กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ไส้เดือนดิน สู่ การสร้างรายได้

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ไส้เดือนดิน สู่ การสร้างรายได้


    *************************

    ไส้เดือนดิน สู่ การสร้างรายได้

    *************************




    ไส้เดือนดิน สู่ การสร้างรายได้



    ไส้เดือนดิน (EARTHWORM)



    ไส้เดือนดิน  สู่ การสร้างรายได้



    ไส้เดือนดินจัดอยู่ใน Phylum Annelida
    ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน




    ไส้เดือนดิน


    จัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหารคือ

    1 ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์

    2 ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่


    โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4 -10 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน


    แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงมักพบว่าไส้เดือนดินมีอายุสั้นลง โดยทั่วไปจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี




    ไส้เดือนดิน  สู่ การสร้างรายได้



    ไส้เดือนดิน  สู่ การสร้างรายได้




    ลักษณะทั่วไป



    1. จัดเป็นผู้บริโภค ( consumer ) ระดับ Scarvenger กินเข้าไปย่อยภายใน

    2. มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ ( Segmentation ) มีเยื่อ Cuticle คลุมผิวหนัง

    3. ผิวหนังบางชื้นใช้หายใจได้ เคลื่อนไหวโดยใช้เดือยรอบ ๆ ปล้อง ( Seta )

    4. ปล้องที่ 14, 15, 16 เรียกว่า Clitellum สร้างปลอกหุ้มไข่ ( Cocoon )

    5. เป็นกระเทยที่แท้จริง สร้างได้ทั้งไข่และอสุจิแต่ผสมกันในตัวเองไม่ได้

    6. มีกึ่น ( Gizzard ) ช่วยในการย่อยอาหาร

    7. มีอวัยวะขับถ่ายเรีบกว่า Nephridia ขับของเสียที่เป็นของเหลวออกทางรูผิวหนัง

    8. มีหัวใจเทียม ( pseudoheart ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 8 - 13

    9. มีเลือดสีแดง Hemoglobin อยู่ในน้ำเลือด ( Plasma )

    10. มีเส้นประสาททางด้านท้อง Ventral nerve cord




    การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการสร้างรายได้



    ไส้เดือนดิน  สู่ การสร้างรายได้



    การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการสร้างรายได้


    1 ชั้นพลาสติกตามต้องการ

    2 ขี้เลื่อย 2 ปีบ

    3 ฟางแห้งสับ 2 กระสอบ

    4 น้ำสะอาดพอประมาณ




    วิธีการ


    1 นำขี้ลื่อย ผสม ฟางข้าว มาคลุกเคล้ากัน ค่อยๆใส่น้ำ ในได้ความชื้นที่เหมาะสมกับไส้เดือน

    2 เจาะรูปชั้นพลาสติกให้ระบายมูลให้ตกมาชั้นล่างได้ โดยชั้นล่างไม่ต้องเจาะรู เช่นชั้นพลาสติก 4 ชั้นให้เจาะรู ชั้นที่ 4 – 3 – 2 ส่วนชั้นที่ 1 ไม่ต้องเจาะรู เพื่อระบายน้ำจากชั้นที่ 4 ลงมาจนถึงชั้นที่ 1

    3 นำไปใส่ในชั้นพลาสติกตาม ครึ่งชั้นพลาสติก

    4 เมื่อทำที่อยู่ของไส้เดือนเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 7 วัน

    5 นำไส้เดือนมาใส่ชั้นละ ประมาณ 500 ตัว

    6 ให้อาหารไส้เดือนจำพวก เศษผัก เศษผลไม้ หรือ ลังกระดาษแช่น้ำ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

    7 หลังจากนี้ประมาณ 20 วัน ไส้เดือนจะเริ่มมีลูก ลักษณะเป็น เส้นด้ายสีขาว และผ่านไปอีก 7 วัน ลักษณะจะเปลื่ยนเป็น สีน้ำตาลแดง ช่วงนี้ให้คัดแยกพ่อพันธ์ แม่พันธ์ ไปอยู่อีกชั้นพลาสติกอื่นได้ เหลือลูกไส้เดือน ก็เลี้ยงตามปกติ




    ไส้เดือนดิน  สู่ การสร้างรายได้



    การเก็บมูลไส้เดือน


    1 มูลไส้เดือนมีลักษณะเป็น ขุยดินร่วน อยู่ด้านบนของที่อยู่ไส้เดือน

    2 เก็บมูลปุ๋ยไส้เดือนโดยใช้มือโกย ขุยดินของที่อยู่ด้นบนของไส้เดือน ออกมาใส่ภาชนะ แล้วนำไปตากแดด โดยคัดเอาตัวไส้เดือนออกจากกองขุย ทั้งหมด ตากแดดมูลไส้เดือนไว้ประมาณ 30 – 40 นาที แล้วนำไปผึงลมในที่ร่ม 30 นาที เพื่อไม่ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนแห้งเกินไป

    3 จากนั้นนำไปแปรรูป เช่นการอัดเม็ด หรือ เก็บไว้เลยก็ได้ ปุ๋ยนี้จะมีจุลลินทรีย์ ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์




    ประโยชน์และการนำมาใช้


    1 ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน จะมีอนุภาคละเอียด จึงสลายตัวได้ตามกระบวนการทางชีวภาพ เกิดธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง จุลธาตุนี้จะง่ายต่อการดูดซับผ่านรากของพืช ได้ง่ายและรวดเร็ว

    2 มีฮิวมัส และจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน และต่อพืช ช่วยทำให้ดินร่วนซุย

    3 แม้จะใช้ปริมาณน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก

    4 ใช้ได้กับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ใบ ไม้กระถาง สนามหญ้า พืชผักสวนครัวทุกชนิด ไม้ผล นาข้าว

    5 โรยปุ๋ยชนิดนี้ประมาณ 200 – 300 กรัม ต่อ ต้น ทุก 7 - 15 วัน หลังใส่ ควรพรมน้ำเล็กน้อยก่อน เพื่อให้ปุ๋ยจับตัวกัน แล้วจึงรดน้ำตามปกติ

    6 สำหรับนาข้าว นำไปใช้ก่อนไถกลบ ประมาณ 30 – 50 กิโลกรัม / ไร่ จะสามารถปรับสภาพดินให้มีความสมบูรณ์ ดินร่วนซุย และ ป้องกันการเกิดโรคใบไหม้ในนาข้าวได้



    ส่วนน้ำหมักมูล


    - ด้านล่างของชั้นพลาสติก คือกองอาหารที่ไส้เดือนกินหมดแล้ว ปล่อยให้ความชื้นลงมา

    - นำน้ำหมักมูลไส้เดือนที่เก็บไว้มากรองใส่ขวดน้ำอัดลมหรือ ขวดพลาสติคก็ได้ บรรจุขวดละ 1 ลิตร สามารถนำมาจำหน่ายได้

    - คุณภาพของน้ำหมักมูลไส้เดือน เช่นเดียวกันกับ ปุ๋ยมูลไส้เดือน





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 22-02-2012 at 16:58.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    เป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากมายครับ ตอนเป็นเด็กใช้เสียมน้อยขุดไส้เดือนให้เป็ดน้อยกินประจำครับ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ลุงคึดได่แล้วว่าจะลองเลี้ยงใส้เดือน(ขี้ไก่เดือน(ขี้ไก่เดียน)บ้านลุงเอิ้น)ไว่ไปซิดเบ็ด,ใส่เบ็ดกะดีเด้เน๊าะ
    ขอบคุณจารย์เล็กที่ให้ข้อมูลทั้งทางวิชาการและภาคปฎิบัติครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •