สมัยสุโขทัย

สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัย
สภาพสังคมไทยก่อนสมัยสุโขทัยและสมัยสุโขทัยเป็นสังคมแบบครอบครัวและเครือญาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย โดยมีลักษณะรวมกลุ่มเพื่อช่วยตัวเองในหมู่เครือญาติและอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่ส่วนลักษณะสังคมและการปกครองเป็นแบบพ่อบ้านและลูกบ้าน หรือพ่อขุนกับลูกขุน ขนาดชุมชนเป็นเพียงหมู่บ้านแล้วพัฒนาเป็นเมืองขยายเป็นแคว้นในที่สุด เช่น แคว้นสุโขทัย ละโว้ หริภุญชัย เชียงแสน เชียงใหม่สถานะของคนไทยในสังคมไม่มีการแบ่งชนชั้น แต่ในปลายสมัยสุโขทัยตรงกับกษัตริย์พญาลิไทเริ่มมีการแบ่งชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง หรือชุมชนผู้ปกครองกับชนชั้นใต้ปกครอง ทำให้สังคมการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเสื่อมลงกลายเป็นระบบนายกับบ่าว และหัวหน้าสังคมในฐานะพ่อบ้านเริ่มพัฒนาไปเป็นพระมหากษัตริย์
วัฒนธรรมไทยในช่วงนี้จะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเดิมและวัฒนธรรมของมอญ อินเดียและจีน ได้แก่
วัฒนธรรมสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร และพิษณุโลก มีลักษณะเด่นได้รับการยกย่องเป็นยุคทองของศิลปะไทย แบ่งเป็นงานศิลปะได้ดังนี้
สถาปัตยกรรม
ประติมากรรม
วรรณกรรม


สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม นิยมสร้างเจดีย์ 3 แบบ คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงลังกา เจดีย์ทรงเรือธาตุ

ประติมากรรม
ประติมากรรม ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปสำริด มีพุทธลักษณะงดงามมาก พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระวรกายอวบอ้วน พระนาสิกโด่ง รัศมีเป็นเปลวเพลิง นิยมสร้างปางลีลา มารวิชัย พระพุทธรูปสำคัญสมัยนี้คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศากยะมุนี การทำเครื่องเคลือบ " สังคโลก"
วรรณกรรม
วรรณกรรม ที่สำคัญคือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 และหลักที่ 2 และหนังสือไตรภูมิพระร่วง