กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง



    *****************************
    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง
    *****************************





    บทที่ 2 (2) ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง




    ถอดความจากหนังสือชนชาติไทย
    เรียบเรียงโดยหลวงนิติเพทย์นิติสรรค์
    จากต้นฉบับของ ด๊อกเตอรวิลเลียม คลิฟตันด๊อค





    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

    เชียงตุง (ปัจจุบัน)


    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง
    เชียงตุง (ปัจจุบัน)



    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

    เชียงตุง (ปัจจุบัน)




    ความเดิม



    หมอบริดส์ ผู้เป็นเพื่อนสนิทของ หมอด๊อคค์ (ผู้แต่ง) ได้ชักชวนให้หมอด็อค เดินทางเข้าไปในประเทศจีนตอนใต้ เพื่อไปสืบค้นชนชาติไทยที่มีอยู่เหนือสยาม ขึ้นไปอีก


    เรื่องราวการค้นหาชนชาติไทยในจีนตอนใต้ของคุณหมอวิลเลี่ยม คลิฟดนด๊อค ที่แสดงให้เห็นว่าการเดินทางไกลต้องไปด้วยความยากลำบากมาก ทั้งภาษา การเดินทางด้วยเท้า การกินอยู่


    การตระเตรียมเดินทาง สิ่งที่ต้องเตรียมไป ก็คือ สิ่งของต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่ศาสนา เช่น หนังสือคำสอน, เสบียงอาหาร, ของใช้ในระหว่างทาง, คนครัว, คนใช้, ม้า, เกวียน,กับเครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของที่จำเป็นอื่นๆ


    การเดินทางครั้งนี้ หมอด๊อค ต้องมี คนใช้อย่างสนิทชิดเชื้อซึ่งเป็นคนไทยชาวเชียงรายไปด้วยอีกคนหนึ่ง




    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

    เชียงตุง (ปัจจุบัน)


    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

    เชียงตุง (ปัจจุบัน)


    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง

    เชียงตุง (ปัจจุบัน)





    บทที่ 2 (2) ชนชาติไทย – ในแคว้นเชียงตุง



    เวลาเช้า วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ 2453) พวกเราได้ฤกษ์ยกกองเดินทางจากบ้านของข้าพเจ้าที่จังหวัดเชียงรายซึ่งอยู่ฝ่ายเหนือในสยาม ในระหว่างเดินทางตลอดเวลา 2 เดือนครึ่ง ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมสถานมิสชันรีต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในดินแดนทางตะวันออกในพะม่า

    ความมุ่งหมายข้อแรกก็คือจะไปที่จังหวัดเก็งตุง (คือเชียงตุง แต่อังกฤษ เรียงว่า Kengtung) อันเป็นเมืองหลวงและมีชื่ออย่างเดียวกับชื่อมณฑลหรือแคว้นนั้น คือแคว้นเก็งตุง (Kengtung State เราเรียกว่าแค้วนเชียงตุง) (เป็นของอังกฤษ อยู่ในพะม่าเหนือ) ชื่อเมืองก็เป็นชาติไทย, กาษาและขนบธรรมเนียมก็เป็นของไทย, เป็นเชื้อสายของชนที่พูดภาษาเดียวกันกับชนที่อยู่ทางฝ่ายเหนือสยาม




    ถึงแม้ชนที่อยู่ในเขตต์แขวงของแคว้นเก็งตุง (เชียงตุง) ผู้ไม่ใช่ไทยก็หาใช่พะม่าไม่, แต่เป็นชาติชาวเขาที่ไม่มีหนังสือของตัวเอง แผนที่การปกครองที่ประเทศมหาอำนาจได้ทำขึ้นในระยะ 20 – 30 ปีที่ล่วงมานี้ ก็ทำขึ้นอย่างรู้สึกว่าตนเป็นมหาอำนาจเพราะเห็นได้ชัดว่า การรวมเอาแคว้นเก็งตุงเข้าเป็นประเทศพะม่าด้วยนั้น หาได้คิดถึงเชื้อสายของชาติและจำกัดอาณาเขตต์ที่เป็นเจ้าของของคนพื้นเมืองไม่ แม้พวกมิสชันรีที่ประจำอยู่ทางตะวันออกในพะม่าก็ไม่ใช่สำหรับสั่งสอนชนชาติพะม่าแต่สำหรับสอนชนชาติไทยในพะม่า ซึ่งเป็นชนชาติเดียวกับชาวชนที่อยู่ทางฝ่ายเหนือของสยาม


    จังหวัดเก็งตุงซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นเก็งตุง (เชียงตุง) ตั้งอยู่เยื้องไปทางตะวันตก 2 – 3 ไมล์ เป็นเส้นตรงเหนือขึ้นไปจากจังหวัดเชียงราย แต่หนทางที่จะไปนั้น ต้องอ้อมไปทางตะวันออกก่อน แล้วจึงวกกลับมาทางตะวันตก เหตุพระฉะนั้นถ้าเดินทางจากจังหวัดเชียงรายจะเสียเวลา 10 หรือ 11 วัน จึงจะถึงจังหวัดเก็งตุง


    การวัดหรือกำหนดระยะทางนั้น ตามที่คนทางแถบนี้ใช้กัน กำหนดด้วย “เวลา” ไม่ใช่กำหนดด้วย “ไมล์” หรือ “เมตร” อย่างอังกฤษหรือสยาม


    แต่ถ้าเป็นทางสั้นๆ เช่นรยางค์ทางระหว่างหมู่บ้าน เขากำหนดเป็น “ชั่วหม้อข้าวเดือด” กี่หม้อ


    แต่ถ้าเป็นระยะทางไกลๆ กำหนดเป็น “วัน” แต่การเดินทางต้องเดินด้วยเท้า ไปตามทางที่ไม่ใช้ภูเขาและตามกำลังของคนปานกลางที่สามารถเดินได้ เพราะฉะนั้นระยะทางจากจังหวัดเชียงรายไปจังหวัดเก็งตุง ซึ่งกำหนดด้วยกำลังของคนเดินเป็นจำนวน 11 วัน


    แต่ครั้งก่อน การเดินทางไปจังหวัดเก็งตุงมี 2 ทาง ซึ่งต้องข้ามภูเขาทั้งนั้น เมื่อ 2 – 3 ปีล่วงมาแล้ว, สอบว่า (Sawbwa คือเจ้าฟ้าเชียงตุง) ผู้เป็นใหญ่ในแค้วนเก้งตุงอยู่ใต้อำนาจของผู้กำกับราชการอังกฤษได้ทางทางขึ้นใหม่เป็นทางที่ 3 และทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องข้ามภูเขา ภูมิประเทสเหล่านี้อยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวีน (Salween) พื้นที่ส่วนมากเป็นเนินและเป็นพืดเขา ซึ่งต่อมาจากภูเขาหิมาลัยในอินเดีย จึงทำให้เกิดเป็นแม่น้ำลำธารเป็นอันมาก


    ในดินแดนบนลุ่มแม่น้ำลำธารเหล่านี้ มีชนชาติไทยตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไป แต่ตามเนินเขามีชนชาวเขาอาศัยอยู่เป็นแห่งๆ ที่จริงชนชาติไทยมีจำนวนมากกว่าชนชาวเขามากนัก แม้ภูมิประเทศในแถบนี้จะเป็นเนินเขามากกว่าพื้นที่ราบก็ดี ซึ่งประมาณว่าเป็นภูเขาเสีย 15 ส่วน เป็นที่ราบแต่ส่วนเดียวเท่านั้น ถึงกระนั้นในพื้นที่เหล่านี้ยังมีหนทางยาวที่ไม่ต้องขึ้นเขาหรือข้ามเขาเลย หนทางชนิดนี้ถ้าจะสร้างทางรถไฟแล้ว ก็สร้างตามทางเกวียนหรือทางต่างนั่นเอง คือจากจังหวัดลำปางถึงเชียงราย เมื่อเข้าเขตต์เชียงตุงจึงสร้างตามทางที่สอบวา (เจ้าฟ้าเชียงตุง) ได้ทำขึ้นใหม่ ระยะทางเพียง 300 ไมล์เศษ เท่านั้น และการก่อสร้างก็คงสะดวก เพราะไม่ต้องข้ามเขา แต่ต้องสร้างเลียบตามลำธาร ซึ่งมีภูเขาขวางอยู่


    ถ้ารถไฟของสยามได้ขยายออกไปถึงจังหวัดเก็งตุง (เชียงตุง) คงทำให้สินค้าของประเทศจีนที่บรรทุกมาโดยทางเกวียนเจริญขึ้นมาก เพราะจังหวัดก็งตุงเป็นที่ประชุมการค้าขายแห่ง 1 และเป็นศูนย์กลางของทางเกวียนที่มาจากภาคต่างๆ โดยรอบ เช่น จากมณฑลยูนาน ผ่านเก็งตุนไปจังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปางในสยาม ไปยังจังหวัดมระแหม่ง จังหวัดมันตะเล และจังหวัดร่างกุ้งในพะม่า


    ในปัจจุบันนี้สินค้าในแถบนี้ยังไม่เจริญแพร่หลายเพราะทางคมนาคมยังไม่ดี ถ้ามีทางรถไฟแล้ว คงทำให้พื้นที่ในแถบนั้นเจริญขึ้น และทรัพย์โดยธรรมชาติที่ยังไม่เป็นประโยชน์ก็จะทำให้เกิดเป็นสินค้าแพร่หลายมากขึ้น เช่นเหมืองแร่ต่างๆ, ไม้สัก, น้ำมันดิบ, ยางเป็นต้น


    ทั้งพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำต่างๆ ก็กว้างใหญ่ก็ประกอบด้วยดินอันอุดมดี พืชพรรณขึ้นได้งอกงาม ก็จะมีผู้ทำให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และตามเนินเขาก็จะเป็นที่เลี้ยงสัตว์ได้ดีด้วย ถ้าทางคมนาคมสะดวกแล้ว คงมีตลาดใหญ่เกิดขึ้นและสามารถไปติดต่อกับตลาดของโลกได้ เหตุฉะนั้นกุศโลบายที่คิดสร้างทางรถไฟจึงเป็นเครื่องเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของท้องที่ไดอย่างดี และรถไฟไม่ใช่จะเป็นประโยชน์แก่ชนชาติไทยในท้องที่เหล่านี้เท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แต่ท้องที่อื่นๆต่อไปอีกมาก เพราะรถไฟคงไม่หยุดแต่เพียงจังหวัดเก็งตุง คงจะไปติดต่อกับรถไฟในประเทศจีน ซึ่งคงจะต้องสร้างต่อไป และทางเกวียนต่างๆ ก็จะมาสู่ทางรถไฟนี้ และคนชาติไทยในประเทศจีนก็คงจะรู้จักติดต่อกับชาติไทยทางฝ่ายใต้ผู้เป็นเชื้อชาติเดียวกัน


    ข้าพเจ้าได้มาถึงจังหวัดเก็งตุงเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) รวมเป็นเวลา 11 วัน นับตั้งแต่ออกจากจังหวัดเชียงรายในสยาม ต่อนั้นไปข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่จังหวัดเก็งตุงและจัดทำกิจการต่างๆให้เรียบร้อย และทำความสมาคมกับข้าราชการในจังหวัดนั้น


    วันที่ 20 มกราคม ข้าพเจ้าได้ไปหาและเยี่ยมเยือนข้าราชการที่เป็นคนพื้นเมืองในจังหวัดนั้นหลายคน โดยความชักนำของชาวอังกฤษในเมืองนั้นเพื่อความคุ้นเคยต่อไป


    เขาเหล่านั้นได้ต้อนรับข้าพเจ้าโดยฉันมิตร และช่วยเหลือข้าพเจ้าตามแต่จะได้ ส่วนข้าราชการที่เป็นชาวอังกฤษทุกคนได้แสดงความกรุณาและช่วยเหลือข้าพเจ้ามาก เพื่อนของข้าพเจ้าที่เป็นชาวอังกฤษได้คะยั้นคะยอให้ข้าพเจ้ารับหนังสือจากเขา คือ หนังสือเรื่องมณฑลยูนนานของจีน ซึ่งทางราชการฝ่ายอังกฤษได้พิมพ์ขึ้นเป็นฉะบับหลังที่สุด


    หนังสือเล่มนี้มีแผนแสดงที่ภูมิประเทศและแผนที่แสดงชนชาติที่อยู่ในท้องที่นั้นด้วย ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ คือ นายพันตรี เอ็ช.อาร์.เดวีส์ (H.R. Devies) แห่งกองทหารบกราบที่ 52 อ๊อกสะฟอดเชอร์ ผู้ที่ได้พยายามหาความรู้และเก็บสถิติต่างๆและเรื่องราวในมณฑลยูนนานเป็นเวลานาน ให้ชื่อว่า “ยูนนาน, คือลูกโซ่ในระหว่างอินเดียกับยางสี” (Yunnan The Link between India and the Yangtze)


    ภายหลังเมื่อพักอยู่ในจังหวัดเก็งตุงเป็นเวลานาน และตระเตรียมจะเดินทางต่อไป หาคนใช้ใหม่ และจัดแลกเงินรูปีเป็นเงินเหรียญฝรั่งเศส แล้วก็เริ่มออกเดินทางจากจังหวัดเก็งตุง อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นเก็งตุง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) และพักรอนแรมมาในแค้วนเก็งตุง และแวะเยี่ยมเยือนตามหมู่บ้านชนชาติไทยที่กลับใจมาถือศาสนาคริสต์หลายแห่ง จังได้ชักช้าอยู่


    เวลาบ่ายวันพฤหัสที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2453) มาพักอยู่ที่ปลายเขตต์แดนของแคว้นเก็งตุง เพื่อรอรับหนังสือเดินทาง เมื่อได้รับหนังสือเดินทางแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เตรียมการจะข้ามพรมแดนเข้าไปในเขตต์จีน


    การขอหนังสือเดินทางนั้น ข้าพเจ้าได้ยื่นเรื่องราวต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในแคว้นเก็งตุง ผ่านำนักงานของเซอร์ยอชสก๊อตต์ ผู้สำเร็จราชการภาคใต้แห่งแค้วนเงี้ยว (Southern Shan States) ถึงสำนักงานปลัดมณฑลของพะม่าที่จังหวัดร่างกุ้ง (Rangoon) เมื่อถูกต้องตามระเบียบราชการของสำนักงานทั้ง 3 นั้นแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดร่างกุ้งจึงโทรเลขถึงกงสุลอังกฤษที่จังหวัดยูนนานฟู (อยู่ในมณฑลยูนนาน) ให้ออกหนังสือเดินทางให้


    เขาได้ส่งหนังสือเดินทางให้ เขาได้ส่งหนังสือนั้นมาโดยทางไปรษณีย์จากจังหวัดยูนนานฟู ถึงเจ้าพนักงานถึงเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในจังหวัดเก็งตุง แล้วเขาจึงได้ให้บุรุษไปรษณีย์พิเศษถือมาส่งข้าพเจ้า ซึ่งคอยอยู่ที่พรมแดนระหว่ะม่ากับจีน


    หนังสือเดินทางที่ออกให้ข้าพเจ้านี้ก็เช่นเดียวกับที่ออกให้แก่คนในบังคับของอังกฤษ และการที่เขาให้แก่คนของรัฐบาลอื่น ซึ่งเป็นคนขาวด้วยกันนั้น ก็แสดงให้เห็นความเอื้อเฟื้ออย่างสูง ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณเขาเป็นอันมาก แบบฟอร์มหนังสือเดินทางนั้นเป็นหนังสือจีน แต่ล่ามได้แปลให้ข้าพเจ้าฟังว่า อนุญาตให้ข้าพเจ้าเดินทางไปในที่ใดๆ ได้โดยสะดวกในเวลาปี 1 ตลอดมณฑลทั้ง 3 ของจีน คือมณฑลยูนนาน, กวางสี และกวางตุ้ง เจ้าพนักงานจีนไม่มีอำนาจจะขัดขืนหรือหน่วงเหนี่ยวให้ชักช้าด้วยประการใดๆ


    อาจซื้อสิ่งของเครื่องใช้และทำกิจการต่างๆ ได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้เจ้าพนักงานจีนจะขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวคนใช้หรือคนที่ไปกับข้าพเจ้านั้นไม่ได้


    เวลาบ่ายแห่งวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453)พวกเราได้พากันข้ามพรมแดน ที่หลักเลขที่ 57 ซึ่งเป็นหลักอาณาเขตต์ระหว่างพะม่ากับจีน และเข้าไปพักแรมคืนในแดนมณฑลยูนนานแห่งประเทศจีนต่อไป



    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง



    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง


    บทที่ 2 ตอนที่ 2 ชนชาติไทย - ในแคว้นเชียงตุง



    จบบทที่ 2






    ขอบคุณ

    หนังสือชนชาติไทย
    เรียบเรียงโดย หลวงนิติเพทย์นิติสรรค์
    จากต้นฉบับของ ด๊อกเตอรวิลเลียม คลิฟตันด๊อค






    +++++++++++++++++











    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 24-03-2012 at 06:54.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •