หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ครูจุ่น
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    128

    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    ประเทศไทยกับความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์

    เพื่อให้ทุกคนรู้จักปูมหลังของคนไทยทั้งหมด และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกันว่าการเป็นคนไทยนั้นไม่ใช่แต่เพียงพูดภาษาไทยได้ภาษาเดียวเท่านั้น คนไทยทั้งหลายอาจมีภาษาพูดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่นั่นคงไม่ได้หมายความว่าความเป็นคนไทยลดน้อยลงไปหรอกนะ

    เชื่อหรือไม่ มีคนไทยที่อาศัยอยู่ในอยู่ในประเทศไทย มีจำนวนมากมายถึง 70 กลุ่ม มีการกระจายของภาษาในตระกูลภาษาต่าง ๆ ตามลักษณะความสัมพันธ์ด้านการร่วมเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ จัดอยู่ในตระกูลภาษา 5 ตระกูล[1] ซึ่งเป็นตระกูลภาษาหลักของคนในเอเชียอาคเนย์ ดังนี้
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    1. ภาษาตระกูลไทย (Tai language family) มีจำนวน 24 กลุ่มภาษา ในประเทศไทยมีผู้พูดภาษาในตระกูลนี้เป็นจำนวนร้อยละ 94 ของประชากรในประเทศ ได้แก่

    1.1ไตแสก

    1.2ไต-ไต

    1.3 แสด และ

    1.4ไต(กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้) ประกอบด้วย

    1)ชาน/ไทยใหญ่ ได้แก่ ลื้อ โซ่ง/ไทดำ ขึน(เขิน) ยวน(ไทยเหนือ/คำเมือง) ยอง ไทหย่า

    2)ไทยกลาง ได้แก่ ไทยใต้ ไทยตากใบ ไทยโคราช ไทยเลย ลาวหล่ม ลาวแง้ว ลาวตี้ ลาวครั่ง

    3)ลาวเวียง/ลาวกลาง ได้แก่ ลาวใต้ ผู้ไทย โย้ย ญ้อ กะเลิก ลาวอิสาน
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    2. ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language family) มีจำนวน 22 กลุ่มภาษาหลัก พบในประเทศไทยในปัจจุบันทั้งหมดเป็นภาษากลุ่มมอญเขมร มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 4.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    2.1 มอญ-เขมรเหนือ ประกอบด้วย

    กลุ่มประหล่อง ได้แก่ ละเม็ด ว้า ละเวือะ

    (ละว้า ลัวะ) ปะหล่อง (ดาละอั้ง) ปลัง(สามเต้า)

    กลุ่มขมุ ได้แก่ ขมุ มัล/ปรัย(ลัวะ) มลาบรี(ผีตองเหลือง)

    กลุ่มเวียดติก ได้แก่ เวียดนาม โซ่(ทะวึง)

    2.2 มอญ-เขมรตะวันออก ประกอบด้วย

    กลุ่มเปียร์ ได้แก่ ชอง กะซอง ซัมเร ซะโอจ

    กลุ่มเขมร ได้แก่ เขมรถิ่นไทย

    2.3 มอญ-เขมรใต้ ประกอบด้วย

    กลุ่มกะตุ ได้แก่ กูย/กวย(ส่วย) เญอ โซ่ บรู

    กลุ่มมอญ ได้แก่ มอญ ญัฮกุร

    กลุ่มอัสเลียน ได้แก่ แกนซิว/มานิ(เงาะ,ซาไก)
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    3. ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan language family) มีจำนวน 11 กลุ่มภาษาหลัก

    มีจำนวนกว่า 200 ภาษา ในประเทศไทยพบในเขตภาคเหนือและตะวันตกเป็นส่วนมาก ได้แก่

    3.1 ทิเบต-พม่า ประกอบด้วย 1) สาล ได้แก่ จิงพ่อ(คะฉิ่น)

    2) เบอมีช โลโล ได้แก่ เบอมีส ก๋อง(อูก๋อง) โลโลอีช (โลโลกลาง โลโลใต้) 3) ทิเบต(หิมาลัย)

    4) กะเหรี่ยง ได้แก่ สะกอ โปว บแว ปะโอ คะยา ปะตอง กะยอ

    3.2 ซินนินิค(จีน)
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    4. ภาษาตระกูลออสเตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน (Austronesian or Malayo-Polynesian language family) ภาษาในตระกูลนี้ในประเทศไทยพบในเขตภาคใต้เป็นส่วนมาก

    มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 0.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่ มลายู/ยาวี(มลายูถิ่นไทย) อูรักละโว้ย มอเก็น/มอเกล็น
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    5. ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน (หรือแม้ว-เย้า) (Hmong-Mien or Miao-yao language family) ในประเทศไทยพบในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่มีผู้พูดเป็นจำนวนร้อยละ 0.3 ของประชากรในประเทศ ได้แก่ ม้ง(แม้ว) ประกอบด้วย ม้งดำ ม้งขาว และ เมี่ยน(เย้า)
    เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
    นอกจากนั้นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายขอบของประเทศ และผู้พูดของภาษานั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ข้ามพรมแดนประเทศยกตัวอย่างเช่น ภาษาขมุ ภาษาเขมร ภาษากะเหรี่ยง ภาษามลายู ฯ แต่ลักษณะภาษาและพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมมักจะแตกต่างกัน

    นี่คือคนไทยทั้งหมดที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย

    สรุปว่าประเทศไทยมีคนไทยในแผ่นดินนี้หรือไม่เชื่อหรือไม่ มีคนไทย 70 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(ไม่น่ามี เพราะประเทศไทยเพิ่งเปลี่ยนชื่อประเทศมาไม่กี่ปีมานี่)

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ มะเหมี่ยว
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    สุดประจิมที่ริมเมย
    กระทู้
    858
    :*- :*- ได้ความรู้เพิ่มมาอีกเยอะเลยค่ะ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อีหยังสิปานนั้น
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    ที่อยู่
    กระบี่
    กระทู้
    323
    ผมสงสัยอยู่วา ส่วย กับเฌอ คือกันบ่นอ
    ขะน้อยเองเกิดทัน ย่ายุ ชาวบ้านลางคน
    กะเอิ้น ย่าผมวา ส่วย สีเกด ลางคนกะเอิ้น แม่ไหย่ เฌอ
    เลาบอกวา อพยบ มาแต่ แถวขุขัน อุทุมพร เป็นคาราวาน
    เกวียน 5 มื้อ 5คืน ฮ้อด ภูเวียง มับวาสั่น

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ครูจุ่น
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    128

    ส่วย กับ เยอ

    ส่วย กับ เยอ เป็นคนละชาติพันธ์ เคยไปสอนหนังสือตอนเฮียนจบใหม่ๆ อยู่สีเกด มีเด็กน้อยสี่ชาติพันธุ์มาเฮียนหนังสืออยู่โฮงเฮียนเดียวกัน มีลาว เขมร เยอ ส่วย ที่ฮู้ว่ามีความแตกต่างกันทางชาติพันธุ์ย้อนเขาเอิ้น ค.ว.ย(ควาย) ต่างกัน จำบ่อได้ โดนแล้ว จำได้แต่ว่า ส่วย เอิ้นค.ว.ย ว่า เตรี๊ยะ อยู่ได้แปดเดือนกะลาออก ย้อนอยู่บ่อได้ ไทบ้านขันเจ้าฮักเฮาแฮงโพด ผูกเสี่ยวให้คุมื้อ กินเหล่าป่า กับแกงไก่ซุแลง จนเจ็บคอไปเบิด ขั่นอยู่โดนก่อนี้ ตายแท้ตั๊วนี่ เลยลาออก แต่กะให้เข่าใจเถิงความเป็นชาติพันธุ์ของคนในประเทศไทยพอสมควร กะแลกไว้เป็นความฮู้เด้อ (เคยถามคนทั่วประเทศ ว่าผู้ได๋เป็นคนไทยแด่ ซุคนกะสิตอบว่าเป็นคนไทยซุคน พอไถ่ถามเอาแข่นๆ เขากะสรุปได้ว่าเขาบ่อแม่นคนไทย) ตั้งแต่เดินทางไปทั่วประเทศ ยังบ่อมีคนไทยจั๊กคน

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย


    กะเหรี่ยง
    กะเหรี่ยง(กะยิน ยาง) Karen ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) สาขากะเหรี่ยง (Karenic Branch) Synonyms : Kareang, Kariang, Karieng, Kayin, Yang
    กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด 68 อำเภอ 2,130 หมู่บ้าน ประชากรรวม 353,574 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.27)
    กะเหรี่ยง เป็นคำเรียกของคนไทยภาคกลาง ในพม่าเรียก กะยิน (Kayin) คนพื้นเมืองภาคเหนือและไทยใหญ่เรียก ยาง ส่วนชาวตะวันตกเรียก Karen ชนกลุ่มนี้จัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าชนชาติกะเหรี่ยงมีถิ่นเดิมอยู่ในดินแดน ตะวันออกของทิเบต แล้วเข้ามาตั้งอาณาจักรในประเทศจีนเมื่อ 733 ปีก่อนพุทธกาล ชาวจีนเรียกว่า ชนชาติโจว ภายหลังถูกกษัตริย์จีนรุกราน เมื่อ พ.ศ. 207 จึงพากันแตกพ่าย พ่ายหนีลงมาอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซี ต่อมาเกิดปะทะกับชนชาติไทจึงถอยร่นลงมาอยู่ตามลุ่มน้ำโขงและ แม่น้ำสาละวิน ในเขตพม่า กะเหรี่ยงเคลื่อน ย้ายลงมาอยู่ตอนใต้ก่อนชนชาติไทแต่ภายหลังพวกตระกูลมอญ-เขมร (ขจัดภัย 2538, น.67)
    ชนชาติกะเหรี่ยง อาศัยอยู่ในเขตไทยก่อนชนชาติไทยจะเคลื่อนย้ายลงมาสู่แหลมสุวรรณภูมิ การอพยพครั้งสำคัญของกะเหรี่ยง เกิดขึ้นในสมัย พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าทำสงครามกับมอญ พวกกะเหรี่ยงซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับมอญก็ช่วยเหลือให้ที่หลบภัย กับมอญ เมื่อพม่ายกทัพติดตามมา พวกกะเหรี่ยงหวั่นเกรงภัยที่จะเกิดขึ้นจึงอพยพเข้าสู่เขตไทย นอกจากนี้ ยังมีการอพยพเนื่องจากการ ทำมาหากินทางเขตพม่า ฝืดเคือง พวกนี้จึงเข้ามาหาที่ทำกินใหม่ในเขตไทย (ขจัดภัย 2538, น.67,68) ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย อาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ แถบชายแดนไทย-พม่า ในภาคตะวันตกและภาคเหนือ เช่น กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก และ แพร่ เป็นต้น
    กะเหรี่ยงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
    1. กะเหรี่ยงสะกอ (Sgaw Karen) พวกนี้เรียกตัวเองว่า กันยอ (Kanyaw) คนไทยเรียกว่า ยางขาว พวกกะเหรี่ยงสะกอในแถบตะวันตกของ เชียงใหม่ เรียกตัวเองว่า บูคุนโย (Bu Kun Yo) กะเหรี่ยงสะกอ ผู้ชายนิยมใส่เสื้อสีแดงรัดเอวด้วยเชือก มีพู่ และโพกผ้าสีต่างๆ ผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานนุ่งกระโปรงทรงกระสอบสีขาวยาวมีปักบ้างเล็กน้อย ส่วนที่แต่งงานแล้วนิยมใส่เสื้อแขนสั้นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนล่างประดับด้วยลูกปัดสีแดงและขาว สวมกระโปรงสีแดงลายตัด โพกผ้าสีแดง
    2. กะเหรี่ยงโปว์ (Pwo Karen) คนไทยเรียกว่า ยางโปว์ พม่าเรียกว่า ตะเลียงกะยิน (Taliang Kayin) ผู้ชายกะเหรี่ยงโปว์ แต่งตัวเหมือนชาวไทยพื้นราบทั่วไป ผู้หญิงแต่งงานแล้วใส่เสื้อทรงกระสอบเหมือนพวกสะกอ แต่ยาวกว่าและสีแดงกว่า ท่อนบนปักลวดลาย ประดับลูกปัด เกล้าผมมีปิ่นเงินปักผม กระโปรงยาวคลุมข้อเท้ามีปักและพู่ห้อย ใส่กำไลมือและแขน ผู้หญิงสักหมึก เป็นเครื่องหมายสวัสดิกะที่ข้อมือ ส่วนน่องสักเป็นรูปกระดูกงู เชื่อว่า สามารถป้องกันเวทย์มนต์คาถาและภูตผีปีศาจ (บุญช่วย 2506, น.117)
    3. กะเหรี่ยง บเว (B’ghwe Karen) หรือ แบร (Bre) หรือกะเหรี่ยงแดง กะเหรี่ยงพวกนี้เรียกตัวเองว่า กะยา (Ka-ya) คนไทยเรียกว่ายางแดง พม่าเรียกว่า คะยินนี (Kayin-ni) แต่สมัยใหม่เรียกเป็น คะยา (Kayah) ชาวอังกฤษเรียกคาเรนนี (Karen-ni) ซึ่งเอาแบบชื่อที่ชาวพม่าเรียก กะเหรี่ยงบเว ผู้ชายนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดง โพกศีรษะ นิยมสักข้างหลัง ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้น และสวมกำไลไม้ไผ่ที่ข้อเท้า กะเหรี่ยงแดงถือว่าตนเป็นชาติใหญ่ และไม่ยอมรับพวกสกอและโปว์ว่าเป็นพวกที่มีเลือดกะเหรี่ยงอย่างแท้จริง (บุญช่วย 2506, น.123)
    4. กะเหรี่ยงตองสู หรือปะโอ (Pa-O) คนไทยและพม่าเรียก ตองสู (Thaung thu) พวกไทยใหญ่เรียก ตองซู (Tong-Su) กะเหรี่ยงเผ่าสะกอเรียกพวกตองสูว่า กะเหรี่ยงดำ พวกตองสู แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณเมืองต่างๆใกล้ทะเลสาบอินเล แห่งมะเยลัต ในรัฐฉานตอนใต้ ประเทศพม่า เมืองที่ตองสูอยู่มากที่สุด คือเมืองหลอยโหลง และเมืองสะทุ่ง (บุญช่วย 2506, น.130) ผู้หญิงตองตูนิยมแต่งชุดสีดำ โพกผ้าสีขาวหรือดำ ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาวสีดำและสีขาว เสื้อแขนยาว ผ่าอกกลางใช้กระดุมผ้า
    ีถิ่นที่อยู่อาศัยและบ้านเรือนของกะเหรี่ยงอาศัยรวมกันเป็นหมู่บ้าน ประกอบด้วย ครัวเรือนและยุ้งฉาง บ้าน ของกะเหรี่ยงสร้างด้วยไม้ไผ่ และแฝก เรียกว่า โขน ยกพื้น ด้วยเสาไม้สูง 5-6 ฟุต บริเวณบ้านไม่มีรั้ว สัตว์เลี้ยงต่างๆ จะปล่อยให้หากินในหมู่บ้าน (Lebar 1964, p.59-60 และขจัดภัย 2538, น.73) กะเหรี่ยงสะกอและโปว์ จะมี ีแบบแผนบ้านเรือน คล้ายกัน ส่วนพวกตองตู จะตั้งบ้าน เรือนอยู่เนินเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000-3,500 ฟุต แบบบ้านคล้าย ชาวไทยใหญ่ (บุญช่วย 2506, น.130)
    หมู่บ้านของกะเหรี่ยงไม่มีวัด ไม่มีที่สำหรับประชุมหรือลานเต้นรำ ลักษณะของหมู่บ้านกะเหรี่ยงพอจะจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
    1 หมู่บ้านถาวร ตั้งอยู่ตามหุบเขา เป็นหมู่บ้านค่อนข้างใหญ่ มีบ้าน 16-72 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ตั้งมานานกว่า 50 ปีขึ้นไป
    2 หมู่บ้านค่อนข้าง ถาวร ตั้งอยู่ตามหุบเขาสูง ขนาดปานกลาง มีบ้านประมาณ 11 หลังคาเรือน ทั้ง 2 ประเภทนี้ ชาวบ้านจะดำรงชีพด้วยการทำนาเป็นหลัก และ
    3 หมู่บ้านบน ภูเขา ชาวบ้านมักทำไร่เลื่อนลอย หมู่บ้านมีขนาดเล็ก (ขจัดภัย 2538, น.74) ในหมู่บ้าน กะเหรี่ยงจะมีหัวหน้าหมู่บ้าน เรียกว่า เซี่ยเก็งคู หรือ ซะปร่า เปอฮี่ (บุญช่วย 2506, น.81) โดยได้มาจากการสืบช่วงตามสาย บิดา หน้าที่ของหัวหน้า คือพิจารณาตัดสินกรณีพิพาทตัดสินคดีเกี่ยวกับความประพฤติ ิผิดทางเพศ ลักขโมย เป็นต้น (ขจัดภัย 2538, น.75-76)
    ระบบครอบครัวและตระกูลของกะเหรี่ยง โดยทั่วไปเป็น ครอบครัวเดี่ยว ปกติคู่สมรสจะตั้งครอบครัวของตนภายหลัง ที่ได้ อาศัยอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง ชาวกะเหรี่ยงกล่าว กันว่าต้องสร้าง หลังเล็กหลังแต่งงานและต่อเติมให้ใหญ่ขึ้น ่ขึ้นเมื่อมีบุตร กะเหรี่ยงเชื่อว่าบ้านเป็นสถานที่ทางวิญญาณ ของภรรยา โดยต้องมีพิธีเตอะเซี่ย หลังจากภรรยาย้ายไป อยู่บ้านหลังใหม่ เพื่อแจ้งแก่ผีสายมารดาให้ทราบถึงการ แต่งงาน (ขจัดภัย 2538,น78-79)
    ศาสนาของชาวกะเหรี่ยง บางส่วนนับถือศาสนาพุทธ เช่น กะเหรี่ยงโปว์ บางพวกนับถือคริสต์ กะเหรี่ยงสะกอที่อาศัยในพื้นราบ แต่ชาวกะเหรี่ยง ทั้งหมดซึ่งรวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาทั้งสองดังกล่าวข้างต้น นับถือผี พวกเขาเชื่อว่า แทบทุกหนทุกแห่งจะผีสิงสถิตอยู่ เช่น ในป่า ในไร่ หรือในหมู่บ้าน ผีที่กะเหรี่ยงนับถือ คือ ผีเรือนและผีบ้าน ผีเรือน เป็นผีประจำบ้านเรือน คือวิญญาณของปู่ย่าตายายที่วนเวียน อยู่ภายในบ้านเรือนคอยป้องกันรักษา บุตรหลานให้อยู่อย่างสงบสุข ส่วนผีบ้าน เป็นผีหรือเทพารักษ์รักษาหมู่บ้าน บางทีเรียกว่า ผีเจ้าเมือง หรือผีเจ้าที่
    ซึ่งมีความสำคัญมากโดยเฉพาะใน พิธีเกี่ยวกับการเกษตรและพิธีกรรมเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคนทั้งหมู่บ้าน การเลี้ยงผีเจ้าที่ ี่นั้นกระทำปีละสองครั้ง (ขจัดภัย 2538, น.81-82 และบุญช่วย 2506, น.76) ชาวกะเหรี่ยงถือว่า การเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดจากการกระทำของผีร้ายต่างๆ ซึ่งสิงสถิตตามป่า เขา แม่น้ำ ลำธาร เมื่อมีผู้เจ็บป่วย ็จะต้องจัดพิธีเลี้ยงผีโดยหมอผีในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการ การเลี้ยงผีก็เพื่อเป็นการขอ ขมาผีจะได้หายโกรธแค้นผู้ที่ไปลบหลู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ที่ประกอบพิธีเซ่นสังเวยผี ได้แก่หมอผี ซึ่งมีสองคน คือ ตัวจริงและตัวสำรอง ทั้งสองคนต้องเป็นญาติกัน (ขจัดภัย 2538, น.81-82)
    พวกกะเหรี่ยงแดง จะปลูกสร้างเสาสูงไว้ให้ผีหมู่บ้านอาศัยอยู่ เสานี้เรียกว่า เสามงคล มีพิธีปลูกเสาปีละ 1 ต้น ในเดือนเมษายน เรียกพิธี “กู่โตโป” บางแห่งใช้เสาไม้ไผ่ บางแห่งใช้เสาไม้จริงไม่ให้คนหรือสัตว์ข้าม มีความสูง 10-12 เมตร บนยอดเสาแกะสลักเป็นรูปศีรษะมนุษย์ (บุญช่วย 2506, น.125-126)
    ระบบเศรษฐกิจของกะเหรี่ยง ขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก พืชหลักที่ปลูก คือข้าว การปลูกข้าวมีสองประเภท คือ กะเหรี่ยงบนภูจะปลูกข้าวไร่ ส่วนกะเหรี่ยงตามที่ราบ หุบเขา จะปลูกข้าวในนาแบบขั้นบันได นอกจากข้าวแล้ว ยังปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ผัก ฟักทอง พริก มะเขือ เป็นต้น กะเหรี่ยงแต่ละ ครอบครัวจะโค่นถางทำไร่ของตนเองและ อยู่ในเขตหมู่บ้าน ของตนเท่านั้น (ขจัดภัย 2538, น.77) สัตว์เลี้ยงของกะเหรี่ยงได้แก่ หมู ไก่เลี้ยงไว้ใช้ในพิธีบวง สรวง วัว ควาย ช้างเลี้ยงไว้ใช้งาน สำหรับช้างจะเลี้ยงใน ครอบครัวที่มีฐานะรายได้ของกะเหรี่ยง รายได้ของกะเหรี่ยงได้แก่ ขายปศุสัตว์ รับจ้างทำงานกับคนไทย ขายของป่า อุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ตะกร้า มีด เครื่องครัวที่ทำจากไม้ เป็นต้น (ขจัดภัย 2538, น.78)


    ชาวกูย
    ชาวกูย (Kui) กวย (Kuoy) ส่วย (Suay) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขากะตูอิค (Katuic Branch) Synonyms: Kuy, Kuoy, Koui, Kouei, Kouoi, Suai, Suay
    ประชากรกูย สำรวจปี 2533 จำนวน 273,570 คน (วรรณา เทียนมี อ้างจาก โสฬสและคณะ 2538 น.9)
    ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูยเคยเป็นรัฐ อิสระ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์ ์เขมรปราบขบถ ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบชาวกูยและผนวกอาณาจักรเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้า สู่เมืองอัตตะบือ แสนปาง จำปาศักดิ์และสารวัน ทางตอนใต้ของลาวอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู้ภาค อีสาน ทางด้าน แก่งสะพือ อำเภอโขงเจียม
    หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ชาวกูยอพยพเข้าประเทศไทยครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ.2245-2326) ชาวกูยที่อพยพมา มีหัวหน้าของตัวเอง คนไทยเรียกชาวกูยว่า เขมรป่าดง ชาวกูยเรียกตัวเองว่ากุย กูย โกย หรือกวยซึ่งแปลว่า “คน” ส่วนคำว่า "ส่วย" นั้น ชาวกูยเองไม่ค่อยยอม ยอมรับชื่อนี้โสฬสและคณะ 2538, น.2-5) ปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และสุพรรณบุรี)
    ชาวกูยในประเทศไทยตั้งถิ่นฐานปนอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาวทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เขมรสูงและลาว บ้านของ ชาวกูยมีลักษณะใต้ถุนสูง ด้านหน้าจะสูงเอาไว้เลี้ยงช้างใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูกทอผ้าวางกระด้งไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูย บางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้านสร้างแยกต่างหาก (โสฬสและคณะ 2538, น.21) ชาวกูยรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก จะ รับประทานข้าวเหนียวเป็นบางครั้ง อาหาร ประจำ ได้แก่ พริกตำ แกงกบ อาหารอื่นๆ ได้แก่ เขียด กิ้งก่า เอามาสับ ย่างและตำพริก มดแดงเอามาคั่วใส่ ่พริก มะนาว น้ำปลา กะปิ เกลือเป็นต้น อาหารดิบที่บริโภค ได้แก่ กุ้งตัวเล็ก ปลาซิวตัวเล็ก เรียกว่า “กาผุห์” ผู้หญิงกูยสูงอายุนิยมเคี้ยวหมากและพลู นอกจากนี้ยังเก็บลูกไม้ชนิดหนึ่งมาเคี้ยวกับหมากเรียกว่า “ปลัย การ” ชาวกูยยังมีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ มีการล้มวัวควาย บริโภคหรือใน เวลามีงานพิธี เช่น เซ่นผีบรรพบุรุษ งานบวช เป็นต้น (โสฬสและคณะ 2538, น.20-21)
    ชาวกูยในประเทศไทยตั้งถิ่นฐานปนอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาวทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เขมรสูงและลาว บ้านของ ชาวกูยมีลักษณะใต้ถุนสูง ด้านหน้าจะสูงเอาไว้เลี้ยงช้างใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูกทอผ้าวางกระด้งไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูย บางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้านสร้างแยกต่างหาก (โสฬสและคณะ 2538, น.21) ชาวกูยรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก จะ รับประทานข้าวเหนียวเป็นบางครั้ง อาหาร ประจำ ได้แก่ พริกตำ แกงกบ อาหารอื่นๆ ได้แก่ เขียด กิ้งก่า เอามาสับ ย่างและตำพริก มดแดงเอามาคั่วใส่ ่พริก มะนาว น้ำปลา กะปิ เกลือเป็นต้น อาหารดิบที่บริโภค ได้แก่ กุ้งตัวเล็ก ปลาซิวตัวเล็ก เรียกว่า “กาผุห์” ผู้หญิงกูยสูงอายุนิยมเคี้ยวหมากและพลู นอกจากนี้ยังเก็บลูกไม้ชนิดหนึ่งมาเคี้ยวกับหมากเรียกว่า “ปลัย การ” ชาวกูยยังมีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ มีการล้มวัวควาย บริโภคหรือใน เวลามีงานพิธี เช่น เซ่นผีบรรพบุรุษ งานบวช เป็นต้น (โสฬสและคณะ 2538, น.20-21)
    ชาวกูยในประเทศไทยตั้งถิ่นฐานปนอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาวทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เขมรสูงและลาว บ้านของ ชาวกูยมีลักษณะใต้ถุนสูง ด้านหน้าจะสูงเอาไว้เลี้ยงช้างใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูกทอผ้าวางกระด้งไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูย บางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้านสร้างแยกต่างหาก (โสฬสและคณะ 2538, น.21) ชาวกูยรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก จะ รับประทานข้าวเหนียวเป็นบางครั้ง อาหาร ประจำ ได้แก่ พริกตำ แกงกบ อาหารอื่นๆ ได้แก่ เขียด กิ้งก่า เอามาสับ ย่างและตำพริก มดแดงเอามาคั่วใส่ ่พริก มะนาว น้ำปลา กะปิ เกลือเป็นต้น อาหารดิบที่บริโภค ได้แก่ กุ้งตัวเล็ก ปลาซิวตัวเล็ก เรียกว่า “กาผุห์” ผู้หญิงกูยสูงอายุนิยมเคี้ยวหมากและพลู นอกจากนี้ยังเก็บลูกไม้ชนิดหนึ่งมาเคี้ยวกับหมากเรียกว่า “ปลัย การ” ชาวกูยยังมีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ มีการล้มวัวควาย บริโภคหรือใน เวลามีงานพิธี เช่น เซ่นผีบรรพบุรุษ งานบวช เป็นต้น (โสฬสและคณะ 2538, น.20-21)
    ชาวกูยมีการนับถือผีและศาสนาพุทธผสมกัน ภายในชุมชนมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษเรียกว่า “ญะจัวะฮ” บนบ้านจะมีหิ้งบูชา ผีบรรพบุรุษ บางบ้านสร้างศาลไว้ใกล้ศาลเจ้าที่ ในการเซ่นผีกระทำปีละครั้ง เริ่มพิธีโดย ข้าวสุกเหล้า เนื้อสัตว์ กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอา มาวางไว้ใต้ ้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลง ที่ข้าวแล้วกล่าวขอ ให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครอง ขณะที่กล่าวค่อยๆ รินเหล้าลง ขันแล้วหยิบของที่ ใช้เซ่นวางบน หิ้งที่เหลือนำมา รับประทาน (โสฬสและ คณะ 2538, น.11) การเซ่นผีอาจจัดขึ้นในวาระ อื่น ๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอด หรือ เมื่อมีแขกมาเยือนและ พักอาศัยอยู่ที่บ้าน
    ชาวกูยยังนับถือวิญญาณได้แก่ภูติผีปีศาจเจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขาเป็นต้นชาวกูยยังเชื่อเรื่องผีปอบและเรื่องขวัญในหมู่บ้านจะมีแม่เฒ่าทำ หน้าที่ดูแลความเจ็บไข้ ชาวกูยเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผีจึงมีการอ้อนวอนให้ผีพอใจ โดยมีการรำผีมอผู้ที่จะรำผีมอต้องผ่านพิธีไหว้ครู ครอบครู (โสฬสและคณะ 2538, น.13) ชาวกูยยังมีพิธีไหว้พระแข มีการ สันนิษฐานกัน ว่าเป็นพิธีที่ได้จากเขมร พิธีนี้เป็นพิธีเสี่ยงทายเพื่อดู ูปริมาณน้ำฝนที่จะตกในเดือนต่าง ๆ ที่เป็นฤดูทำนาในปี ต่อไป (โสฬสและ คณะ 2538, น.19)
    ชาวกูยนิยมเลี้ยงช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวกูยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกว่า “โพนช้าง” เป็นการจับช้างโดย หมอช้าง ใช้บ่วงมาศที่เรียกว่า “เชือกปะกำ" ทำจากหนังควายถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สิงสถิตของดวง วิญญาณ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์คล้องเท้า ช้างแล้วผูกกับ ต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งาน ในการคล้องช้างกระทำปีละครั้ง ราวเดือน 11-12 ช้างที่ตายลงจะมีการฝังอย่างดีและจะขุดกระดูกขึ้นมาทำ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้ (โสฬสและคณะ 2538, น.14-16)
    การแต่งกายของชาวกูย หญิงสูงอายุจะนุ่งผ้าที่มีลายใส่เสื้อคอกระเช้า ใส่สร้อยคอลูกปัด เงิน นิยมใส่ดอกไม้หอมไว้ที่ ติ่งหู ชาวกูยนิยมทอผ้า เช่น ผ้าจิกกะน้อย เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าหางกระรอกมีสีเดียวเป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีสำคัญ ๆลักษณะการนุ่งจะนุ่งพับจีบด้านหน้า เหมือนการนุ่ง โสร่ง ผ้านุ่งสตรีนิยมทอหมี่คั่นเป็นทางแนวดิ่งยืนพื้นสีน้ำตาลอมมีหัวซิ่น
    พื้นสีแดงลายขิด ตีนซิ่นสีดำมีริ้วขาวเหลืองแดง ผ้าจะกวี เป็นผ้าคล้ายอันลูซีม ของเขมรมีลายทางยาวเป็น ผ้าที่สตรีใช้นุ่งใน งานสำคัญ ๆ (โสฬสและคณะ 2538, น.17-18


    ขมุ
    ขมุ หรือ ผู้ทึง Khmu ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาขมุ (Khmuic Branch) Synonyms : Kha Khmu, Kha Mou, Khamu, Khamuk, Mou
    ขมุ อาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 14 อำเภอ 47 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 2,516 หลังคาเรือน ประชากรรวม 13,674 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.55)
    ขมุ มีถิ่นอาศัยอยู่ในตอนเหนือของประเทศลาว สองฝั่งแม่น้ำทา แม่น้ำแบ่ง แม่น้ำอู แม่น้ำเสือง ในแขวงหัวของ แขวงนครหลวงพระบางและกระจัดกระจาย อยู่ในแขวงไชยะบุรี (บุญช่วย 2506, น.199) ขมุเริ่มเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ประเทศไทย ทางด้านที่ติดกับพรมแดนลาว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
    สาเหตุที่อพยพเข้ามาเนื่องจากที่อยู่เดิมอัตคัตกันดาร ต่อมาชาวเหนือนิยมใช้พวกขมุ ุเป็นคนงานในไร่ยาสูบ ทำสวน ขุดดิน ตัดต้นไม้ แบกหาม ในโรงเลื่อย หรือโรงงานบ่มใบยาสูบ เป็นต้น ขมุบางคนหากินด้วยการเป็น “นายฮ้อย” เที่ยว ไปตามหมู่บ้านในเมืองหลวงน้ำทา เมืองไซเอาเงินเป็นค่ามัดจำตัวเองไว้กับบิดา มารดา (บุญช่วย 2506, น.201-202) ปัจจุบันพบขมุใน 5 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง อุทัยธานี และน่าน
    พวกขมุตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ลาดเชิงเขาลงสู่แม่น้ำลำธาร ไม่อยู่บนภูเขาสูงเพราะอากาศหนาว ทางเข้าหมู่บ้านมี ประตูผี เรียกว่า “อังกืน” สร้างด้วยไม้จริง 2 ท่อนมีท่อนพาดยาวขวางอยู่ข้างบน เวลาถึงพิธีเซ่นผีหลวงประจำหมู่บ้าน จะประดับด้วย ไม่ไผ่สานเป็นเฉลว ข้างเสามีท่อนไม้เป็นรูปศีรษะมนุษย์นำมาฝังดินไว้สองข้าง สูงพ้นดินประมาณ 2 ฟุต เรียก “จะลังคัด” (บุญช่วย 2506, น.205) บ้านของชาวขมุไม่ใหญ่โต สร้างเป็นกระต๊อบเล็กๆ บางหลังปลูกติดกับพื้นดิน ยกพื้นแค่เพียงที่นอน บ้านสร้างด้วยไม้จริง พื้นฟากฝาสาน หลังคามุงด้วยใบหวาย ใบก้อ ใบคา มีระเบียงและชานหน้า บันไดข้าง มีห้องเพียงห้อง เดียวไม่มีหน้าต่าง เตาไฟอยู่ตรงกลางใช้ทำอาหาร ที่นอนใช้เสื่อนอนรอบเตาไฟ ข้างฝามีเครื่องใช้เช่น จอบ เสียม หน้าไม้ มีด เป็นต้น ใต้ถุนบ้านเป็นที่เก็บฟืน เล้าไก่ เลี้ยงหมู เป็นต้น (บุญช่วย 2506, หน้า 206-207)
    ในสังคมของชาวขมุ ไม่มีระบบปกครองที่ซับซ้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการปกครองลาว (Lebar and others 1964, p.117) ส่วนระบบครอบครัว มีการนับถือสายบิดา (Partrilineal) ตามธรรมเนียมหลังแต่งงาน ชายต้องไปอยู่บ้านผู้หญิง นอกจาก ชายมีฐานะดีกว่า ส่วมมากผู้ชายจะช่วยงานบ้าน บิดามารดาผู้หญิงจนมีบุตร 1 คน จึงนำภรรยากลับไปอยู่บ้านบิดามารดาของตน หลังจากนั้น ภรรยาต้องรับใช้บิดามารดาของสามี (บุญช่วย 2506, น.214) ขมุถือตามธรรมเนียมจีนว่า เมื่อสามีตายลงภรรยาต้อง อยู่รับใช้บิดามารดาฝ่ายสามีตลอดไป ถ้ามีชายมาชอบพอรักใคร่ขอแต่งงานด้วย หญิงมีสิทธิ์แต่งงานใหม่ได้ แต่บุตรซึ่งเกิดจาก สามีเดิม จะนำเอาไปด้วยไม่ได้ ต้องมอบให้เป็นสิทธิ์ของบิดามารดาสามีเก่า (บุญช่วย 2506, น.219)
    สะเดาะเคราะห์ ตามปกติ เมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยหรือโรคระบาด ทุก ๆ 3 ปี จะมีการฆ่ากระบือ เซ่นผีเมือง ทำพิธีเซ่นผีไร่เวลาปลูกข้าว เมื่อมีคนตายในหมู่ บ้าน เพื่อนบ้านจะนำไก่ไปให้ครอบครัวละ 1 ตัว ศพถูกห่อด้วยเสื่อ
    สะเดาะเคราะห์ ตามปกติ เมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยหรือโรคระบาด ทุก ๆ 3 ปี จะมีการฆ่ากระบือ เซ่นผีเมือง ทำพิธีเซ่นผีไร่เวลาปลูกข้าว เมื่อมีคนตายในหมู่ บ้าน เพื่อนบ้านจะนำไก่ไปให้ครอบครัวละ 1 ตัว ศพถูกห่อด้วยเสื่อ ใช้ไม้คาน สอดหามไปยังป่าช้า หลุมฝังศพใช้ไม้ฟากรอง พื้นดิน วางเสื่อห่อศพลงแล้วกลบดิน เหนือหลุมศพมีสุราอาหาร ดอกไม้ เทียน วางไว้ ลูกหลานต้องส่งอาหารเซ่น วิญญาณผู้ ตายติดกัน 3 วัน เมื่อกลับมาบ้าน เจ้าบ้านจะฆ่าหมูเลี้ยงวิญญาณผู้ตายที่บ้าน อยู่กรรมมีกำหนด 1 เดือน คือไม่ออกไปไกลหมู่ บ้านหยุดทำงานหนักในไร่นา (บุญช่วย 2506, น.218-219) ปัจจุบันชาวขมุหันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์บ้าง (บุญช่วย 2506 น.210-211) การแต่งกายของชาวขมุ ผู้หญิงไว้ผมมวยเกล้าไว้ข้างหลัง มีแผ่นผ้าพันรอบกรวยใหญ่ เอาปลายผ้าปิดข้างบนทอเป็นลวดลายประดับ กระดุมเปลือกหอย ห้อยเหรียญเงิน ใส่เสื้อสีดำสั้นเหนือเอว แขนยาว มีแถบสีแดงริมคอเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายสีต่างๆ ผู้หญิงนิยมเจาะรูหู ใส่ลานเงินหรือตุ้มหู เอายางไม้ย้อมฟันสีดำ ใส่กำไลเงินที่แขน สักดอกจันทร์ไว้ที่หลังมือ แต่ปัจจุบันไม่ นิยมแล้ว ส่วนผู้ชาย เดิมไว้ผมยาว เกล้ามวยมีผ้าโพกศีรษะ ปัจจุบันตัดผมสั้น นุ่งกางเกงขายาว เสื้อกุยเฮงผ่าอกสีดำ (บุญช่วย 2506, น.207-208) ระบบเศรษฐกิจของชาวขมุ ขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กล้วย อ้อย ถั่ว พริก ยาสูบ ฝิ่น ฝ้าย เป็นต้น ชาวขมุนิยมถางป่า เผาป่าทำไร่ สัตว์เลี้ยงของชาวขมุ ได้แก่ สุนัข ควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น นอกจากนั้นยังเก็บของป่า ล่าสัตว์ ดักสัตว์ รายได้ของชาวขมุ ได้มาจากการเป็นแรงงานรับจ้างในไร่นาของพวกลาว คนจีน พวกแม้ว เป็นต้น (Lebar and others 1964, p.114-115)
    การแต่งกายของชาวขมุ ผู้หญิงไว้ผมมวยเกล้าไว้ข้างหลัง มีแผ่นผ้าพันรอบกรวยใหญ่ เอาปลายผ้าปิดข้างบนทอเป็นลวดลายประดับ กระดุมเปลือกหอย ห้อยเหรียญเงิน ใส่เสื้อสีดำสั้นเหนือเอว แขนยาว มีแถบสีแดงริมคอเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายสีต่างๆ ผู้หญิงนิยมเจาะรูหู ใส่ลานเงินหรือตุ้มหู เอายางไม้ย้อมฟันสีดำ ใส่กำไลเงินที่แขน สักดอกจันทร์ไว้ที่หลังมือ แต่ปัจจุบันไม่ นิยมแล้ว ส่วนผู้ชาย เดิมไว้ผมยาว เกล้ามวยมีผ้าโพกศีรษะ ปัจจุบันตัดผมสั้น นุ่งกางเกงขายาว เสื้อกุยเฮงผ่าอกสีดำ (บุญช่วย 2506, น.207-208)
    ระบบเศรษฐกิจของชาวขมุ ขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กล้วย อ้อย ถั่ว พริก ยาสูบ ฝิ่น ฝ้าย เป็นต้น ชาวขมุนิยมถางป่า เผาป่าทำไร่ สัตว์เลี้ยงของชาวขมุ ได้แก่ สุนัข ควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น นอกจากนั้นยังเก็บของป่า ล่าสัตว์ ดักสัตว์ รายได้ของชาวขมุ ได้มาจากการเป็นแรงงานรับจ้างในไร่นาของพวกลาว คนจีน พวกแม้ว เป็นต้น (Lebar and others 1964, p.114-115)


    เขมร
    เขมร Khmer ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาเขมร (Khmer Branch) Synonyms: Cambodian
    เขมรถิ่นไทยเป็นชื่อทางวิชาการ ได้กำหนดขึ้นเพื่อเรียกผู้ที่พูดภาษาเขมรซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ประกอบ 2538, น.1) โดยทั่วไป ชาวเขมรถิ่นไทยเรียกตัวเองว่า “คแมร” หรือ “คแมร-ลือ” แปลว่าเขมรสูง เรียกภาษาเขมรและชาวเขมรในกัมพูชา ว่า “คแมร-กรอม” แปลว่า เขมรต่ำ และเรียกคนไทยว่า “ซีม” ซึ่งตรงกับคำว่า “สยาม” ในภาษาไทย (ประกอบ 2538, น.1) เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ภาษาเขมรเหนือหรือเขมรสูง (เขมรถิ่นไทย) 2) ภาษาเขมรกลางเป็นภาษาของผู้ที่อยู่ใน กัมพูชา 3) ภาษาเขมรใต้เป็นภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร ปัจจุบันพบ ชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว
    นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี สันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบสูงโคราช เคยเป็นที่อยู่ของชาวขอม หรือชาวเขมรโบราณ ดูจากกลุ่มปราสาทขอมโบราณ ศิลาจารึก ประติมากรรมที่พบมากในบริเวณดังกล่าวเช่น ปราสาทภูมิโปน ปราสาทไปรมัดน้อย ปราสาทพนาวัน ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น ชาวเขมรถิ่นไทยน่าจะอพยพมาสมัยหลังในช่วง พ.ศ.2324-2325 (ประกอบ 2538, น.15-16)
    ครอบครัวของชาวเขมรถิ่นไทยมีความคล้ายคลึงกับครอบครัวไทยพื้นเมือง คือ พ่อบ้านเป็นหัวหน้าครอบครัวแม่บ้านดูแล กิจกรรมภายในบ้าน ชาวเขมรถิ่นไทยให้เกียรติแก่เพศชายในการดำเนินกิจกรรม หรือตัดสินเรื่องต่าง ๆ ครอบครัวเขมรถิ่นไทยมี การอยู่รวมกันหลายครอบครัว อาจประกอบด้วยปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา พ่อแม่ ลูกหลาน พี่น้องจำนวนมากครอบครัวใดที่มีลูก สาวหลายคน สมาชิกก็มีแนวโน้มขยายมากขึ้น การแต่งงาน (แซนการ) ของชาวเขมรถิ่นไทยนี้ ผู้เป็นฝ่ายชายต้องเสียเงินและ บรรณาการให้ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเปิดปาก (เบิกเมือด) ฝ่ายชายต้องจัดขันหมากไปให้ฝ่ายหญิง ประกอบด้วยหมู เหล้า ขนม ข้าวต้ม ผลไม้และเงินทอง ฝ่ายหญิงต้องล้างเท้าให้ฝ่ายชายก่อนขึ้นบ้าน (ประกอบ 2538, น.27)
    เขมรถิ่นไทยมีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ อาหารหลักของชาวเขมรถิ่นไทยคือ ข้าวเจ้า ปลาร้า เขมร ปลาจ่อม ปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาต้ม น้ำพริกจิ้มผัก ผลไม้ได้แก่ กล้วย น้อยหน่า มะม่วง มะพร้าวและขนม ได้แก่ ขนมโชค ขนมเนียล ขนมกันตาราง ขนมกระมอล ขนมมุก เป็นต้น
    ชาวเขมรถิ่นไทยนับถือศาสนาพุทธ ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณี “กันซง” ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค
    โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ ร่าง และจะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้น ชาวเขมรถิ่นไทยยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้ (ประกอบ 2538, น.27)
    การแต่งกายของชาวเขมรถิ่นไทย ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง (ซำป๊วด) ซึ่งเป็นผ้าไหมพื้นเมืองที่มีชื่อคือ ผ้าโฮล ผ้าอำปรุม ผ้าซิน ผ้าซาคู ส่วนผู้ชายนุ่งโสร่ง สำหรับเสื้อ ผู้หญิงใส่เสื้อแขนกระบอก ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม เครื่องประดับจะเป็นเครื่องเงิน เรียกว่า ประเกือ็ม (ประคำ) นำมาร้อยเป็นสร้อย ต่างหู เป็นต้น (ประกอบ 2538, น.22) เขมรถิ่นไทยมีการละเล่นพื้นบ้านได้แก่ จเรียง เป็นการขับร้องหรือแหล่กลอนสด เนียะจเรียง หมายถึง ผู้ขับร้อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมร จเรียงมีด้วยกันหลายประเภท เช่น จเรียงนอรแกว เป็นการร้องโต้ตอบระหว่าง ชายหญิง จเรียงอาไย มีการรำประกอบการร้อง จเรียงซันตูจ เป็นการสนุกสนานของหนุ่มสาวซึ่งไปช่วยแต่งงานและงานมงคลในยาม ค่ำคืน จเรียงตรัว จะเป็นการร้องประกอบเสียงซอ จเรียงจรวง เป็นการร้อง ประกอบเสียงปี่ นอกจากนั้นยังมี กันตรึม เป็นการละเล่นประกอบดนตรี รำตรุษ เล่นในเทศกาลสงกรานต์ (แคแจด) รำสาก เป็น การรำประกอบเสียงดนตรี และเสียงกระทบสาก ผู้รำประกอบด้วยชายหญิงรำเป็นคู่ ๆ รอบวงกระทบสาก (ประกอบ 2538, น.29-30)

    cont........>>>

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ...........>>>

    ข่าพร้าว
    ข่าพร้าว (Brao) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) Synonyms: Lave, Love
    ถิ่นอาศัยของข่าพร้าว พบอยู่บริเวณ Voeun Sai ในกัมพูชา ทางเหนือของจังหวัด Attopeu ในลาว ทางตะวันออกของดักจึง ทางตะวันตกของแม่น้ำ Se Kong พวกข่าพร้าวอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงประมาณ 400-800 เมตร พวกข่าพร้าวบางกลุ่มอพยพข้าม แม่น้ำโขงเข้ามาอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยดำรงชีวิตบนภูเขา (Lebar and others 1964, p.137)
    พวกข่าพร้าวนิยมอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ภายในหมู่บ้านจะมีการสร้างรั้วอย่างถาวร เมื่อถึงฤดูน้ำพา พวกข่าพร้าวจะออก ไปอยู่นอกบ้านชั่วคราวใกล้กับไร่นา และจะกลับมาอยู่ในหมู่บ้านในฤดูแล้ง การดำรงชีพของข่าพร้าวคือการทำนานอกจากนั้น ยังจับปลาเป็น อาหาร ข่าพร้าวมีการนับถือญาติทั้งสองฝ่าย (bilateral)


    จีนฮ่อ
    Haw จีนฮ่อ นักภาษาศาสตร์จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan Language Family) Synonyms : Ho
    จีนฮ่ออาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 20 อำเภอ 71 หมู่บ้าน ประชากรรวม 21,579 คน (ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2540, น.63)
    พวกจีนฮ่ออยู่ทางตอนใต้ของจีน พรมแดนระหว่างไทย ลาว อาศัยอยู่บนเทือกเขา รู้จักในนาม Chinese hill farmer (Lebar and others, p.2) ชาวจีนฮ่อที่พบในประเทศไทย อพยพเข้ามาหลังการปฏิวัติระบบจักรพรรดิ์ของจีน มาเป็น คอมมิวนิสต์ โดยผู้นำการอพยพคือนายทหาร เข้ามาอยู่อาศัยในเขตติดต่อไทยพม่า ปัจจุบันพบจีนฮ่อในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา ชาวจีนฮ่อในประเทศไทยถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในลักษณะผู้ลี้ ภัยทางการเมือง และเปรียบเสมือนแนวกันชนในการสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์


    ชอง
    ชอง (Chong) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาเพียร์ (Pearic branch)
    ชาวชองเป็นชนเผ่าตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันออกแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา กระจัดกระจายอยู่แถบบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งในจังหวัดไพลินและ กัมปอดของกัมพูชา บ้านเรือนของชาวชองสร้างจากไม้ไผ่ ชาวชองมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ ประมาณ 20-30 ครอบครัว การสร้างบ้านจะช่วยกันปลูกบ้าน ลักษณะบ้านจะเป็นเรือน ยก พื้นสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตรมีบันได 3-5 ขั้น พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ส่วนของหน้าบ้าน เรียกว่า “ชานบ้าน” ใช้เป็นบริเวณวางสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ เป็นที่รับประทานอาหาร ส่วนที่สองเป็น กลางบ้านเป็นบริเวณที่ พักผ่อน รับแขกนั่งเล่นหรือ ทำพิธีกรรม ต่าง ๆ ส่วนที่สามเป็นห้อง นอนส่วนใหญ่จะกันไว้ห้อง เดียวใช้ไม้ไผ่ สับแตก ๆ ที่เรียกกันว่า "ฟาก" หลังคา มุงด้วยตับซึ่ง ทำ จากใบไม้บ้านชาวชองมี ลักษณะ เป็นเรือนเครื่องผูกเพราะทุกส่วน ของบ้านที่ต่อกันจะใช้ ้แต่วิธีผูก ด้วยหวาย หรือเชือก
    แต่เดิมชาวชองอาศัยอยู่ในป่า ดำรงชีวิตด้วยการทำนา นอกจากนั้นยังมีการเก็บของป่านำ ไปขายในเมือง ได้แก่ น้ำมัน ยางชัน สมุนไพร หวาย และหนังสัตว์ นำมาแลกกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เกลือ ยาฉุน หอม กระเทียม เป็นต้น
    การปกครองของชาวชอง จะมีผู้นำหมู่บ้านผู้อาวุโสซึ่งสมัยโบราณเรียกว่า “หลวงพล” เป็นที่ยอมรับของหมู่บ้านในส่วนของค่านิยมความเชื่อของ ชาวชอง ชาวชองมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ภูตผี และศาสนาพุทธ ชาวชองมีการนับถือผี มีประเพณีที่เรียก “การเล่นผีหิ้ง” และ “การเล่นผีโรง”
    ประเพณีแต่งงานของชาวชอง เรียกว่า “กาตั่ก” หรือการแต่งงานของลูกสาวคนโต เป็นพิธียิ่งใหญ่ก่อนการแต่งงานของ หนุ่มสาวชาวชองห้ามหนุ่มสาว คบหากันตามลำพัง ห้ามชายหญิงพักค้างคืนบ้านของอีกฝ่ายหนึ่งและถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ ถ้าชายหญิงถูกใจกัน ฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอ การสู่ขอต้องนำหมากพลู ดอกไม้ เทียนไขขึ้นไปกราบผีฝ่ายหญิง แล้วจึงมี ีการเจรจาสู่ขอ พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะเรียกสินสอด ส่วนใหญ่จะเรียกเงินเป็น กลมหรือทอง เมื่อบอกจำนวนสินสอดแล้วฝ่าย ชายจะต้องนำมาเท่าที่เรียก ขาดเกินไม่ได้ ถือว่า “ผิดผี” ช่วงก่อนแต่งงานห้ามผู้หญิงไปไหนมาไหนกับ ฝ่ายชาย หากฝ่าฝืนถือ ว่าเป็นการผิดผี ฝ่ายชายต้องขอขมาโดยการนำธูปเทียนไปกราบไหว้พ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อเสร็จพิธีแต่งงานฝ่ายชายจะไปค้างบ้าน ฝ่ายหญิง 3 คืน จากนั้นผู้หญิงก็จะไปค้างที่บ้านฝ่ายชายอีก 3 คืน เช่นกัน จากนั้นจึงตกลงอีกครั้งว่าจะพักอาศัยอยู่กับฝ่ายใด
    หมายเหตุ ข้อมูลจาก มนทิพย์ ไชยมล มติชนรายวัน อาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2541, หน้า 7
    ประเพณีการทำบุญส่งทุ่ง
    ด้วยความเชื่อที่ว่า การที่มนุษย์เกิดมาในโลกนี้และมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอันเป็นไปต่างๆ นาๆ นั้นเป็นเพราะมียมฑูตจากยมโลกมาลงโทษมนุษย์ชีวิตความเป็นอยู่ใน แต่ละวันของมนุษย์จะมีเหล่ายมฑูตคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด ชะตาชีวิตล้วนขึ้นอยู่กับเหล่ายมฑูต ในรอบหนึ่งปีคณะของยมฑูตจะต้องเดินทางกลับยมโลกเพื่อรายงานบันทึก และผลัดเปลี่ยนให้ยมฑูตชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ในโลกมนุษย์ต่อไปชาวชองทุกคนจะต้องทำบัญชีรายชื่อทรัพย์สินสิ่งมีชีวิตทั้งที่ตายแล้วและยังมีชีวิตอยู่มอบให้แก่คณะยมฑูตนำกลับ ีไปด้วยเพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่ดีมีสุขในปีต่อไปพร้อมทั้งมีการ เสียภาษีเป็นเสบียงอาหารให้แก่เหล่าคณะยมฑูตที่เดินทางกลับยมโลกด้วย
    หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวทุกๆ ปี ลูกหลานชาวชองในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด จะมีประเพณีสำคัญที่กระทำกันสืบเนื่องกันมานั่นคือพิธีทำบุญส่งทุ่งหากแต่ละท้องถิ่น ต่างก็มี เรื่องเล่าและรายละเอียดของการประกอบพิธีนี้แตกต่างกันไป พระสี เตชพโล กล่าวว่า "พิธีทำบุญส่งทุ่งคือ พิธีทำบุญส่งเสบียงอาหารให้แก่เหล่ายมฑูตที่ข้างทุ่งข้างทาง เพื่อให้ท่านเดินทาง ไปยมโลกอย่างมีความสุข ผู้คนในโลกมนุษย์ก็จะได้มีความสุขด้วย" วันประกอบพิธีนั้นจะไม่กำหนดตายตัว ในแต่ละปีแต่ละชุมชนจะนัดหมายกันเองโดยถือ เอาวันพระหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเป็นเกณฑ์ ในคืนก่อนวันพิธีทำบุญส่งทุ่ง "คา นะ พู น่าย คา มูน" หรือคณะข้าหลวงอันประกอบด้วยคณะยมฑูตและเหล่าบริวารจะเดินไปบอก ให้ทุกคนได้รู้ว่ายมฑูตจะกลับยมโลกแล้ว ใครมีเคราะห์กรรมอันใดให้บอกมาจะได้นำเคราะห์กรรมนั้นกลับไปโดยการนำไข่ไก่มาลูบไล้ตามร่างกาย แขนขาเพื่อเรียกสิ่งชั่วร้ายให้ออก ไปจากร่างกาย ยมฑูตก็จะขอให้แต่ละบ้านช่วยกันบริจาคเสบียงอาหารเพื่อใช้ในการเดินทางในครั้งนี้ด้วย ชาวบ้านก็จะนำพวกผักสด ปลา พริก เกลือ ข้าวสาร หมู เป็ด ไก่ ตามที่ตน อยู่บริจาคให้กับคณะของยมฑูตนี้ เหล่าบริวารของยมฑูตก็จะหาบสิ่งของที่ได้รับบริจาคมานั้นนำไปยังบริเวณที่จะประกอบพิธีทำบุญซึ่งได้ตกลง กำหนดพื้นที่ในการประกอบ พิธี กันไว้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่อยู่นอกหมู่บ้านากนั้นจะช่วยกันหุงหาอาหารและนอนพักค้างคืน กันที่นั่น สิ่งของที่ได้มานั้นห้ามนำไปใช้ในการอื่น และห้ามคณะของยมฑูต และเหล่าบริวารกลับไปนอนที่บ้านด้วยจนกว่าจะเสร็จพิธี เช้าวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็พร้อมใจ กันนำเอาอาหารคาวหวานและสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีนี้นั่นคือ ข้าวหลามที่แต่ละบ้านแต่ละ ครอบครัวจะต้องเผาเอง นำมาร่วมในพิธีนี้โดยนิมนต์ให้พระสงฆ์ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา เสร็จสิ้นพิธีสงฆ์แล้วก็จะรับประทานอาหารร่วมกัน หลังจากนั้น ทุกคนก็ร่วมใจกัน ทำพิธีส่งยมฑูต ในการประกอบพิธี คณะข้าหลวงจะนำใบไม้มาทำเกวียนจำลองเป็นพาหนะในการเดินทาง ชาวบ้านจะนำอาหารที่ได้แบ่งไว้มามอบให้และนำรายชื่อสรรพสิ่งของ แต่ละบ้าน มามอบให้ พร้อมทั้งกล่าวว่า ขอให้ท่านยมฑูตนำความทุกข์ความยากทั้งหลายกลับไปด้วย ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ หลังจากนั้นจึงมารับพร จากพระสงฆ์ กรวดน้ำแผ่เมตตา เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมแล้วอาจมีมหรสพ เช่น การเล่นละครชาตรี หรือมีการแข่งขันกีฬา สันทนาการต่างๆ เป็นการเฉลิม ฉลองประเพณีพิธีกรรมนี้
    เรียบเรียงจาก ประเพณีการทำบุญส่งทุ่ง โดย พระสี เตชพโล แห่งวัดตะเคียนทอง กิ่ง อ. เขาคิชกูฏ จ. จันทบุรี (เอกสารอัดสำเนา) มปป.


    ชาวบน คนดง
    ญัฮกูร ( ชาวบน คนดง) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขามอญ (Monic branch) Synonyms: Nyahkur, Niakuoll, Niakuol
    ชาวบนเรียกตัวเองและภาษาของตนว่าญัฮกูร (Niakuall) คำว่า “ญัฮกูร” แปลว่า คนภูเขา (hill people) “ญัฮ” แปลว่า คน “ กุร” แปลว่า ภูเขา ชาวไทยเรียก ชาวบน หรือ คนดง การที่ชาวไทยเรียกชาวบนนั้นอาจต้องการชี้ให้เห็นว่าชาวญัฮกูรอยู่ในที่ดอนชาวญัฮกูรไม่ชอบให้เรียกว่าชาวบนแต่จะเรียกตนเองเป็นภาษาไทยว่าคนดงและพูดภาษาคง ภาษาญัฮกูรจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยมอญ-เขมร สาขามอญ ภาษาญัฮกูรมีลักษณะสำคัญเพราะนอกจากจะแสดงลักษณะของกลุ่มมอญ-เขมรที่เด่นชัดแล้วยังพบว่าภาษาญัฮกูร ในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับภาษามอญโบราณที่ปรากฎในจารึกสมัยทวารวดีที่ค้นพบในประเทศไทย ถิ่นอาศัยของชาวบนในประเทศไทย พบที่จังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอปักธงชัย ได้แก่ หมู่บ้านกลาง จังหวัดชัยภูมิ ในเขตอำเภอเทพสถิต ได้แก่ บ้านวังโพธิ บ้านวังอ้ายคง บ้านไร่ บ้านเสลี่ยงทอง บ้านวังตาเทพ บ้านท่าโป่ง และจังหวัดเพชรบูรณ ์พบในเขตอำเภอเมือง ได้แก่ บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ บ้านท่าด้วง ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ในป่าแถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่อง 3 จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ และเพชรบูรณ์ เดิมชาวญัฮกูรเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นเพิงไม่ถาวรเมื่อมีคนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นลักษณะบ้านเรือนจึงพัฒนามาเป็นเรือนเครื่องผูก ใต้ถุนสูงหลังคามุงตับหญ้าคาโดยใช้ไม้จากบริเวณป่าแถบนั้นไม้ที่นิยมนำมาทำเสาเรือนจะเป็นไม้มีง่ามเพื่อรองรับคานเช่นไม้เต็งรังโดยถือว่าถ้าได้ไม้ตายืนได้จะเป็นการดีเพราะไม่ต้องเหลาเปลือกและมอดยังไม่กินอีกด้วย แต่ละบ้านต้องใช้ไม้ 9 ต้น ส่วนฝาและพื้นทำจากไม้ไผ่หรือไม้บง ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับบ้านญัฮกูรก็คือ "หัวแมว" ซึ่งหมายถึง ฟ่อนหญ้าคาแห้งที่ควั่นเป็นห่วง 3 ห่วง ผูกติดเข้าด้วยกันเป็นหัวกลมๆ และปล่อยหางเป็นปอยยาวสำหรับคล้องบนขื่อหน้าจั่วบ้านชาวญัฮกูรมีความเชื่ออยู่ว่า ถ้ามีคนตายต้องย้ายบ้านหนีดังนั้นแม้จะสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งเพียงใดก็ต้องทิ้งบ้านเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต โดยจะขนฝาบ้านโครงหลังคาและพื้นบ้านไปด้วยทิ้งไว้แต่เสาเรือน ซึ่งมีข้อห้ามไม่ให้เอาไปด้วยเพราะจะนำความหายนะมาให้ และยังมีความเชื่ออีกว่า ถ้าสุนัขออกลูกบนบ้านจะเป็นเสนียดต้องย้ายบ้านหนีเช่นกัน ชาวญัฮกูรนับถือผีฝ่ายหญิง เมื่อแต่งงานแล้ว ฝ่ายชายจะเข้าไปอยู่บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการผูกขวัญ ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นหมอดู เป็นหมอเรียกขวัญ และเป็นคนทรง หญิงชาวญัฮกูรจะมีบทบาทเด่น นอกจากจะรับผิดชอบภายในบ้านเรือนไร่นาแล้วยังมีส่วนในการปกครองดูแลชุมชน โดยการเป็นกรรมการให้ความเห็นชอบเสนอความคิดในการดำเนินการต่างๆ ในหมู่บ้าน ในขณะที่ฝ่ายชายจะรับผิดชอบด้านการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาและจะเป็นผู้ทำพิธีไล่ผีรวมทั้งเป็นหมอยาด้วย Credner (1958) สันนิษฐานว่า ชาวบนมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับชาวกูยการดำรงชีพของชาวบนขึ้นอยู่กับการปลูกข้าว ในเรื่องความเชื่อ ชาวบนมีการนับถือผีและศาสนาพุทธ (Lebar and others 1964, p.138)
    ชาวญัฮกุรจะใช้ไม้ไผ่ มาสับเป็นฟากไม้ไผ่เพื่อใช้ในการห่อศพ และนำเอาเถาวัลย์มามัดส่วนหัว ลำตัวและเท้า จากนั้น จะนำศพออกจากบ้านโดยการรื้อฝาบ้านแล้วค่อยเคลื่อนศพออกมาจะไม่เคลื่อนศพลงบันได เพราะมีความเชื่อกันว่าจะทำให้ผีแรง เมื่อนำศพไปถึงป่าช้าก็จะขุดหลุม นำเอาใบ้ไม้วางรองที่ก้นหลุม แล้วค่อยวางศพลงไปซึ่งมักนิยมคว่ำหน้าศพลง หันศรีษะไปทางทิศตะวันตก ใช้ดินกลบแล้ว จะใช้ท่อนไม้วางสะกด สาดข้าวสาร แล้วกลบดินทับอีกชั้นหนึ่งจึงนำหนามมาวางสะกดอีกครั้ง ตามประเพณีที่มีมาแต่ครั้งโบราณชาวญัฮกุรมักฝังศพไว้ไม่เกิน 5 ปี แล้วจะขุดศพขึ้นมาเผา จากนั้นจึงเก็บกระดูกใส่ "หม้อธาตุ" ใช้ผ้าทอมัดปิดปากหม้อแล้วนำไปเก็บไว้ในถ้ำ พร้อมกับนำสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ตายบางอย่างมาใส่หรือวางไว้ข้างๆ หม้อธาตุนั้น


    ชาวเล
    มอเก็น (ชาวเล) Moken ตระกูลภาษาออสโตรเนเชี่ยน (Austronesian Language Family) Synonyms : Mawken, Selon, Selong, Selung
    ชาวเล หรือยิปซีทะเล เป็นกลุ่มชนร่อนเร่อยู่ในบริเวณทะเลอันดามัน ชื่อที่คนส่วนใหญ่ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ชาวเล คงจะเนื่องมาจากการที่พวกเขา เป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ในท้องทะเลเป็นส่วนใหญ่ แม้ภาษามลายูที่เรียกคนกลุ่มนี้ว่า โอรังละอุต ก็แปลว่า คนทะเล ชาวพม่าแถบหมู่เกาะมะริด เรียกชนกลุ่มนี้ว่า เสลุง เสลอง หรือ เสลอน แต่ชาวเลเรียกตัวเองว่า มอเก็น หรือ เมาเก็น เดิมชาวเลก็มีถิ่นฐานอยู่บนพื้นแผ่นดินใหญ่ แต่ถูกรุกรานจากพวกมาเลย์มากขึ้น ก็พากันอพยพลงเรือหนีไปตามเกาะต่างๆ จนกลายเป็นต้องใช้ชีวิตรอนแรมบนเรือตลอดมา
    ชาวเลมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มมอเก็น กับ กลุ่มอูรักลาโว้ย กลุ่มมอเก็นยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ 2 กลุ่มตามถิ่นที่อยู่ คือ มอเก็นปูลาที่ลอยเรืออยู่ตามเกาะ และชายฝั่งในประเทศพม่า ลงมาถึงบริเวณเกาะในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา และ มอเก็นตามับซึ่งอาศัยอยู่ตาม เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตลอดจนแถบชายฝั่งของอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ส่วนกลุ่มอูรักลาโว้ย เร่ร่อนอยู่บริเวณเกาะสิเหร่ หาดราไวย์ แหลมหลา บ้านเหนือ บ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต
    ชาวเลจะรวมกลุ่มและเดินทางไปในเรือพร้อมด้วยสมาชิก 10-40 คน ภายในกลุ่มจะมีผู้ชำนาญในการเดินเรือ และทำหน้าที่คล้ายหัวหน้ากลุ่ม ชาวเล จะย้ายถิ่นแบบชั่วคราวเพื่อไปหาอาหารตามที่ต่าง ๆ แถบชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ โดยจะย้ายไปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูมรสุม นอกจากนี้ ชาวเลอาจจะต้องมีการย้ายถิ่นเพราะภัยจากธรรมชาติ การถูกรุกรานจากกลุ่มอื่นเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตายหรือหนีโรคระบาดอย่างใด อย่างหนึ่ง บ้านของชาวเลคือเรือ มีความยาวประมาณ 20-25 ฟุต แต่บางพวกอาจสร้างบ้านชั่วคราวบนฝั่ง ทำจากใบปาล์ม หรือมะพร้าว ยกพื้นสูง ไม่มีระเบียงมีนอกชาน ชาวเลไม่ปลูกเรือนขวางดวงอาทิตย์ (ประเทือง 2539, น.23-24) ปัจจุบัน ชาวเลเริ่มรู้จักสร้างบ้านเรือนเลียนแบบคนพื้นเมือง ถาวร และเคลื่อนย้ายได้ยากขึ้น
    ระบบครอบครัวของชาวเล เป็นครอบครัวขนาดเล็กจนถึงปานกลาง เพราะต้องร่อนเร่ย้ายถิ่นเพื่อหาอาหารตามที่ต่าง ๆ ชาวเลถือฝ่ายมารดาเป็นใหญ่ พวกเขาถือว่ามีลูกสาวจะมีค่าเหมือนได้ทอง เพราะเมื่อแต่งงานแล้วลูกเขยจะมาอยู่กับภรรยา บิดามารดาของผู้หญิงจะได้แรงงานมาช่วย หน้าที่ของผู้ชาย ได้แก่ ออกทะเลไปหาปลา ตักน้ำ หาฟืนหุงอาหาร ซักผ้า ขณะที่ผู้หญิงสบายกว่า ผู้หญิงชาวเลจะรวมตัวกันริมชายหาด นั่งบ้าง นอนบ้าง (ประเทือง 2539, น.28) ปัจจุบันครอบครัวชาวเลเริ่มใช้นามสกุลตามกำหนดของราชการ นามสกุลที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลลึก ช้างน้ำ ประมงกิจ นาวารักษ์ หาญทะเล เป็นต้น (ประเทือง 2539 น.30-32)
    ระบบเศรษฐกิจของชาวเล ยังชีพด้วยการหาอาหารตามทะเลน้ำตื้น เช่น จับปลา ดักปลา และหาเก็บพืชผลที่ขึ้นเองตามชายฝั่ง อาหารหลักคือข้าว โดยได้มาจากการแลกเปลี่ยน ชาวเลจะใช้ปลา เปลือกหอย ปะการัง ไปแลกข้าวกับชาวบ้าน (ประเทือง 2539, น.33 และ Lebar and others 1964, p.264) อาหารอื่นๆ ได้แก่ หัวกลอย มะพร้าว เผือก มันเทศ กล้วย นำมาต้ม ย่าง เผากินยามขัดสน ปัจจุบันชาวเลรับจ้างนายทุนงมสิ่งของในทะเล เช่น เปลือกหอยแปลก ๆ แทงกุ้ง ปลา หอย เป็นต้น
    ศาสนาและความเชื่อของชาวเล ชาวเลไม่มีศาสนา แต่มีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ชาวเลนับถือบรรพบุรุษเรียกว่า “ดะโต๊ะ” โดยจะสร้างเป็นศาลไว้ มีรูปปั้นผีที่ชาวเลเชื่ออยู่ในธรรมชาติ เช่น ผีปู ผีหอย ผีไม้ ผีน้ำ ผีพุ่งใต้ (ผีชิน) ชาวเลเชื่อว่า ผีชินช่วยหาปลาบอกแหล่งอาศัยของปลาชาวเลยังเชื่อเรื่องโชคลาง มาก และเชื่อว่าผีควบคุมโชคชะตา การเจ็บป่วย (Lebar and others 1964, p.265 และประเทือง 2539, น.65-67) ชาวเล มีหมอผีประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทำนายโชคชะตา ดูฤกษ์ ยามในการสร้างบ้าน และเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม


    ซาไก
    ซาไก (สินอย เงาะ ชาวป่า) Sakai (Senoi) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) Synonyms : Senoi
    ซาไก เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าพันธุ์หนึ่ง อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขา ในภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ซาไก มีชื่อเรียกหลายชื่อ อาทิ ชาวพัทลุงเรียก เงาะ เงาะป่า เนื่องจากเส้นผมของซาไกหยิกหยองคล้าย เงาะ ที่เป็นผลไม้ ชาวสตูลเรียก ชาวป่า เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ตามป่าเขา ไม่อยู่ในที่ราบโล่งเหมือนชาวบ้านทั่วไป ชาวไทยมุสลิมแถบ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสเรียก ซาแก ซึ่งแปลว่า แข็งแรง หรือป่าเถื่อน เพราะพวกนี้ชอบอยู่ตามป่า และมีความทรหดอดทนบึกบึน แต่ชาวไทย พุทธเรียกเพี้ยนไปเป็น ซาไก ชาวมาเลเซียเรียกว่า โอรัง อัสลี (Orang Asli) ซึ่งแปลว่า คนพื้นเมือง หรือคนดั้งเดิม ซึ่งชาวซาไกโดยทั่วไป มี ีความรู้สึกที่ดีและพอใจให้คนอื่นเรียกพวกเขาว่า เป็นพวกโอรัง อัสลี เพราะ มีความหมายไปในทำนองยกย่องให้เกียรติว่าพวกเขาเป็นคน ดั้งเดิม เป็นเจ้าของถิ่นเดิม ไม่ใช่พวกป่าเถื่อนอย่างคำว่า ซาไก แต่ซาไกเรียกตัวเองว่า มันนิ ซึ่งแปลว่า มนุษย์
    ซาไก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์นิกริโต (Nigrito) รูปพรรณสัณฐานของซาไก มีรูปร่างเตี้ย ผิวดำคล้ำ ผมหยิก ขมวดเป็นฝอย จมูกแบนกว้าง ริมฝีปากหนาดำ คิ้วดกหนา นัยน์ตาสีดำเป็นประกาย นิ้วมือนิ้วเท้าโต ชนเผ่าซาไกนี้เป็นพวกที่อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมมลายูภายหลังชนเผ่าเซมัง แต่ก็นับว่าซาไกเป็นกลุ่ม กลุ่มมนุษยชาติเก่าแก่ที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทย ตลอดไปจนในประเทศมาเลเซีย และบางส่วนในประเทศอินโดนีเซียมาก่อนคนเผ่าอื่นทั้งหมด โดยศึกษาจากประเพณีการฝังศพของ ชาวซาไกปัจจุบัน ยังมีร่องรอยตรงกับลักษณะการฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณยุค หินกลาง (Middle Stone Age ครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว) ปัจจุบันชาวซาไกใน ประเทศไทย เป็นชนกลุ่มน้อยที่ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้กับพรมแดนไทยกับมาเลเซีย พบอาศัยอยู่ใน แถบจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา สตูล และพัทลุง สำหรับชาวซาไกที่ จังหวัดยะลา ทางราชการได้จัดสรรพื้นที่อาศัยให้กับชาวซาไก ที่บ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านซาไก ชาวซาไกทุกคนในหมู่บ้านนี้จะมีนามสกุลใช้เหมือนกันว่า ศรีธารโต อันเป็นนามสกุลที่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์พระราชทาน ในหมู่บ้านดังกล่าวมีชนเผ่าซาไกอาศัยอยู่ราว 30 คน
    โดยทั่วไปแล้ว ซาไกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 20-50 คน ซาไกมีลักษณะสังคมล่าสัตว์และเก็บของ ป่า ซึ่งเป็นสังคมของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน ไม่อยู่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน จะอพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ สาเหตุที่ซาไกอพยพเรื่อย ๆ เนื่องจากพวกนั้อาศัยอาหารที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เมื่อแหล่งอาหาร คือ เผือก มัน ในบริเวณที่อยู่อาศัยหมดลง ก็ต้องย้ายไปหาที่อยู่แห่งใหม่ ่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า และถ้ามีคนตาย เมื่อฝังศพแล้วจะรีบอพยพหนีไปทันทีเพราะกลัวผีและกลัวเสือมา กินศพและทำอันตรายแก่คนที่เหลืออยู่ และเมื่อถ่ายอุจจาระมาถึงที่พักอาศัย ก็จะอพยพย้ายบ้านไป (ซาไกจะถ่ายอุจจาระจากบริเวณรอบนอกที่พักแล้วค่อยๆ วกเข้ามาใกล้ที่พักเรื่อยๆ) และหากมีคนนอก เผ่ามาเจอและขอลูกไปเลี้ยง ซาไกก็จะรีบอพยพย้ายบ้านหนีเช่นกัน
    ชาวซาไก มีภาษาของตัวเอง ภาษาซาไกอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษามอญ-เขมร ในเผ่าซาไกนี้ ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่มชน ตามภาษาอีก ได้แก่ กลุ่มภาษากันซิว ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวซาไกที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลาใช้พูด กลุ่มภาษาแต็นแอ๊น กลุ่มภาษาแตะเดะ กลุ่มภาษายะไฮ แต่สภาพการณ์ในปัจจุบัน พอคาดการณ์ได้ว่า ภาษาซาไกอาจสูญหายไปในอนาคตอันใกล้ ด้วยสาเหตุใหญ่ ๆ คือ วิถีชีวิต ของซาไกปัจจุบัน มีการติดต่อกับผู้อื่นมากขึ้น และใช้ภาษาของชนกลุ่มอื่นมากขึ้น มีการติดต่อรับวัฒนธรรมของชนกลุ่มใหญ่มากขึ้นทำให้ ้วัฒนธรรมภาษาของซาไกเปลี่ยนไปจากเดิมมาก เด็ก ๆ ชาวซาไกรุ่นใหม่จะพยายามใช้ภาษาใกล้ตัว ซึ่งเป็นภาษาของชนที่มีวัฒนธรรม สูงกว่า เช่น ภาษามลายูและภาษาไทยกันอย่างแพร่หลาย แม้ชาวซาไกในจังหวัดยะลาก็สามารถพูดภาษาไทยกับผู้ที่ไปเยี่ยมเยือนได้ดี ประกอบกับภาษาซาไกไม่มีตัวอักษรที่เป็นภาษาเขียน อักษรที่ใช้จึงเป็นอักษรภาษาไทยหรือภาษามลายูเป็นส่วนมาก
    ผู้ชายชาวซาไก แต่งกายโดยใช้เปลือกไม้ ผู้หญิงใช้ย่านไม้พันกายสั้นๆ แต่ก่อนนี้ ผู้หญิงแต่งกายกันแบบเงาะอย่างสวยงาม หญิงที่ยัง ไม่มีสามีจะใช้ดอกไม้สีขาวทำตุ้มหู ใช้หวีไม้ไผ่เสียบผม หรือสวมกำไลข้อมือ ส่วนหญิงมีสามีแล้วจะสวมสร้อยคอลูกประคำ แต่ปัจจุบัน ลักษณะดังกล่าวสูญหายไปหมดสิ้น ปัจจุบัน ซาไกรับวัฒนธรรมการแต่งกายอย่างสังคมชาวเมืองมามาก มีการสวมเสื้อผ้า ผู้หญิงก็นุ่งโสร่ง กระโปรง ผู้ชายก็นุ่งกางเกง สวมรองเท้าแบบชาวเมืองการยังชีพของซาไก พึ่งพาอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาหารหลัก คือ เผือก มัน ผลไม้ป่าและเนื้อสัตว์ตามแต่จะหาได้ ผู้หญิงและ เด็กจะขุดหาเผือกมัน ผักผลไม้ในบริเวณใกล้ ๆ ทับ พวกผู้ชายจะออกหาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในป่า พวกนี้ไม่ทำการเพาะปลูกหรือเลี้ยง เลี้ยงสัตว์ เวลาล่าสัตว์จะใช้ลูกดอกเป่าไม้ซางข้างในกลวง ลูกดอกทำจากก้านไม้ที่มีความเหนียว เหลาปลายแหลม ทายางอิโป๊ะ เก็บไว้ใน กระบอกไม้ เหน็บเอวเวลาเดินทาง เวลาบรรจุลูกดอกจะมีปุยไม้คล้ายสำลีอัดให้แน่น เพื่อเวลาเป่าจะได้มีกำลังส่ง สัตว์ที่ล่าได้แก่ ลิง ค่าง นก ชะนี ส่วนสัตว์ใหญ่ใช้หอกหรือหลาวแทน (บุญช่วย 2506, น.17-18) เมื่อหาอาหารมาได้เท่าใดก็จะอยู่กินจนหมดเสียก่อนค่อยออกหาอาหารอีกครั้ง
    การตั้งถิ่นฐานของซาไก พวกนี้จะเลือกทำเลที่อยู่อาศัยในภูมิประเทศที่เป็นเนินสูง มักอยู่ตามป่าลึก มีลำธารหรือน้ำตกอยู่ใกล้ ๆ มีสัตว์ป่า เผือก มันอุดมสมบูรณ์ และต้องเป็นบริเวณที่มีไม้ซางอยู่ไม่ไกล นัก เพราะซาไกใช้ไม้ซางเป็นอาวุธสำคัญสำหรับล่าสัตว์ ซาไกที่อยู่ป่าเรียกว่า ซาไกตันหยง ส่วนพวกที่ อยู่ตามเขาเรียกว่า ซาไกบูเกต บ้านของซาไก เรียกว่า ทับ มีลักษณะเป็นเพิงหมาแหงน สำหรับอาศัย ชั่วคราว ใช้ท่อนไม้สองท่อน ทำเป็นเสา มีไม้พาดกลาง 1 เล่ม ใช้ลำไม้ไผ่พาดให้จดกับพื้นดิน มุงด้วย หลังคาด้วยใบหวาย ใบแฝกหรือใบคาอย่างเพิงหมาแหงน บางหลังคล้ายกระท่อมติดพื้นดินมีหน้าจั่ว ใช้ใบไม้ สานทำเป็นฝากั้น ที่นอนใช้ไม้ไผ่ทำเป็นฟาก ภายในบ้านมีเตาไฟสุมทำอาหารและให้ความ อบอุ่น มักแขวนรวงผึ้งหรือรวงหอยมะพร้าวไว้นอกค่าย เชื่อว่าภูติผีปีศาจจะหันเหความสนใจไปยังรู ูต่าง ๆ ของรวงผึ้งจะได้ไม่รบกวนเวลาหลับนอน รอบ ๆ ค่ายของซาไกจะมีรั้วหนามกั้นป้องกัน สัตว์ร้าย (บุญช่วย 2506, น.14-15)
    ประเพณีการแต่งงานของซาไก เมื่อหนุ่มพอใจสาวคนไหนก็จะมีการฝากรักกันโดยการให้ดอกไม้ อาจเป็นดอกไม้สีแดงหรือสีอื่นๆ ก็ได้ จากนั้นก็ให้พ่อแม่ไปสู่ขอ เมื่อตกลงฝ่ายชายก็ไปอยู่บ้านของ ฝ่ายหญิงได้เลย ซาไกนับถือสายตระกูลทั้งพ่อและแม่ เวลาแต่งงาน ผู้ชายต้องทำให้พ่อแม่ผู้หญิงพอใจ โดยการล่าสัตว์ หาผลไม้มามอบให้พ่อแม่ผู้หญิงและตัวผู้หญิงด้วย ซาไกจะใช้ชีวิตครอบครัวผัวเดียว เมียเดียว (Monogamy) ชายหญิงในเครือญาติใกล้ชิดกันจะสมรสกันไม่ได้และไม่มีการสำส่อนในเรื่อง เพศ ไม่มีการเป็นชู้กัน
    ซาไกมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ และเกรงกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความเชื่อประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ อาทิ ความเชื่อในเรื่อง โชคลาง เช่น เมื่อเข้าป่าล่าสัตว์ ให้พูดถึงสัตว์ที่ต้องการ เชื่อว่าจะได้ตามที่พูดไว้ ความเชื่อในเรื่องความฝัน เช่น ถ้าหญิงฝันว่ามีคนเอาเล็บเสือ เขี้ยวเสือมาให้ เชื่อว่าจะมีสามี ชายฝันว่าล่าหมูจะได้ภรรยา ความเชื่อเรื่องวิญญาณและภูตผี เช่น เชื่อว่า ตามต้นไม้ใหญ่ ๆ มีผีอาศัยอยู่ เนื่องจากประเพณีปฏิบัติในพิธีฝังศพ เมื่อฝังศพเสร็จ หมอผีจะนำวิญญาณไปให้อาศัยที่ต้นไม้ใหญ่ เชื่อว่าต้นไม้ใหญ่จะเป็นบ้านที่อยู่อัน แข็งแรงตลอดไป ความเชื่อเรื่องของเวทมนตร์คาถา เช่น ีเวทมนตร์คาถาที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ หมอจะเสกหมากพลู แล้วเคี้ยวพ่นลงตรง อวัยวะส่วนที่เจ็บปวด เรียกว่า "ซาโฮซ"
    เมื่อมีคนตายในกลุ่ม ซาไกจะช่วยกันทำศพ โดยเอาไม้ฟากห่อศพไปยังป่าช้า ขุดหลุมแล้วนำเสื้อผ้า อาวุธประจำตัวของผู้ตายฝังลงไป พร้อมศพ บนหลุมศพจะมีเผือกมัน อาหาร เพื่อเป็นเสบียงให้ผู้ตายเดินทางไปสวรรค์ (บุญช่วย 2506, น.23) และเมื่อมีคนตาย ซาไกจะย้ายที่อยู่ เพราะเกรงกลัวดวงวิญญาณของผู้ตายจะมารบกวน (Lebar and others 1964, p.181 และบุญช่วย 2506, น.24)


    เงาะป่า
    เซมัง (เงาะ เงาะป่า) Semang ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family)
    Synonyms : Mendi, Meni, Menik, Monik, Negrito, Ngo, Ngok, Ngok Pa
    เซมัง เป็นภาษามลายู แปลว่า ค่าง หรือลิงดำแขนยาวชนิดหนึ่ง (สุวัฒน์ ทองหอม 2536, น.6) เซมังที่อยู่ในเมืองไทยเรียก ชื่อหนึ่งว่า ตองกา หรือ โม อาศัยอยู่ตามเขาในจังหวัดปัตตานี และนครศรีธรรมราช (สุวัฒน์ ทองหอม 2536, น.9) ชาวเซมังใน ประเทศไทยและมลายูแบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ
    1. ตองงา หรือโม พบในจังหวัดตรัง พัทลุง เรียกตัวเองว่า “ก็อย”
    2. เคนตา (Kenta) และเคนตาบิน (Kenta Began) อยู่ในรัฐเกดาร์ รัฐเประ
    3. เคนซีอุ (Kensiu) อาศัยอยู่ตามภูเขาพรมแดนไทย ต่อกับรัฐเกดาห์ เประ และกะลันตัน ในไทยพบในจังหวัด ยะลา สงขลา และนราธิวาส
    4. ยาไฮ (Djahai) อยู่ตามป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกของรัฐกะลันตัน
    5. เมนรี (Menri) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐกะลันตันและปาหังตอนเหนือ
    ถิ่นที่อยู่อาศัยของเซมังเลือกอยู่ในป่าลึก ใกล้แหล่งน้ำ และอาหาร เซมังไม่สร้างบ้านใหญ่โต แต่สร้างง่าย ๆ ไม่นิยมสร้าง กลางแจ้ง หลังบ้านติดไหล่เขาเพื่อกำบังลม มุงหลังคาด้วยใบหวย ใบปาล์ม บ้านคล้ายเพิงรูป 45 องศา บ้านแบบนี้เรียกว่า ท่อม ทับ เวลาฝนตกจะเข้าไปหลบอยู่ใต้ชะโงกหิน (บุญช่วย 2506, น.28-29) บางกลุ่มสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ฝาสาน มุงหลังคาด้วยใบคา หรือหวาย การสร้างท่อมทับต้อง ให้สตรีสร้าง ท่อมทับจึงเป็นสมบัติของผู้หญิง ผู้ชายจะสร้างไม่ได้ จะถือว่าผิดจารีตเทพเจ้าการี (Karei) (บุญช่วย 2506, น.30) ที่นอนของเซมังใช้ใบไม้ปูพื้น เวลานอนเอาศรีษะออกข้างนอกเพื่อคอยฟังเสียงสัตว์ร้าย
    เซมังดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์เก็บของป่า ผู้ชายจะออกไปล่าสัตว์ หาผลไม้ ส่วนผู้หญิงจะใช้เวลาว่างสานตะกร้าหวาย เสื่อ หวีเพื่อนำไปแลกกับสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า กับชาวบ้าน (บุญช่วย 2506, น.31) เซมังไม่ชอบการเพาะปลูก ไม่นิยมใช้เงิน ไม่มี สมบัติติดตัว ชอบเร่ร่อนไปตามป่า ล่าสัตว์เป็นอาหาร เช่น ค่าง ลิง กระแต หมูป่า เป็นต้น หรือจับปลาเป็นอาหาร แต่ไม่นิยมล่า สัตว์ใหญ่ เช่น หมี เสือ และช้าง ของป่าที่เซมังเก็บได้ ได้แก่ ยางไม้ ชัน ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง หวาย สมุนไพร หนังสัตว์ จะนำไปแลกสิ่ง ของเครื่องใช้
    หนุ่มสาวชาวเซมังมีสิทธิเสรีในการเลือกคู่ครอง เวลาแต่งงาน ไม่มีพิธีรีตองมากมาย ชาวบ้านจะช่วยหาอาหารมาเลี้ยงร่วมกันโดยจะจัดพิธีที่ลานชุมชนของค่ายพัก เจ้าบ่าวจะนุ่งดอกไม้แดง ทัดดอกไม้ เหน็บมีดดาบงอนปลายโค้ง ส่วนเจ้าสาวนุ่งผ้า แดงสวมเสื้อหรือสะไบปิดทรวงอก ทัดดอกไม้ ในพิธีจะมีหมอผีฮาลาร่ายคำพลีกรรม จับหอกพุ่งประหารกระบือเผือก เมื่อตาย แล้วหมอผีเอานิ้วมือปิดจมูกกระบือขับไล่รังควาน พวกผู้ชายหามกระบือไปที่ต้นไม้พร้อมด้วยอาหาร เผือก มัน ผลไม้ และสุรา เพื่อทำพิธีเซ่นสังเวย และหลังจากนั้นมีการเลี้ยงสุรา ร้องรำทำเพลง พอถึงพิธีแต่งงาน หัวหน้าพิธีจะให้สัญญาณเจ้าสาววิ่งหนี เจ้าบ่าว ไปรอบ ๆ จอมปลวก เจ้าบ่าวจะจับเจ้าสาวจูงมือมาให้ผู้ใหญ่อวยพร (บุญช่วย 2506, น.47-78)
    ครอบครัวของเซมังถือผู้หญิงเป็นใหญ่ในบ้าน สามีต้องอยู่ใต้บัญชา ผู้หญิงเสมือนอาทิตย์ ผู้ชายเสมือนจันทร์ บุตรหลาน เสมือนดวงดาว ผู้หญิงเซมังมีลูกถี่ การคลอดบุตรจะตัดสายสะดือด้วยไม้ไผ่ แล้วนำไปฝังไว้ตามต้นไม้ชายป่า เด็กจะถูกผูกด้วย ผ้าขาวม้าแนบทรวงอกของสตรี ชื่อของเด็กเรียกตามชื่อต้นไม้ ดอกไม้ และธรรมชาติรอบตัว (บุญช่วย 2506, น.35-36) ผู้หญิง เซมังนิยมเอาดอกไม้ Cenwei มาคลึงกับใบหน้าและหน้าอกเพื่อให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง บางคนเอาดินขาวผสมน้ำและใบหน้า และตามตัว (บุญช่วย 2506, น.32) ผู้ชายเซมังนุ่งผ้าผืนเล็กสั้น เวลานุ่งสอดปิดหว่างขาแล้วตระหวัดมารอบเอวให้ชายผ้าปิดข้าง หน้าและหลังโดยใช้หวายเล็กคาดให้แน่น
    ชาวเซมังเชื่อในผีและวิญญาณ เช่น ผีป่า ผีนางไม้ ผียักษ์ ผีประจำตัวสัตว์ ผีพราย ฯลฯ ผีเหล่านี้ถือกันว่าเป็นบริวารของ พระเจ้าคารี พระเจ้าคารีเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ของเซมัง มีวิมานอยู่เหนือท้องฟ้าทางทิศตะวันตก พระองค์มีชายาว่า มานอยด์ พระเจ้าคารีมีอิทธิฤทธิ มีการร้อนดังไฟ ประทับอยู่บนหลังเสือ พระองค์สามารถบันดาลให้เกิดพายุฝนและมรสุม (บุญช่วย 2506, น.54-55) เซมังไม่เชื่อเรื่องนรก แต่เชื่อในเรื่องของวิญญาณที่ล่องลอยไปกับนกอากูและนกติลตอลตาปา วิญญาณที่ไม่ ได้พลีกรรมล้างบาปต่อพระเจ้าคารีจะไม่มีโอกาสไปสวรรค์ สวรรค์ของเซมังมีแต่ความสว่าง พรั่งพร้อมด้วยอาหาร ต้นไม้ ดอกไม้สีแดง ไม่มีสัตว์ร้ายและโรคภัยไข้เจ็บมีแต่ความอิ่ม ความสุข ไม่มีเสียงฟ้าร้องและมีญาติพี่น้องพร้อมหน้า (บุญช่วย 2506, น.57-58)

    cont..............>>>

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ..........>>>

    ลัวะ
    ลัวะ Lua (Htin, Kha T’in) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาขมุ (Khmuic Branch)
    Synonyms : ถิ่น มัล ปรัย Chao Doi, Kha Phai, Kha T’in, Lawa, Pray, Thin
    ถิ่นอาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 15 อำเภอ 151 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 7,058 หลังคาเรือน ประชากรรวม 38,823 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.53)
    คนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า พ่าย (phay หรือ pray) ทางราชการจะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ถิ่น (Htin)
    ถิ่น หรือ ปรัย หรือ ไพร อยู่ในสาขาขมุ ร่วมกับภาษาขมุ มัล และมลาบรี ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก David Filbeck (1972) แบ่ง ถิ่นเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกเรียกตนเอง ว่า มัล (Mal) เรียกภาษาที่พูดว่าภาษามัล อีกกลุ่มจะ เรียกว่าปรัย (Pray) เรียกภาษาที่พูดว่าภาษาปรัยแต่ละกลุ่มจะมีภาษาย่อย (dialect) ที่แตกต่างออกไปอีก อาจจะต่างกันเพียง เล็กน้อยหรือต่างกันมากจนไม่ เข้าใจภาษาของกันเดิมชาวถิ่นอยู่ในประเทศลาวตอนเหนือ เขตหลวงพระบาง ไชยะบุรี ีและเข้ามาในประเทศไทยตามชายแดนอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว และ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ปัจจุบันพบชาวถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน เลย และน่าน
    การตั้งถิ่นฐานของชาวถิ่น จะตั้งอยู่บริเวณไหล่เขา ความสูงระหว่าง 2,000-3,000 ฟุต ถิ่นจะอาศัยอยู่ต่ำกว่าพวกม้งและเย้า ถิ่นที่อาศัยบนภูเขาจะสร้างบ้านเรือนเป็นโรงยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สามารถบรรจุครอบครัวสามีภรรยาตั้งแต่ 7 คู่ จนถึง 50 คู่ (บุญช่วย 2506, น.231) บ้านแบบนี้ใหญ่โตกว้างขวาง มีช่องเดินตรงกลาง สองข้างเป็นที่อยู่ของแต่ละครอบครัวกั้น เป็นห้อง ๆ บางหมู่บ้าน สร้างบ้านพักรับรองแขกเอาไว้ ชาวถิ่นบนภูเขาจะปลูกฝิ่นไว้ขาย ถิ่นอีกกลุ่มหนึ่งจะตั้งบ้านเรือนอยู่ บริเวณที่ลาดตีนเขา ทำอาชีพเพาะปลูก ข้าวไร่ ฟักแฟง เมี่ยง เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู บ้านเรือนสร้างเป็นหลังเล็กๆด้วยไม้ไผ่ มีชานและบันไดหน้า ฝาสานไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วย ใบก้อหรือใบคา
    ระบบเศรษฐกิจของชาวถิ่น คือการเพาะปลูกไร่เลื่อนลอย และเก็บของป่าขาย หรือแลกสินค้ากับพ่อค้าจากที่ราบ หรือชาว เขากลุ่มอื่น สินค้าของชาวถิ่นที่นำมาแลกหรือขาย เช่น เสื่อ ใบชา และของป่า ชาวถิ่นจะถางป่าในเดือนมีนาคม-เมษายนและ เพาะปลูกในเดือนมิถุนายน โดยใช้แรงงานในครัวเรือน และสัตว์เลี้ยง (Lebar and others, 1964, p.129)
    ความเชื่อทางศาสนาของชาวถิ่น คือการนับถือผี เช่น ผีเรือน ผีหมู่บ้าน ผีป่า ผีหลวง เป็นต้น ส่วนชาวถิ่นที่อาศัยอยู่ที่ราบจะ นับถือศาสนาพุทธ (Lebar and others, 1964, p.129) อาหารที่นิยมของชาวถิ่น คือ เนื้อสุนัข โดยนำเนื้อสุนัขมาทาเกลือ ใช้ไม้ เสียบปิ้งย่างไฟ หรือนำไปต้มแกงรับประทานก็ได้ อาหารของชาวถิ่น นิยมทำให้สุกเสียก่อน สัตว์ที่ตายเองหรือป่วยตาย จะไม่ นำมารับประทาน การแต่งกายของชาวถิ่น นิยมเสื้อผ้าสีดำ ส่วนมากแต่งกายอย่างชาวชนบทภาคเหนือ บางคนมีสัญลักษณ์ ประจำเผ่าเหลืออยู่บ้างเช่น สวมเสื้อดำผ่าอก มีแถบผ้าลวดลายสีแดง เหลือง เป็นต้น (บุญช่วย 2506, น.232)


    ไทเขิน
    ไทขึน (ไทเขิน) Tai Kheun ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family)
    ไทเขินเป็นชนชาติหนึ่งในกลุ่มไต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ไทเขินเรียกตัวเองว่า “ขึน” ซึ่งมาจากชื่อแม่น้ำใน เมืองเชียงตุง ภาษาพูดและเขียนของไทเขินมีความคล้ายคลึงกันกับไทยองและไทลื้อมากในประเทศไทยพบชาวไทยเขินบริเวณสันป่าตอง ในจังหวัดเชียงใหม่ (ไพฑูรย์ มปป., น.121-122)
    ศาสนาของไทเขิน คือพุทธศาสนานิกายเถรวาท นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ส่วนระบบเศรษฐกิจของไทเขินคือการทำนา และการเลี้ยงสัตว์


    ไทดำ
    ไทดำ (ลาวโซ่ง) Black Tai ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonyms : ไตดำ ไทยทรงดำ ผู้ไตซงดำ ลาวทรงดำ ไตลำ ผู้ไทดำ โซ่ง ซ่วง ไตมวย ไตคัง ไตทัน
    ชนชาติไทดำ แบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการแต่งกายคือ 1) กลุ่มเมืองแถน ประเทศเวียดนาม ในประเทศลาว ในบ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย และบ้านดอน มะเกลือ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) กลุ่มบ้านเสอเข้อ แขวงหม่ากว๊าน และ 3) กลุ่มบ้าน ยางม้าเหอ แขวงเหยียนเจียง ถิ่นฐานเดิมของไทดำอยู่บริเวณเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม (เมืองแถน) ไทดำอาศัยอยู่ทั่วไป บริเวณมณฑลกวางสี ยูนนาน และตังเกี๋ย ไทดำอพยพเข้าสู่ไทยสมัยธนบุรี เนื่องจากถูกกวาด ต้อนมาจากสงครามพร้อมกับพวกลาวเวียงจันทน์ ที่เมืองม่วยและ เมืองทัน (สมทรง 2524, น.6) ลาวเวียงจันทน์เข้ามาอยู่บริเวณจังหวัดสระบุรี ราชบุรี และจันทบุรี ส่วนไทดำอยู่บริเวณจังหวัด เพชรบุรี
    ที่เรียกว่าลาวซ่งดำ เพราะไทดำเหล่านี้นิยมนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดำ แต่ไทดำมีผิวขาวคล้ายคนจีน คำว่า ซ่ง หรือส้วง แปลว่า กางเกง จึงเรียกคนเหล่านี้ตามเครื่องนุ่งห่มว่า ลาวซ่งดำ หรือลาวโซ่ง ปัจจุบันพบไทดำในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลก (สมทรง 2524, น.3 และ น.9)
    บ้านเรือนของไทดำ นิยมมีลานกลางบ้านสำหรับเป็นที่เลี้ยงสัตว์ เก็บฟาง นวดข้าว เป็นที่ชุมนุมพบปะสังสรรค์ เรือนเป็นเรือนเครื่องผูก หลังคามุงด้วยแฝก ตรงเฉลียงด้านสกัดทำเป็นวงโค้งใหญ่ยาว ปัจจุบันเรือนไทดำเหมือนบ้าน ไทยชนบท อาชีพของไทดำ คือ การทำไร่นา รองลงมาคือ ล่าสัตว์ เลี้ยงไหม ทอผ้า และจักสาน ไทดำมีภาษาพูด และ เขียนของตัวเอง สำเนียงภาษาพูดต่างจากลาวเวียงจันทน์ไม่มากนัก การเขียนนิยมเขียนในสมุดพับเป็นชั้น ๆ (สมทรง 2524, น.12)
    ชาวลาวโซ่งเชื่อกันว่า ตนสืบเชื่อสายมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม 2 ตระกูล คือ ตระกูลผีผู้ท้าว และตระกูลผีผู้น้อย ตระกูลผีผู้ท้าว สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นเจ้านาย เป็นชนชั้นปกครอง ในสายตระกูลมีซิงเดียว (คล้ายแซ่ของชาวจีน) คือ ซิงลอ ผู้ที่เกิดในตระกูลนี้ จะถือผีผู้ท้าวเป็นผีประจำตระกูล ตระกูลผีผู้น้อย สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นสามัญ หรือชั้นเพี้ย ผู้ที่เกิดในสายตระกูลนี้ จะถือผีผู้น้อยเป็นผีประจำตระกูล ชาวลาวโซ่งเชื่อว่าผีผู้ท้าวมีศักดิ์สูงกว่าผีผู้น้อย ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพยำเกรงแก่ผู้ท้าวความเชื่อนี้จะปรากฎในการประกอบพิธีกรรมเช่นพิธีเสนเรือนซึ่งผู้น้อยจะเข้าร่วมในพิธีเสนเรือนของผู้ท้าวไม่ได้ ส่วนในการดำเนินชีวิตนั้นทั้งสองตระกูลอยู่ร่วมกันได้อย่างเสมอภาคไทดำมีการนับถือผี มีการบวงสรวงผีเป็นประจำ เช่น ผีเรือน หรือ ผีบรรพบุรุษ ที่มุมหนึ่งในบ้านจะใช้เป็นที่บูชาผีบรรพบุรุษ เรียกว่า “กะล่อหอง” ชาวลาวโซ่งหากเป็นตระกูลผู้น้อยจะมีการเซ่นไหว้หรือเลี้ยงผีทุกๆ 10 วัน ถ้าเป็นตระกูลผีผู้ท้าวจะเลี้ยงผีทุกๆ 5 วัน เรียกการเลี้ยงผีประจำตระกูลนี้ว่า "ป้าดตง" ในหนึ่งปีชาวลาวโซ่งจะมีพิธีเลี้ยงผีครั้งใหญ่ เรียกว่า พิธีเสนเรือน ซึ่งเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อเลี้ยงผีแล้วผีก็จะปกป้องคุมครองตนให้อยู่ดีมีความสุขมีความเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ยังมีการนับถือ “แถน” คือผู้ให้คุณและโทษ
    พิธีกรรมของชาวลาวโซ่ง
    พิธีเสนเรือน ชาวลาวโซ่งจะประกอบพิธีนี้ในเดือน4 เดือน 6 และเดือน 12 เมื่อบ้านใดกำหนดงานว่าจะทำพิธีเสนวันใด ปีใด เจ้าของบ้านจะเลี้ยงหมูไว้อย่างดี กะระยะเวลาให้ลูกหมูโตเต็มที่เมื่อถึงวันทำพิธี เพื่อที่จะได้เพียงพอสำหรับเลี้ยงผี และแขกที่มาร่วมงาน แต่เดิมนั้นหากเป็นตระกูลผู้ท้าวจะใช้ควายเลี้ยงผีปัจจุบันใช้หมูแทน
    การแต่งกายของไทดำ ผู้ชายนุ่งกางเกงขาสั้น ปลายแคบเรียวยาวปิดเข่า นุ่งแบบกางเกงจีน เรียกว่า “ส้วงขาเต้น” หรือ “ส้วมก้อม” แปลว่า กางเกงขาสั้น ตัวเสื้อเป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ปลายแขนปล่อยกว้างขนาดข้อมือผ่าหน้าตลอด ติดกระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลาย เรียงกันถี่ประมาณ 10-19 เม็ด ตัวสั้นเลยเอวไปนิดหน่อย ตัวเสื้อเย็บเข้ารูปทรงกระสอบ หน้าอกผาย คอตั้ง ด้านข้างตอนปลายผ่าทั้ง 2 ข้าง ใช้เศษผ้า 2-3 ชิ้นตัดขนาดรอยผ่าเย็บติดไปกับรอยผ่า เรียกว่า เสื้อชอน ส่วนผู้หญิงในชีวิตประจำวันจะนุ่งผ้าถุงพื้นดำ ประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นสีดำ ไม่มีลวดลายกว้างประมาณ 12 นิ้ว เป็นซิ่นทั้งผืน ชิ้นที่ 2 เป็นซิ่นสีดำสลับลายสีขาว ชิ้นที่ 3 กว้างประมาณ 1 ฟุต มีลวดลายสีขาวสองสามริ้ว เย็บติดเป็นตีนซิ่น ถ้าสามีตายต้องเลาะตีนซิ่นนี้ออก เพื่อไว้ทุกข์ ส่วนเสื้อใช้แขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อเย็บเข้าตัว คอตั้งผ่าอกตลอด ติดกระดุม เงินถี่ 10 เม็ด เรียกว่า เสื้อก้อม บางทีจะใช้ผ้าคาดอกเรียกว่าผ้าเบี่ยว ปักลวดลายไว้ที่ชายทั้งสอง ชายหญิงที่แต่งงานแล้วจะใช้ ผ้าเบี่ยวสีดำหรือครามแก่
    ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงาน ไทดำจะแต่งชุดใหญ่ เรียกว่า เสื้อฮี ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายย้อมคราม มี 2 ด้าน เสื้อฮีของ ชายยาวคลุมสะโพก คอกลม กุ้นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดง แล้วเดินด้วยเส้นทับด้วยผ้าไหมสีอื่น ตรงคอด้านข้างติดกระดุมแบบ คล้อง 1 เม็ด ผ่าตลอดตั้งแต่กระดุมป้ายทบมาทางด้านข้าง แขนเสื้อเป็นแขนกระบอกยาวปลายแคบ ชายเสื้อจะปักด้วยผ้าไหมสี ต่าง ๆ พร้อมติดกระจกชิ้นเล็ก ๆ ด้านข้างผ่าตั้งแต่ปลายเสื้อจนถึงเอว ปักตกแต่งอย่างงดงาม ส่วนของผู้หญิงตัวเสื้อใหญ่และ ยาวกว่ามาก คอแหลมลึก ไม่ผ่าหน้า แขนเสื้อแคบเป็นแขนกระบอก ใส่นุ่งกับผ้าถุง (สมทรง 2524, น.13-15)
    ทรงผมของไทดำ สมัยก่อนเด็กหญิงและชายจะถูกกร้อนผม พอเริ่มเป็นหนุ่มสาว ผู้ชายจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม หรือทรงสูง ส่วนผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาว สำหรับหญิงที่สามีตาย ต้องปล่อยผมสยาย ไม่เกล้าผม และห้ามใช้เครื่องประดับทุก ชนิดระหว่างที่ไว้ทุกข์ 1 ปี ต้องทำผมแบบปั้นเกล้าตก คือให้กลุ่มผมอยู่ข้างหลัง เมื่อออกทุกข์แล้วจึงทำผมเกล้าแบบเดิมได้
    การแต่งงานของไทดำ จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิง การเลือกคู่ครองเป็นอิสระ เห็นได้ในประเพณีลงข่วงเล่น คอนบนลานกว้าง ซึ่งเป็นลานนวดข้าว ตกกลางคืนหลังจากทำไร่นามาแล้ว หญิงสาวจะมานั่งทำงานในลานข่วง เช่น ปั่นฝ้าย กรอไหม เย็บปักถักร้อย ตำข้าว ฯลฯ ลานนี้เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวพบปะกัน หนุ่มสาวจะนัดเจอกันหลังลงข่วงเสร็จแล้ว ระหว่างคุยกันห้ามชายแตะต้องตัวหญิงสาว ถ้าแตะต้องตัวถือว่าผิดผี ผู้ชายต้องเอาดอกไม้ ธูปเทียน เหล้า หมากพลูและเงิน จำนวนหนึ่งมาขอขมาผีเรือนและพ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อชายหญิงตกลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ฝ่ายชายต้องไปสู่ขอหญิง มีการหมั้นและเรียกสินสอด หลังแต่งงาน หนุ่มสาวต้องแยกครัวเรือนจากพ่อตาแม่ยายทันที การแต่งงานต้องแต่งในเดือนคู่เท่านั้น (สมทรง 2524, น.19-20)


    ไทยลื้อ
    ไทยลื้อ Lue ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonyms : Lu, Lue, Pai-I, Shui Pai-I
    อาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 9 อำเภอ 17 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 1,344 หลังคาเรือน ประชากรรวม 3,229 คน (ทำนียบชุมชนฯ 2540, น.68)
    ชาวลื้อ หรือไทลื้อ เชื่อกันว่ามีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณเขตสิบสองพันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี ีชาวลื้ออาศัยอยู่ทั่วไป ทั้งเขตประเทศจีน พม่า ลาว และภาคเหนือของไทย ในประเทศไทยพบชาวลื้ออาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่ สำหรับชาวไทลื้อในจัหวัดแพร่สันนิษฐานกันว่าเป็นกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยองและเมืองเชียงแสน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ปัจจุบันมีหมุ่บ้านไทยลื้อ 2 แห่ง คือ บ้านถิ่น ต.บ้านถิ่น อ.เมืองและที่บ้านพระหลวง ต.พระหลวง อ.สูงเม่น
    ชาวไทลื้อในภาคเหนือได้เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมกลมกลืนไปกับคนเมือง ลักษณะเด่นที่ยังเหลืออยู่คือ ภาษาลื้อ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาผู้ไท ไทยวน และไทลาว การแต่งกายของชาวลื้อ ผู้หญิงสวมเสื้อปัดมีสายหน้าเฉียงมาผูกติดกัน หรือใช้กระดุม เงินขนาดใหญ่ เรียกว่า เสื้อปั๊ด มีสีดำหรือคราม ตัวเสื้อรัดรูปเอวลอย ชายเสื้อยกลอยขึ้น 2 ข้าง สาบเสื้อ ขลิบด้วยแถบผ้าสีต่าง ๆ ประดับด้วย กระดุมเงิน นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง มีลวดลายสีต่าง ๆ ต่อเชิงด้วยผ้าสีดำ นิยมโพกศีรษะด้วยผ้า สีขาว หรือชมพู หญิงนิยมเกล้าผมมวยตรงยอด มวยมีการม้วนผมเป็นวงกลมเรียก “มวยว้อง” นิยมเจาะหูใส่ลานเงิน สวม กำไลเงิน ส่วนผู้ชายมีทั้งการนุ่งผ้าต้อยผืนเดียวเพื่อให้เห็นลาย สักแบบไทยวนสมัยก่อน และชุดเต็มยศ คือ สวมเตี่ยวสะดอสีดำ หรือสีคราม สวมเสื้อเอวลอยสีดำขลิบด้วยแถบผ้าสีต่าง ๆ แต่รูปทรงเสื้อต่าง จากหญิง นิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ชาวไทลื้อ นิยมสักหมึก คือสักลาย ผู้หญิงนิยมสักรูปดอกไม้ตรงข้อมือทั้ง 2 ข้าง (ทรงศักดิ์ 2529, น.70-71)
    ที่อยู่อาศัยของชาวไทลื้อคล้ายคลึงกับเรือนของไทยวน คือเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง หลังคาบ้านทรงปั้นหยาหรือหน้าจั่ว มีทั้งมุงด้วยตับคา แป้นเกล็ด (กระเบื้องไม้) และดินขอ (กระเบื้องดินเผา) เรือนแบบดั้งเดิมมีเตาไฟอยู่ในบริเวณห้องนอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไป ชาวไทลื้อใน จังหวัดน่านนิยมทำหลังคาคลุมบันได ตรงฝาเรือนส่วนรับแขก มักจะทำประตูเปิดออก รับลมได้ และนิยมทำยุ้งข้าวติดกับตัวเรือน ใต้ถุนจะมีหูกทอผ้า มีห้างสำหรับนั่งเล่น รั้วบ้านนิยมปลูกต้นไม้
    ศาสนาดั้งเดิมของชาวไทลื้อ คือการนับถือผี แต่ต่อมานับถือพุทธศาสนาด้วย พิธีกรรมที่สำคัญ คือ พิธีเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีการไหว้ผีและ ีและเลี้ยงผี กระทำกันปีละครั้ง บางแห่งอาจทำ 3 ปีครั้งหนึ่ง พิธีเข้ากรรมมี 2 ระดับคือ พิธีเข้ากรรมเมือง คือ การเลี้ยงผีเจ้าเมืองและพิธีกรรม บ้าน คือการเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในพิธีเข้ากรรมจะมีการฆ่าวัวควาย หรือเป็ด ไก่ สังเวยผีแต่อาจมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
    (ทรงศักดิ์ 2529, น.75)

    cont............>>>>

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ..........>>>

    ไทย
    ไทย Siamese Tai ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonyms : Syam, Thai
    คำว่า Siamese หมายถึงคำที่ใช้เรียกคนไทย พูดภาษาไทยนับถือศาสนาพุทธนิกาย เถรวาท ถิ่นฐานของ ชนชาติไทยกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำสำคัญของทางใต้ของจีน แล้วได้เคลื่อนย้านมาผสมกลมกลืนกับกลุ่มชน พื้นเมืองถิ่นฐานของชนชาติไทยมีขอบเขตตั้งแต่ ยูนนาน และกวางสี มาถึงลุ่มน้ำแดงในเวียดนาม ลุ่มน้ำโขง ในมณฑลยูนนานและลุ่มน้ำ สาละวิน อิระวดีในพม่า (สุจิตต์ 2537, น.180) ต่อจากนั้นจึงขยายตัวลงมาตามแนวเหนือ ใต้กลายเป็นพวกไทยสยาม ซึ่งมีการตั้งเป็นบ้านเป็นเมืองเป็นลำดับ
    กลุ่มชนที่เรียกว่า เสียม หรือสยาม นั้น ตั้งอยู่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 19 ลงมาเป็นกลุ่มชนที่เกิดจากการผสมผสาน ของชนชาติไต-ไทกับบรรดาชนเผ่าต่าง ๆ เหตุที่ผสมผสานกันเนื่องมาจากบริเวณที่เกิดเป็นบ้านเมืองเหล่านั้น มักเป็นหุบเขา หรือที่ราบลุ่มใหญ่ เป็นแหล่งที่มีคนหลายเผ่าพันธุ์เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำให้เกิดการสังสรรค์ ทางสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม (ศรีศักร และสุจิตต์ 2534, น.128) ไทยสยามรวมตัวกันได้เพราะมีภาษาที่ใช้แพร่ ่หลาย (ศรีศักรฯ 2534, น.128-129) พวกสยามพบมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางซีกตะวันตกของแม่น้ำ ้เจ้าพระยาลงไปถึงเพชรบุรีและนครศรีธรรมราชเอาดอกไม้ ธูปเทียน เหล้า หมากพลูและเงิน จำนวนหนึ่งมาขอขมาผีเรือนและพ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อชายหญิงตกลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ฝ่ายชายต้องไปสู่ขอหญิง มีการหมั้นและเรียกสินสอด หลังแต่งงาน หนุ่มสาวต้องแยกครัวเรือนจากพ่อตาแม่ยายทันที การแต่งงานต้องแต่งในเดือนคู่เท่านั้น (สมทรง 2524, น.19-20)
    แบบแผนบ้านเรือนของไทยสยาม นิยมตั้งบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเป็นแนวยาว บางแห่งตั้งเป็นกระจุก (Cluster) รอบล้อมด้วยสวนผลไม้และ แปลงนาข้าว (Lebars and others 1964, p. 199) ในหมู่บ้านคนไทยจะมีวัด และโรงเรียนบ้านแต่ละหลังจะมีทางออกสู่แม่น้ำหรือถนนได้สะดวก บ้านเรือน สร้างยกพื้น ฝาผนังทำจากไม้กระดาน มุงหลังคาด้วยใบปาล์ม แฝก หญ้า แต่เดิมสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ภายในเรือนจะมีแท่นบูชาพระ ทางภาคเหนือ จะมียุ้งข้าวสร้างแยกต่างหาก (Lebars and others 1964, p.199)
    แบบแผนบ้านเรือนของไทยสยาม นิยมตั้งบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเป็นแนวยาว บางแห่งตั้งเป็นกระจุก (Cluster) รอบล้อมด้วยสวนผลไม้และ แปลงนาข้าว (Lebars and others 1964, p. 199) ในหมู่บ้านคนไทยจะมีวัด และโรงเรียนบ้านแต่ละหลังจะมีทางออกสู่แม่น้ำหรือถนนได้สะดวก บ้านเรือน สร้างยกพื้น ฝาผนังทำจากไม้กระดาน มุงหลังคาด้วยใบปาล์ม แฝก หญ้า แต่เดิมสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ภายในเรือนจะมีแท่นบูชาพระ ทางภาคเหนือ จะมียุ้งข้าวสร้างแยกต่างหาก (Lebars and others 1964, p.199)
    แบบแผนบ้านเรือนของไทยสยาม นิยมตั้งบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเป็นแนวยาว บางแห่งตั้งเป็นกระจุก (Cluster) รอบล้อมด้วยสวนผลไม้และ แปลงนาข้าว (Lebars and others 1964, p. 199) ในหมู่บ้านคนไทยจะมีวัด และโรงเรียนบ้านแต่ละหลังจะมีทางออกสู่แม่น้ำหรือถนนได้สะดวก บ้านเรือน สร้างยกพื้น ฝาผนังทำจากไม้กระดาน มุงหลังคาด้วยใบปาล์ม แฝก หญ้า แต่เดิมสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ภายในเรือนจะมีแท่นบูชาพระ ทางภาคเหนือ จะมียุ้งข้าวสร้างแยกต่างหาก (Lebars and others 1964, p.199)
    การปกครองไทยโบราณใช้ระบบกษัตริย์ มีระบบขุนนางทำหน้าที่บริหารราชการ ชาวบ้านประกอบด้วยไพร่ ทาส อยู่ใต้ การปกครองระบบศักดินา พระสงฆ์จะได้รับการยกย่อง การบวชเป็นพระจะเป็นการเลื่อนสถานภาพของคนไทยอย่างหนึ่ง (Lebars and others 1694, p.202) การปกครองสมัยใหม่แยกเขต ปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
    ระบบครอบครัวคนไทย ถือตระกูลทั้งพ่อและแม่ ครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย สมาชิกในครอบครัวเป็นแรงงานในไร่นา ลูกที่แต่งงานแล้วอาศัย อยู่กับบิดามารดา หรือแยกครอบครัวต่างหากก็ได้ ตามปกติผู้ชายจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงหลังแต่งงาน ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ (Lebars and others 1964, p.202) ครอบครัวไทยสมัยใหม่มีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น
    ศาสนาของชาวไทยสยามเป็นแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลจากลังกาสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 ผ่านทางพุกาม หรือนครศรี ธรรมราช หรือเมาะตะมะ ชาวสยามในแอ่งสกลนคร นับถือพุทธศาสนาแบบทวารวดีที่ผ่านไปจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ศรีศักร 2534, น.130) ในระดับท้องถิ่นยังมีความเชื่อระบบ ไสยศาสตร์ เช่นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ มีความ เชื่อเรื่องขวัญ ขวัญออกจากร่างกายจะทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือถูกผีเข้า หมอผีหรือหมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญ (Lebars and others 1964, p.204-205)
    ระบบเศรษฐกิจของคนไทย แต่เดิมทำการเกษตรแบบยังชีพ ปลูกข้าวนาหว่าน หรือนาดำแล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศและ แหล่งน้ำ สมาชิกใน ครอบครัวเป็นแรงงานในไร่นา การยึดครองที่ดิน แต่เดิมที่ดินเป็นของกษัตริย์ แต่อนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินได้ และมีการเก็บค่าเช่าตามกำหนด สัตว์เลี้ยงได้แก่ เป็ด ไก่ วัวควาย หมู


    ไทยวน
    ไทยวน Tai Yuan ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonyms : Lanatai, Lao, Youanne, Youon, Yun
    ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตนเองว่า คนเมือง
    ชาวไทยวนอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่ รู้จักในนามไทยล้านนามีภาษาพูดใกล้เคียงกับ พวกไทลื้อ และไทเขินปัจจุบันชาวไทยวนรับอิทธิพลของไทยภาคกลาง
    ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า สิงหนวัติกุมารโอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ซึ่งก็คือเชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และตั้งชื่อเมืองว่า โยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร คนทั่วไปเรียกเมืองโยนกนี้ว่า โยนก หรือ ยูน หรือ ยวน ไทยวน หรือ คนยวน ในจังหวัดสระบุรีเป็นไทยวนกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งพระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ และพระยายมราช พร้อมด้วยกองทัพลาว ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน ซึ่งในขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมื่อทัพไทยสามารถตีเมืองเชียงแสนได้แล้วจึงให้รื้อกำแพงเมืองรื้อบ้านเมือง และได้รวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนโดยได้แบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่ลำปาง ส่วนหนึ่งอยู่ที่น่าน ส่วนหนึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์ และอีกส่วนให้เดินทางมายังกรุงเทพ โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี สระบุรี ปู่เจ้าฟ้า หนึ่งในผู้นำคนยวนในสมัยนั้น ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเจ้าฟ้า ปัจจุบันมีศาลเจ้าฟ้าตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะอันเชิญดวงวิญญาณของปู่เจ้าฟ้า มาเข้าร่างทรงให้ลูกหลานได้สรงน้ำ และปู่เจ้าฟ้า ก็จะพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมือง หนานต๊ะซึ่งเป็นน้องชายของปู่เจ้าฟ้าได้นำไพร่พลไปตั้งบ้านเรือน อยู่ที่บ้านสิบต๊ะ (ปัจจุบันคือบ้านสวนดอกไม้) เล่ากันว่าหนานต๊ะเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมขลังและเก่งในการรบ และเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดต้นตะเคียนที่บ้านสันปะแหนเพื่อส่งมาคัดเลือกให้เป็นเสาหลักเมืองที่กรุงเทพ เมื่อไม่ได้รับการเลือกเสาต้นนี้ล่องทวนน้ำกลับไปยังที่เดิมและก็ส่งเสียงร้องร่ำไห้ อันเป็นที่มาของชื่ออำเภอเสาไห้ ปัจจุบันเสาต้นนี้อยู่ที่วัดสูง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี แต่เดิมนั้นที่ทำการเมืองสระบุรีอยู่ที่บริเวณบึงโง้ง ใกล้วัดจันทรบุรี ในอำเภอเสาไห้ในปัจจุบัน ชาวไทยวนได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ที่ว่าการอำเภอเสาไห้ขึ้นไปทางตะวันออก ต่อมาจึงได้ขยับขยายทำเลที่ตั้งบ้านเรือนไกลจากแม่น้ำป่าสักออกไป ปัจจุบันคนไทยวนตั้งถิ่นฐานอยู่แทบทุกอำเภอ ที่มีมากที่สุดคือ ที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอวังม่วง
    ภาษา ชาวไทยวนมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน อักษรของชาวไทยวนมีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีก็นำเอาอักษรเหล่านั้นมาใช้ด้วย ใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารบนใบลาน ชาวไทยวนเรียกอักษรนี้ว่า หนังสือยวน เรื่องที่บันทึกลงใบข่อยหรือสมุดไทยมักจะเป็นตำราหมอดู ตำราสมุนไพร เวทมนต์คาถาต่างๆ ส่วนเรื่องที่จารลงใบลานจะเป็นพระธรรมเทศนาเป็นส่วนใหญ่ ชาวไทยวนมักนิยมถวายคัมภีร์เทศน์ เพราะเชื่อว่าได้บุญมากส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก ยอดพระไตรปิฎกคัมภีร์ยวนฉบับต่างๆได้รับต้นฉบับมาจากฝ่ายเหนือ เมื่อได้มาก็คัดลอกจารต่อๆ กันมา ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า จ๊อย เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียวหรือจ๊อยโต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อยอาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดก คำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี
    การแต่งกาย
    จากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดจันทรบุรี อำเภอเสาไห้ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และอุโบสถวัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตการแต่งกายของชาวไทยวนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
    ที่อยู่อาศัย เรือนของชาวไทยวนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรี จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนบ้านเสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง
    ความเชื่อ
    ชาวไทยวนมีความเชื่อในเรื่องผีซึ่งอาจให้คุณหรือโทษได้ ผีที่ชาวไทยวนให้ความสำคัญได้แก่
    ผีเรือน หรือ ผีประจำตระกูล หรือ ผีบรรพบุรุษ คนยวนเรียก ผีปู่ย่า คนยวน 1 ตระกูลจะมีศาลผีหรือหิ้งผีอยู่ที่บ้านของคนใดคนหนึ่ง เมื่อลูกหลานในตระกูลนี้ เมื่อลูกหลานคนใดแต่งงานก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าที่บ้านนี้ หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าเช่นกัน
    ผีประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะมีศาลผีประจำอยู่ บางหมู่บ้านอาจจะมีมากกว่าหนึ่งศาล เช่นที่ บ้านไผ่ล้อม อำเภอเสาไห้ มีศาลเจ้าชื่อ ปู่เจ้าเขาเขียวโปร่งฟ้า มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า เดิมปู่เจ้าอยู่ที่เชียงดาว เชียงใหม่ ในครั้งที่มีการอพยพได้มีคนเชิญให้ร่วมทางมาด้วย เพื่อคุ้มครองลูกหลานญวนที่เดินทางมาในครั้งนั้น และได้ปลูกศาลให้ท่านอยู่ เชื่อกันว่า เจ้าปู่นี้มักจะกลับไปอยู่ที่เชียงดาว เมื่อถึงวันสงกรานต์ก็จะมาเยี่ยมลูกหลานของท่านทุกๆ ปี
    ผีประจำวัด เรียกว่า เสื้อวัด ทุกวัดจะมีศาลเสื้อวัดประจำอยู่ทุกๆ วัด บางวัดมีมากกว่า 2 ศาลเวลามีงานวัดจะต้องจุดธูปบอกเสื้อวัดเสียก่อน
    ผีประจำนา เรียกว่า เสื้อนา ความเชื่อเรื่องเสื้อนามีมานานดังที่ปรากฏในหนังสือกฎหมายมังรายศาสตร์ ฉบับวัดเสาไห้ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ ผู้ใดขี้ใส่นาแรกท่าน ตั้งแต่ตอนหว่านกล้าไปจนถึงตอนจะย้ายปลูก จะเก็บเกี่ยวให้มันหาเหล้า 2 ไห ไก่ 2 คู่ เทียน 2 เล่ม ข้าวตอกดอกไม้ มาบูชาขวัญข้าวและเสื้อนาผิดเพียงแต่เยี่ยว ไม่ได้ขี้ ให้ มันหาไก่คู่หนึ่ง เหล้าขวดหนึ่งเทียนคู่หนึ่ง ข้าวตอกดอกไม้บูชาเสื้อนา……” ความเชื่อเรื่องเสื้อนานี้เมื่อถึงเดือนหก แม่บ้านจะทำขนมบัวลอยไปวางเซ่นที่นาเพื่อเลี้ยงเสื้อนาของตนทุกปี
    ประเพณีขึ้นท้าวทั้ง 4 ชาวไทยวนเรียก “ต๊าวตังสี่” หมายถึงท้าวจตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ ก่อนที่จะมีงานใดๆ จะทำการเลือกสถานที่ๆ เหมาะสม เอาไม้ 5 ท่อนมาปักเป็นเสา 4 มุม เสาต้นกลางสูงกว่าเสาสี่มุม บนเสานี้จะวางเครื่องเซ่น เช่น หมาก บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน กระทงอันกลางเป็นของพระอินทร์ ผู้รู้พิธีจะเป็นคนกล่าวเชิญเทพทั้ง 4 มารับเครื่องเซ่นและมาช่วนปกป้องคุ้มครองงานของตนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
    ภาพจำลองการแต่งกายของสตรีชาวไท-ยวน เชียงใหม่สมัยโบราณ มีให้เห็นในงานแสดงทางศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ในขณะที่เป็นการยาก มากที่จะระบุว่าใครคือชาวไทยวนในจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน เพราะมีการผสมกลมกลืนกันทางเชื้อชาติทั้ง ไทยวน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทขึนมานาน กว่า 200 ปีแล้ว (ธีรภาพ 2538 ,น.119)


    ไทยอง
    ไทยอง Tai Yong ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family)
    เมืองยอง สร้างขึ้นเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 19 โดยชาวพื้นเมือง ต่อมาเมื่อมีผู้คนอพยพจากเมืองเชียงรุ่ง เข้าไป สร้างบ้านแปงเมืองด้วย โดยมีเจ้าเมือง ซึ่งเป็นชนชาวพื้นเมืองเชื้อสายไทลื้อ ปกครองบ้านเมืองสืบต่อ กันมา ประมาณ 48 องค์ บางช่วงเวลาเป็นเมืองร้างอันเนื่องมาจากการศึกสงคราม จนถึงสมัย เจ้าหม่อมหงส์ดำ (พ.ศ.2493-2497) เจ้าเมืองลำดับที่ 48 ทางการพม่าได้ยกเลิกระบบเจ้าเมือง ปัจจุบันเมืองยองมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งใน จังหวัดเชียงตุง บรรพบุรุษชาวยองได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในล้านนาตั้งแต่สมัยพญาติโลกราชแห่งราชวงศ์ ์เม็งราย และครั้งสำคัญที่สุด ใน ปี 2348 สมัยพระเจ้ากาวิละซึ่งได้พยายามรวบรวมผู้คนเพื่อทำการฟื้นฟูเมือง เชียงใหม่ และเมืองลำพูนขึ้นมาอีกครั้ง จากอุบายกลการศึก "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง" ในครั้งนั้นได้ ้ทำการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองแบบเทครัว จึงเป็นเหตุให้มีคนไทเชื้อสายไทยลื้อที่กองทัพไทยได้ทำการ กวาดต้อนมาจากเมืองยอง เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมือง ลำพูน ประชากรส่วนใหญ่ของ ลำพูนจึงเป็นชาวยอง ซึ่ง นิยมตั้งถิ่นฐานในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะต่อการทำการเกษตร เช่น ลุ่มน้ำปิง (แสวง มาลาแซม 2544) ทั้งนี้จวบจนปัจจุบันชาวยองยังคงรักษาขนบประเพณีและวัฒนธรรม ของตนไว้ได้
    ชาวล้านนาส่วนใหญ่มักนิยมสร้างรูป หม้อดอก ซึ่งเป็นลวดลายตกแต่งลงรักปิดทองล่องชาด รูปหม้อน้ำมีเถาไม้เลื้อย เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่งอกงามและการสร้างสรรค์ หรือเป็นกระถางดอกไม้บูชา ที่แสดงถึงความร่มเย็น ความสมบูรณ์พูนสุข ปรากฎอยู่ตามฝาผนังวิหารและสถาปัตยกรรมของวัดในล้านนา ล้านช้าง สิบสองปันนา และหัวเมืองรัฐฉาน ประเทศพม่า และโดยเฉพาะที่วิหารบาตรตั้ง ดอยจอมยอง เมืองยอง ประเทศพม่า


    ไทใหญ่
    ไทใหญ่ Shan ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family)
    ไทใหญ่ หรือ ไต อาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 13 อำเภอ 57 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 4,547 หลังคาเรือน ประชากรรวม 20,0680 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.66)
    ชาวพม่าเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ว่า Shan ในเขตประเทศจีนชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ไทใหญ่ ส่วนคนไทย และคนลาวเรียกชนกลุ่มนี้ว่า เงี้ยว ส่วนพวก Kachins เรียกพวกนี้ ว่า Sam (Lebar and others’ 1964, p.192) คนไทใหญ่เองเรียก ตัวเองว่า “ไต” ไท ใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพม่า ลาว ไทย และในเขตประเทศจีนตอนใต้ ในประเทศไทย พบชาวไทใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และแม่ฮ่องสอน
    หมู่บ้านของชาวไทใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้ แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้น สูงประมาณ 8 ฟุต หลังคามุงด้วยหญ้าแห้ง ภายในบ้านจะมีเตาไฟ มีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบสัตว์เลี้ยงจะผูก อยู่บริเวณประตูบ้าน ชาวไทใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว โดยการวิดน้ำเข้านา แบบนาดำ โดยมีแปลงเพาะกล้า ส่วนบริเวณที่มีน้ำน้อย จะใช้วิธีปลูกข้าวบนที่ดอน พืชชนิด อื่นๆ ที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มะนาว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ม้า หมู ไก่ เป็นต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือนของไทใหญ่ ได้แก่ การปั้นหม้อไห การแกะสลัก การทำเครื่องเงิน การทอผ้าฝ้าย การทำกระดาษ เป็นต้น หน้าที่ของผู้หญิง ชาวไทใหญ่ ได้แก่ ทอผ้า ตักน้ำ เก็บฟืน ตำข้าว ทำอาหาร จ่ายตลาด ส่วนผู้ชายทำหน้าที่สร้างบ้านเรือน ทำนาทำไร่ อย่างไรก็ตามชายหญิงจะช่วย กันเพาะปลูกในฤดูหว่านไถและเก็บเกี่ยว (Lebar and others 1968, p.194)
    หมู่บ้านของชาวไทใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้ แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้น สูงประมาณ 8 ฟุต หลังคามุงด้วยหญ้าแห้ง ภายในบ้านจะมีเตาไฟ มีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบสัตว์เลี้ยงจะผูก อยู่บริเวณประตูบ้าน ชาวไทใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว โดยการวิดน้ำเข้านา แบบนาดำ โดยมีแปลงเพาะกล้า ส่วนบริเวณที่มีน้ำน้อย จะใช้วิธีปลูกข้าวบนที่ดอน พืชชนิด อื่นๆ ที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มะนาว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ม้า หมู ไก่ เป็นต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือนของไทใหญ่ ได้แก่ การปั้นหม้อไห การแกะสลัก การทำเครื่องเงิน การทอผ้าฝ้าย การทำกระดาษ เป็นต้น หน้าที่ของผู้หญิง ชาวไทใหญ่ ได้แก่ ทอผ้า ตักน้ำ เก็บฟืน ตำข้าว ทำอาหาร จ่ายตลาด ส่วนผู้ชายทำหน้าที่สร้างบ้านเรือน ทำนาทำไร่ อย่างไรก็ตามชายหญิงจะช่วย กันเพาะปลูกในฤดูหว่านไถและเก็บเกี่ยว (Lebar and others 1968, p.194)
    ครอบครัวของชาวไทใหญ่เป็นระบบผัวเดียวเมียเดียวแต่ในชนชั้นปกครองอาจพบว่า ผู้ชายสามารถมีเมีย ได้หลายคน การแยกครอบครัวของไทใหญ่จะเกิดขึ้นหลังแต่งงาน ชายหญิงจะออกไปสร้างเรือนหลังใหม่ ่ของตัวเองโดยทั่วไปลูกชายที่แต่งงานแล้วอาจยัง อาศัยอยู่กับบิดามารดาก็ได้ (Lebar and others 1964, p.195)
    ศาสนาของชาวไทใหญ่ คือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็กชายจะเข้าโรงเรียนวัด ตั้งแต่อายุ 10-12 ปี เพื่อ เรียนรู้พุทธศาสนา นอกจากนั้นชาวไทใหญ่ยังมีความเชื่อเรื่อง ไสยศาสตร์ เด็กชายจะเริ่มสัก ร่างกายตั้งแต่อายุ 14 ปี ลายสักจะมีความหมายถึง ความเป็น ชาย (manhood) และเป็นบุคคลที่สตรีจะเลือก เป็นคู่ครอง (Labar and others 1964, p.196) ชาวไทใหญ่ยังเชื่อในเรื่องขวัญเมื่อมีผู้อาวุโสตาย ชาวไทใหญ่จะไม่ร้องไห้เพราะเชื่อว่าการร้องไห้ ้จะทำให้วิญญาณของผู้ตาย ไม่สงบสุข ชาวไทใหญ่นิยมฝั่งศพคนตาย โดยนำไปฝังที่ป่าช้านอกหมู่บ้าน


    ปะหล่อง
    ปะหล่อง Palaung ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) Synonyms: Da-ang, Humai, Kunloi, La-eng, Palong, Ra-ang, Rumai, Ta-ang
    ปะหล่อง อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 หมู่บ้านคือ บ้านนอแล บ้านห้วยหมากเหลี่ยม บ้านสวนชา อำเภอฝาง และบ้านปางแดง อำเภอเชียงดาว จำนวนหลังคาเรือน 290 หลังคาเรือน ประชากรรวม 1,626 คน (ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง,2540,น.59)
    ชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก "คุณลอย" หมายถึง คนดอย ส่วนชาวพม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของ รัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า และยูนนานในประเทศ จีน ชาวปะหล่องในประเทศไทยอพยพมาจากพม่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า "ดาระอั้ง" (Da-ang, ra-rang, ta-ang) เอกสารประวัติศาสตร์ ์หลายฉบับกล่าวว่า ชาวปะหล่องเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งใต้ ้การปกครองของนครรัฐแสนหวี ชาวปะหล่องที่อพยพเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง ถือเป็นบุคคลที่อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
    นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาปะหล่องอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ปะหล่องจัดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 4 กลุ่มคือ กลุ่มปาเล(เงิน) กลุ่มชเว(ทอง) กลุ่มรูไม และกลุ่มเรียง
    การแต่งกายของหญิงชาวปะหล่องถือเป็นเอกลักษณ์ของเผ่า กล่าวคือ การสวมห่วงหวายลงรักแกะลาย หรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็น ลาย บางคนก็ใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีนำมาตัดเป็นแถบยาวตอกลาย และขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน ชาวปะหล่องจะเรียกห่วง ที่สวมเอวนี้ว่า "หน่องว่อง" หญิงชาวปะหล่องจะสวม "หน่องว่อง" ตลอดเวลา ด้วยความเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ ของการเป็นลูกหลานนางฟ้า โดยมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่ามีนางฟ้าชื่อ "หรอยเงิน" ได้ลงมายังโลกมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดเร้ว ของพวกมูเซอ ทำให้กลับสวรรค์ไม่ได้ ต้องอยู่ในโลกมนุษย์และเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์หลายกลุ่ม ชาวปะหล่องเชื่อกันว่าพวกตนก็ เป็นลูกหลานของนางหรอยเงิน ดังนั้นจึงต้อง สวม "หน่องว่อง" ซึ่งเปรียบเสมือนเร้วดักสัตว์ไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงนางฟ้า หรอยเงินตลอดเวลา ชาวปะหล่องเชื่อกันว่า การสวม "หน่องว่อง" จะทำให้เกิดความสุข เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ หากถอดออกจะทำให้สิ่งไม่เป็นมงคลเข้าครอบงำ หญิงชาวปะหล่องมักจะสวม ติดตัวตลอดเวลาแม้แต่ในเวลานอนก็ตาม หญิงชายชาว ปะหล่องมักจะแสดงฐานะของตนด้วยการเลี่ยมฟันด้วยโลหะคล้ายทองทั้งปากและประดับด้วยพลอยหลากสี
    การแต่งงานของชาวปะหล่องหนุ่มสาวชาวปะหล่องไม่นิยมแต่งงานกับคนต่างเผ่าการพบปะกันจะเกิดในงานพิธีทำบุญต่างๆ เมื่อชายหนุ่มถูกใจสาวคนใดก็จะหาโอกาสไปเที่ยวบ้านในตอนกลางคืนโดยจะเป่าปี่หรือดีดซึงเป็นเพลงบอกกล่าวให้สาวมาเปิดประตูรับ หากสาวไม่ ่รังเกียจก็จะมาเปิดประตูรับแล้วพากันไปคุยหน้าเตาไฟ เมื่อตกลงแต่งงานกันได้ก็จะบอกให้พ่อแม่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายไปสู่ขอ พิธีแต่งงานจะมีการ เลี้ยงผีเรือน ผีปู่ย่าตายายในวันมัดมือ หลังจากนั้นคู่บ่าวสาวจะพากันไปทำบุญที่วัดหลังแต่งงานแล้วผู้หญิงจะต้อง ย้ายไปอยู่กับบ้านฝ่ายชาย
    ชาวปะหล่องมีความเชื่อเรื่องวิญญาณควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนา โดยเชื่อว่า วิญญาณมีอยู่ 2 ระดับคือ ระดับหนึ่งเรียกว่า "กาบู" เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิต และ "กานำ" เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา และเชื่อว่าแต่ละคนจะมี ีวิญญาณ 2 ระดับ นี้ให้ความคุ้มครองอยู่ ในหมู่บ้านปะหล่อง จะมี ศาลเจ้าที่ "ดะมูเมิ้ง" เป็นที่สิงสถิตของวิญญาณที่คุ้มครองหมู่บ้าน บริเวณศาล เจ้าที่จะอยู่เหนือ หมู่บ้าน มีรั้วล้อมรอบ จะมีพิธีทำบุญบูชาเจ้าที่ ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อนเข้าพรรษาและช่วงก่อนออก ออกพรรษา พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษา เรียกว่า "เฮี้ยงกะน่ำ" เพื่อเป็นการบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้าน จะไม่มีการ ล่วงประเวณีกัน หรือมีการแต่งงานกัน จากนั้นจึงทำพิธีปิดประตูศาลผี หรือ "กะปิ๊ สะเมิง" เมื่อใกล้จะออกพรรษาก็จะทำ พิธีเปิดประตู ูศาลผีเจ้าที่ หรือ "วะ สะเมิง" เพื่อเป็นบอกกล่าวว่า ช่วงฤดูแห่งการแต่งงานใกล้จะมาถึงแล้ว ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะ มาร่วมในพิธี โดยการนำไก่ต้มสับมาเป็นชิ้นๆ เอาไปรวมกันที่ศาลผีเจ้าที่ จากนั้นจะมีผู้ประกอบพิธีกรรมเรียกว่า "ด่าย่าน" เป็นผู้ทำการบอกกล่าว แก่ผีเจ้าที่ต่อไป
    อาชีพของชาวปะหล่องคือ เกษตรกรรม แบบทำไร่เลื่อนลอย พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ยาสูบ พริก อ้อย มัน สัตว์เลี้ยงได้แก่ แพะ แกะ เป็ด ไก่ ม้า เป็นต้น ชาวปะหล่องชอบสูบฝิ่นทั้งชายหญิง ส่วนอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น ม้า เสือ หมีและปลา


    ผู้ไท
    ผู้ไท (ภูไท ย่อ โย้ย) Phuthai ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonyms : Puthai
    ผู้ไท คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว เดิมชาวผู้ไทอพยพมาจาก Hua Phan ทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และสิบสองจุไท ผู้ไทมีสายสัมพันธ์กับพวกไทขาวและไทดำที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูง ปัจจุบันพบชาวผู้ไททางภาคเหนือของลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในจังหวัดอุดรธานี และร้อยเอ็ด ชาวผู้ไทบริเวณนี้เรียกว่า ลาวขาว (Labers and others 1964, p.228)


    พวน
    พวน Phuan ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family)
    ชาวพวนมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ทางภาคอีสานเรียกว่า ไทยพวน แต่ภาคกลางเรียก ลาวพวน ชาวพวนได้กระจายตัวอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำงึมของลาว สมัยกรุงธนบุรี เมื่อลาวได้รวมเป็นอาณาจักรพลเมืองฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงได้ถูก กวาดต้อนมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชาวพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และกระจายอยู่ในจังหวัดอุดรธานี พิจิตร แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และสระบุรี (วิเชียร 2525, น.7) ภาษาชาวพวนใช้ ้ภาษาไทยแท้ใกล้เคียงไทยภาคกลาง
    บ้านเรือนของชาวพวนเป็นเรือนสูง ใต้ถุนเรือนใช้ทำประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำคอก วัวควาย เล้าเป็ดไก่ ตั้งเครื่องสำหรับผูกหูกทอผ้า หลังคาทรงมะนิลาหันหน้าไปทางทิศ ตะวันตก ไม้เครื่องบนผูกมัดด้วยหวาย และหลังคามุงด้วยหญ้าคา ถ้าเป็นบ้านผู้มีฐานะดี ีมุงด้วยกระเบื้องไม้เรียกว่า ไม้แป้นเก็ดหรือกระเบื้องดินเผา พื้นและ ฝาเรือนปูด้วยกระดาน ไม้ไผ่สีสุกสับแผ่ออกเป็นแผ่นๆ เรียกว่า ฟาก (วิเชียร 2525, น.42) ฤกษ์ในการปลูก คือเวลาเช้า การปลูกเรือนจะเสร็จในวัน เดียวประมาณ 5-6 โมงเย็น ต่อจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายหญิง บางพวกทำ เล้าไก่ ทำเตาไฟ การขึ้นบ้านใหม่เจ้าของบ้านต้องหาบสิ่งของขึ้นไป ได้แก่ ไซหัว หมู แห ไม้ค้อน สิ่ว และหอก
    ต่อจากนั้นจะมีคนถือเสื่อ ที่นอน หมอน มุ้ง ถาดข้าวต้มขนมหวาน สำหรับทำขวัญเรือน เมื่อญาติพี่น้องมาพร้อมหน้า ก็เริ่มทำพิธี สู่ขวัญเรือน (วิเชียร 2525, น.45) ตามประเพณี การนอนเรือนใหม่จะต้องมีคนนอนให้ครบทุกห้องเป็นเวลา 3 คืน คืนที่สี่ เจ้าบ้านจะต้องจัดทำ ข้าวต้มขนมหวานเลี้ยงดูญาติพี่น้อง ที่มานอนเป็นเพื่อนเมื่อเจ้าบ้านจัดบ้านเสร็จคนที่จะเข้าออก ห้องนอนได้ต้องเป็นคนในครอบครัว เท่านั้น (วิเชียร 2525, น.47) การแต่งงานของชาวพวน ผู้ชายต้องหาเฒ่าแก่ไปสู่ขอหญิง เฒ่าแก่ต้องไปเป็นคู่และ เป็นคนประพฤติดี มีครอบครัวแล้วอยู่กันอย่างราบรื่นไม่เป็นหม้าย เมื่อ สู่ขอแล้ว ฝ่ายชาย ตกลงวันแต่งงาน ต้องนำหมากไปด้วย วันแต่งงาน ชาวพวน เรียกว่า วันก่าวสาว ชายต้องจัด ขันหมาก 1 ขัน ซึ่งเรียกว่า พานตีนสูงหรือขันโตกของ ที่ใส่พานได้แก่ หมาก เต้าปูน พลู ูและมีดน้อย (มีดฮั่วมโฮง) เมื่อแต่งงานเสร็จฝ่าย สะใภ้ต้องเชิญญาติร่วมรับประทานอาหาร ในเวลาเย็นของวันแต่งงานและตอน เช้าของวันรุ่งขึ้น
    นอกจากนั้นยังมีประเพณีกำเกียง คือ ประเพณีที่มีการส่งผีย่าผีเกียงสอนลูกหลานไม่ให้ ้เป็น คนเห็นแก่กิน ประเพณีกำเมื่อมีคนตาย คือไม่ให้มีการทำงานหนักในบ้าน ประเพณีห่อ ข้าวดำดิน เพื่อส่งข้าวเปรต คือผีปู่ย่าตายาย พ่อแม่ญาติ พี่น้องที่ตายไป ประเพณีทาน ข้าวสะจะ เป็นการทำบุญที่จัดขึ้น ในเดือน 10 ของ แรม 15 ค่ำ ซึ่งประเพณีทำบ้องไฟจุดเป็น พุทธบูชาและประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า สังขานต์ มี 3 วัน คือ วันสังขานต์ล่อง วันเนาและ วันเถลิงศก (วิเชียร 2525, น. 105-124)
    การแต่งกายของชาวพวน ชายนุ่งกางเกง และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือ คาดเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไป ไร่นา ต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึง ข้อมือ กระดุมเสื้อใช้เงิน กลม ติดเรียงลงมาตั้งแต่คอถึงเอว ชายหญิงเมื่อโกนผมไฟ แล้วหญิงจะไว้ผมจุก พออายุ 14-16 ปีจะไว้ผมยาว เมื่อถึงอายุ 18-19 ต้องไว้ผม
    ทรงโค้งผมคือหยิบเอาผมที่ปล่อยลงไปมาทำเป็นรูปโค้ง พออายุ 20 ปีขึ้นไปจะต้องนำผมมาขมวดเป็นกระจุกไว้ที่ กลางศีรษะ เรียกว่า เกล้าผมจุกกระเทียมและต้องปักหนามแน่น เมื่อแต่งงานแล้วจะเลิกปัก ส่วนชายจะโกนผมจนโตเป็นหนุ่ม จึงไว้ ผมยาว (วิเชียร 2525, น.61-62)
    นอกจากนั้นยังมีประเพณีกำเกียง คือ ประเพณีที่มีการส่งผีย่าผีเกียงสอนลูกหลานไม่ให้ ้เป็น คนเห็นแก่กิน ประเพณีกำเมื่อมีคนตาย คือไม่ให้มีการทำงานหนักในบ้าน ประเพณีห่อ ข้าวดำดิน เพื่อส่งข้าวเปรต คือผีปู่ย่าตายาย พ่อแม่ญาติ พี่น้องที่ตายไป ประเพณีทาน ข้าวสะจะ เป็นการทำบุญที่จัดขึ้น ในเดือน 10 ของ แรม 15 ค่ำ ซึ่งประเพณีทำบ้องไฟจุดเป็น พุทธบูชาและประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า สังขานต์ มี 3 วัน คือ วันสังขานต์ล่อง วันเนาและ วันเถลิงศก (วิเชียร 2525, น. 105-124)
    การแต่งกายของชาวพวน ชายนุ่งกางเกง และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่าหรือ คาดเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไป ไร่นา ต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึง ข้อมือ กระดุมเสื้อใช้เงิน กลม ติดเรียงลงมาตั้งแต่คอถึงเอว ชายหญิงเมื่อโกนผมไฟ แล้วหญิงจะไว้ผมจุก พออายุ 14-16 ปีจะไว้ผมยาว เมื่อถึงอายุ 18-19 ต้องไว้ผม
    ทรงโค้งผมคือหยิบเอาผมที่ปล่อยลงไปมาทำเป็นรูปโค้ง พออายุ 20 ปีขึ้นไปจะต้องนำผมมาขมวดเป็นกระจุกไว้ที่ กลางศีรษะ เรียกว่า เกล้าผมจุกกระเทียมและต้องปักหนามแน่น เมื่อแต่งงานแล้วจะเลิกปัก ส่วนชายจะโกนผมจนโตเป็นหนุ่ม จึงไว้ ผมยาว (วิเชียร 2525, น.61-62)

    cont.............>>>

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ............>>>

    ม้ง
    ม้ง (แม้ว) Hmong (Meo) ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน หรือ แม้ว-เย้า (Hmong-Mien or Meo-Yao Language Family) Synonyms : H’moong, Meau, Mong, Miao
    อาศัยอยู่ใน 13 จังหวัด 60 อำเภอ 266 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 15,704 หลังคาเรือน ประชากรรวม 126,300 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.32)
    ชาวม้ง เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน เป็นกลุ่มจีนเก่า มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แม้ว แต่พวกนี้ เรียกตนเองว่า ม้ง บรรพบุรุษของชาวม้งเคยอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำ เหลือง แถบมณฑลยูนนาน กวางสี กวางเจาในประเทศจีน เมื่อราว 2,000 ปีก่อน คริสตกาล สมัยนั้นม้งเคยต่อต้านการขยายตัวของจีน ในที่สุดก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และ ถูกบังคับให้ยอมรับวัฒนธรรมจีน แต่ก็ได้มีม้งจำนวนมากถอยร่นเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ี่ที่ยากแก่การเข้าถึง
    ในสมัย 1,000 ปีต่อมา ยุคของขงจื้อ เอกสารจีนเล่มหนึ่งได้กล่าวถึง ้กล่าวถึงชนพวกนี้ว่า เป็น "พวกอนารยชนแห่งขุนเขา" และเป็นพวกกบฎ ที่พึงรังเกียจของจีน ในระยะแรกของ การรวมเป็นเผ่าพันธุ์ ชาวม้งได้สร้างวัฒนธรรม ประจำเผ่าของตนเองไว้อย่างมั่นคง แล้ว ซึ่งยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ (ขจัดภัย 2538,น.22)
    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 และ 24 ชาวม้งได้อพยพมาทางตอนใต้ เข้า ้เข้าสู่ตังเกี๋ยและ ประเทศญวน ได้มีการสู้รบกับพวกญวน แต่ต่อมา พวกม้งก็ได้ถอนตัวออกจากที่ราบ ซึ่งมีอากาศชื้นด้วยความสมัครใจ ของพวกเขาเอง ค่อย ๆ ถอยกลับขึ้น สู่ภูเขา และได้อยู่ต่อมาจนปัจจุบัน นอกจากนี้ก็มีม้งอีกพวกหนึ่ง อพยพเข้าสู่พม่าและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ ภูเขาเช่นเดียวกัน
    มีชาวม้งบางส่วนได้อพยพจากประเทศลาวและพม่าเข้าสู่ประเทศไทย มาอาศัย อยู่ทางเหนือของประเทศไทย ม้งในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ม้งนำเงิน(ม้งลาย ม้งดำ ม้งดอก) และม้งขาว การแบ่งม้งเป็น 2 สาขาดังกล่าวนี้ ก็โดยอาศัยความแตกต่าง ทางภาษา เครื่องแต่งกาย และชื่อที่พวกเขาเรียกตัวเอง
    ม้งในประเทศไทยอาศัยกระจัดกระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ เช่น ในจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ และยังพบหมู่บ้านม้งตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดตาก แพร่ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ชาวม้งในประเทศไทย มีสายสัมพันธ์กับพวกม้งขาว ในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นพวกที่อพยพมากที่สุดในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 (Lebar and others 1964, p.77)
    ม้งในประเทศไทยพูดภาษาที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาที่ใช้อยู่ทางตอนใต้ ของ ประเทศจีน ภาษาพูดของม้งกลุ่มย่อยต่าง ๆ ในประเทศไทย สามารถจะใช้ ติดต่อกัน ได้แม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน
    การตั้งถิ่นฐานของชาวม้ง จะตั้งบ้านเรือนบนภูเขาสูงห่างไกลจากชาวเขาเผ่าอื่น ๆ บ้านเรือนปลูกเป็นโรงติดกับพื้นดิน ฝาเรือนทำจากไม้ฟากตั้ง คนมีฐานะจะใช้ไม้ กระดาน ตั้งเรียงกันขนาบด้วยไม้ไผ่ หลังคาใช้ไม้ไผ่ผ่าครึ่งตามทางยาว บางหมู่บ้าน มุงหลังคาด้วยใบคาหรือใบก้อ ภายในบ้านมีเตาไฟ โดยใช้ดินก่อสำหรับวางภาชนะ ครกตำข้าวอยู่ในบ้านทางด้านหน้า ข้างๆ ครกมีร้านยกสูง 1 ศอก ใช้เป็นที่เก็บข้าวไร่ ข้าวโพด เครื่องมือเพาะปลูก ประตูหลังมีแท่นบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือผีเรือน ติดกับตัวบ้านเป็นโรงม้า คอกหมู เล้าไก่ สร้างด้วยไม้ไผ่ ไม่มีรั้วบ้านหรือรั้วหมู่บ้าน เหมือนชาวอาข่า (ก้อ) (ดูเพิ่มเติม บุญช่วย 2506, น.572-574 และ ขจัดภัย 2538, น.30-32)
    ระบบเครือญาติของม้ง ยึดถือระบบวงศ์ตระกูล (หรือแซ่) โดยนับถือตระกูลทางฝ่ายชาย ตระกูลที่สำคัญ 11 ตระกูล ได้แก่ ซ้ง ลี้ ซอง วั่ง มัว เฒ้า ฮู วู โล (เลา) คิน และย่าง สำหรับในประเทศไทย ตระกูลของม้งกระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งแต่ละตระกูล จะมีพิธีกรรมทางศาสนาของตัวเอง ระบบครอบครัวของม้ง โดยปกติ ผู้ชายจะมีภรรยาคนเดียว อย่างไรก็ตามก็มีข้อห้าม เช่น ห้ามแต่งงานกับภรรยาของบิดา ห้ามแต่งงานกับสมาชิกของครอบครัวที่ใช้นามสกุลเดียวกัน ห้ามแต่งงานกับญาติชั้นหนึ่งและ ชั้นสอง หรือพี่น้องข้างเคียง เป็นต้น ผู้ชายม้งถือว่าการแต่งงาน คือการหาแรงงานมาเพิ่มเติม เมื่อชายต้องการภรรยา เขาจะไปสู่ขอกับบิดามารดาของสตรีผู้นั้น พร้อมกับนำเงินที่ได้ตกลงกันไปให้ เงินชนิดนี้ เรียก “เงินซื้อเมีย” (บุญช่วย 2506, น.601) สตรีผู้นั้นจะเป็นภรรยาของตนทันที (ขจัดภัย 2538, น.39)
    หน้าที่ของภรรยาม้ง ต้องบำเรอความสุขให้สามี ต้องทำงานบ้านทุกประเภท เช่น ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ตักน้ำ เก็บฟืน ตัดไม้ ถางหญ้า กรีดฝิ่น ปั่นฝ้าย ทอผ้า เลี้ยงเด็ก ส่วนผู้ชายจะนั่งจิบน้ำชา ผู้ชายที่มีภรรยาซึ่งไม่สามารถมีบุตรสืบตระกูล สามารถหาภรรยาคนใหม่ได้ และต้องมาช่วยภรรยาคนแรกทำงาน (บุญช่วย 2506, น.599) การสืบมรดกของม้ง ทรัพย์สินส่วนตัว จะแยกจากของครอบครัว เมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ทรัพย์สินของครอบครัว เช่น บ้านของ บิดา และหิ้งผีบรรพบุรุษ จะตกเป็นของหัวหน้าครอบครัวคนใหม่ ได้แก่ลูกชายคนเล็กที่สุดที่แต่งงานแล้ว ส่วนทรัพย์สินส่วนตัว จะแบ่งกันระหว่างทายาท เช่น เงินสด เครื่องประดับ หรือเครื่องเงิน ลูกชายที่อาวุโสที่สุดจะได้ก่อน (ขจัดภัย 2538, น.41-42 และ Lebar and others 1964, p.80)
    ระบบการปกครองของม้ง จะมีหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งจะมีการรวมกลุ่มของผู้ชาย หัวหน้าหมู่บ้านอาจมีมากกว่าหนึ่งคน ตระกูลที่มีสมาชิกจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง อย่างไรก็ตาม การเป็นหัวหน้าหมู่บ้านของม้งไม่มีกำหนดวางไว้ เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วก็จะดำรงตำแหน่งตลอดไปจนสิ้นสภาพ เมื่อตายหรือลาออก หรือที่ประชุมหมู่บ้านเห็นว่าไม่เหมาะ สมจะมีมติให้ลาออก (ขจัดภัย 2538, น.33) ในการปกครองของพวกม้งจะยึดถือจารีตประเพณี โดยเชื่อว่า ผีฟ้าเป็นผู้บัญญัติจารีตต่างๆ ถ้าใครทำผิดจารีต ผีฟ้าจะลงโทษ นอกจากนั้น ผู้ทำผิดจารีตอาจถูกปรับไหม โดยการเลี้ยงผีฟ้าตอบแทน หากมีกรณี พิพาทระหว่างตระกูล จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นตัดสิน ฝ่ายที่แพ้คดีจะถูกปรับไหม โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งให้หัวหน้าหมู่บ้าน อีกส่วนหนึ่ง แบ่งให้ผู้ชนะคดี (ขจัดภัย 2538, น.35-36)
    ความเชื่อทางศาสนาของม้ง มีความเชื่อในผีบรรพบุรุษ และวิญญาณ ผีที่ม้งนับถือมี 2 ชนิด คือ ผีฟ้า หมายถึง ผู้สร้างแผ่นดิน มนุษย์และสัตว์ บันดาลให้เกิดและตายได้ ผีเรือน คือ วิญญาณของบรรพบุรุษ ทำหน้าที่ปกปักรักษามิให้เกิดอันตราย อำนวยความสุข ความร่ำรวย และอาจทำให้เจ็บป่วย และยากจนได้เช่นกัน (บุญช่วย 2506, น.594) ผีเรือนของม้งมี 6 ตนเรียงลำดับตามอาวุโส คือ ผีปู่ย่าตาทวด ผีเสากลางบ้าย ผีเตาไฟ ผีเตาข้าวหมู ผีประตู และผีห้องนอน (พอลและอีเลน ลูวิส 2528, .131) ม้งเชื่อว่า มนุษย์ตายไปแล้ว วิญญาณยังคงเวียนว่ายอยู่ระหว่างบ้านของตน กับหลุมฝังศพ ชาวม้งจึงทำแท่น บูชาผีเรือนไว้ทุกบ้านและมีการเซ่นไหว้เป็นประจำ นอกจากนั้น ม้งยังเชื่อในผีร้าย เช่น ผีป่า(นะก่อ) ผีไร่(นาเต๊) ผีกระสือ(ดั้งจ่อ) เมื่อมีผีป่าเข้าสิงร่าง ม้งจะมีพิธีขับไล่ พิธีนี้เรียกว่า “ฉะด้า” คือ เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปมนุษย์และสัตว์วางบน แผ่นไม้สานแล้วยกไปทิ้งข้างทางเดิน นอกจากนั้น ยังมีการ เซ่นผีป่าโดยการฆ่าสุนัข เอาโลหิตสุนัขทามีดไม้ เอาศีรษะและ เท้าสุนัข มัดแขวน กับปีกไก ศรีษะไก่ ห้อยไว้ที่ประตูห่างจากหมู่บ้าน ราว 1 กิโลเมตร (ดูเพิ่มเติมใน บุญช่วย 2506, น.595-597)
    ผู้ประกอบพิธีทางศาสนาของม้ง คือหมอผี เชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีหน้าที่เซ่นสังเวยผีต่าง ๆ รักษาผู้ป่วย ขับไล่ผีที่มาสิงมนุษย์ อ่านลางและทำนายความฝัน ทำเครื่องรางของศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในหมู่บ้านหนึ่งอาจมีหมอผีหลายคน หรือหัวหน้าหมู่บ้านบางคนอาจเป็นหมอผีด้วยก็ได้ (ขจัดภัย 2538, น.47)
    ม้งสองกลุ่มในไทยจะแต่งกายต่างกัน ความแตกต่างในเรื่องนี้ดูได้จากเครื่องแต่งกายของหญิงม้งขาว และม้งน้ำเงิน ม้งน้ำเงิน ผู้หญิงจะสวมกระโปรงจีนพื้นสีน้ำเงินและมีลวดลายเป็นสีขาวจาง ๆ ที่ชายกระโปรงปักลวดลายสีต่าง ๆ และมีผ้าปิดข้างหน้าสีดำอยู่ข้างหน้า พวกม้งขาวจะนุ่งกางเกงสีน้ำเงิน มีผ้าปิดข้างหน้าสีน้ำเงินและดำทั้งข้างหน้าและข้างหลัง บางครั้งจะนุ่งกระโปรงเรียบ ๆ สีขาวไม่มีปัก หญิงม้งทั้งสองกลุ่มนี้จะใส่คอเสื้อปักลวดลายเหมือนกัน แต่ของม้งขาวจะใหญ่กว่าม้งน้ำเงิน ผู้หญิงม้งขาวจะใช้ผ้าโพกผมทุกวัน ม้งน้ำเงินจะเกล้าผมสูงไม่ใช้ผ้าโพกผมนอกจากมีงานฉลอง ผู้ชายม้งขาว จะมีผ้าสีขาวอยู่ปลายแขนเสื้อ สวมกางเกงสั้นกว่าม้งน้ำเงิน สวมเสื้อสั้นเปิดท้องสีน้ำเงิน ส่วนม้งลาย ผู้ชายจะสวมเสื้อยาวไม่เปิดพุง กางเกงสีดำยาวถึงตาตุ่ม (ดูบุญช่วย 2506, น.571 และขจัดภัย 2538, น.28-29)
    ระบบเศรษฐกิจ ชาวม้งทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ ผัก ฝิ่น ชาวแม้วนิยมการปลูกฝิ่นหมุนเวียนกับ การปลูกข้าวโพด ข้าวโพดจะปลูกราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยที่ ฝิ่นจะปลูกใน เดือนกันยายน - พฤศจิกายน ฝิ่นที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกจำหน่าย ไปและเก็บไว้บริโภคบางส่วน เงินสดที่ได้มาจะนำไปซื้อข้าว สิ่งของ จำเป็น เสื้อผ้า เกลือ น้ำมันก๊าด ไม้ขีดไฟ ถ่ายไฟฉาย หรือสินค้าฟุ่มเฟือย ฝิ่นบางส่วนจะใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าจากพ่อค้าเร่ เวลาว่างจากการเพาะปลูก ม้งจะเลี้ยงสัตว์ได้แก่ ไก่ หมู ม้า สุนัข(หมายุย) หรือออกไปล่าสัตว์ ดักสัตว์ เก็บของป่า เช่น หนังสัตว์ กล้วยไม้ น้ำผึ้ง หวาย เป็นต้น (ขจัดภัย 2538, น.42-45) สำหรับผู้หญิงม้งเมื่อมีเวลาว่าง จะนิยมทอผ้าจาก “ปาง” หรือต้นป่านป่า
    ด้านความเป็นอยู่ในบ้าน เวลาพวกม้งรับประทานอาหาร จะนั่งบนตั่งเตี้ย ๆ มีถาดไม้สานต่อขาสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก ใช้วางถ้วยอาหาร ใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวและหยิบอาหารอย่างชาวจีน (บุญช่วย 2506, น.592)
    หากบ้านใดมีผู้สูงอายุหรือคนเจ็บที่มีอาการเข้าขั้นตรีฑูตแล้ว บรรดาลูกหลานก็จะเรียกญาติพี่น้องให้มาช่วยกันดูแล ลูกหญิงลูกชายจะนั่งยืดขาออกเรียงเป็นแถวเป็นแนว จากนั้นลูกๆ เหล่านั้นจะอุ้มคนเจ็บใกล้ตายนั้นในลักษณะที่วางพาดไปกับตักของทุกคนส่งต่อๆ กันไปจนเมื่อสิ้นลมหายใจบนตักแล้ว ลูกของผู้ตายคนใดคนหนึ่งจะออกไปยิงปืนขึ้นฟ้า 3 นัด แล้วกลับเข้าไปประคองศพ คนในหมู่บ้านเมื่อได้ยินเสียงปืนติดๆ กัน 3 นัดก็จะรู้ทันทีว่ามีตาย ทุกคนก็จะทยอยไปที่บ้านศพ โดยทั่วไปชาวม้งจะเก็บศพไว้ถึง 4-7 วัน ไม่กำหนดตายตัว เพื่อรอให้ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลได้เดินทางมาร่วมงานได้ ชาวม้งถือว่าการตายเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ เพราะทุกคนรู้ว่าไม่มีใครหนีพ้นจากความตาย ดังนั้นหากมีงานศพทุกคนจึงมาช่วยงานกันอย่างเต็มที่ เจ้าของบ้านนั้นอยู่ในช่วงเวลาของการเศร้าโศกเสียใจ จึงมีคนมาช่วยจัดการงานศพต่างๆ แล้วแต่จะจัดหน้าที่กัน เช่น คนที่ดูแลทั่วไป คนดูแลเรื่องอาหาร คนที่มีหน้าที่ยิงปืน คนเป่าแคน คนสวดนำทางก็จะสวดเพื่อบอกให้ผู้ตายทราบว่าได้ตายไปแล้ว ควรจะเดินทางไปไหน จึงจะได้พบกับบรรพบุรุษของตน คนที่ไม่มีหน้าที่ก็จะมายืนร่ำไห้ เชื่อกันว่าถ้ามีคนมาร้องไห้ให้ผู้ตายก็จะได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ หากไม่มีใครมาร้องร่ำไห้ก็ถือว่าจะไปนรก ดังนั้นหากคนตายเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านก็จะมีคนมาร้องร่ำไห้เสียงดังระงม
    ญาติผู้ตายจะนำเหล้า 1 ถ้วยชา ไปเชิญผู้อาวุโสขอให้ไปที่บ้านศพ เมื่อผู้อาวุโสไปถึงก็จะหารือกันเพื่อหาคนจัดการพิธีศพ ต่อจากนั้น ก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกายให้ แต่งตัวให้ผู้ตายด้วยเสื้อผ้าใหม่ เมื่อแต่งศพเป็นที่เรียบร้อยก็ยกศพไปวางไว้บนแคร่ โดยจะวางไว้ใต้หิ้งบูชาสือกั้งซึ่งขนานไปกับฝาบ้านบริเวณที่แขวนหิ้งผี หันศรีษะไปทางมุมบ้านที่เป็นที่ตั้งของเตาไฟใหญ่ นำเหล้าหนึ่งจอกไปเชิญหมอผีมาทำพิธี จากนั้นจะช่วยกันหาไม้มาทำกลอง เมื่อเสร็จแล้วจะนำกลองไปวางไว้กลางบ้าน หมอผีก็จะทำพิธีเรียกวิญญาณคนตาย โดยใช้ไก่ 1 ตัว เหล้า 1 ขวด ไม้ไผ่ใช้ในการเสี่ยงทาย หมอผีจะถามคนตายด้วยการเสี่ยงทายไม้ไผ่ 2 อันโดยเอาไม้ประกบกันแล้ววางลงกับพื้น หมอผีจะฆ่าไก่เพื่อตัดเอาหัวใจมาใส่ไว้ในกระบอก หากว่าไม้ที่ใช้เสี่ยงทาย 2 อันนั้น ผลที่ทายออกมาดีก็แสดงว่าผู้ตายพร้อมที่จะกินไก่ หมอผีก็จะนำเอาหัวใจไก่มาขยำหรือยีพอประมาณไปใส่ไว้ในปากศพ พร้อมกับเหล้า 1 ถ้วย จากนั้นจึงเอาไก่ไปวางไว้ข้างๆ ศพ แล้วบอกกล่าวให้คนตายนำเอาวิญญาณไก่ให้พาไปเอารกของตน ที่ฝังไว้กลางบ้านเมื่อครั้งที่ผู้ตายเกิดมา ให้พากันไปเกิดบนสรวงสวรรค์ หมอผีก็จะเผากระดาษเงินกระดาษทอง แล้วจึงเริ่มบรรเลงเพลงลา ด้วยการเป่าแคนผสานรับกับเสียงกลอง เป็นเวลาพอสมควร จึงยกศพไปวางไว้ที่แคร่ โดยหันศรีษะไปทางทิศตะวันตก ทางซ้ายมือของประตูทางเข้าบ้านจะผูกลูกหมูไว้ด้วยเชือก วางเชือกบนมือของผู้ตาย และหมอผีจะบอกกับผู้ตายว่า “หมูตัวนี้เราให้ ขอให้รับวิญญาณนี้เป็นเพื่อนไปสู่สวรรค์” เมื่อหมอผีกล่าวเสร็จก็ใช้มีดแทงคอหมูให้ตายในทันที นำเลือดไปต้มให้สุก แล้วเอามาใส่ปากคนตาย หนึ่งช้อน
    คนที่มาร่ำไห้ต้องแสดงความรักด้วยการเตะต้องร่างผู้ตายไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอย่างไร ชาวม้งถือว่าการรังเกียจศพนี้เป็นการไม่รักกันจริง เพราะเมื่อตอนที่มีชีวิตอยู่นั้นยังถูกเนื้อต้องตัวกันได้เมื่อตายไปแล้วก็ไม่ควรรังเกียจกัน การร้องร่ำไห้ของผู้มาแสดงความเสียใจนั้นมีจังหวะเช่นกัน เช่น หมอผีเริ่มทำพิธีบอกกล่าวว่า ขณะนี้วิญญาณผู้ตายได้ล่องลอย จากพวกเราไป อย่างไม่มีวันกลับ ในช่วงจังหวะนี้เอง บรรดาลูกหลานญาติผู้ตายก็จะเริ่มส่งเสียงสะอื้นร่ำไห้ พร้อมๆ กับเสียงแคน กลองดังกระหึ่มไปทั่วขุนเขา
    ชาวม้งจะมีบทเพลงสวดศพ เรียกว่า “โคว้เก้และฮาจีซายะ” เนื้อร้องเป็นเพลงที่ชี้แนวทางผู้ตายให้ไปสู่สวรรค์ เครื่องดนตรีที่ใช้ในงานศพของชาวม้งก็คือแคน แคนและคนเป่าแคนในพิธีศพถือเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการประกอบพิธีเมื่อมีคนตายในบ้าน ชาวม้งจะห้ามเป่าเพลงแคนที่ใช้ในพิธีศพภายในบริเวณบ้าน กลองก็เป็นเครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่งที่ใช้เฉพาะเวลามีคนตาย กลองจะมีสองชนิด กลองชนิดแรกเป็นกลองที่มีประจำหมู่บ้าน เมื่อเสร็จงานพิธีศพก็จะต้องส่งกลับไปเก็บยังเจ้าของเดิม ส่วนกลองชนิดที่สองเป็นกลองที่ทำขึ้นใช้เฉพาะที่มีคนตายเท่านั้น เมื่อใช้เสร็จแล้วจะต้องทำลายทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีกลองประจำหมู่บ้านก็จะต้องทำกลองขึ้นใหม่ทุกครั้งที่มีการตายเกิดขึ้นในหมู่บ้าน และห้ามตีกลองในหมู่บ้านเพราะการตีกลองหมายถึงการมีการตายเกิดขึ้น
    ก่อนวันนำศพไปฝัง คนที่มาร่วมงานจะนำเอาเงิน เสื้อผ้า มาทำบุญด้วย เมื่อมาถึงบ้านงานก็จะยิงปืนขึ้นฟ้า 3 นัด เจ้าของบ้านก็จะออกมาต้อนรับด้วยการยิงปืนตอบรับ 4-6 นัด แต่ละคนเมื่อยิงปืนเสร็จแล้วจะเข้าไปรำพึงรำพัน พร้อมกับกล่าวว่า “ขอให้ไปดี ไม่น่าจากกันไปเลยคนดี”
    การฝังศพชาวม้งมักจะนำศพไปฝังในเวลาสามถึงสี่โมงเย็น หมอผีเป็นผู้ไปเลือกทำเลที่จะฝังไว้ก่อนแล้ว ชาวม้งเชื่อกันว่าถ้าฝังศพในตอนเช้าคนตายจะกลับมารบกวนคนทางบ้าน หากฝังตอนเย็นผู้ตายจะเดินไปตามทางของตนเหมือนตะวันที่ลาลับขอบฟ้า และควรเลือกฝังศพในวันดี เช่น #วันวัว# ซึ่งคนตายจะได้ไปเกิดเป็นคนที่มีอายุยืนห้ามนำไปฝังในวันไม่ดี เช่น วันงู วันกระต่าย วันลิง วันไก่ วันหมา เพราะหากฝังวันไก่จะทำให้คนเกิดมาเป็นคนอายุสั้น วันกระต่ายจะทำให้เป็นคนขี้เกียจ ส่วนวันหมาจะเป็นคนไม่ดี ผิดลูกผิดเมียคนอื่นและเป็นคนขี้ขโมย
    เมื่อถึงเวลาจะเคลื่อนศพ บรรดาคนที่มาร่วมงานจะมารวมกัน ลูกๆ ของผู้ตายจะเดินไปขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มาร่วมงาน เมื่อครบทุกคนแล้วจะมีคน 2 คนช่วยเข้าไปหามศพก่อน จากนั้นจึงผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เมื่อถึงยังที่หมายก็วางศพลง ขุดดินหนึ่งกำมือให้เด็กกำไว้ เผากระดาษเงินกระดาษทอง แล้วยกศพวางลงในหลุม ช่วยกันกลบดินจนเรียบร้อยก็เอาหินคนละก้อนขว้างไปที่หลุมฝังศพนั้น แล้วจึงกลับบ้านโดยจะไม่เหลียวหลังกลับมามอง เมื่อมาถึงบ้านก็เอาดินหนึ่งกำมือที่ขุดจากหลุมศพวางไว้บนหัวนอนของหัวหน้าครอบครัว ถือว่าดินนั้นเป็นของขวัญจากผู้เสียชีวิต เมื่อจัดการกับศพเรียบร้อยแล้ว ญาติจะนำข้าวปลาอาหารไปส่งให้เพียงครึ่งทาง วันรุ่งขึ้นก็ไปส่งอาหารอีกค่อนทาง จนกระทั่งวันที่สามจึงนำข้าวปลาอาหารไปถึงยังหลุมที่ฝังศพ แล้วช่วยกันหาก้อนหินมาเรียงซ้อนกันสูงประมาณ 1 ฟุต ตามความยาวของหลุม ปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณหลุมศพ พร้อมกับเอาใบไม้ทำหลังคากันแดดกันฝนแล้วล้อมรั้วป้องกันสัตว์ไม่ให้เข้ามาคุ้ยเขี่ยได้


    ผีตองเหลือง
    มลาบรี (ผีตองเหลือง) Mlabri ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) สาขาขมุ (Khmuic Branch) Synonyms: Kha Tong Luang, Ka Ku, Phi Tong Luang
    มลาบรี อาศัยอยู่ในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในอำเภอเวียงสาและอำเภอ สันติสุข จังหวัดน่าน ประชากรรวม 125 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.57) มลาบรี หรือ ผีตองเหลือง ข่าตองเหลือง ม้ากู่ ( ภาษาม้ง) ชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า คนป่า หรือ มลาบรี ไม่ชอบถูกเรียกว่า ผีตองเหลือง แต่ที่ผู้คนในที่ ี่ราบคุ้นเคยกับคำว่า ผีตองเหลือง อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อ เผชิญกับคนแปลกหน้า จะทิ้งไว้เพียงเพิงพักซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตอง เปลี่ยนจากสีเขียว จนใบตองเปลี่ยนจาก สีเขียวเป็นสีเหลืองไปแล้ว มลาบรีเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม เป็นกลุ่มชนเร่ร่อน ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง เดิมมี ีถิ่นฐานอยู่ใน เขตจังหวัดสายะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามดอยสูงในป่าทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ปัจจุบันมลาบรีอาศัย อยู่กระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขต จังหวัดแพร่และน่าน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อพยพมาจาก จังหวัดสายะบุรีของลาว เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อราวศตวรรษที่แล้ว (สุรินทร์ 2531, น.32)
    การตั้งถิ่นฐานของมลาบรี ปกติพวกนี้จะอพยพตามลักษณะภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่เป็นเวลา 5-10 วัน แล้วย้ายไปที่อื่น ที่มีอาหารเพียงพอ รูปแบบในการอพยพในลักษณะวนกลับมาที่เดิมในรัศมีประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ในแต่ละปีเมื่อถึงฤดูกาลที่ต้องเร่ร่อนเข้าป่าเพื่อตีผึ้ง ต้องอพยพไปทั้งหมู่บ้าน มลาบรี เป็น กลุ่มสังคมล่าสัตว์ (Hunting and Gathering Society) พวกเขาจะสร้างที่พักชั่วคราว มีลักษณะเป็นเพิงสร้างจากไม้ไผ่ ขนาดของเพิง จะขึ้นอยู่กับจำนวน สมาชิก แต่ละครอบครัว โดยจะสร้างส่วนท้ายบ้าน เป็นส่วนที่สูง หน้าบ้านจะลาดต่ำ เวลานอน มลาบรีจะนอนท่าตะแคงเอาหูแนบพื้น สันนิษฐานว่า ใช้ประโยชน์ในการฟังเสียงของสัตว์และคนเดินหรือศัตรู ูที่จะเข้ามา ในบริเวณที่พัก (สุรินทร์ 2531, น.34) จำนวนสมาชิกที่จะ อาศัยอยู่ใน บริเวณหนึ่ง ๆ จะมีจำนวน 2-3 ครอบครัวต่อหนึ่งพื้นที่ หรือประมาณ 10-15 คน ชาวมลาบรียึดมั่นในประเพณีของตนโดยจะไม่ยอมรับแบบแผนในการเป็นผู้ผลิตทำการเกษตร เพราะเชื่อว่าผิดผี
    มลาบรีเป็นนักล่าสัตว์ ขั้นตอนในการหาอาหารแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
    1. ขุดมันและเก็บผลไม้ มักจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิง พืชที่กินเป็นอาหาร ได้แก่ มันขาว มันลาย มันเหลือง มันจาก มันกอก ลูกต๋าว หน่อไม้ และผลไม้ต่างๆ 2. เก็บน้ำผึ้ง 3. ล่าสัตว์ เครื่องมือล่าสัตว์ได้แก่ หอกและมีด สัตว์ที่ล่าด้วยหอก ได้แก่ หมูป่า เก้ง เม่น ชะมด ช้างป่า ลิง เป็นต้น สัตว์ที่ล่าโดยการใช้เสียมขุด ได้แก่ ตุ่น อ้น ตะกวด แลน งูสิง เป็นต้น สัตว์ที่ล่าโดยปีนต้นไม้ ได้แก่ ผึ้ง แมลงต่าง ๆ ไข่นก ลูกนก เป็นต้น สัตว์ที่จับจากแม่น้ำ ได้แก่ เต่า ปลา ปู หอย เป็นต้น
    มลาบรีไม่ค่อยมีพิธีเกี่ยวกับการแต่งงาน ฝ่ายชายจะไปขอฝ่ายหญิงโดยไม่มีการเรียกร้องสินสอด ข้อห้ามทางเพศของมลาบรี คือ ห้ามมีความสัมพันธ์ทางเพศกับ บุคคลที่สืบสายเลือดเดียวกัน (สุรินทร์ 2531, น.81) หรือระหว่างบุตรที่เกิดจากพี่น้องของพ่อหรือแม่ ห้ามมี ีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงาน และนอกเหนือการแต่งงาน มลาบรีถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (Monogamy) ภายหลังการแต่งงาน สามีภรรยาจะแยก ครอบครัวไปตั้งครอบครัวใหม่ หน้าที่ของสามีได้แก่ ล่าสัตว์ หาอาหาร สานตระกร้า เสื่อ ตีเหล็ก ส่วนภรรยาทำหน้าที่ขุด เผือกมัน ถักย่าม ตัดฟืน ตักน้ำ หุงหาอาหาร และดูแลบุตร (สุรินทร์ 2531, น.85)
    มลาบรีนับถือวิญญาณและผี เช่น ผีป่า ผีภูเขา ผีแม่น้ำ เป็นต้น มลาบรีจะมีพิธีเซ่นผี โดยใช้ไม้ 3-4 ท่อน สร้างเป็นห้างแล้วนำดอกไม้มา ประดับ เครื่องเซ่นผี ได้แก่ เนื้อหมู ม้าม หัวใจ ตับหมู แล้วมีการสวดเชิญวิญญาณผีหลวงต่าง ๆ มารับเครื่องเซ่น (สุรินทร์ 2528, น.51) เมื่อมีคนตาย เนื่องจาก สัตว์ทำลาย มลาบรีจะนำศพไปวางไว้บนแคร่ซึ่งสร้างไว้บนต้นไม้ ้ถ้าตายปกติจะนำศพไปฝังในหลุมลึกประมาณ 1 เมตร แล้วใช้ ้เสื่อที่ผู้
    1. ขุดมันและเก็บผลไม้ มักจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิง พืชที่กินเป็นอาหาร ได้แก่ มันขาว มันลาย มันเหลือง มันจาก มันกอก ลูกต๋าว หน่อไม้ และผลไม้ต่างๆ 2. เก็บน้ำผึ้ง 3. ล่าสัตว์ เครื่องมือล่าสัตว์ได้แก่ หอกและมีด สัตว์ที่ล่าด้วยหอก ได้แก่ หมูป่า เก้ง เม่น ชะมด ช้างป่า ลิง เป็นต้น สัตว์ที่ล่าโดยการใช้เสียมขุด ได้แก่ ตุ่น อ้น ตะกวด แลน งูสิง เป็นต้น สัตว์ที่ล่าโดยปีนต้นไม้ ได้แก่ ผึ้ง แมลงต่าง ๆ ไข่นก ลูกนก เป็นต้น สัตว์ที่จับจากแม่น้ำ ได้แก่ เต่า ปลา ปู หอย เป็นต้น
    มลาบรีไม่ค่อยมีพิธีเกี่ยวกับการแต่งงาน ฝ่ายชายจะไปขอฝ่ายหญิงโดยไม่มีการเรียกร้องสินสอด ข้อห้ามทางเพศของมลาบรี คือ ห้ามมีความสัมพันธ์ทางเพศกับ บุคคลที่สืบสายเลือดเดียวกัน (สุรินทร์ 2531, น.81) หรือระหว่างบุตรที่เกิดจากพี่น้องของพ่อหรือแม่ ห้ามมี ีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงาน และนอกเหนือการแต่งงาน มลาบรีถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (Monogamy) ภายหลังการแต่งงาน สามีภรรยาจะแยก ครอบครัวไปตั้งครอบครัวใหม่ หน้าที่ของสามีได้แก่ ล่าสัตว์ หาอาหาร สานตระกร้า เสื่อ ตีเหล็ก ส่วนภรรยาทำหน้าที่ขุด เผือกมัน ถักย่าม ตัดฟืน ตักน้ำ หุงหาอาหาร และดูแลบุตร (สุรินทร์ 2531, น.85)
    มลาบรีนับถือวิญญาณและผี เช่น ผีป่า ผีภูเขา ผีแม่น้ำ เป็นต้น มลาบรีจะมีพิธีเซ่นผี โดยใช้ไม้ 3-4 ท่อน สร้างเป็นห้างแล้วนำดอกไม้มา ประดับ เครื่องเซ่นผี ได้แก่ เนื้อหมู ม้าม หัวใจ ตับหมู แล้วมีการสวดเชิญวิญญาณผีหลวงต่าง ๆ มารับเครื่องเซ่น (สุรินทร์ 2528, น.51) เมื่อมีคนตาย เนื่องจาก สัตว์ทำลาย มลาบรีจะนำศพไปวางไว้บนแคร่ซึ่งสร้างไว้บนต้นไม้ ้ถ้าตายปกติจะนำศพไปฝังในหลุมลึกประมาณ 1 เมตร แล้วใช้ ้เสื่อที่ผู้


    มอญ
    มอญ (รเม็ง ตะเลง รามัญ เปกวน) Mon ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) Synonyms : Mon, Mun, Pequan, Talaing, Taleng
    ชาวมอญพบในประเทศพม่าและไทย พม่าเรียกชนชาติมอญว่า ตะเลง ใน สมัยโบราณตะวันตกเรียกมอญว่า เปกวน (paguan) ชื่อเรียกของชาวมอญ อีกชื่อหนึ่งคือ รามัญ มาจากชื่อเรียกประเทศของมอญว่า “รามัญญเทส” หรือรามัญประเทศ (สุจริตลักษณ์ 2538, น.1) มอญตั้งหลักแหล่งอยู่ในพม่าตอนล่าง ตามบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ที่เมืองสะเทิม ทวันเททะละ และหงสาวดี
    การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย มีบันทึกเป็นทางการครั้งแรก ใน พ.ศ.2127 หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง อาจมีการอพยพก่อนหน้านี้เป็นครั้งคราวแต่ไม่มีการบันทึกไว้ (สุจริตลักษณ์ 2538, น.3) การอพยพครั้งสำคัญมีดังนี้
    1. สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2112-2133)
    2. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148)
    3. สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)
    4. สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301)
    5. สมัยกรุงธนบุรี
    6. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (สุจริตลักษณ์ 2538, น.4-7)
    สาเหตุของการอพยพส่วนใหญ่เนื่องมาจากได้รับการข่มเหงทางการเมือง การปกครอง เมื่อเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า เมืองมอญจะเป็นทางผ่านกองทัพ มอญจะถูกเกณฑ์แรงงานไปร่วมรบกับพม่าในสงคราม มอญที่อพยพมาตั้งหลักแหล่ง ในประเทศไทยเข้ามาในฐานะเชลยศึก หลบหนีจากกองทัพพม่าหรือลี้ภัยทางการเมือง เส้นทางที่ชาวมอญใช้ในการอพยพมี 3 ทาง คือ ทางเหนือเข้ามาทางเมืองตาก หรือระแหง ทางด่านแม่ละเมา ทางใต้เข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้ามาทางอุทัยธานี (สุจริตลักษณ์ 2538, น.9)
    บริเวณที่เป็นถิ่นฐานของชาวมอญในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ริมแม่น้ำ เช่น แม่น้ำแม่กลอง บริเวณอำเภอบ้านโป่ง โพธาราม ราชบุรี และกาญจนบุรี แม่น้ำท่าจีน บริเวณพระประแดง (ปากลัด) แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนนทบุรี ปทุมธานี แม่น้ำมหาชัย สมุทรสาคร นอกจากนั้น ยังพบชาวมอญอยู่กระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครปฐม เพชรบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ และปราจีนบุรี
    มอญมีภาษาพูดและเขียนเป็นของตัวเอง ภาษาเขียนของมอญได้อิทธิพลจากอักษรอินเดียใต้ ภาษามอญที่ใช้พูดกันในประเทศไทย ได้อิทธิพลจากภาษาไทยมาก ศาสนาของชาวมอญคือ พุทธศาสนานิกายหินยาน นอกจากนั้นชาวมอญยังเชื่อและนับถือผีด้วย อาชีพของชาวมอญคือ การทำนา การทำสวนผลไม้ ชาวมอญมีความชำนาญในการทำอุตสาหกรรมในครัว เรือน เช่น ตุ่ม หม้อ ไห โอ่ง และการทำอิฐ


    มูเซอ
    ลาหู่ ู (มูเซอ) Lahu ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman)
    สาขาพม่า-โลโล (Burmese-Lolo) Synonyms : Lohei, Muhso, Musso, Mussuh มูเซอ อาศัยอยู่ใน 7 จังหวัด 30 อำเภอ 446 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 15,388 หลังคาเรือน ประชากรรวม 85,845 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.44)
    มูเซอมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศทิเบต เมื่อถูกชาวจีนรุกรานก็ค่อยๆถอยร่นลงมาทางใต้ ในศตวรรษที่ 17 และ 18 พวก มูเซอได้ตั้งอาณาจักรอิสระของตนเองบริเวณเขตแดนพม่า-จีน มีหัวหน้าปกครองกันเอง เมื่อ พ.ศ. 2423-2433 มูเซอถูกจีน รุกรานอีก จึงอพยพลงมาทางใต้ บางพวกเข้าไปอาศัยในลาว รัฐฉาน และประเทศไทย ปัจจุบันมูเซอในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา
    มูเซอมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศทิเบต เมื่อถูกชาวจีนรุกรานก็ค่อยๆถอยร่นลงมาทางใต้ ในศตวรรษที่ 17 และ 18 พวก มูเซอได้ตั้งอาณาจักรอิสระของตนเองบริเวณเขตแดนพม่า-จีน มีหัวหน้าปกครองกันเอง เมื่อ พ.ศ. 2423-2433 มูเซอถูกจีน รุกรานอีก จึงอพยพลงมาทางใต้ บางพวกเข้าไปอาศัยในลาว รัฐฉาน และประเทศไทย ปัจจุบันมูเซอในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา
    1. มูเซอแดง (Lahu Nyi) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพวกมูเซอด้วยกัน เรียกตัวเองว่า ลาฮูยะ (Lahu-ya) ผู้หญิงมูเซอแดง มีแถบผ้าสีแดงเย็บบนผ้าสีดำ ผ้านุ่งมีลายสีขาว สีเหลือง น้ำเงิน เสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อสั้นเปิดเห็นพุง ผ่าอก กลาง ติดแถบผ้าสีแดง ขอบคอใช้กระดุมเงิน ผู้ชายตัดผมสั้น เสื้อสีดำผ่าอกกลางมีกระดุมโลหะเงินประดับที่แขนเสื้อ ข้างหน้าและ ข้างหลัง เวลาเดินทางมีหน้าไม้กับดาบติดตัวไปด้วยเสมอ (บุญช่วย 2506, น.301-302)
    2. มูเซอดำ (Lahu Na) มีจำนวนเป็นที่สองรองจากมูเซอแดง เรียกตัวเองว่า ลาฮูนะ (Lahu Na) คนไทยภาคเหนือและ ไทยใหญ่เรียก มูเซอดำ เพราะนิยมแต่งกายด้วยผ้าสีดำ ผู้ชายสวมเสื้อดำแขนยาว ผ่าอกกลางสั้นแค่บั้นเอว กางเกงจีน สีดำหลวมๆยาวลงไปแค่หัวเข่า มีผ้าสีดำทำเป็นสนับแข็งติดขอบสีขาวตอนล่าง โพกศีรษะด้วยผ้าดำ ผู้หญิงสวมเสื้อดำ แขนยาว ตัวเสื้อยาวลงมาครึ่งน่อง นุ่งกางเกง ผ่าอกกลาง เย็บผ้าสีขาวไว้ข้างต้นคอหน้าลงมาถึงใต้หัวไหล่ โพกศีรษะ ด้วยผ้าดำยาว ใส่สนับแข้งสีดำ
    3. มูเซอซิ (Lahu Shi) มีจำนวนน้อยที่สุด คนไทยเรียก มูเซอกุย (Mussuh Kwi) หรือมูเซอเหลือง มี 2 เชื้อสายคือ เชื้อสาย บาเกียว (Ba Kio) และบาลาน (Ba Lan) ผู้หญิงแต่งกาย 2 แบบ คือ ในเวลาปกติสวมเสื้อดำหรือขาว ติดแถบสีแดง นุ่งผ้า ซิ่นสีดำติดแถบผ้าสีขาวทั้งข้างบนและล่าง โพกผ้าสีดำและขาว อีกแบบหนึ่งแต่งกายคล้ายลีซอ ผู้ชาย เดิมนิยมโกนผม เว้นไว้หย่อมเดียวตรงกลาง แล้วผูกปลายผมด้วยเส้นด้าย หรือถักเปีย โพกศีรษะด้วยผ้าสีดำ สีขาว สวมเสื้อสีดำผ่าอก กลางมีกระดุมโลหะเงิน กางเกงแบบจีนหลวมๆสีฟ้า
    4. มูเซอเชเล (Lahu Shehleh) มีจำนวนเป็นอันดับสามรองจากมูเซอดำ เรียกตัวเองว่า ลาฮูนาเมี้ยว (Lahu Na-Muey) พวกมูเซอแดงเรียกพวกนี้ว่ามูเซอเชเล ผู้หญิงสวมเสื้อดำยาวลงมาถึงข้อเท้า ผ่าอกข้างประดับโลหะเงินหลายแถว พาดไขว้ลงมาถึงใต้รักแร้ ริมผ้ามีสีเหลือง ขาว แดง แขนเสื้อหลวมๆ โพกศีรษะผ้าดำ มีห่วงคอและกำไล ส่วนผู้ชาย แต่งกายเหมือนชาวเขาเผ่าอื่น (ดู บุญช่วย 2506, น.375)
    ถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมูเซอ ตั้งอยู่บนที่ราบสันเขาสูงกว่า 4,000 ฟุตขึ้นไป และมักห่างไกลจากแหล่งน้ำ บ้านเรือนของ ชาวมูเซอปลูกยกพื้นใต้ถุนสูง ใต้ถุนใช้เก็บฟืน ตั้งครกตำข้าว เสาไม้เนื้อแข็ง พื้นฟาก ฝาฟาก หลังคามุงด้วยคาหรือใบก้อ นิยม มุงทับกันหนาแน่น เช่น หลังคายุโรป เพราะทำให้อบอุ่นในฤดูหนาว ตัวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นชานนอกชาย คาปูด้วยไม้ฟาก มีบันไดเป็นท่อนยาวพาดจากพื้นดินขึ้นไปสู่บ้าน ตอนหลังเป็นห้องสี่เหลี่ยม กว้าง 3-4 เมตร มีฝาสานรอบทุก ด้านสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ล้วนไม่มีเพดาน กลางห้องมีเตาไฟ สำหรับทำอาหาร รอบๆเตาไฟเป็นที่นอน (ขจัดภัย 2538, น.86-87)
    ชาวมูเซอ มีหัวหน้าหลายระดับซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวไทยใหญ่ (ขจัดภัย 2538, น.89) แบ่งได้ดังนี้ 1) พญา 2) พ่อหมื่น(เสียงสูง) 3) เสือ 4) พ่อหมื่น (เสียงต่ำ) ตำแหน่งเหล่านี้บางส่วนเป็นการเลือกมา บางส่วนเป็นมรดกตกทอด นอกจากนั้นยังมี สภาหมู่บ้านประกอบด้วย หัวหน้าหมู่บ้าน ผู้ช่วย (ถ้ามี) ผู้อาวุโส และพ่อครู หรือพระประจำหมู่บ้าน บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ พ่อครู หรือปู่จอง ทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องสำคัญ หัวหน้าหมู่บ้านต้องฟังความคิดเห็นของพ่อครูเป็นหลัก (ขจัดภัย 2538, น.90)
    หมู่บ้านมูเซอ
    ครอบครัวของชาวมูเซอประกอบด้วย หัวหน้าครอบครัว ภรรยาและลูก หลายครอบครัวรวมกันเป็นครัวเรือน (household) ่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีผีประจำครัวเรือนของตน ชายหญิงมูเซอ เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายชาย ต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง เพื่อช่วยทำงานให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง
    สำหรับมูเซอแดงอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี จากนั้นจึงแยกครอบครัวไปต่างหาก ส่วนมูเซอดำไม่มีกำหนด มูเซอถือว่าสามี ของลูกสาวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงยกย่องลูกสาวมากกว่าลูกชาย การหย่าร้างมีอยู่เสมอในสังคมมูเซอ ทั้งสองฝ่ายจะแบ่ง สมบัติเท่ากัน ถ้าฝ่ายหญิงไม่ยอมเลิก สมบัติจะตกเป็นของฝ่ายหญิงและชายจะเสียเงินให้ผู้หญิง (ขจัดภัย 2538, น.91-92 และบุญช่วย 2506, น.283)
    ถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมูเซอ ตั้งอยู่บนที่ราบสันเขาสูงกว่า 4,000 ฟุตขึ้นไป และมักห่างไกลจากแหล่งน้ำ บ้านเรือนของ ชาวมูเซอปลูกยกพื้นใต้ถุนสูง ใต้ถุนใช้เก็บฟืน ตั้งครกตำข้าว เสาไม้เนื้อแข็ง พื้นฟาก ฝาฟาก หลังคามุงด้วยคาหรือใบก้อ นิยม มุงทับกันหนาแน่น เช่น หลังคายุโรป เพราะทำให้อบอุ่นในฤดูหนาว ตัวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นชานนอกชาย คาปูด้วยไม้ฟาก มีบันไดเป็นท่อนยาวพาดจากพื้นดินขึ้นไปสู่บ้าน ตอนหลังเป็นห้องสี่เหลี่ยม กว้าง 3-4 เมตร มีฝาสานรอบทุก ด้านสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ล้วนไม่มีเพดาน กลางห้องมีเตาไฟ สำหรับทำอาหาร รอบๆเตาไฟเป็นที่นอน (ขจัดภัย 2538, น.86-87)
    ชาวมูเซอ มีหัวหน้าหลายระดับซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวไทยใหญ่ (ขจัดภัย 2538, น.89) แบ่งได้ดังนี้ 1) พญา 2) พ่อหมื่น(เสียงสูง) 3) เสือ 4) พ่อหมื่น (เสียงต่ำ) ตำแหน่งเหล่านี้บางส่วนเป็นการเลือกมา บางส่วนเป็นมรดกตกทอด นอกจากนั้นยังมี สภาหมู่บ้านประกอบด้วย หัวหน้าหมู่บ้าน ผู้ช่วย (ถ้ามี) ผู้อาวุโส และพ่อครู หรือพระประจำหมู่บ้าน บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ พ่อครู หรือปู่จอง ทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องสำคัญ หัวหน้าหมู่บ้านต้องฟังความคิดเห็นของพ่อครูเป็นหลัก (ขจัดภัย 2538, น.90)
    ครอบครัวของชาวมูเซอประกอบด้วย หัวหน้าครอบครัว ภรรยาและลูก หลายครอบครัวรวมกันเป็นครัวเรือน (household) ่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีผีประจำครัวเรือนของตน ชายหญิงมูเซอ เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายชาย ต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง เพื่อช่วยทำงานให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง
    สำหรับมูเซอแดงอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี จากนั้นจึงแยกครอบครัวไปต่างหาก ส่วนมูเซอดำไม่มีกำหนด มูเซอถือว่าสามี ของลูกสาวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงยกย่องลูกสาวมากกว่าลูกชาย การหย่าร้างมีอยู่เสมอในสังคมมูเซอ ทั้งสองฝ่ายจะแบ่ง สมบัติเท่ากัน ถ้าฝ่ายหญิงไม่ยอมเลิก สมบัติจะตกเป็นของฝ่ายหญิงและชายจะเสียเงินให้ผู้หญิง (ขจัดภัย 2538, น.91-92 และบุญช่วย 2506, น.283)
    พวกมูเซอนับถือผี ได้แก่ ผีฟ้า(งือซา) เปรียบเสมือนพระเจ้า เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งดีงามในโลก ผีฟ้าที่มีอิทธิพลที่สุด คือ อาชาฟูคู (ขจัดภัย 2538, น.94) ตัวแทนของผีฟ้าที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน คือ มอกนะตูปู หรือพ่อครูใหญ่ หรือปู่จองหลวง ผีเรือน ทำหน้าที่คุ้มครองภัยให้คนในบ้านเรือน เป็นผีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับ และผีหมู่บ้าน ทำหน้าที่คุ้มครองหมู่บ้าน มีศาลปลูกอยู่ด้านหนึ่งของหมู่บ้าน ชาวมูเซอจะมีพ่อครู เป็นหัวหน้าใหญ่ในการทำพิธีกรรมของหมู่บ้าน มูเซอเรียกพ่อครูว่า ตูบูปา และมีผู้ช่วย คือ ซาลาปา จะทำหน้าที่แทนเมื่อพ่อครูไม่อยู่หรือป่วย นอกจากนั้นยังมีผู้ดูแลวัด เรียก ลาซอปา และผู้ดูแล ในการทำพิธีของชาวบ้าน เรียก อาจา (ขจัดภัย 2538, น.95) อย่างไรก็ตาม มีชาวมูเซอบางส่วนหันมานับถือศาสนาคริสต์ จาก การสำรวจปี ค.ศ.1931 พบว่า มีชาวมูเซอคริสต์ในประเทศไทยจำนวน 200 คน (Lebar and others 1964, p.32)
    ระบบเศรษฐกิจของมูเซอ พึ่งพาการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำไร่เลื่อนลอย โดยใช้เวลาไร่ละ 3 ปี จากนั้นจะย้ายไป หาแหล่งอื่นใหม่ พืชที่ปลูก ได้แก่ แตง ฟักทอง ถั่ว ข้าวฟ่าง แตงกวา กล้วย ฝิ่น และพริกไทย สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ ไก่ และ หมู บางหมู่บ้านอาจมีม้าไว้บรรทุกของ มูเซอมีความชำนาญในการล่าสัตว์มาก ผู้ที่ล่าสัตว์เก่งจะได้รับการยกย่อง (ขจัดภัย 2538, น.93) หรือรู้จักในนาม Supreme Hunter (Lebar and others 1964, p.31) ชาวมูเซอติดต่อค้าขายกับคนพื้นราบ สินค้าที่มูเซอต้อง การได้แก่ เกลือ ข้าว ผ้า เหล็ก ไฟฉาย ยารักษาโรค เป็นต้น สินค้าที่ชาวมูเซอนำมาขาย ได้แก่ พริก ฝิ่น เนื้อสัตว์ตากแห้ง ของป่า เป็นต้น

    cont.................>>>>

  10. #10
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ............>>>>

    เย้า
    เมี่ยน (เย้า) Mien (Yao) ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน (Hmong-Mien Language Family) Synonyms : Man, Mien, Yu Mien
    เย้าอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 44 อำเภอ 195 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 9,501 หลังคาเรือน ประชากรรวม 48,357 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.37)
    ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทาง ตะวันออก ของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย (ขจัดภัย 2538, น.48) ชาวเมี่ยนที่ ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยาและน่านรวมทั้งในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
    ภาษาเมี่ยนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาม้งมากกว่าภาษาชาวเขาอื่นๆ ภาษาเขียน เมี่ยนได้รับอิทธิพลจากจีนมาก เป็นคำเดียวโดดๆ ไม่มี ีภาษาเขียนเป็นของตนเอง (ขจัดภัย 2538, น.50) เมี่ยนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือหรือคำเมืองพอรู้เรื่องบางคนพูดภาษาไทยกลางได้ คนที่มีอายุพูดภาษาจีนกลางและจีนฮ่อได้ (ขจัดภัย 2538, น.50) ผู้ชายชาวเมี่ยนมีคำนำหน้าว่า “เลา” ส่วนผู้หญิงมีคำนำหน้าว่า “อ่ำ” บุตรชายคนแรกเรียก ต่อนโห หรือ ต่อนเก๊า ลูกสาวคนแรกเรียก อ่ำม๋วย (บุญช่วย 2506, น.438)
    พวกเมี่ยนนิยมตั้งหมู่บ้านบนไหล่เขา บริเวณต้นน้ำลำธาร สูงประมาณ 3,000-3,500 ฟุต ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหมู่บ้านม้งและลีซอ หมู่บ้านเมี่ยนมักมีขนาดเล็กประมาณ 15 หลังคาเรือน มีการโยกย้ายหมู่บ้านบ่อย ๆ ในช่วงเวลา 10-15 ปี แต่บางแห่งตั้งอยู่อย่างถาวร
    ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจากลำธารมาใช้ภายในหมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้ เรียบ กั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้อง ๆ หน้าบ้านมี ีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง” (ขจัดภัย 2538, น.53) เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน
    เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือก มาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้า ต้องมีความรู้ความสามารถ จะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่าง ๆ และติดต่อกับทางราชการ (ขจัดภัย 2538, น.56)
    ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของ ความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่ง บุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ (ขจัดภัย 2538, น.61)
    ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจากลำธารมาใช้ภายในหมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้ เรียบ กั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้อง ๆ หน้าบ้านมี ีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง” (ขจัดภัย 2538, น.53) เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน
    เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือก มาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้า ต้องมีความรู้ความสามารถ จะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่าง ๆ และติดต่อกับทางราชการ (ขจัดภัย 2538, น.56)
    ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของ ความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่ง บุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ (ขจัดภัย 2538, น.61)
    ชาวเมี่ยนมีอิสระเสรีในการเลือกคู่ครอง โดยไม่มีการบังคับกัน เมี่ยนมีประเพณีเที่ยวสาว ซึ่งชาวเมี่ยนได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ การเที่ยว สาวนั้นไม่ได้มีเพียงการพูดจาเกี้ยวพาราสีเท่านั้น แต่เมื่อหญิงสาวชาวเมี่ยนพอใจหนุ่มคนใดเป็นพิเศษ ก็อาจจะร่วมหลับนอนกับชายคนนั้นได้ภาย ในห้องนอนของตนเอง (ขจัดภัย 2538, น.61) การแต่งงานของเมี่ยนมี 2 แบบคือ การแต่งงานเล็ก และการแต่งงานใหญ่ การแต่งงานเล็กกระทำที่บ้านผู้หญิง ส่วนการแต่งงานใหญ่จัดที่บ้านผู้ชาย มีการกินเลี้ยง 3 วัน 3 คืน ชาวเมี่ยนไม่นิยมแต่งงานกับคนแซ่เดียวกัน และไม่ห้ามการมีภรรยาหลายคน โดยถือหลักว่า ถ้ามีภรรยาคนเดียวไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เพียงพอ ก็ต้องหาภรรยาน้อยเพื่อมาช่วยทำงาน ครอบครัวเมี่ยนมักไม่ค่อยมีการหย่า ร้าง ถ้าผู้หญิงมีชู้ ชายชู้ต้องเสียค่าปรับให้สามีเก่า การมีชู้เป็นเรื่องน่าอับอายสำหรับเมี่ยน (ขจัดภัย 2538, น.63)
    ผู้ชายชาวเมี่ยนมีศักดิ์เหนือกว่าสตรีและเด็กในครอบครัว เวลากินอาหาร จะจัดให้ผู้ชายก่อน สตรีและเด็กจะมากินทีหลัง ภรรยาต้องเคารพสามี ตื่นก่อนนอนทีหลัง (พอลและลูวิส 2528, น.151)
    ชาวเมี่ยนทำมาหากินโดยการทำไร่เลื่อนลอย พืชหลักที่ปลูกได้แก่ ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง พริก ฝ้าย มันเทศ เป็นต้น ไร่ข้าวของเมี่ยนจะไม่ ่มีต้นไม้ใหญ่เหมือนพวกกะเหรี่ยง ไร่ข้าวจะอยู่รอบหมู่บ้านในรัศมีเดินไม่เกินสองชั่วโมง ฤดูปลูกข้าว เริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ข้าวที่เกี่ยวและนวดแล้วจะเก็บไว้ในยุ้งในไร่ ไม่นิยมนำกลับมาบ้าน นอกจากเพาะปลูกแล้ว ชาวเมี่ยนยังเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า หมูและไก่ ม้าใช้สำหรับขี่ ี่เดินทางหรือต่างของ หมูและไก่เลี้ยงไว้เพื่อเซ่นสังเวยผีในพิธีกรรม (ขจัดภัย 2538, น.59) ชาวเมี่ยนยังมีฝีมือในการทำเครื่องประดับเครื่องเงิน เย็บปักถักร้อย ทำมีด จอบ ขวาน เคียว เป็นต้น
    เมี่ยนเชื่อว่า เงินเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จทั้งในโลกมนุษย์และโลกของวิญญาณ กล่าวคือ ชาวเมี่ยนเชื่อว่าในขณะที่มี ชีวิตในโลกมนุษย์ ถ้าหากได้จ่ายเงินเพื่อทำบุญอย่างเพียงพอแล้ว เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะได้รับการเคารพนับถือจากดวงวิญญาณทั้งหลาย และอาศัยอยู่ในโลก วิญญาณอย่างมีความสุข (ขจัดภัย 2538, น.64) ผู้ที่ได้รับการนับถือในสังคมเมี่ยนต้องมี ลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ มีฐานะการเงินดี มีความเฉลียวฉลาด และมีความเมตตากรุณา
    เมี่ยนมีการนับถือผี พวกเขาเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งนั้น เช่น ผีภูเขา ผีต้นไม้ ผีบ้าน ผีป่า ผีมี 2 พวกคือ ผีดีและผีร้าย ผีดี ได้แก่ ผีบนสวรรค์หรือท้องฟ้า ผีร้ายอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่า ตามแอ่งน้ำ ลำธาร นอกจากนั้นเย้ายังนับถือผีอีกพวกหนึ่งซึ่งมีความสำคัญสูงสุด คือ ผีใหญ่หรือ “จุ๊ซัง เมี้ยน” มี 18 ตนด้วยกัน มีอำนาจลดหลั่นกันเป็นลำดับ ผีที่มีอำนาจสูงสุดมี 3 ตนด้วยกัน คือ สามด๋าวหรือฟามชิ้ง (ขจัดภัย 2538, น.65) หมอผีของชาวเมี่ยนเรียกว่า“ซิมเมี้ยนเมียน” ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และรักษาโรค ชาวเมี่ยนเชื่อว่าร่างกายคนมีขวัญทั้งหมด 11 ขวัญ ขวัญเหล่านี้ชอบออกไปจากร่างกายเมื่อเจ็บป่วย ได้รับอันตราย หรือตกอกตกใจ แล้วผีร้ายจะเข้ามาสิงสู่แทน หมอผีจะเป็นผู้ประกอบพิธีเรียกขวัญ และเชิญผีครู ผีบรรพบุรุษ และผีสามด๋าว มาช่วยในการเรียกขวัญด้วย (ขจัดภัย 2538, น.66 และบุญช่วย 2506, น.472-473)
    การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกงด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำ อกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น (ขจัดภัย 2538, น.55) อาวุธของเมี่ยนได้แก่ ปืนคาบศิลา ทำเอง ใช้คันร่มเป็นลำกล้องปืน (บุญช่วย 2506, น.445)


    ลาว
    ลาว Laotian ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Langauge Family) Synonyms : Phou LaoLaotian Ta
    อาศัยอยู่บริเวณที่ราบหุบเขาแม่น้ำโขง คนลาวในประเทศลาวและลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีความสัมพันธ์ กันมาช้านาน หมู่บ้านชาวลาวจะตั้งอยู่ติดแม่น้ำ แวดล้อมด้วยสวนมะพร้าว และนาข้าว ตัวบ้านสร้างจากไม้ไผ่ ยกพื้นสูง มีบันได อยู่ด้านหน้า บนเรือนจะกั้นเป็นห้องนอน และพื้นที่ทำงาน ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือทำนาทำไร และใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนยุ้งข้าวจะปลูกอยู่ห่างจาก ตัวเรือนออกไป
    คนลาวประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชที่ปลูกคือข้าวเหนียว อ้อย ถั่ว ยาสูบ ข้าวโพด ฝ้าย พริกไท มะเขือเทศ มะม่วง มะละกอ สับปะรด เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ไก่ เป็ด หมู นอกจากนั้นยังมีการจับปลาเป็นอาหาร ชาวลาวยังทำอุตสาหกรรมใน ครัวเรือน เช่น ปั้นหม้อ สานตะกร้า ทอผ้า เป็นต้น ผู้หญิงลาวจะมีหน้าที่ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ตำข้าว เตรียมอาหาร ทำครัว เพาะปลูกเก็บเกี่ยว ส่วนผู้ชายจะทำงานหว่านไถนา ชาวลาวมีการนับถือญาติทั้งสองฝ่าย เมื่อชายหญิงแต่งงานแล้ว จะอาศัยอยู่บ้านฝ่ายหญิงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะย้ายออก ไปตั้งครัวเรือนใหม่ (neolocality) ลูกสาวมักจะได้รับมรดกที่ดินและบ้านจากพ่อแม่และมักจะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนหลังจาก แต่งงาน (Lebars and others 1964, p.217-218)
    ชาวลาวนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศาสนาพราหมณ์ซึ่งปรากฏในพิธีกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้านลาวจะมีวัดเป็นศูนย์กลาง ในการประกอบพิธีกรรม วัดยังเป็นโรงเรียนสอนหนังสือให้เด็ก ๆ เด็กชายจะมีความใกล้ชิดกับวัด เพราะใช้เป็นสถานที่เรียน บวชเณร และอุปสมบทตามลำดับ นอกจากนั้นชาวลาวยังมีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ เช่นผีในต้นไม้ แม่น้ำ ในบ้าน
    ในไร่นา ผีประจำหมู่บ้าน และผีบรรพบุรุษ จะมีพิธีเซ่นไหว้ผีเป็นประจำ ในฤดูเก็บเกี่ยวหรือเพาะปลูกข้าว เวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ชาวลาวเชื่อว่ามีสาเหตุจากผีและ ขวัญออกจากร่าง ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบพิธีรักษาโรค และเรียกขวัญ เช่นพระสงฆ์ นอกจากนั้น ยังเชื่อเรื่องผีปอบ ซึ่งเป็นคนที่ถูกวิญญาณ ชั่วร้ายเข้าสิง และสามารถทำร้ายผู้อื่นได้ (Lebar and others 1964, p.220)


    ลาวครั่ง
    กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง (LAO KHRANG) ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family) Synonym : ลาวคั่ง ลาวภูคัง ลาวขี้ครั่ง ลาวเต่าเหลือง ลาวด่าน
    นักภาษาศาสตร์จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ จากการสำรวจข้อมูลของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการแผนที่ภาษา พบว่ามีผู้ที่ใช้ภาษาลาวครั่งในภาคเหนือคิดเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ใช้ภาษาลาวครั่งในภาคกลางคิดเป็น 0.3 เปอร์เซ็นต์
    ประวัติความเป็นมาของชาวลาวครั่ง
    ในปี พ.ศ. 2371 รัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ปราบศึกเจ้าอนุวงศ์ ได้มีกลุ่มคนลาวที่ถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ตามหัวเมืองน้อยใหญ่ ชาวลาวครั่งก็เป็นกลุ่มคนลาวที่ถูกกวาดต้อนมาในครั้งนั้น ที่มาของชื่อเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ชนัญ (2532: 12) กล่าวถึงที่มาของชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ในบรรดากลุ่มเชลยที่ถูกกวาดต้อนมานั้นได้มีกลุ่มคนลาวที่มาจากแถบ “ภูคัง” ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมปะปนมาด้วย เนื่องจากได้อพยพมาจากถิ่นดังกล่าว จึงทำให้คนทั่วไปเรียกคนลาวกลุ่มนี้ว่า “ลาวภูคัง” ต่อมามีการเรียกชื่อผิดเพี้ยนกันไปจากเดิมมากมายหลายชื่อ เช่น “ลาวขี้ครั่ง” “ลาวครั่ง” บางครั่งเรียก “ลาวเต่าเหลือง” เพราะนิสัยของลาวพวกนี้ชอบอยู่เป็นอิสระตามป่าเขาเหมือนกับเต่าภูเขาชนิดหนึ่งที่มีกระดองสีเหลือง ซึ่งมีความอดทนต่อสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ในบางครั้งมีการเรียกชื่อ ลาวครั่ง ตามชื่อตำบลหรือท้องถิ่นที่อยู่ เช่น พวกที่อยู่ใน อ. ด่านซ้าย จ. เลย ถูกเรียกว่า “ลาวด่าน” กลุ่มที่อยู่ใน อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ เรียกว่า “ลาวโนนปอแดง” และ ”ลาวหนองเหมือด” หรือบางคนก็นำคำลงท้ายประโยคที่ชาวลาวครั่งมักจะใช้กันคือคำว่า “ก๊ะล่ะ” มาเรียกเป็นชื่อกลุ่มโดยจะเรียกว่า “ ลาวก๊ะล่ะ” บ้างก็เรียกกันเล่นๆ ว่า “ลาวล่อก๊อ” สิริวัฒน์ (2529:47) อ้างคำบอกเล่าของนักวิชาการท้องถิ่นที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาของชาวลาวครั่ง ไว้ว่า ชาวลาวครั่งนี้เดิมเคยอยู่ที่ภูฆัง ซึ่งอาจจะมีรูปร่างคล้ายระฆังก็เป็นได้ อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบาง จากนั้นชาวลาวกลุ่มนี้จึงได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย
    ชาวลาวครั่งมีการเคลื่อนย้ายบ้านเรือนกันอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งเข้าสู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล ได้มีชาวลาวครั่งตั้งหลักแหล่งถาวรในเขตอำเภอจรเข้สามพัน มีชุมชนชาวลาวครั่งอยู่ 3 ชุมชนใหญ่ๆ คือ บ้านสระพังลาน บ้านใหม่คลองตัน และบ้านหนองตาสาม มีชาวลาวครั่งกลุ่มหนึ่งกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของนายกองแดงได้พาญาติพี่น้องมาจากทุ่งสัมพะบด อ.หันคา และลาวครั่งในท้องที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านหนองโคก อ.สระกระโจม จ. สุพรรณบุรี (คนึงนุช, 2537 : 38) นอกจากนี้กลุ่มชาวลาวครั่งยังได้อพยพเคลื่อนย้ายครอบครัวไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น กลุ่มลาวจากบ้านเก่าคำเวียง (ขามเรียง, คำเดือน) ในเขต อ.พนมทวน จ. กาญจนบุรี และลาวครั่งใน อ.สองพี่น้อง ก็อพยพโยกย้ายไปบุกเบิกที่ทำกินใหม่ ในเขตพื้นที่บ้านทุ่งตาเปรี้ยว อ.พรหมพิราม และ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก บ้านเกาะน้อยตะวันออก อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย บ้านโค้งวิไล อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร อ. บรรณพตพิสัย จ. นครสวรรค์ อ.วัดสิงห์ จ. ชัยนาท อ. บ้านไร่ อ. ทัพทัน จ.อุทัยธานี บ้านลำไม้เสา บ้านโกแย้ บ้านหนองปลาไหล บ้านโกสูง บ้านทุ่งมะกรูด บ้านทุ่งไม้หลง บ้านลำเหย บ้านเสืออีด่าง บ้านรวงมุก อ. กำแพงแสน และบ้านโพรงมะเดื่อ อ. เมือง จ. นครปฐม
    ครอบครัวและเครือญาติ
    ครอบครัวชาวลาวครั่งมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ตามประเพณีดั้งเดิมเมื่อแต่งงานแล้ว ฝ่ายชายจะย้ายไปอยู่เรือนของฝ่ายหญิงเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อฐานะดีขึ้นก็จะแยกครอบครัวออกมาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ชาวลาวครั่งให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของเครือญาติอย่างเน้นเฟ้น เมื่อมีประเพณีพิธีกรรมที่สำคัญ สมาชิกในครอบครัวจะมาร่วมและช่วยงานกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน บวชนาค โกนจุก งานทำบุญสารทลาว(ขึ้น 15ค่ำ เดือน10)
    การแต่งงาน
    ในพิธีแต่งงานของชาวลาวครั่งจะต้องทำพิธีบูชาผีเทวดา โดยใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงิน 4 บาท ข้าวต้มมัดไม่มีไส้ กล้วย เกลือ มะพร้าว เทียน ข้าวสุกโรยน้ำตาล ดอกไม้ และเหล้าอีก 1 ขวด ด้วยระบบความเชื่อเรื่องผีเจ้านายและผีเทวดาของชาวลาวครั่ง จึงมีข้อห้ามและบทลงโทษสำหรับหญิงชายที่ได้เสียกันก่อนแต่ง โดยจะต้องทำพิธีเสียผีที่บ้านของฝ่ายหญิง ซึ่งจะมีการเซ่นไหว้ผีเจ้านายด้วยโดยใช้ เหล้า 8 ไห ไก่ 8 ตัว นำไปฆ่าที่ศาลเจ่านายให้เลือดไก่หยดลงบนแท่นบูชาเจ้านาย เมื่อหญิงชายคู่ใดที่ตกลงจะอยู่กินกันฉันสามีภรรยา จะต้องได้รับการอนุญาตจากญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นจะหาฤกษ์งามยามดีซึ่งชาวลาวครั่งเรียกว่า หักไม้ใส่ยาม เพื่อดู วันฟูจม
    ประเพณีการแต่งงานของลาวครั่ง แต่เดิมจะมีการสู่ขวัญคู่บ่าวสาว โดยจะมีหมอมาทำพิธี มักทำกันในตอนเย็นวันสุกดิบ ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะทำพิธีสู่ขวัญน้อยที่บ้านของตน บางรายก็อาจจะมาสู่ขวัญน้อยรวมกันที่บ้านของเจ้าสาว ในวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีสู่ขวัญใหญ่ที่บ้านเจ้าสาว หมอขวัญจะเป็นผู้ที่คอยสั่งสอนอบรมคู่บ่าวสาวให้รู้จักการครองเรือนตลอดจนการประพฤติตนในฐานะของเขยและสะใภ้ เมื่อถึงวันงานฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดพานขวัญแห่ไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาวซึ่งประกอบด้วย บายศรีพร้อมของหวานและเหล้า 1 ขวด ฝ่ายเจ้าสาวก็จะเตรียมพานขวัญนี้ไว้เช่นเดียวกัน เมื่อได้ฤกษ์แล้วก็จะยกขบวนพานขวัญ โดยจะใช้ไม้กำพัน ซึ่งเป็นไม้สำหรับกรอด้าย ใช้หาบพานขวัญแทนไม้คาน เพราะเป็นเคล็ดว่าคู่บ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกันเสมือนด้ายที่อยู่ในไม้กรอดังกล่าว ผู้ที่ทำหน้าที่หาบพานขวัญต้องเป็นคนโสดเหมือนกับเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เมื่อถึงเรือนเจ้าสาวจะเป็นคนล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งจะมีที่พักเท้าเจ้าบ่าวเป็นหินลับมีดแล้วนำใบตองมาปูทับไว้อีกที เมื่อผ่านประตูเงินประตูทองแล้วจะพาคู่บ่าวสาวไปพักไว้ที่ห้องหอ จะมีผู้ที่คอยต้อนรับเจ้าบ่าวและพาไปยังห้องหอ ซึ่งคนๆ นี้จะต้องเป็นเคยที่ยังไม่มีครอบครัว จะเป็นหม้ายไม่ได้เพราะจะห้ามไม่ให้หม้ายเข้ามาถูกเนื้อต้องตัวคู่บ่าวสาวโดยเด็ดขาด เพราะเกรงว่าจะเป็นลางให้คู่สมรสเป็นหม้ายได้ ชาวลาวครั่งเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามการส่งตัวเข้าหออย่างเคร่งครัด เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้ว สะใภ้จะเป็นผู้นำเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือว่าที่นอนมุ้งหมอนไปกราบพ่อแม่ของสามี
    พิธีกรรมความเชื่อ
    ชาวลาวครั่งมีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ 2 ฝ่าย คือ ผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือผีนี้มีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมากในแง่ของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ (วรณัย 88 : 2538)
    หากจะมีงานพิธีใดที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต ชาวลาวครั่งจะทำการบอกกล่าวผีของต้นให้ทราบ ในการติดต่อกับวิญญาณตลอดจนพิธีกรรมการเลี้ยงผีต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของ “คนต้น” หากเป็นผีฝ่ายเทวดา ซึ่งตำแหน่ง “คนต้น” นี้จะเป็นตำแหน่งที่สืบทอดทางสายโลหิต ส่วนผู้ที่ติดต่อกับวิญญาณของผีฝ่ายเจ้านายคือ “กวน” ชาวบ้านจะให้ความเคารพนับถือ “คนต้น” และ “กวน” เป็นอันมาก
    ชาวลาวครั่งจะทำพิธีแปลงผีแปลงเรือน ทุกครั้งเมื่อจะทำงานใดๆ ก็ตาม โดยจะไปแจ้งให้กวนหรือคนต้น เพื่อจะได้ไปบอกกล่าวให้ผีได้รู้ว่าจะมีงาน และเครื่องเซ่นไหว้ก็จะแตกต่างกันไป เช่น หากเป็นงานแต่งงาน เครื่องเซ่นไหว้ผีเทวดาได้แก่ ผ้าขาว 1 ผืน เงิน 1 บาท ข้าวต้มมัดไม่ใส่กล้วยไม่ใส่เกลือ มะพร้าว เทียน ข้าวสุกโรยน้ำตาล ดอกไม้ เหล้า 1 ขวด หากเป็นศาลผีเจ้านาย เมื่อมีการทำผิดผีขึ้นโดยการหนีตามกันไปจะต้องนำเหล้า 8 ไห ไก่ 8 ตัว มาแปลงผี เพื่อเป็นการขอขมา โดยจะนำไก่มาฆ่าที่หน้าศาลผีเจ้านาย ให้เลือดไก่หยดไปบนแท่นบูชา เมื่อมีบุคคลภายนอกเข้ามาค้างแรมที่บ้านของชาวลาวครั่ง เจ้าของบ้านจะทำการบอกกล่าวผีของตน หากเป็นสามีภรรยากันจะนอนด้วยกันในบ้านของชาวลาวครั่งไม่ได้ ถือว่าเป็นการผิดผี เชื่อกันว่าผีอาจลงโทษเจ้าของบ้านทำให้คนในบ้านล้มป่วยได้
    ชาวลาวครั่งจะมีประเพณีเลี้ยงผีประจำปีในราวอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน 7 เป็นประจำทุกปี ฝ่ายผีเจ้านายจะทำพิธีเลี้ยงผีก่อน หลังจากนั้นก็จะเป็นการเลี้ยงผีเทวดา ศาลของผีแต่ละฝ่ายนั้นจะตั้งอยู่ในป่าละเมาะใกล้ๆ หมู่บ้าน กวนและคนต้นจะเป็นผู้กำหนดเวลาในการจัดงาน การเลี้ยงผีประจำปีนอกจากจะเป็นการเซ่นไหว้ประจำปีเพื่อเป็นการสำนึกและขอขมาลาโทษในสิ่งที่ได้ทำไว้แล้ว ครอบครัวที่เพิ่งจะแต่งงานไปนั้นยังถือเอาโอกาสนี้เป็นการบอกกล่าวให้ผีได้รู้ว่าครอบครัวของตนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมา เพราะชายชาวลาวครั่งทุกคนจะมีแบบแผนการปฏิบัติต่อกันมาว่าชายชาวลาวครั่งจะต้องขึ้นผีบรรพบุรุษทุกคน ไม่ว่าจะทำการใดๆ ก็จะต้องแจ้งให้ผีได้รู้ทุกครั้ง เมื่อทำพิธีเลี้ยงผีเสร็จแล้วก็จะนำอาหารที่เหลือมาเลี้ยงกันเองในหมู่คนที่มาร่วมงาน
    พิธีเลี้ยงผี ของชาวลาวครั่ง หมู่ 3 บ้านโคก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ชาวลาวครั่งที่บ้านโคกนี้เป็นกลุ่มที่ขยับขยายมาจากชุมชนบ้านท่าม้าและชุมชนบ้านใหญ่ ซึ่งบริเวณนี้เป็นเนินเขาขนาดใหญ่ มีสัตว์ป่าชุกชุม โดยเฉพาะกระต่าย ชาวบ้านจึงเรียก โคกขี้กระต่าย และได้เข้ามาทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ โดยทำเพิงหรือห้างอยู่ชั่วคราว เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จก็จะนำข้าวกลับไปนวดที่บ้านใหญ่ ต่อมาเมื่อเห็นว่าการเดินทางไปมาไม่สะดวกจึงได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโคกกระต่าย เนื่องจากสามารถหาอาหารได้ทั้งปี และยังหาของป่าล่าสัตว์และปลูกพืชผักได้ นานวันมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านสั้นๆ ว่า บ้านโคก
    ชาวลาวครั่งที่บ้านโคกนี้เป็นชุมชนชาวนา ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่นลาวครั่งถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะบ้านเรือน เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง พื้นที่ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือในการทำการเกษตร และวางแคร่ไว้เป็นที่นั่งเล่นนอนเล่น บางครอบครัวก็จะมีกี่ไว้ทอผ้า บนบ้านเป็นห้องโถงใหญ่ กั้นห้องนอนเพียงห้องเดียว บริเวณบ้านมีคอกวัวคอกควาย การตั้งบ้านเรือนของชาวลาวครั่งนี้ส่วนใหญ่ญาติพี่น้องจะปลูกบ้านใกล้กัน จะไม่มีรั้วกั้นอาณาเขต สามารถเดินเข้าออกบ้านแต่ละหลังได้อย่างสะดวก ภายในหมู่บ้านโคกจะประกอบไปด้วยกลุ่มบ้าน คือ บ้านเหนือ บ้านกลาง และบ้านใต้ โดยมีถนนเข้าหมู่บ้านในแต่ละสายแบ่งกลุ่มบ้านดังกล่าว ชาวบ้านโคกนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านจะไปทำบุญที่บ้านหนองตาสาม ซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านมากที่สุด ส่วนการถือผีทั้งผีเทวดาและผีเจ้านายนั้นชาวบ้านยังคงให้ความสำคัญในการเซ่นไหว้ผีอย่างเหนี่ยวแน่น โดยจะสร้างศาลผีไว้ที่ป่าละเมาะห่างจากหมูบ้านไปอีก 1 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการไหว้ผีทุกๆ ปีซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
    ชาวบ้านโคกเชื่อว่าผีเทวดานั้นเป็นวิญญาณของเทวดาที่คอยคุ้มครองรักษาบ้านเมืองของตนมาตั้งแต่ครั้งที่อยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ส่วนผีเจ้านายเป็นผีของกษัตริย์ที่เคยปกครองพวกตนมาที่เมืองหลวงพระบาง แต่ก็มีชาวบ้านบางคนที่บอกว่าผีเจ้านายเป็นวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย ในวันที่ 8 เดือน 7 ของทุกปี ชาวบ้านจะจัดงานเลี้ยงผีเป็นประจำทุกปี และในการจัดงานเลี้ยงผีนี้มีข้อห้ามอยู่ว่าไม่ให้ตรงกับวันต้องห้ามคือ วันพระ วันพุธและวันเสาร์ ซึ่งชาวลาวครั่งที่บ้านโคกนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็จะกลับมาร่วมในพิธีเลี้ยงผีดังกล่าว
    ในการติดต่อกับวิญญาณของผีทั้งสองประเภทนี้จะต้องผ่านบุคคล 3 คน คือ
    1. คนต้นหรือกวน ทำหน้าที่ติดต่อกับผีเจ้านายและผีเทวดา
    2. พ่อออก คือผู้ช่วยคนต้นหรือกวน ทำหน้าที่นำสิ่งของที่คนต้นหรือกวนได้ทำพิธีกล่าวมอบแล้วนำไปวางที่ศาลเจ้าทุกศาล
    3. คนทรง หรือร่างทรง เป็นบุคคลที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ชาวบ้านเชื่อกันว่าผีเจ้านายได้เลือกไว้แล้ว
    ชาวลาวครั่งจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีกันตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 8 เดือน 7 (มิถุนายน) โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ พิธีมอบ พิธีไหว้ และพิธีบริจาค
    พิธีมอบกวนจะเป็นผู้ทำพิธีมอบหรือบูชาตรงหน้าหมู่ศาลทั้ง 7 ศาลที่ชาวบ้านนับถือ ศาลที่บ้านโคกนี้ ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อขุนหาร โดยนำสิ่งของที่จัดเตรียมไหว้ดังนี้คือ เสื้อผ้า(ผ้าขาวม้าและเสื้อ) ,ใบมะยม 1 กิ่ง ,ใบพลู 1 ใบ ,เปลือกไม้เสี้ยวนาง ,ธูป 1 ดอก ,เหล้า 2 ไห ,ไก่ (ที่ยังมีชีวิต) อย่างน้อย 1 ตัว ,หมู (ที่ยังมีชีวิต) อย่างน้อย 1 ตัว
    การนำเอาไก่และหมูที่ยังไม่ตายมาเซ่นไหว้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตของพี่น้องชาวลาวครั่งทั้งหลายให้ปลอดภัยของเซ่นทั้งหมดจะนำมารวมกัน โดยจะวางใบมะยม ใบพลู เปลือกไม้เสี้ยวนาง ธูป ไว้บนเสื้อและผ้าขาวม้า จัดใส่ภาชนะ 7 ถาด เหล้า 2 ไหพร้อมหลอดดูดทำจากไม้ไผ่ นำไปวางรวมกันที่โต๊ะบูชา ส่วนไก่จะถูกมัดขาไว้ หากมีหลายตัวก็มัดรวมกัน ส่วนหมูก็จะถูกมัดขาทั้ง 4 ไว้ แล้วนำไปวางไว้ตรงหน้าโต๊ะบูชา กวนหรือคนต้นจะทำพิธีมอบสิ่งของต่อผีเจ้านาย เมื่อกวนได้ทำพิธีมอบแล้ว พ่อออกที่เป็นผู้ช่วยกวนจะนำสิ่งของที่จัดใส่ภาชนะไว้ 7 ถาดนั้นไปวางที่ศาลเจ้าทุกศาล แล้วสั่งให้คนเอาไม้ตีหัวไก่และหัวหมู เพื่อให้เลือดหยดลงบนแท่นบูชา แล้วนำไปฆ่าเพื่อนำเนื้อมาไหว้อีกครั้งหนึ่ง
    พิธีไหว้ชาวบ้านจะมาช่วยกันจัดสิ่งของที่เตรียมไว้เซ่นไหว้ เช่น ไก่ หมู ที่ได้ทำพิธีมอบไปแล้วและอาหารหวานคาวอื่นๆ ตามที่ผีเจ้านายได้แจ้งให้ทราบไว้เมื่อปีก่อนว่า ผีเจ้าจะต้องการเครื่องเซ่นไหว้คาวหวานอะไรบ้างในปีต่อไป สิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือผลไม้ซึ่งจัดตามฤดูกาล ซึ่งชาวบ้านก็จะนำอาหารคาวหวานมาสมทบกันมากมาย เมื่อทำพิธีไหว้เสร็จก็จะมีการเชิญผีเจ้ามาประทับร่างทรงที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่ว่าร่างทรงนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ร่างทรงนั้นจะดีดตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจว่าจะมีอะไรขวางอยู่ข้างหน้า จากนั้นจะเดินรอบศาลเจ้าหนึ่งรอบจึงจะมานั่งที่หน้าศาลใหญ่กลางหมู่ศาลทั้ง 7 ศาล และเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวลาวครั่งที่มีความเดือดร้อน หรือต้องการให้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยเข้าไปขอให้ประพรมน้ำมนต์ และร่างทรงจะเดินประพรมน้ำมนต์ให้พี่น้องชาวลาวครั่งโดยทั่วถึง จากนั้นจะเป็นการบอกกล่าว ซึ่งเรียกว่า “กะปี” เป็นการบอกกล่าวให้ทราบว่าในปีต่อไปจะจัดงานเมื่อใด เนื่องจากบางปี วันที่ 8 เดือน 7 จะไปตรงกับวันต้องห้ามซึ่งจะไม่จัดงานพิธีกัน และนอกจากนั้นจะบอกด้วยว่าในปีต่อไป ผีเจ้าต้องการเครื่องเซ่นไหว้อะไรบ้าง
    พิธีบริจาคพิธีบริจาคนี้เป็นการนำอาหารหวานคาว รวมทั้งผลไม้ที่ชาวบ้านได้นำมาเซ่นไหว้ผีเจ้าทั้งหมด มารับประทานร่วมกันในตอนเย็น และแบ่งสรรกันเพื่อนำไปฝากผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงาน
    อาชีพชาวลาวครั่งมีอาชีพทำการเกษตรกรรม โดยปีหนึ่งจะทำนาข้าว 2 ครั้ง ปัจจุบันน้ำอุดมสมบูรณ์จึงทำได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีการทำสวนผัก เช่น ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ขึ้นฉ่าย ผักชี ต้อนหอม ฯลฯ และเลี้ยงสัตว์จำพวกวัวและหมู มีชาวลาวครั่งบางส่วนที่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย
    ผ้าทอลาวครั่งชาวลาวครั่งผูกพันกับการทอมาช้านาน มีความหลากหลายในเรื่องลวดลายและเทคนิควิธีการทอ เพราะมีทั้งฝ้ายและไหมที่เป็นองค์ประกอบของการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่ ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวลาวครั่งก็คือผ้าซิ่นมัดหมี่ต่อตีนจก ผ้าซิ่นชนิดนี้ตัวตีนซิ่นจกทอด้วยเส้นไหมซึ่งผ่านการมัดให้เป็นลวดลายแล้วทอสลับกับการขิดซึ่งเป็นลายเส้นตั้ง จากนั้นต่อด้วยตีนจกซึ่งทอด้วยฝ้าย ส่วนใหญ่นิยมทำพื้นเป็นสีแดง และทำลวดลายทรงเรขาคณิตซึ่งจะไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ผ้าซิ่นตีนจกแดงนี้บางครั้งก็มีการทอตัวซิ่นเป็นผ้าไหมมัดหมี่ล้วนไม่สลับกับขิดก็ได้ ส่วนซิ่นอีกประเภทหนึ่งคือ ซิ่นดอกดาว ซิ่นดอกดาวนี้นิยมทอสีพื้นด้วยสีเข้มแล้วจกลายสี่เหลี่ยมเล็กๆ ด้วยโทนสีที่อ่อนเข้มสองถึงสามสี เป็นการลอกเลียนแบบท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยดวงดาวระยิยระยับอยู่เต็มท้องฟ้า
    นอกจากผ้าซิ่นแล้ว ชาวลาวครั่งยังนิยมทอผ้าห่ม ซึ่งมักทอเป็นผืนใหญ่มีลายท้องฟ้า และลายเชิงชาย มักจะใช้สีที่ตัดกันมีสีอื่นแซมประปราย ผ้าม่านทอเป็นลวดลายรูปสัตว์ต่างๆ แต่เดิมนั้นเป็นของที่ชาวลาวครั่งทอมาถวายวัด ปัจจุบันชาวลาวครั่งทอผ้าม่านเพื่อขายซึ่งจะทอเมื่อมีผู้สั่งเท่านั้น
    การทอผ้าในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด โดยอาจจะมีการทอเป็นที่รองจาน ผ้าคลุมเตียง หรือผ้าตัดเสื้อแล้วแต่จะมีคนมาว่าจ้างให้ทำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลวดลายเรขาคณิตและรูปสัตว์
    ลวดลายที่ใช้ในการทอของชาวลาวครั่งบ้านทับผึ้งน้อย ต.วังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ได้แก่ ลายสร้อย ลายนกน้อย ลายโคกคร้อ ลายอ้อแอ้ โดยจะใช้ทอ ผ้าซิ่น ผ้าห่อ หมอนสามเหลี่ยม หมอนหน้าอิฐ ผ้าซิ่นดอกดาว ตีนซิ่นเป็นตีนจก ตัวซิ่นจกลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเล็กๆ ส่วนที่บ้านทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี จะมีการทอผ้าเหมือนที่บ้านทับผึ้งน้อยแต่มีการทอผ้าม่านเพิ่มเข้ามา
    รายชื่อหมู่บ้านที่ชาวลาวครั่งได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
    สุพรรณบุรี อำเภอ อู่ทอง-สระพังลาน – บ้านหนองตาสาม บ้านโคก บ้านท่าม้า หมู่ 1,6,7,10
    สองพี่น้อง –ศรีสำราญ -หมู่ 8
    ด่านช้าง – วังดัน – บ้านวังดัน บ้านหนองอีเงิน บ้านทัพผึ้งน้อย บ้านดงรัง บ้านทุ่งกว้าง บ้านทับละคร
    ห้วยขมิ้น - บ้านวังกุ่ม บ้านชัฏหนองยาว บ้านนกจาน บ้านทุ่ง บ้านพุบ่อง บ้านแฝก บ้านป่าชี บ้านกกเต็น บ้านตาด บ้านหนองพลับ
    หนองมะค่าโมง - บ้านหนองแกสามหนอง บ้านสระบัวกำ บ้านเขานางงาม บ้านน้ำโจน บ้านป่าสัก
    ด่านช้าง -บ้านด่านช้าง บ้านทับกระดาษ บ้านพุน้ำร้อน บ้านหนองปลากระดี่ บ้านดอนประดู่ บ้านพุหวาย
    บ้านหนองผือ บ้านวังหน่อไม้ บ้านวังน้ำเขียว
    นครปฐม อำเภอ ดอนตูม ตำบล ลำเหย - บ้านทุ่งสี่หลง บ้านภูมิ บ้านนิคม บ้านรางมูก บ้านใหม่ บ้านป่าแก บ้านลำเหย
    บางหลวง – บ้านหลวง บ้านฝั่งคลอง บ้านหนองกระพี้
    ห้วยด้วย - บ้านดอนแกะแระ บ้านห้วยด้วน บ้านทุ่งผักกูด บ้านกงลาด
    ดอนรวก - บ้านสวนใหม่ บ้านดอนรวก บ้านห้วยกรด บ้านสระสี่เหลี่ยม
    ชัยนาท อำเภอ หันคา ตำบลสุขเดือนห้า - หมู่ 13เรียก ภาษาของตนว่าลาวคั่ง (กันทิมา, 2531:5)
    อุทัยธานี อำเภอ ทัพทัน – บ้านโคกหม้อ


    ลาวแง้ว
    ลาวแง้ว ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai Language Family)
    การแต่งกายของลาวแง้ว ผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน หากอยู่บ้านจะใช้ผ้าขาวม้าคาดอกแบบตะเบงมาน แต่ถ้าไปวัดหรืองานจะใช้ผ้าคาด อกแล้วมีผ้าอีกผืนทำสไบเฉียง หญิงโสดนิยมใส่กำไลขา 2 ข้าง กำไลนี้จะถอดออกเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ยัง เจาะหูใส่ต่างห ู 2 ข้าง ส่วนผู้ชายเวลาไปวัดหรืองาน จะนุ่งโจงกระเบน ถ้าอยู่บ้านจะนุ่งกางเกงขาก๊วยใส่เสื้อคอกลมที่ตัดจาก ผ้าที่ทอเอง และนิยมเจาะหู 1ข้าง แต่เดิมผู้ชายชาวแง้วนิยมสักตามตัว ทั้งหน้าอก แขนและขา เพราะเชื่อว่าตัวจะอยู่ยังคงกระพันเป็นเครื่องหมายของการเป็นผู้มีคาถาอาคม ปัจจุบันความเชื่อนี้ลดน้อยลง (จารุวรรณ มปป., น.20)
    บ้านของลาวแง้วเป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูงขนาดคนเดินรอดได้ สาเหตุที่ใต้ถุนสูงเพราะเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมบ้าน ลาวแง้วจะไม่ ่พิถีพิถัน นิยมเรียบง่าย พื้นบ้านปูด้วยกระดานแผ่นใหญ่เรียงต่อกันมีช่องมองเห็นใต้ถุนบ้านได้ ฝาบ้านนิยมใช้ฟาก มาตีแปะไว้ บางบ้านใช้ ้ไม้กระดาน หลังคามุงด้วยสังกะสี รูปทรงบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบ้านกั้นห้องไว้ห้องหนึ่ง เพื่อเป็นห้องนอนหรือเก็บของมีค่า นอกนั้นเป็นพื้นที่โล่งใช้เป็นที่สารพัดประโยชน์ บ้านจะปลูกกันเป็นกลุ่ม ๆ ในเครือญาติ อาชีพหลักของลาวแง้ว คือการทำนา ทั้งนาดำและนาหว่าน อาชีพรองลงมาคือ การทำไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว นอกจากนั้นยัง ทำสวนมะม่วง มะพร้าว กล้วย ปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงเป็ด ไก่ และหมู เมื่อว่างจากการทำงาน ผู้ชายมักจะหา ปลาตามหนองน้ำ ทำให้เกิด อาชีพการทำปลาร้า โดยนำปลาตัวเล็ก ๆ มาล้างมักใส่เกลือทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลาก็ขายให้พ่อค้า ส่วนอุตสาหกรรมในครัวเรือนของชาวแง้ว คือ การทอผ้า เย็บที่นอน ทำมุ้ง หมอน และผ้าขาวม้า ศาสนาของลาวแง้วคือพุทธศาสนา ชาวแง้วจะทำบุญในวันพระและในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น ทำบุญเทศน์มหาชาติ นอกจากนั้น ลาวแง้วยังมีความเชื่อเรื่อง “คุณพระ” หมายถึง สิ่งที่นับถือเคารพบูชา เชื่อว่าสามารถคุ้มครองและช่วยรักษาโรค ภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ คุณพระอาจจะเป็นรากไม้ที่นำมาใส่หิ้งพระ เมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 12 ลาวแง้วจะมีพิธีไหว้ครูเพื่อ บูชาคุณพระ (จารุวรรณ มปป., น.47) เมื่อทำ พิธีไหว้เสร็จแล้วจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยมีผู้อาวุโสเป็นผู้นำด้ายผูกแขนให้ศีล ให้พร นอกจากนั้น ลาวแง้วยังเชื่อเรื่องผี เช่น การเลี้ยง ผีทุ่งผีนา ถ้าปีใดไม่ได้เลี้ยงผีทุ่งผีนา จะทำนาได้ข้าวน้อย การเลี้ยงผีทุ่ง ผีนาทำปีละ 2 ครั้ง ความเชื่อเรื่องผีเรือน และเชื่อเรื่องผีปอบ ถ้าในหมู่บ้านมีคนตายโดยไม่รู้สาเหตุ ชาวบ้านมักเชื่อว่าตายเพราะ ผีปอบ โดยที่คนจะเป็นผีปอบ คือ คน ๆ นั้นนับถือคุณไสย แล้วทำพิธี เซ่นไหว้ผิดจากที่เคยเป็น (จารุวรรณ มปป., น.49) อาหารของลาวแง้ว คือข้าวเจ้า นานครั้งจะรับประทานข้าวเหนียว กับข้าวได้แก่ ลาบ ก้อย ปลาร้า น้ำพริก ปลาสด แกงส้ม เป็นต้น ลาวแง้วนิยมรับประทานอาหารที่ใส่ปลาร้าทั้งดิบและสุกเป็นประจำ

    cont....................>>>>

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •