หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 19

หัวข้อ: เมื่อบ้านเอาบุญเดือนสี่ (บุญเผวต) ทางกาฬสินธุ์

  1. #1
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    เมื่อบ้านเอาบุญเดือนสี่ (บุญเผวต) ทางกาฬสินธุ์

    วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาไก่น้อย เมื่อบ้านติดภาระกิจเฮดบุญ 100วันแม่ป้าเอากระดูกเพิ่นเข้าธาตุ เลยอดไปทำบุญนำพี่น้องบ้านมหา พอดีช่วงกลับบ้านมีงานประเพณีบุญเดือนสี่ หรือบุญเผวต หรือบุญเทศน์มหาชาติ บ้านเฮา ไก่น้อยเก็บภาพบรรยากาศมาฝากพี่น้องผู้บ่ได้เห็นประเพณีบ้านเฮาแบบนี้มาฝากกันจ้า

    บุญเดือนสี่ ความสำคัญและความหมาย
    บุญ เผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ดังมีคำพังเพยว่า " เดือนสามด้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ด้อยจัวน้อยเทศน์มะที " ( คำว่า เจ้าหัว หมายถึงพระภิกษุ จัว หมายถึง สามเณร มะที หมายถึง มัทรี ) บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน ทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณร และเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงานและจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หลังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดย ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้น เพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้ง อยู่มาร่วมทำบุยด้วย ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมาก ๆ หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้าน ของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกีณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียม ความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกันฑ์ที่คนซึ่งจำนวนคาถาของกัณฑ์ต่าง ๆ มีดังนี้ ทศพร 19 คาถา หิมพานต์ 134 คาถา ทานกัณฑ์ 209 คาถา วนปเวสน์ 57 คาถา ชูชก 79 คาถา จุลพน 35 คาถา มหาพน 80 คาถา กุมาร 101 คาถา มัทรี 90 คาถา สักบรรพ 43 คาถา มหาราช 68 คาถา ฉกษัตริย์ 30 คาถาและนครกัณฑ์ 48 คาถา รวม 1000 คาถาพอดีชาวบ้านยังแบ่งหน้าที่กันด้วยว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงพระภิกษุสามเณร และญาติโยมหมู่บ้านใด โดยแบ่งหน้าที่มอบให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ เนื่องจากแต่ละวัดมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านไปร่วมกันมากชาวบ้านจึงช่วยกัน ปลูกที่พักชั่วคราวขึ้น เรียกว่า ตูบ ( กระท่อม ) หรือผาม ( ปะรำ ) จะปลูกรอบบริเวณวัดรอบศาลาหรือรอบกฏิก็ได้ ตูบมีขนาดกว้างประมาณ 4 ศอก ยาวตามความเหมาะสม หลังคาเป็นรูปเพิงหรือเป็นจั่วก็ได้ พื้นปูด้วยกระดานหรือฟาก ที่พักนี้กะจัดทำให้พอเพียง และให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเริ่มงาน

    มูลเหตุ

    ที่ มีการทำบุญเผวส มีเล่าไว้ในเรื่องพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบพระศรีอริยเทตไตรย พระศรีอริยเมตไตยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่าถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก ได้แก่ ฆ่าหรือข่มเหงบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ทำร้ายร่างกายพระพุทธเจ้าและยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน ให้อุตสาห์ฟังเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกหรือเผวสให้จบในวันเดียวกันฟังแล้ว ให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้พบพระศาสนาของพระองค์ เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์จึงได้บอกให้มนุษย์ทราบ โดยเหตุนี้ผู้ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญเผวสสืบต่อกันมา

    วิธีดำเนินการ

    ก่อนมีงานบุญเผวสหลายวัน ชาวบ้านชายหญิงทั้งคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งส่วนมากเป็นหนุ่มสาวพากันไปรวมกันที่วัด ช่วยกันจัดทำที่พักสำหรับผู้มาร่วมงานและช่วยกันจัดทำดอกไม้ จัดตกแต่งประดับประดาศาลาโรงธรรมด้วยดอกไม้ พวงมาลัยและธงทิว พวกผู้หญิงจะจัดทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนพันธูปพันเทียน ปืนดาบอย่างละพัน และข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน ดอกไม้ที่จัดมีดอกบัวพันดอก นอกนี้อาจมีดอกผักตบ ดอกกางของ ( ดอกปีบ ) อย่างละพันดอก ( ดอกไม้ปรกติทำด้วยไม้แทน ) ธงพันผืนทำด้วยเศษผ้า กระดาษสี ใบลานหรือใบตาลก็ได้ เสร็จจากการจัดดอกไม้ธูปเทียนธงและสิ่งดังกล่าวแล้ว ซึ่งด้วยสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ มีขันหมากเบ็ง ( บายศรีประดับด้วยหมาก ) แปดอัน โอ่งน้ำ 4 โอ่ง ตั้งไว้ที่มุมธรรมาสน์ ในโอ่งน้ำมีจอก แหน ( สาหร่าย ) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกจิกดอกฮัง ( ดอกเต็งรัง ) ดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก ฯลฯ และใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปนก รูปวัว รูปควาย รูปช้าง รูปม้า ฯลฯ เอาไว้ที่ใต้ธรรมาสน์ เอาธงใหญ่แปดวงปักรอบนอกศาลาในทิศทั้งแปด เพื่อหมายว่าเป็นเขตปลอดภัย ป้องกันพญามารไม่ให้ลำเข้ามา ตามเสาธงที่ใส่ข้าวพันก้อน ซึ่งปรกติสานเป็นพานด้วยไม้ไผ่ บางแห่งสานเป็นตาด้วยไม้ตอก เป็นคีรีวงกตไว้รอบศาลาและทำเป็นทางเข้าศาลาโรงธรรมคดเคี้ยวไปมา บนศาลานอกจากประดับประดาให้สวยงามแล้ว บางแห่งยังมีภาพมหาเวสสันดรชาดกประดับไว้ทางด้านตะวันออกของศาลาโรงธรรม ปลุกหออุปคุตขึ้นไว้พร้อมมีสิ่งเหล่านี้บนหอด้วยคือ มีบาตร 1 ใบ ร่ม 1 คัน กระโถน 1 ใบ กาน้ำ 1 ใบ แลสบงจีวร 2 ชุด สำหรับพระอุปคุต การจัดตกแต่งดังกล่าวกะจัดให้เสร็จเรียบร้อยวันงานพอดี วันรวม ( วันโฮม ) วันแรกของงานเรียกว่า " วันรวมหรือวันโฮม " ในวันโฮมนอกจากจะมีประชาชนตามละแวกบ้านและหมู่บ้านอื่นที่ใกล้เคียงหลั่งใหล กันมาร่วมงานแล้ว


    ที่มา เวบไซด์ วิกีมีเดีย
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  2. #2
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    ตำนาน พระอุปคุต

    จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น เราทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลัง พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปี แต่ไม่ทราบ ภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน



    จากการสันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ ที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ

    สรุปรวมความได้ว่า ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ

    เรื่องราวก็มีอยู่ว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูป มากมายทั่วทั้งชมพูทวีป (เค้าว่ามากถึงแปดหมื่นสี่พันองค์) เป็นผู้รวบรวมและขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อจะนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง

    เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภ ที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดนั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพ ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่าง ๆ

    แต่พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีรูปใดที่จะสามารถ เป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ให้พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงได้ (โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย) นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์ มาช่วยรักษาความปลอดภัย ในงานสมโภชครั้งนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น


    และในครั้งนี้เอง พระอุปคุตเถระ ถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ ชำแรกมหาสมุทร ลงมาถึงตัวท่านแจ้งว่า ให้ท่านจงเป็นธุระ ป้องกันพญามารอย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้

    เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์ ก็เดินทางมานมัสการ และรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบเรื่อง ผู้จะที่จะมาทำหน้าที่รักษาการ งานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงทราบ ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระ ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้น มีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ ก็ทรงไม่แน่ใจ เกรงจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

    ครั้นรุ่งเช้าวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระ ออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ใคร่จะทดสอบฤทธิ์พระเถระ จึงทรงปล่อยช้างซับมัน (ช้างตกมัน) ให้เข้าทำร้ายพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้น จึงสะกดช้าง ที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระ ก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสาร

    เมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ มีฤทธิ์เดชมาก พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงวางพระทัย ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

    บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพ และพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตร และต่างแดนจากจตุรทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน พร้อมเครื่องสักการบูชา เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์ และเจดีย์ ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

    และในเวลานี้เอง พญามาร (พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร) ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงานกับเค้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่า และสัตว์หิมพานต์ แต่ทุกครั้งก็โดนพระอุปคุตเถระ กำราบได้หมด และสุดท้าย เพื่อให้พญามาร ออกไปจากบริเวณพิธี พระอุปคุตเถระ จึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น คล้องคอพญามารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตาม (นอกจากท่านเอง) จะเอาหมาเน่านี้ออก จากคอพญามารไม่ได้ แล้วขับพญามารออกไป จากบริเวณงานทันที

    ด้วยความอับอาย พญามารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแก้ร่างสุนัขเน่า ออกด้วยฤทธานุภาพ แต่ทำอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเมื่อเอามือทั้งสอง ต้องสายประคตที่คล้องคอทีไร ต้องมีไฟลุกขึ้นไหม้คอ และมือทันที สุดจะแก้ไขด้วยตนเองได้ ก็ไปหาที่พึ่งอื่น (ที่คิดว่าน่าจะช่วยได้)

    แต่ถึงแม้จะไปหาท้าวมหาราชทั้งสี่ พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำว่า ให้พญามารไปขอขมา และขอความเมตตา จากพระเถระผู้นั้นเสียดีกว่า

    พญามารเห็นดังนั้น จึงจำใจต้องกลับไปหาพระเถระ อ้อนวอน ให้ช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้ แล้วจะไม่มารบกวน การจัดงานอีก พระอุปคุตเถระก็อนุโลมตาม แต่ยังไม่ไว้ใจพญามารนัก เกรงพญามาร จะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงเดินนำพญามาร ไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาร่างหมาเน่าทิ้งลงเหว และเนรมิตให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญามาร ไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภช พระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ (7 ปี 7 เดือน 7 วัน)

    เวลาผ่านไปตามที่ตกลงกัน การจัดงานสมโภชน์ ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ จึงกลับมาหาพญามาร โดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญามารว่า ละพยศร้ายหรือยัง

    พญามารเอง เมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุข มารับทุกขเวทนาเช่นนี้ ก็ละพยศร้ายในสันดาน หวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดี ในความเมตตากรุณา ของพระพุทธเจ้า ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ว่า “ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์ โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบ แก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้ สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุต ไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย กระทำกับข้าพเจ้า ให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และได้รับความอับอาย เป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าข้ายังมีบุญกุศล ที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต ดังเช่นพระองค์ต่อไป”



    กล่าวได้ว่า การตกระกำลำบากในครั้งนี้ ทำให้พญามาร ซึ่งความจริงแล้ว ในอดีตชาติ (ในยุคของพระกัสสปพุทธเจ้า) เคยมีจิตตั้งมั่น ที่จะบำเพ็ญเพียร ให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ที่ได้กระทำการขัดขวาง พุทธศาสดาของพระพุทธโคดม ก็ด้วยความริษยา พระพุทธโคดม (มีมิจฉาทิฐิ) เนื่องด้วยพระองค์ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนตน ทั้งๆ ที่ตนบำเพ็ญบารมี มามากพอสมควรเหมือนกัน แต่การกระทำในแต่ละครั้ง ก็มิได้ล่วงเกิน ทำบาปหนักแต่ประการใด

    เมื่อพระอุปคุตเถระ ได้ยินคำปรารภดังนั้น ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ พร้อมทั้งขอขมาพญามาร และบอกว่า การกระทำครั้งนี้ ก็เพื่อให้พญามาร ระลึกได้ถึงพุทธภูมิ ที่ท่านเคยปรารถนาไว้เท่านั้นเอง มิได้มีเจตนา ที่จะล่วงเกินประการใด ซึ่งพญามารก็เข้าใจด้วยดี

    พระอุปคุต เขมร

    ต่อจากนั้นพระเถระ ก็ได้ขอให้พญามาร เนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์ เพื่อจะได้เห็น เป็นพุทธานุสติบ้าง ซึ่งพญามารก็รับคำ แต่ขอร้องว่า เมื่อเห็นเขาเนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์แล้ว อย่าหลงกราบไหว้เป็นอันขาด เพราะจะให้เขาบาปหนัก

    ครั้นเมื่อพญามารเนรมิตกาย เป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และฉัพพรรณรังสี อันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา แวดล้อมด้วย มหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวาร เสด็จเยื้องย่าง ด้วยพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง พระเถระ และบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเช่นนั้น ก็ลืมตัวพากันถวายนมัสการ ทำเอาพญามารตกใจ รีบคืนร่างเดิม และท้วงติงว่า ทำให้ตนมีบาปหนัก แต่พระเถระ ก็กล่าวให้พญามารสบายใจว่า ทุกคนกราบไหว้พระพุทธเจ้า และพญามารก็ไม่บาปหรอก จะได้กุศลมากกว่า

    พระอุปคุต ลงรักปิดทองเก่า


    จากนั้นพญามาร ก็กลับคืนสู่สวรรค์ ชั้นที่ 6 วิมานของตน และนับแต่นั้นมา พญามารได้มีจิตอ่อนน้อมเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา หมดสิ้นน้ำใจริษยา และบำเพ็ญบารมี เพื่อพุทธภูมิต่อไป

    หมายเหตุ
    เนื้อเรื่องได้กล่าวถึง พระพระกัสสปพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อความเข้าใจ ในการอ่าน ขอเสริมว่าตามตำนาน โลกเรานั้น แบ่งช่วงเวลาเป็นกัลป์ ซึ่งแต่ละช่วง ในแต่ละกัลป์ ก็จะมีพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ โปรดบรรดาสัตว์โลก เป็นคราวไป ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงมีหลายพระองค์ ซึ่งเวลาหนึ่งกัลป์นั้นนานนัก (กัลป์ที่เราอยู่นี้ มีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้แค่ 5 พระองค์ และมีหลายๆ ช่วงในแต่ละกัลป์ ที่ปราศจากพระพุทธศาสนา โดยสิ้นเชิง ดังนั้นถือว่าเราโชคดีมาก ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาตินี้
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  3. #3
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    ผู้เฒ่า ไทบ้านพร้อมใจกันไปแห่พระอุปคุต ที่ท่าน้ำ วังกกทัน บ้านไก่น้อยเองจ้า

    กลับบ้านได้ร่วมทำบุญกับไทบ้านกะมีความสุขเนาะพี่น้อง

    ทั้งผู้เฒ่า หนุ่มสาว เด็กน้อยพร้อมใจกัน

    ฮอดท่าน้ำแล้วนั่งฟังพระเทศน์ให้พร

    หาหม่องนั่งตามอัธยาศัย จ้า

    เด็กๆให้ความสนใจ ในประเพณี บ้านเฮาพ่อแม่พาเฮด พาทำจ้า

    พ่อลุงผูเชิญพระอุปคุต ยังดำน้ำบ่ทันขึ้น มีเสียงฮ้องถามจากฝั่ง ...พ้อหละไป้


    ผู้อยู่ในน้ำกะตอบ...... บ่ๆ สักพักกะบอกว่า .....พ้อแล้วๆๆ

    ขึ้นมาจากน้ำกะทำการบวช เป็นพิธีจ้า

    เด็กน้อยกะตั้งใจเบิ่งพิธีการ แบบสนใจ

    รวมทั้งสาวน้อยนางนี้ที่พึ่งได้เบิ่งประเพณีเป็นเทื่อแรก
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  4. #4
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    หลังจากนั้นกะพากันแห่ พระอุปคุตเข้าบ้าน มาวัดจ้า นางรำกะเทิงรำ เทิงถ่ายรูป :l-

    มาฮอดวัดแล้ว

    เอาดอกไม้ถวายพระอุปคุตจ้า

    มโหรีแห่ ม่วนๆๆจ้า ได้ยินเสียงหละอยากฟ้อนโลดยังว่า

    ชาวบ้านกะสิขึ้นมาบนศาลา ที่ประดับประดา แล้ว มาจับฉลากใส่คายเทศน์ ไก่น้อยจับได้ กัณฑ์มัทรี แมะจ้า (ย้านเสียของรักเด๋ อิอิ )

    ถามอิแม่ว่า คือมีขนม ข้าวต้ม ข้าวเกรียบนำ เลาว่า เผื่อคนมาฟังเทศน์หิว กะสิได้กินไปนำ :l-

    จับสลากเป็นเจ้าของคายเทศน์


    ญาติพี่น้องรอรุ้น 5555+


    ผู้เฒ่าผู้แก่ อิแม่แอนด์เดอะแก๊งค์:l-

    ยามมื้ออื่นเช้ากะมีแห่ข้าวพันก้อน ตะตีสี่ ตื่นบ่ทันจ้อย แล้วงานบุญเดือนสี่ ไก่น้อยกะเฮดบุญร้อยวันแม่ป้าต่อ จ้า ขึ้นสวรรค์เด้อ ป้าลุ เอ่ย


    ภาพโบถส์ บ้านไก่น้อย เป็นภาพที่ไก่น้อยมักหลาย ถ่ายยามได่กะรู้สึกชอบ และกะสงบ แล้วกะอยากไปวัด คือสิแม่นเห็นมาตะน้อยแล้วจ้า

    อีกสักภาพ


    ขอบคุณพี่น้องที่เข้ามาอ่าน แล้วกะบ้านมหาดอทคอม ที่ให้พื้นที่ไก่น้อยได้ร่วมแชร์ ประเพณีอิสานบ้านเฮาจ้า
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ขอคุณหลายๆค่ะเอื้อยไก่น้อยที่นำภาพบรรยากาศงานบุญมาสู่เบิ่ง และสาระความรู้เรื่องการเฮ็ดบุญเผวตมาไห่ได้ฮู้อย่างละเอียด
    จะแม่นดีหลายค่ะ

  6. #6
    ฝ่ายกิจการพิเศษ สัญลักษณ์ของ กำพร้าผีน้อย
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    ที่อยู่
    รัตนาธิเบศร์..ใกล้แยกแคราย
    กระทู้
    1,788

    ...จั่งแม่นเนาะไก่เอ้ย..ไปโทมบุญตลอดเลยน้อง..คนมีบุญคือว่าหละ...เบิ่งแล้วกะคึดฮอดบ้าน..หม่องท่าน้ำวังกกทันแหมะ..ยามหน้าแล้งช่วงสงกรานต์เป็นหม่องเล่น..หางมหอยกาบ.หอยแคงมาแกง....เห็นเพื่อนสาวอ้ายแว้บๆแหมะ เพิ่นยุบ้านติ......

  7. #7

    เมื่อบ้านเอาบุญเดือนสี่ (บุญเผวต) ทางกาฬสินธุ์

    ขออนุโมทนาบุญด้วยจ้าน้องไก่น้อยธุจ้าธุจ้า

  8. #8
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    เพื่อนสาวอ้ายดุลย์ เลาเมื่อบ้านก่อนไก่อาทิตย์นึงจ้า เพิ่นสำบายคักเฮดงานของเจ้าของ (ร้านตัดผ้า) มาตั้งแต่งานวันเกิดหลวงพ่อ พระอาจารย์มหาถาวร ตั้งแต่วันที่ 10 มีนา พร้อมงานบ้านมหาพาแลงนั่นหละอ้าย ยังบ่กลับยุจ้า
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  9. #9
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ siranee
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    ลาดกระบัง54(วัดศรีวารีน้อย)
    กระทู้
    909
    ฟ้าทางเมืองกสินธุ์คืองามแท้เนาะเอื้อยแจ่มๆๆจ้า :l-

  10. #10
    Moderators สัญลักษณ์ของ สหายพง
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ผมมากับรถผ้าป่า
    กระทู้
    1,369
    วัดเป็นตาไปบวชแท้เจ้เป็นตาอยู่แฮงแหม

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •