กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: 2518 พระธาตุพนมล่ม

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ 2518 พระธาตุพนมล่ม

    เมื่อได้เกิดแผ่นดินไหวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน องค์พระธาตุพนมก็เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น วันที่ 11 สิงหาคม ตอนเช้าฐานพระธาตุพนมด้านทิศตะวันออก ผนังปูนตรงลวดลายประตูจำหลักซึ่งอยู่ กึ่งกลางของด้านตลอดถึงส่วนที่เป็นซุ้มทรงบายศรี ปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมาทั้งแผ่นล่วงมาถึงเวลาเย็นอิฐหลุดร่วงจะได้ยินเสียงครืดคราดออกมาจากภายในองค์พระธาตุส่วนฐานนั้น อิฐร่วงลงมาเป็นระยะ ๆ ทะลวงลึกเข้าไปเป็นช่องเหมือนถูกคว้านให้เป็นโพรงอยู่ภายในฐาน การหลุดร่วงของอิฐในตอนนี้มีทั้งอิฐและดินหล่นลงมา จนกระทั่งมองเห็นหินแท่งยาวแบนอยู่ภายในแท่งหินทำให้เข้าใจว่า ส่วนฐานขององค์พระธาตุพนมภายในเป็นดินมากกว่าอิฐหรือหิน องค์พระธาตุเอียงไปทางทิศตะวันออกจนเห็นได้ชัด ครั้นถึงเวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์
    2518 พระธาตุพนมล่ม
    2518 พระธาตุพนมล่ม

    2518 พระธาตุพนมล่ม

    2518 พระธาตุพนมล่ม

    2518 พระธาตุพนมล่ม


    2518 พระธาตุพนมล่ม





    2518 พระธาตุพนมล่ม

    ยังไม่จบเดี๋ยวมาต่อค่ะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 29-04-2012 at 08:28.

  2. #2
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469
    ผมเพิ่งจะรู้น่ะว่าพระธาตุพนม เคยล่มมาก่อน ขอบคุณสิ่งดีๆที่มาแบ่งปัน....ทุกอย่างไม่จีรังยั่งยืนนี้ แท้จริงหนอ...

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อีหยังสิปานนั้น
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    ที่อยู่
    กระบี่
    กระทู้
    323
    อันนี้เป็นอีกคำบอกเล่ากล่าวขาน สมัยเด็กน้อย
    ผุเฒ่าผุแก่ เผิ่นเล่าให้ฟังวา ย่อนพีน้องฝั่งซ้าย
    กับฝั่ขวา บ่ถืกกัน มีแต่รบลาฆ่าฟัน บ่สามัคคีกัน
    กะเลยเกิดอาเพศ ทำให้พระธาตุ ถล่ม ลงมา วาซั่น



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=FQKnv0cbKDg

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อีหยังสิปานนั้น; 29-04-2012 at 15:25. เหตุผล: เพิ่มเพลง จร้า

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ต่อที่ประวัตินะคะ

    พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
    ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
    พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพาน

    ต่อที่ประวัตินะคะ

    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยเเรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นไปเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมกว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปเถระ สูงสองวาข้างในเป็นโพรงเเล้วเผาให้สุกมีประตูเปิดปิดทั้งสี่ด้าน เมือสร้างเสร็จเเล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัส สปเถระนำมาจากอินเดียประดิษฐานข้างในเเล้วปิดประตูทั้งสี่ด้านเปิดให้คนเข้า ไปสักการะได้ในบางโอกาส ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองสืบต่อๆมาก็ได้ทำนุบำรุงเเละปรับปรุงอยู่เสมอกลาวกัน ว่าในสมัยของพระยาสุมิตธรรมวงศาเมืองศรีโคตรบูร ได้เชิญชวนท้าวพระยาเมืองอื่นๆต่อเติมพระธาตุพนมให้สูงขึ้นเป็นชั้นที่2เเละ อัญเชิญพระอุรังคธาตุขึ้นไปประดิษฐานไว้บนยอดองค์พระธาตุพนมด้วย ความตอนนี้
    พระโบราณาจารย์ได้บันทึกไว้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพานเเล้วได้ 500 ปีพระยาทั้งห้าที่สร้างพระธาตุพนมยุคเเรกได้มาเกิดเป็นพระอรหันต์ทั้ง 5 เดินทางมาขอความอุปถัมภ์บูรณะเจดีย์พระธาตุพนมที่เรียกในสมัยนั้นว่าอุโมงค์ ภูกำพร้า
    กับพระยาสุมิตธรรมวงศาหรือสุมินทราชกษัตริย์ผู้ครองเมืองมรุกขรครที่ย้ายจาก
    ศรีโคตรบูร พ.ศ.2236-2245 สมเด็จพระสังฆราชาสัทธัมโชตนญาณวิเศษ เรียกกันทั่วไปว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้พาราษฏรประมาณ 3,000 คนจากเวียงจันทร์มาอยู่พระธาตุพนม


    ต่อที่ประวัตินะคะ

    ต่อที่ประวัตินะคะ

    ต่อที่ประวัตินะคะ

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คนสกลไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    19
    เคยไปตั้งแต่เด็กๆ มีโอกาสจะต้องไปอีก ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ณัฐ ภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    747
    เคยไปไหว้พระธาตุพนมประจำเพราะว่าบ่ใกลจากบ้านปานไดตอนยังนอ้ยไปไหว้พระธาตุฮู้สึกสิเป็นปีพ ศ17 กะเคยเห็นพระธาตุเก่ายุแต่กะยังบ่ฮู้เนาะยังนอ้ยยุกะคือผุเฒ่าเพิ้นว่าหั่นหละเนาะพระธาตุองค์เก่าเพิ้นกะสร้างมานานแล้วคันเป็นคนกะเฒ่าหลายเนาะกะสังขารกะยอ่มรว่งโรยไปตามกาลเวลาเนาะ

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    เฮ้ยๆๆน้องบีเสนออิหยังคือค้างไว้จั๊งซี้มีการบือพ้อมแล่วสิมาใหม่

  8. #8
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ พระธาตุพนมล้ม

    พระธาตุพนมล้ม
    องค์พระธาตุพนมตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาเป็นเวลา นานนับพันปี จากหลักฐานโบราณคดี องค์พระธาตุพนมสถาปนาขึ้นมาราวพุทธศตวรรษที่ 12-14

    ตลอดเวลาที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง หลายยุค หลายสมัย วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ประกอบกับมีการบูรณะเสริมสร้างโดยการต่อยอดหลายครั้ง ไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างส่วนฐานแต่อย่างใดทำให้ฐานส่วนล่างต้องรับน้ำหนักจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะในการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2483-2484 ได้มีการทำรูระบายอากาศรอบด้านในส่วนยอดองค์พระธาตุ รูอากาศนี้ทำให้ฝนไหลเข้ามาแต่ส่วนล่างไม่มีทางระบายน้ำออก

    ส่วนยอดองค์พระธาตุจึงกลายสภาพเป็นที่เก็บน้ำแล้วค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐภายในให้เปื่อยยุ่ยองค์พระธาตุได้รับการกระทบกระเทือนมาก เมื่อได้เกิดแผ่นดินไหวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน องค์พระธาตุพนมก็เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น

    วันที่ 11 สิงหาคม ตอนเช้าฐานพระธาตุพนมด้านทิศตะวันออก ผนังปูนตรงลวดลายประตูจำหลักซึ่งอยู่ กึ่งกลางของด้านตลอดถึงส่วนที่เป็นซุ้มทรงบายศรี ปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมาทั้งแผ่น เป็นระยะ ๆ และมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมองเห็นเศษปูนกองอยู่ที่พื้นฐานเจดีย์ทั่วไปรอยแตกแยกเริ่มขยายกว้างมากขึ้น

    ล่วงมาถึงเวลาเย็น บริเวณที่อิฐร่วงหล่นลงมาในตอนเช้าก็เริ่มหลุดร่วงอีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ อิฐที่หลดเป็นรอยลึกเข้าไปในฐาน เมื่ออิฐหลุดร่วงจะได้ยินเสียงครืดคราดออกมาจากภายในองค์พระธาตุส่วนฐานนั้นเป็นระยะ มองดูอิฐที่ร่วงลงมาแล้วใจหาย

    แม้แต่เสียงที่ได้ยินจะเป็นสัญญาณอันตรายเตือนให้รู้ล่วงหน้าว่า องค์พระธาตุพนมอาจะโค่นล้มลงมาเวลาหนึ่งเวลาใดก็ตามผู้คนผลัดเวียนมาดูกันมาก เฝ้าสังเกตการณ์องค์พระธาตุอย่างใจจดใจจ่อ วิตกวิจารณ์คาดการณ์กันไปต่าง ๆ นานา ทุกคนหวั่นวิตกต่อเหตุการณ์เบื้องหน้า

    แต่ก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดกล้าคิดว่าพระธาตุพนมที่สูงตะหง่านจะโค่นล้ม ทั้งนี้เพราะต่างมีความมั่นใจว่า องค์พระธาตุพนมนี้เป็นปูชนียสถานของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองย่อมมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองปกปักรักษาถึงจะชำรุดทรุดโทรม ตามกาลเวลา แต่ก็คงสามารถซ่อมแซมให้ดีขึ้นดังเดิมได้

    ขณะนั้นเมื่ออิฐร่วงลงมาเป็นระยะ ๆ ทะลวงลึกเข้าไปเป็นช่องเหมือนถูกคว้านให้เป็นโพรงอยู่ภายในฐาน การหลุดร่วงของอิฐในตอนนี้มีทั้งอิฐและดินหล่นลงมา จนกระทั่งมองเห็นหินแท่งยาวแบนอยู่ภายในแท่งหินทำให้เข้าใจว่า ส่วนฐานขององค์พระธาตุพนมภายในเป็นดินมากกว่าอิฐหรือหิน องค์พระธาตุเอียงไปทางทิศตะวันออกจนเห็นได้ชัด

    พระธาตุพนมล้ม

    ครั้นถึงเวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์


    พระธาตุพนมล้ม
    สาเหตุการพังทลายขององค์พระธาตุพนม จึงเป็นสาเหตุสร้างสมมากกว่า เหตุที่เกิดขึ้นในทันทันใด อาการพังทลายไม่ได้ทรุดที่ฐาน หากเริ่มจากยอดที่เป็นน้ำหนักในแนวดิ่งที่หนักมาก มากดคอบัวฐานชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้บิออกเป็นแนวฉีกลึกไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปียกยุ่ยจากฝนตกติดต่อกันอย่างหนัก ต่อจากนั้นอิฐผนังที่ยุ่ยอยู่แล้วก็ค่อย ๆ ทลายลงเป็นแถบ ๆ ยอดเจดีย์กด พุ่งลงมาตามแนวดิ่งหักลงเป็นท่อน ๆ องค์พระธาตุได้ล้มฟาดลงมาทางทิศตะวันออก แตกหักออกเป็นท่อน มีลักษณะเป็น 3 ตอน คือ

    พระธาตุพนมล้ม

    ตอนที่ 1 คือฐานชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐแดงจำหลักลวดลายสูง 8 เมตร คือดอนที่เก่าที่สุด สร้างด้วยอิฐเรียงสอด้วยวัตถุเหนียวแตกทับตัวเอง หลุดร่วงและล้มเป็นกองเศษอิฐแตกกระจายออกทั้ง 4 ด้าน พูนขึ้นเป็นกองอิฐขนาดใหญ่

    พระธาตุพนมล้ม


    ตอนที่ 2 ระหว่างเรือนธาตุชั้นที่ 2 กับฐานบัลลังก์เป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะในภายหลังแตกออกเป็น 2 ท่อน ท่อนล่างละเอียดหมด ท่อนบนยังดีอยู่ ล้มกองไปตามทางทิศตะวันออก

    พระธาตุพนมล้ม


    ตอนที่ 3 คือส่วนยอดที่สร้างครอบยอดเดิมไว้เมื่อครั้ง พ.ศ. 2483 เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยาวประมาณ 20 เมตร (ความสูงใหญ่ 10 เมตร ระยะของความสูงเดิมจากฐานบัลลังก์ขึ้นไป) หักล้มไปทางทิศตะวันออก ทับศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาแหลกละเอียด และหอพระแก้วราบทะลายลงไปทั้งสองหลังเฉพาะหอพระแก้วเหลือแต่เพียงมุขด้านหน้าไว้เท่านั้น ส่วนฉัตรที่ทำด้วยทองคำสวมยอดพระธาตุนั้น เอนปะทะพิงอยู่กับผนังหอพระแก้ว ความเสียหายของฉัตรบุบสลายเพียงเล็กน้อย

    สำหรับอาคารที่เป็นศาสนาสถานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากพระธาตุพนมล้มมีดังนี้

    1. กำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุพนมชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2

    2. หอข้าวพระทรงปราสาทยอดมณฑป ซึ่งสร้างในสมัยเจ้าพระยานครหลวงพิชิตทศทิศราชธานีศรีโคตรบูรหลวง บูรณะพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. 2153

    3. ศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2466

    4. วิหารหอพระแก้ว หรือวิหารหลวง แรกสร้างในสมัยพระเจ้าโพธิสารได้บูรณะพระธาตุพนม เมื่อราว พ.ศ. 2073

    5. หอพระด้านทิศเหนือและทิศใต้

    ส่วนพระอุโบสถซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของหอพระแก้ว รอดพ้นอันตรายไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะอาคารทั้งสองสร้างอยู่ใกล้ชิดกันมาก (ระยะห่างเพียง 5 เมตรเท่านั้น)

    จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการเพื่อรักษาสภาพเดิมขององค์พระธาตุพนม และบริษัทวิศวกรรมที่เข้ามาศึกษาหาสาเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้คือ

    1. ฐานรากขององค์พระธาตุทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้อาคารเสียการทรงตัว

    2. วัสดุก่อสร้างซึ่งสร้างมานาน เป็นอิฐบางส่วนเสื่อมสภาพไม่สามารถรับน้ำหนักดีเท่าด้านอื่น ทำให้เสียศูนย์ จึงล้มพังทลาย

    3. เกิดจากแรงกดน้ำหนักภายในของวัสดุในองค์พระธาตุพนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความชื้น จนผนังอิฐบางส่วนทนรับน้ำหนักไม่ไหว แตกร้าวล้มในที่สุด

    จากการศึกษาของบริษัทวิศวกรรมได้ขุดศึกษาชั้นดินลงมาพบชั้นกรวดในระดับความลึก 20 เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นชั้นรากฐานที่ดีมาก และไม่มีการทรุดตัวของชั้นดินโดยรอบเลย ประเด็นในข้อที่ 1 จึงตกไป

    ส่วนในข้อที่ 2 และ 3 นั้น มีเค้าความเจริญอยู่มาก แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในกรณีทั่วๆ ไป เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องที่สร้างสมติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าสามสิบปี กล่าวคือ เมื่อมีการต่อยอดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2483-2484 นั้น ไม่มีการเสริมความแข็งแรงฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นใหม่ ทั้งที่ฐานทั้งสองต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล

    ความแข็งแรงมั่นคงเท่าที่มีอยู่ได้กลับเป็นความรอบคอบของท่านราชครูหลวงโพนสะเม็ก การต่อยอดครั้งนั้นได้อัดอิฐดินภายในโพรงอาคารเดิมจนทึบตันรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีและลำพังอิฐก่อสร้างอาคารในส่วนที่ดีอยู่นั้น (อยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1300-1400) มีความแข็งแรงเกือบเท่าคอนกรีต

    ความแข็งแรงทั้งหมดนี้จึงแยกน้ำหนักของยอดอาคารองค์พระธาตุได้เป็นอย่างดียิ่ง ต่อเมื่อมีการต่อยอดเสริมขึ้นใหม่นั้นเปิดช่องระบายอากาศทุกด้าน ช่องเหล่านี้เป็นทางให้น้ำฝนสาดเข้าไปได้ แต่ไม่ได้เปิดทางระบายน้ำไว้ เมื่อน้ำเข้าไปช่องเหล่านี้ก็จะไหลไปกองอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งที่ไม่ได้ระดับ น้ำเหล่านี้ค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐให้เสื่อมสภาพไปอย่างช้า ๆ จนฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักท่อนบนไหว พังทะลายลงมาทั้งองค์
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 30-04-2012 at 18:47. เหตุผล: เพิ่มข้อมูลค่ะ

  9. #9
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ มีต่อค่ะ

    มีต่อค่ะ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเเละสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปบรรจุพระอุรังคธาตุในองค์พระธาตุพนมเมื่อวันที 23 มีนาคม พศ.2522






    มีต่อค่ะ


    มีต่อค่ะ

    สาวๆสมัยนั้นกับพระธาตุองค์เก่า

    มีต่อค่ะ


    มีต่อค่ะ



    ส่วนหนึ่งพระกรุ พระธาตุพนมได้รับการเก็บรักษาไว้ ที่ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นพระกรุ พระธาตุพนมสำหรับอนุชนได้ศึกษา อีกส่วนหนึ่งของพระกรุ พระธาตุพนมให้นำเข้าถวายคืนเเก่องค์พระธาตุรวม พระกรุ พระธาตุพนมทั้งวัตถุที่ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมด้วย รวมเเล้วมีวัตถุ พระกรุพระธาตุพนม ที่บรรจุไว้มี 30,000 ชิ้น



    มีต่อค่ะ


    ขอโทษที่ลงช้าค่ะ มีงานด่วนไม่ได้เจอคอมเลยค่ะ

  10. #10
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร


    วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณดึกดำบรรพ์มาก เท่า ๆ กับองค์พระธาตุพนม ในตำนานพระธาตุพนมนั้น พระโบราณาจารย์ท่านจดหมายเหตุไว้ว่า พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกโดยพญาทั้ง ๕ หัวเมือง พระมหากัสสปะเป็นประธานพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ นำพระอุรังคธาตุจากชมพูทวีปที่กรุงราชคฤห์เพื่อจำพรรษาและทำปฐมสังคายนาพระธรรมวินัยดังนี้
    ถ้าถือตามนี้ก็คำนวณได้ว่า สร้างพระธาตุพนมยุคแรก เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานแล้วราวไม่เกิน ๒ เดือน เพราะทำปฐมสังคายนา เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้ ๓ เดือน ( เดือน ๙ เพ็ญ ) สร้างครั้งแรกได้เพียงชั้นเดียว
    ครั้นต่อมาตำนานบอกว่า พระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานแล้ว ๗ ปี ๗ เดือน ( ที่จริง ๖ เดือน ) ถึงเดือน ๑๒ เพ็ญ วันพุธพญาอินทร์สั่งให้วิสสุกัมมเทวบุตรลงมาสลักลวดลายพระเจดีย์ให้ละเอียดวิจิตรต่าง ๆ ซึ่งปรากฏในตอนต้นแล้ว และในคืนวันนั้นพญาอินทร์เป็นประธานแห่งเทพทั้งหลายทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่ชนชั้นจาตุมมหาราชขึ้นไป ได้มาชุมนุมกันเฉลิมฉลองตลอดคืนยังรุ่ง ก่อนกลับและเลิกได้มอบให้เทวดา ๔,๐๐๖ พระองค์รวมทั้งหัวหน้าและเทวบุตรผู้มีฤทธิ์อีก ๓ ตน ให้คอยดูแลปกปักรักษาพระบรมธาตุ เหตุนั้นพระธาตุพนมจึงปรากฏว่าศักดิ์สิทธิ์กว่าพระเจดีย์ทั้งหลายอื่นเป็นพิเศษ เรื่องนี้ผู้ใกล้ชิดและผู้เคยไปกราบไหว้บูชาย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจตนเอง
    โบราณจึงย่อคัมภีร์อุรังคนิทานให้สั้นแล้วใส่ศักราชเข้าไปว่า พระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานไปแล้วได้ ๗ ปี ปลาย ๗ เดือน เดือน ๑๒ วันพุธ เกณฑ์ฤกษ์ชื่อว่า “กัตติกา” มีพระมหากัสสปะเถรเจ้าพร้อมด้วยอรหันตา ๕๐๐ ได้นำพระอุรังคธาตุมาบรรจุไว้ในอุโมงค์ มีพญาทั้ง ๕ ได้สร้างไว้ต้อนรับ ดังนี้ คนต่อมาก็เลยถือเอาว่า สร้าง พ.ศ. ๘ ที่จริงใน พ.ศ. ๘ ( ล่วงแล้ว ๗ ปี ๖ เดือนเศษ ) ที่กล่าวนี้เป็นปีฉลองใหญ่เมื่อสลักลวดลายเสร็จต่างหาก พระธาตุได้สร้างมาก่อนนั้นแล้ว
    พระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้ ๕๐๐ ปี พญาทั้ง ๕ ที่สร้างพระธาตุพนมยุคแรกได้จุติมาเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๕ ได้เดินทางมาขอความอุปถัมภ์บูรณะพระเจดีย์ธาตุพนมที่เรียกในสมัยนั้นว่า “อุโมงค์ภูกำพร้า” กับพญาสุมิตธรรมวงศา หรือสุมินทราชกษัตริย์องค์ครองเมืองมรุกขนคร ที่ย้ายจากศรีโคตบูร
