เอนอ้าเอนอ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Osbeckia stellata Ham.
ชื่อสามัญ Indian Rhododendron , Malabar Melastome
วงศ์ MELASTOMATACEAE
ชื่ออื่น โคลงเคลง เหมร(ใต้) พญารากขาว(กลาง) หญ้าพลองขน(ชุมพร) อ้าน้อย(เชียงใหม่) เอนอ้าน้อย(อุบลราชธานี) เอนอ้าขน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งก้านสีแดงเข้ม มีขนปกคลุมทีกิ่งและใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปรีแกมขอบขนาน มีเส้นใบสามเส้นจากโคนใบถึงปลายใบ มีขนละเอียดปกคลุมทั่วใบ ดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 3 – 5 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ มีสีชมพูออกม่วง เวลาบานจะอ้าออก ออกดอกตลอดปี ผลสุกจะแตกออก มีเนื้อภายในสีม่วงเข้ม มีรสหวาน
สรรพคุณทางสมุนไพร
รากของเอนอ้าจะใช้ฝนทาแผลทั้งแผลสดและไฟลามทุ่ง ฝนกับน้ำซาวข้าวอมรักษาแผลในปาก (ร้อนใน) ดอก (ถ้าได้ดอกขาวจะดีมาก) ตำกับมะนาวหรือสารส้มแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยราก รสขม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง บำรุงตับไตและดีทั้งต้น ราก และใบ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ ต้มกินสำหรับการที่แม่อยู่กำกินผิด (อาการผิดสำแดงจากการกินของแสลงของผู้หญิงหลังคลอด) ทั้งยังสามารถใช้ในรายที่มีการตกเลือดมากผิดปกติ
ดอก เป็นยาระงับประสาทและห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร ราก เป็นยาดับพิษไข้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงตับไตและดี