอมรับนับถือของคนลาวจากที่ได้สัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้าน



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    พี่ยอมพลีแม้มันยากเย็น
    ก้าวสู่จุดหมายไปถึงฝั่งที่ฝันอยากเป็น




    พวกเขาเล่าว่า ชาวกุลา เป็นคนดีและร่ำรวย มีทั้งเงินมีทั้งทองทุกอย่าง (มีเงินมีทองมีหมด) อีกทั้งยังเป็นคนขยันขันแข็ง ไม่ทิ้งขว้างลูกเมียและครอบครัว


    คนกุลาบางคนได้ทำการเพาะปลูกในที่ดินของพ่อแม่ของฝ่ายภรรยา แต่บางคนก็มิได้ทำ เพียงแต่บ่นว่าดินที่นี่แข็งเกินไปไม่เหมาะจะปลูกอะไร ช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว, คนกุลาเริ่มออกเดินทางโดยจะนำข้าวส่วนที่เหลือจากที่แบ่งไว้กินแล้ว, น้ำตาลอ้อยและสิ่งละอันพันละน้อยอื่นๆ ใส่ หาบ ออกไปตระเวนขายยังท้องถิ่นอื่น


    เนื่องด้วยชาวกุลามีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก พวกเขาได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อบูรณะซ่อมแซมวัดภายในหมู่บ้าน อีกทั้งยังมอบคัมภีร์ที่มีอักษรจารึกทั้งภาษาไทยใหญ่ และภาษาพม่าให้แก่วัดอีกด้วย


    นอกจากนี้ ชาวกุลายังมีสุขนิสัยการกินที่ผิดแผกไปจากคนลาว คือ กินผักที่ต้มแล้ว, กินเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้วใส่น้ำมันงา, สูบบุหรี่มวนใบตอง เป็นต้น


    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวขาวกุลา คือ ข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ไม่ใช่ข้าวเหนียว (U 007) ข้าวชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่คนลาวและตามหมู่บ้านลาวที่รู้จักกับคนกุลา




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    ทำให้ได้ดีเด่นเพื่อมาเป็นขวัญใจคนดี
    ขอเพียงน้องนางยามพี่ห่าง




    สัมภาษณ์คนลาวที่เป็นชาวบ้านจากหมู่บ้าน ในอำเภอเขื่องใน


    จากคำสัมภาษณ์คนลาวที่เป็นชาวบ้านจากหมู่บ้าน ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บุคคลที่ให้สัมภาษณ์นี้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2456 จากความทรงจำของเด็กชายวัย 12 ปี เขาเล่าว่า


    มีชาวกุลา 12 คนได้เดินทางเข้ามายังหมู่บ้านและอาศัยอยู่ที่นี่ ในจำนวนนั้นเป็นพระ 4 รูป และที่เหลือเป็นชาวบ้านธรรมดา ภายหลังพระรูป หนึ่งได้ลาสึก และแต่งงานกับผู้หญิงลาว


    ส่วนพระอีก 3 รูปนั้นก็ยังคงอยู่ที่วัดในหมู่บ้านจนมรณภาพไปหมด สำหรับชาวกุลาที่เข้ามาขายของนั้น พวกเขาจะขายพวกผ้าฝ้าย, ผ้าไหม ที่นำมาจากหมู่บ้านทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


    เมื่อคนกุลาเข้ามาที่หมู่บ้านนี้เป็นครั้งแรกนั้น พวกเขามาพร้อมกับชาวบ้านอื่นๆ จากเมืองเชียงใหม่และลำปาง ที่ช่วยหาบของเข้ามาขาย คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่าเป็น ลูกน้อง พวกเขาจะได้รับค่าจ้าง 12 บาทต่อปี


    หลังจากนั้นมาอีกหลายปี เมื่อคนกุลาสร้างวัด (วัดทุ่งกุลา) ขึ้นในหมู่บ้าน พ่อแม่ของเขาก็เริ่มปลูกข้าวขาวกุลา (ประมาณปี พ.ศ. 2471) ปรากฏว่าครอบครัวเขาและหมู่บ้านลาวอื่นๆ ก็นิยมกินข้าวขาวกุลาเป็นมื้อเย็น ขณะที่ยังคงกินข้าวเหนียวเป็นอาหารมื้อเช้าและกลางวัน


    ผลผลิตที่ได้จากการปลูกข้าวของครอบครัวเขานั้นมีสัดส่วนดังนี้ คือ 20% เป็นข้าวขาวกุลา, 60% เป็นข้าวอีตม, 10% เป็นข้าวโด (2 ชนิดหลังนี้เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียว) และ 10% สุดท้ายเป็นข้าวพูนทอง สมัยก่อนโน้น ชาวลาวจะประกอบอาชีพ 2 อย่าง คือ ปลูกข้าว กับ ค้าขาย


    เราขายทั้งปลา, หมู, เนื้อ, ไก่, เป็ด ไปทั่วหมู่บ้าน วันหนึ่งๆ ได้เงินมาแค่ 4 -5 สตางค์เท่านั้น สมัยโน้นถ้าจะซื้อวัวตัวหนึ่งต้องใช้เงินมากถึง 1 บาท 50 สตางค์


    คนลาวบางคนพยายามเป็นช่างทำเงิน ช่างทำทอง นอกเหนือไปจากการปลูกข้าว แต่ก็ได้เงินจากการนี้น้อยเต็มที


    เงินเป็นสิ่งที่เราต้องการมาก ตอนที่ผมอายุ 20 ปี (ราวปี พ.ศ. 2476) นั้น ผมก็เริ่มออกค้าขาย โดยนำต่างหูและสร้อยคอ (ชิ้นละ 10 สตางค์) ไปขายตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงหลังเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว (ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน) โดยจะออกไปกับเพื่อนผู้ชาย 3-5 คนเป็นประจำอย่างนี้ทุกปี เราจะได้กลับมาในราว 12-30 บาทต่อปีคน



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    หัวใจอย่าแบ่งปั่น
    ช่วยถนอมเก็บอ้อมใจมิให้แปรผัน





    กุลาในหมู่บ้านของเราก็ออกไปค้าขายด้วยเช่นกันในเวลาเดียวกันนี้ แต่วิธีการขายของพวกกุลาไม่เหมือนกับของคนลาว เราจะเตรียมของออกไปขาย เมื่อของหมดแล้วเราก็กลับมาที่หมู่บ้าน



    แต่พวกกุลาจะไม่ทำแบบนี้ พวกเขาจะซื้อของในที่ที่เขาไปถึงแล้วก็ขายต่อไป เป็นการต่อทุนเพื่อเดินทางไปเรื่อยๆ ทำให้พวกกุลาเดินทางไปได้ไกลกว่าพวกเราคนลาว แต่ดูเหมือนว่าในท้ายที่สุดแล้ว กำไรที่ได้จากการค้าขายของพวกกุลาก็ไม่ได้มากไปกว่าของพวกเราชาวลาวเลย



    เป็นที่รู้กันทั่วไปในสมัยนั้น ว่าอาชีพการตีเหล็ก, ช่างทำเงิน, และช่างทำทอง นั้นเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีให้แก่ผู้ทำ



    พวกคนลาวมีเทคนิคการทำจากพ่อค้าชาวจีนในเมืองอุบลราชธานี หรือไม่ก็จากพวกคนลาวกันเองที่ไปทำงานนี้ในแขวงสะวัณณเขต สำหรับในหมู่บ้านของเราเองแล้วนั้น เกือบครึ่งหนึ่ง (ราว 100 ครัวเรือน) ก็ได้ไปเรียนวิชาเหล่านี้กับเขาด้วยเหมือนกัน ในช่วงราวปี พ.ศ. 2473 ประมาณนั้น




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    เก็บความรักเก็บความฝันรอวันนั้นพี่มา





    ผู้เฒ่าในหมู่บ้านบอกเราว่า เรียนกันแค่ 3 เดือนให้รู้พื้นฐานก็เพียงพอแล้ว จากนั้นก็เริ่มฝึกหัดทำกันไป ใช้เวลาอีกในราว 3 - 4 ปีถึงจะเรียกว่าทำเป็นอาชีพได้อย่างแน่นอน สำหรับการทำทองนั้น เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบในจังหวัดอุบลราชธานีเลย ทำให้ต้องสั่งทองเข้ามาทำจากเมืองบางกอก


    (หมายเหตุ ช่วงราวต้นปี พ.ศ. 2460 เกิดอหิวาตกโรคะบาดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อกันว่าโรคะบาดร้ายแรงนี้แพร่มาจากเมืองบางกอก เรามองเห็นทัศนคติที่ต่อต้านเมืองหลวงของคนในชุมชนในสมัยนั้นจากเหตุการณ์อันนี้ ขณะเดียวกัน เงิน ก็เปรียบเสมือนกับผีร้ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ คำว่า ผี นั้นชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่สามารถนำพาความอุดมสมบูรณ์หรือนำความหายนะมาสู่ชีวิตของพวกเขาได้ - Hayashi)

    จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้คนตามหมู่บ้านต่างๆ ทำให้เรารู้จักคนกุลา มากขึ้น



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    ร้องเพลงหวานแว่ว
    ฝากลมพัดแผ่วพริ้วไปสู่แดนไกล
    อุ่นลำนำบทเพลงรักจากดวงใจ
    จากหนุ่มบ้านไกลส่งใจมาถึงเธอ




    อธิบายคำนิยามของ คนกุลา ได้ดังนี้


    คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อเห็นพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยวรูปร่างสูงใหญ่นุ่งกางเกงขายาวปลายบาน โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายในภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพวกแขกบังคล่า


    จึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยวว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกขาวเช่นมาจาก อาฟกานิสถาน อิหร่าน ฯลฯก็เลยเรียกว่าพวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศ




    แม้ยามค่ำคืนทนข่มขื่น
    เหงาจนแทบขาดใจ
    ด้วยปัญหาเกาะกุมสุมอยู่มากมาย
    ขาดเธอนั้นอยู่คู่กาย ทำไฉนคนดี




    จากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยว หรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายใน
    ภาคอีสานจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้


    พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน


    แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านี้ ี้


    ในอดีต มีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้ง


    กุลามีรูปร่างสูงใหญ่ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูง



    แต่ความหวังยังมีที่เธอคนนี้
    จะสู้ทนขวากหนามที่มี
    พี่ยอมพลีแม้มันยากเย็น
    ก้าวสู่จุดหมายไปถึงฝั่งที่ฝันอยากเป็น




    ในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยวนำสินค้ามาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า




    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา




    ทำให้ได้ดีเด่นเพื่อมาเป็นขวัญใจคนดี
    ขอเพียงน้องนางยามพี่ห่าง
    หัวใจอย่าแบ่งปั่น
    ช่วยถนอมเก็บอ้อมใจมิให้แปรผัน





    เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่า ต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง ในปัจจุบัน


    นี่คือเรื่องราวของ ชาวกุลา พ่อค้าชายไต หรือไทยใหญ่ ในดินแดนภาคอีสาน แห่งตำนานทุ่งกุลาร้องไห้



    เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 4  คนกุลา



    เก็บความรักเก็บความฝันรอวันนั้นพี่มา





    +++++++++++++++++++++++++++++++







    ขอบคุณ

    มูลนิธิ เล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดร้อยเอ็ด
    หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก





    +++++++++++++++++++++++++++++++



















    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 24-12-2011 at 10:30.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    เห็นตำนานกล่าวขานชาวกุลา
    เดินข้ามผืนฟ้าทั้งน้ำตาที่รินไหล
    เดินหลงทางข้ามผืนดินที่กว้างไกล
    บ้างสิ้นใจเพราะป่าใหญ่จำวกวน

    อยากมายลตำนานลูกหลานเผ่า
    ที่เขาเล่าคนกล่าวอ้างช่างน่าสน
    ขอฝากตัวเป็นลูกหลานอีกสักคน
    จะยอมทนแม้นต้องมนต์ชาวกุลา ...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •