เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
ประเทศไทยกับความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์

เพื่อให้ทุกคนรู้จักปูมหลังของคนไทยทั้งหมด และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกันว่าการเป็นคนไทยนั้นไม่ใช่แต่เพียงพูดภาษาไทยได้ภาษาเดียวเท่านั้น คนไทยทั้งหลายอาจมีภาษาพูดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่นั่นคงไม่ได้หมายความว่าความเป็นคนไทยลดน้อยลงไปหรอกนะ

เชื่อหรือไม่ มีคนไทยที่อาศัยอยู่ในอยู่ในประเทศไทย มีจำนวนมากมายถึง 70 กลุ่ม มีการกระจายของภาษาในตระกูลภาษาต่าง ๆ ตามลักษณะความสัมพันธ์ด้านการร่วมเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ จัดอยู่ในตระกูลภาษา 5 ตระกูล[1] ซึ่งเป็นตระกูลภาษาหลักของคนในเอเชียอาคเนย์ ดังนี้
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
1. ภาษาตระกูลไทย (Tai language family) มีจำนวน 24 กลุ่มภาษา ในประเทศไทยมีผู้พูดภาษาในตระกูลนี้เป็นจำนวนร้อยละ 94 ของประชากรในประเทศ ได้แก่

1.1ไตแสก

1.2ไต-ไต

1.3 แสด และ

1.4ไต(กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้) ประกอบด้วย

1)ชาน/ไทยใหญ่ ได้แก่ ลื้อ โซ่ง/ไทดำ ขึน(เขิน) ยวน(ไทยเหนือ/คำเมือง) ยอง ไทหย่า

2)ไทยกลาง ได้แก่ ไทยใต้ ไทยตากใบ ไทยโคราช ไทยเลย ลาวหล่ม ลาวแง้ว ลาวตี้ ลาวครั่ง

3)ลาวเวียง/ลาวกลาง ได้แก่ ลาวใต้ ผู้ไทย โย้ย ญ้อ กะเลิก ลาวอิสาน
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
2. ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language family) มีจำนวน 22 กลุ่มภาษาหลัก พบในประเทศไทยในปัจจุบันทั้งหมดเป็นภาษากลุ่มมอญเขมร มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 4.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
2.1 มอญ-เขมรเหนือ ประกอบด้วย

กลุ่มประหล่อง ได้แก่ ละเม็ด ว้า ละเวือะ

(ละว้า ลัวะ) ปะหล่อง (ดาละอั้ง) ปลัง(สามเต้า)

กลุ่มขมุ ได้แก่ ขมุ มัล/ปรัย(ลัวะ) มลาบรี(ผีตองเหลือง)

กลุ่มเวียดติก ได้แก่ เวียดนาม โซ่(ทะวึง)

2.2 มอญ-เขมรตะวันออก ประกอบด้วย

กลุ่มเปียร์ ได้แก่ ชอง กะซอง ซัมเร ซะโอจ

กลุ่มเขมร ได้แก่ เขมรถิ่นไทย

2.3 มอญ-เขมรใต้ ประกอบด้วย

กลุ่มกะตุ ได้แก่ กูย/กวย(ส่วย) เญอ โซ่ บรู

กลุ่มมอญ ได้แก่ มอญ ญัฮกุร

กลุ่มอัสเลียน ได้แก่ แกนซิว/มานิ(เงาะ,ซาไก)
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
3. ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan language family) มีจำนวน 11 กลุ่มภาษาหลัก

มีจำนวนกว่า 200 ภาษา ในประเทศไทยพบในเขตภาคเหนือและตะวันตกเป็นส่วนมาก ได้แก่

3.1 ทิเบต-พม่า ประกอบด้วย 1) สาล ได้แก่ จิงพ่อ(คะฉิ่น)

2) เบอมีช โลโล ได้แก่ เบอมีส ก๋อง(อูก๋อง) โลโลอีช (โลโลกลาง โลโลใต้) 3) ทิเบต(หิมาลัย)

4) กะเหรี่ยง ได้แก่ สะกอ โปว บแว ปะโอ คะยา ปะตอง กะยอ

3.2 ซินนินิค(จีน)
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
4. ภาษาตระกูลออสเตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน (Austronesian or Malayo-Polynesian language family) ภาษาในตระกูลนี้ในประเทศไทยพบในเขตภาคใต้เป็นส่วนมาก

มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 0.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่ มลายู/ยาวี(มลายูถิ่นไทย) อูรักละโว้ย มอเก็น/มอเกล็น
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
5. ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน (หรือแม้ว-เย้า) (Hmong-Mien or Miao-yao language family) ในประเทศไทยพบในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 0.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่ ม้ง(แม้ว) ประกอบด้วย ม้งดำ ม้งขาว และ เมี่ยน(เย้า)
เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
นอกจากนั้นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายขอบของประเทศ และผู้พูดของภาษานั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ข้ามพรมแดนประเทศยกตัวอย่างเช่น ภาษาขมุ ภาษาเขมร ภาษากะเหรี่ยง ภาษามลายู ฯ แต่ลักษณะภาษาและพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมมักจะแตกต่างกัน

นี่คือคนไทยทั้งหมดที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย

สรุปว่าประเทศไทยมีคนไทยในแผ่นดินนี้หรือไม่เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(ไม่น่ามี เพราะประเทศไทยเพิ่งเปลี่ยนชื่อประเทศมาไม่กี่ปีมานี่)