    พระเจ้าสุมิตธรรมวงศา ได้ให้พละเอวะอำมาตย์ คุมประชาชนมาถากถางปรับปรุงบริเวณภูกำพร้า ต่อเติมพระเจดีย์ขึ้นเป็นชั้นที่ ๒ ก่อกำแพงรอบทั้ง ๔ ด้าน ย้ายพระอุรังคธาตุจากพื้นล่างขึ้นตั้งไว้ที่บน ตรงปากระฆังคว่ำชั้นบน อันเป็นปากระฆังเดี๋ยวนี้ มียอดและระฆังคงไม่สูงเท่าไหร่ สร้างวิหารให้พระเถระทั้ง ๕ อาศัย ได้แก่ เนินพระอรหันต์ทั้ง ๓ ด้าน คือ เหนือได้แก่หอพระนอน ทิศใต้ได้แก่ เนินหินแลงริมคูรอบพระธาตุข้างกุฏิศิลาภิรัตน์รังสฤษฏิ์ ด้านทิศตะวันตก ได้แก่ วิหารเล็กบนเนินพระอรหันต์ที่ปลูกโพธิ์พุทธคยา ปรับปรุงเป็นลานโพธิ์ และสร้างมหารัตนศาลาไว้หลัง สร้างวิหารและพระพุทธสัมโพธิญาณไว้ด้านหน้า ออกประตูหลังพระธาตุไปท่านจะพบเห็นทันที
    เมื่อเราถือตำนานที่กล่าวมานี้เป็นหลัก ก็จับใจความได้ว่า ในสมัยพญาสุมิตธรรมวงศา เมือมรุกขนคร พุทธศักราชประมาณ ๕๐๐ ปี ได้มีพระภิกษุเถระมาอยู่ภูกำพร้าวัดพระธาตุพนมเป็นครั้งแรก และทางบ้านเมืองอุปถัมภ์ ได้สร้างกุฏิวิหารให้อยู่ ๓ หลัง ๓ ด้านขององค์พระธาตุพนมเป็นครั้งแรก แต่พญาทั้ง ๕ ได้สร้างอุโมงค์ไว้ จะถือว่าเริ่มเป็นวัดแต่นั้นมาก็อาจจะถือได้ แต่ไม่มีเรื่องติดต่อมา
    พญาสุมิตธรรมวงศาเป็นองค์แรกที่สละผู้คน ๗ บ้าน เป็นคน ๓,๐๐๐ คน ให้มาตั้งบ้านโดยรอบพระธาตุในวัดก็คงมีพระภิกษุสามเณรอยู่เฝ้ารักษา แต่ตำนานมิได้กล่าวถึง
    การสร้างวัดพระธาตุพนม สร้างคร่อมองค์พระธาตุ คือ มีวัดทั้ง ๔ ด้าน เรียกหัวหน้าคณะทั้ง ๔ ว่าเจ้าด้านทั้ง ๔ อย่างเจดีย์สำคัญทางลานนาและล้านช้าง คือ พระธาตุลำพูน พระเจดีย์หลวง มักมีวัดตั้งรอบอยู่ทั้ง ๔ ทิศ
    ผู้สร้างครั้งแรกคงเป็นพญาสุมิตธรรมวงศา เชื้อพระวงศ์กษัตริย์ศรีโคตบูรย้ายมาตั้งเป็นเมืองมรุกขนคร เพื่อให้วัดดูแลอุปัฏฐากพระบรมธาตุ และควบคุมข้าโอกาสทั้งหลาย เรื่องวัดพระธาตุพนมยุคแรก ได้เงียบหายไป พร้อมกับการร้างของเมืองมรุกขนคร ประชาชนอพยพขึ้นไปอยู่ทางเหนือ แต่เมืองล่าหนองคายไปจนถึงหนองเทวดาที่เรียกว่า ห้วยเก้าเลี้ยวเก้าคดที่ตั้งอยู่เหนือนครเวียงจันทน์เดี๋ยวนี้
    ครั้นต่อมาไทยล้านช้างได้โยกย้ายจากเหนือมาสู่ใต้ตามลำแม่น้ำโขง คือ ตั้งอยู่เมืองเซ่า หรือชวา ได้แก่ หลวงพระบางเดี๋ยวนี้ พระองค์ได้ธิดาพญาอินทปัตนคร ( กัมพูชา ) มาเป็นบาทปริจาริกา พระเจ้าตาคือพ่อของนาง ได้ถวายตำนานพระธาตุพนมแด่พญาโพธิสาล พระองค์ได้ทราบเรื่องราวพระบรมธาตุดีแล้ว ก็ให้ความอุปถัมภ์วัดพระธาตุพนมเป็นอันมาด ได้สร้างวิหารหลวงมีระเบียงโดยรอบ หลังคามุงด้วยตะกั่ว ( ดีบุก ) ทั้งสิ้น ได้สละคนเป็นข้าโอกาสเพิ่มเติมที่ขาดตกบกพร่อง สละดินถวายครอบ ๒ ฝั่งแม่น้ำโขง ให้พวกอยู่ในเขตดินแดนส่งส่วยข้าวเปลือกข้าวสารประจำปี บำรุงพระธาตุและได้สละมหาดเล็ก ๒ นาย คือ ข้าซะเองและพันเฮือนหิน ให้เป็นข้าพระธาตุ นำส่งดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะมาบูชาพระธาตุในวันมหาปวารณาออกพรรษาทุกๆ ปี สมัยพระไชยเชษฐาธิราช โอรสพระเจ้าโพธิสาล ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เวียงจันทน์ ก็ได้เสด็จมาไว้พระธาตุ ตรวจตราวัดวาอยู่เสมอจนสิ้นรัชกาล แต่จดหมายเหตุไม่ได้บันทึกชื่อสมภารไว้เลย
    ต่อมา พ.ศ. ๒๑๕๗ ปรากฏในศิลาจารึกว่า “พญานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูรหลวง” ได้แก่เมืองนครเก่าอยู่ใต้เมืองท่าแขกฝั่งประเทศลาวเดี๋ยวนี้ ได้มาบูรณะพระธาตุ ก่อกำแพงชั้น ๒ รอบทั้ง ๔ ด้าน ถือปูนสะทายตินพระธาตุ พระภิกษุผู้รักษาวัดก็คงมีอยู่แต่ไม่ปรากฏชื่อ
    ต่อมา พ.ศ. ๒๒๓๓ - ๔๕ เป็นเวลาที่สมเด็จพระสังฆราชาสัทธัมมโชตนญาณวิเศษ ( ตามจารึกทองคำที่ค้นได้เวลาพระธาตุล้ม ) แต่เรียกกันทั่วไปว่า “เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” ท่านองค์นี้เป็นพระมหาเถระที่มีพลังจิตสูง เป็นที่เคารพรักของประชาชน ตั้งแต่ราชสกุลลงมาถึงคนสามัญธรรมดาทั่วแผ่นดิน จึงมีชื่อเกิดขึ้นเองเช่นนั้น
    เวลานั้น ในนครเวียงจันทร์ การเมืองปั่นป่วนสับสน ท่านจึงได้นำครัวราษฎรประมาณ ๓,๐๐๐ มาตั้งปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอยู่ราว ๑๐ กว่าปีจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ คือท่านต่อตั้งแต่ปากระฆังขึ้นไปจนสุดยอด ดังนั้นพระธาตุพนมจึงสูง ๔๓ เมตร ( ดูรูปถ่ายพระธาตุพนมองค์เดิม )
    เจ้าราชครูองค์นี้ได้นำมหัคฆภัณฑ์มีค่าเข้าบรรจุมากที่สุด เพราะมีญาติโยมและคนเชื่อถือมาก มีเจ้าศรัทธาผู้หลักผู้ใหญ่ช่วยเหลือสร้างผอบสำริดบรรจุของมีค่า มีพระเจดีย์ศิลาและผอบทองคำบรรจุพระบรมอุรังคธาตุและพระสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำหนัก ๔,๗ ก.ก. และหนัก ๑๘ ก.ก. เป็นต้น บริจาคร่วมกุศลกับทานเป็นอันมากต่อมาก
    เมื่อบูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้ว ท่านได้พาครอบครัวญาติโยมอพยพลงไปตั้งหลักอยู่ภาคใต้ ตั้งเมืองจำปาศักดิ์ขึ้นเป็นนครหลวงปกครองชาวล้านช้างภาคใต้เป็นครั้งแรก
    เข้าใจว่าวัดพระธาตุพนม ท่านคงตั้งลูกศิษย์เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ไว้ดูแลรักษาแทนท่าน และปกครองข้าโอกาสทั้งหลาย แต่ตำนานมิได้ระบุไว้ว่าตั้งผู้ใด
    พ.ศ. ๒๓๔๙ - ๕๖ เป็นสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตกอยู่ในรัชกาลที่ ๒ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์มีศรัทธาได้เสด็จมาบูรณะพระธาตุและวัดพระธาตุพนม ร่วมกับพระบรมราชาสุตตา เจาเมืองนครพนม และพระจันทสุริยวงศา ( กิ่ง ) เจ้าเมืองมุกดาหารปรับปรุงบริเวณและสร้างหอพระ ทำถนนปูอิฐตั้งแต่วัดถึงฝั่งโขง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๐๐ เมตรเศษ ทำฉัตรยกฉัตรใหม่ในปีสุดท้าย
    ในระยะนี้ ที่วัดพระธาตุพนมก็ต้องมีพระผู้ใหญ่เป็นหลักวัดอยู่ ปรากฏตามจารึกของพระจันทสุริยวงศา เจ้าเมืองมุกดาหาร ผู้มาบูรณะโรงอุโบสถว่า ได้ให้ข้าราชการผู้ใหญ่มาปัคคหะ คือ กราบไหว้เจ้าสังฆราชาวัดพระธาตุพนมขอโอกาสปฏิสังขรณ์ ฯลฯ บันทึกมิได้ระบุว่า สังฆราชา ( เจ้าอาวาส เจ้าคณะสงฆ์ ) มีชื่อว่าอย่างไร
    เหตุการณ์ได้ผ่านจากนั้นมานาน จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ พระธาตุพนมชำรุดมาก พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีองค์แรก ได้มาเป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมแซมชำระสะสางเหงื่อไคลพระบรมธาตุให้สะอาดสดใส เพื่อมทองคำประดับยอด และประดับแก้วกระจกที่ปากระฆัง ปรากฏวาพระอุปัชฌาย์ทาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านองค์นี้มีฝีมือช่างปั้นอยู่บ้าง ยังมีเหลือให้เห็นอยู่หลายชิ้น นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร


    เป็นพระอารามหลวงชั้นไหน ?
    วัดพระธาตุพนม ได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิด “วรมหาวิหาร” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

    ปูชนีย์ที่สำคัญ ประวัติการสร้างและสมโภช
    พระธาตุพนม เป็นปูชนียะสำคัญยิ่งของวัดและชาติด้วย มีคนรู้จักทั่วประเทศ การสร้างก็สร้างมาแต่พระพุทธเจ้านิพพานแล้วไม่ถึง ๒ เดือน มีการฉลองใหญ่เมื่อเดือน ๑๒ เพ็ญ วันพุธ พุทธปรินิพพานแล้วได้ ๗ ปีกับ ๖ เดือน และบูรณะใหม่มาแล้วอย่างน้อย ๓ ครั้ง จนถึงได้พังลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลานี้ได้บูรณะองค์พระธาตุพนมเสร็จแล้ว ยังแต่บริเวณอาคารอื่นโดยรอบ มีการสมโภชใหญ่ประจำปีมาแต่โบราณ คือ แต่เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จนถึง แรม ๑ ค่ำ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน เป็นงานชั้นเอกใหญ่ยิ่งมโหฬารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    พระนามและประวัติพระประธานในพระอุโบสถและพระวิหาร
    พระประธานในพระวิหาร พระนามว่า “พระพุทธมารวิชัยศาสดา” เข้าใจว่าสร้างแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช นครหลวงพระบาง เสด็จมาสร้างพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๓ - ๒๑๐๒ เมื่อสร้างวิหารใหญ่เข้าใจว่าได้หล่อพระประทานไว้ประจำเลย เพราะสืบแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็บอกว่า เห็นประจำอยู่ในพระวิหารหอพระแก้วตั้งแต่ก่อนเกิด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เจ้าอาวาสได้ให้ช่างสร้างนาค ๗ เศียรแบบขอมประดับ ดูสวยงามมาก แต่เวลานี้พระธาตุล้มทับพังแล้ว คงเหลือแต่พระประทานไม่เป็นอันตราย เวลานี้ทางศิลปากรไดลงรักปิดทองและกั้นฉัตร ๕ ชั้นไว้กลางแจ้งบนฐานพระวิหาร หลังคาและผนังพระวิหาร กรมศิลปากรรื้อจะสร้างใหม่
    พระประธาตุในพระอุโบสถ เป็นพระปางมารวิชัยเหมือนกัน แต่มีขนาดย่อมกว่าพระประทานในพระวิหาร มีพระนามว่า “พระองค์แสนศาสดา” เป็นพระประจำอุโบสถมานานแล้ว ที่ฐานมีจารึกเลขศักราชไว้ดังนี้ “ ศักราชได้ ๘๖๔ ตัว “ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๓๕ ถึงปีมะแมนี้ได้ ๔๘๗ ปีแล้ว ที่ฐานมีห่วงสำหรับหาม เข้าใจว่าแต่โบราณคงเอาออกแห่เวลาตรุษสงกรานต์ พระพักตร์นูน จมูกโด่งงาม พระองค์เกลี้ยงเกลา ไม่ทราบประวัติว่าหล่อที่ไหน ใครสร้าง ดูพระพุทธลักษณะและฝีมือช่างเป็นนักปราชญ์ชั้นสูงสร้าง
    ส่วนโรงอุโบสถนั้น สร้างมานานแล้ว ต่อมา พ.ศ. ๒๓๔๙ - ๕๖ คราวเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ลงมาบูรณะวัดพระธาตุพนม ปรากฏตามจารึกว่า พระจันทสุริยวงศา เมืองมุกดาหาร ได้ปฏิสังขรณ์สร้างอุโบสถไว้เป็นพุทธบูชาเป็นส่วนของท่านโดยเฉพาะด้วย ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านพระครูศิลาภิรัต เจ้าอาวาส พร้อมด้วยหลวงพิทักษ์พนมเขต ( ท้าวสีกะทูมจันทรสาขา ) นายอำเภอธาตุพนม ลูกหลานเหลนของพระจันทสุริยวงศา ได้รื้อโรงอุโบสถเก่าที่ชำรุดสร้างใหม่ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ พระเทพรัตนโมลี ขอทุนฉลอง ๒๕๐๐ มาบูรณะโรงอุโบสถใหม่ คือ รื้อหลังคาแปลงเป็น ๓ ชั้น เพิ่มฝาผนังขึ้น ขยายหน้าโบสถ์ออกอีก ๗ เมตร ทำช่องประตูหน้าต่างใหม่ทุกห้อง ประตูหน้า ๓ ช่อ เป็นซุ้มกรอบประตูหน้าต่างประดับลวดลายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

    ประวัติองค์พระธาตุพนม
    พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข
    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
    ๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
    ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี


    องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้

    ๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว ) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ ( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )

    ๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )

    ๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)

    ๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )

    ๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง

    ๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร

    ๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น
    ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ

    ๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตรจนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี

    ๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ

    ๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว

    ๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี

    ๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้าผู้พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม
    ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุจำลองด้วย

    ๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์

    ๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน ) ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙
    ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์
    สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม

    ๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน

    ๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่

    ๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย

    ๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน

    ๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการของโบราณเหมือนปีก่อน

    ๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม

    ๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ

    ๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยมได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่าซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชมจนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา

    ๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
    ....................///......................

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •