กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    เกาทัณฑ์ ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์

    ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์


    อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)

    ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้
    อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
    ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ

    นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้

    ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
    พักพาคูหาบรรณ- พตร่วมฤดีโลม ฯ


    เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่

    เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง


    นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี

    ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์


    เรื่องอิเหนาเป็นพงศาวดารของชวาประมาณ ๑,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว

    ในพงศาวดารเรียกว่า " อิเหนา ปันหยี กรัตปาดี " แต่ชาวชวาเรียกเป็นคำสามัญว่า ปันหยี

    ส่วนคำว่าอิเหนา ชวาออกเสียงเป็น อินู ในพงศาวดารกล่าวว่า กษัตริย์ไอรลังคะ ครองเมืองดาฮา (ดาหา)

    พระองค์มีพระธิดา ๑ องค์ พระโอรส ๒ องค์ ต่อมาพระธิดาออกบวช กษัตริย์ไอรลังคะ แยกอาณาจักรออกเป็นสองแคว้น

    คือ กุเรปันและดาหา เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์โอรสองค์โตครองกุเรปัน องค์เล็กครองดาหา

    กษัตริย์กุเรปัน มีพระโอรสชื่ออิเหนา กษัตริย์ดาหา มีพระธิดาชื่อบุษบา พระธิดาที่บวชเป็นชีได้ให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน

    ทั้งสองเมืองจึงรวมกันอีกครั้ง

    อิเหนาเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ได้ปราบปรามบ้านเมืองน้อยใหญ่อยู่ในอำนาจจึงได้ชื่อว่า

    " มหาราชองค์หนึ่งของชวา " และกษัตริย์ราชววงศ์อิเหนาได้ครองราชย์สืบมา จนถึงประมาณ

    พ.ศ. ๑๗๖๔ จึงเสื่อมอำนาจ กษัตริย์อังรกะแย่งราชสมบัติได้ และย้ายเมืองไปตั้งทีเมืองสิงคัสซารี (สิงหัดส่าหรี)

    ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยุ่ที่เมืองมัชปาหิตจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๐๐๐ ชวาก็ตกอยู่ในอำนาจของอินเดีย และตกอยุ่ในอำนาจของโปรตุเกส

    และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ จนกระทั่งเป็นอิสระภาพในปัจจุบัน

    สำหรับชาวชวา อิเหนาถือว่าเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

    ที่แตกต่างไปจากพงศาดารมาก

    ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์

    การที่เรื่องอิเหนาเข้ามาสู่ประเทศไทยกล่าวกันว่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์มีพระราชธิดากับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ๒ องค์

    คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าทั้งสององค์มีนางกำนัลเป็นหญิงชาวมลายูที่ได้มาแต่เมืองปัตตานี

    นางกำนัลผู้นี้เป็นผู้เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ต่อมาทั้งสองพระองค์จึงนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครองค์ละเรื่อง

    บทละครของเจ้าฟ้ากุณฆลชื่อว่าดาหลัง ส่วนของเจ้าฟ้ามงกุฎให้ชื่อว่าอิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุณฑลว่า

    อิเหนาใหญ่ ของเจ้าฟ้ามงกุฎเรียกว่าอิเหนาเล็ก พระเจ้าอยุ่หัวบรมโกศโปรดให้เล่นเป็นละครในทั้งสองเรื่อง แต่คนทั่วไปนิยมเรื่องอิเหนาเล็กมากกว่า

    เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง (พ.ศ ๒๓๑๐) ต้นฉบับบทละครเรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนา

    ซึ่งเรื่องเดิมแต่งไว้ถึงตอนสึกชีสูญหายไป เมื่อกอบกู้เอกราชได้ ไทยต้องฟื้นฟูบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งรวบรวมวรรณคดีเก่าๆ แล้วเรียบเรียงของเก่าขึ้นมาใหม่

    ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์


    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหม่ทั้งหมด

    เพื่อนเป็นบทละครรำ ทรงพิถีพิถันเลือกสรรถ้อยคำให้เหมาะแก่ท่ารำ การทรงพระราชนิพนธ์นั้น มีบางตอนที่พระองค์โปรดให้กวีท่านอื่นๆ มีส่วนแต่งร่วมด้วยแล้วนำบทละครนั้นมาอ่านถวายหน้าพระที่นั่ง ให้ที่ประชุมกวีช่วยกันปรับปรุงแก้ไขโดยพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย บางตอนก็ให้ผู้เชี่ยชาญท่ารำทดลองรำตามบทด้วย บทละครเรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ ๒ จึงสนุกและไพเราะ เหมาะกับการเล่นละครรำอย่างยิ่ง จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ และเป็นหนังสือที่พร้อมด้วยคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม


    ภาพเล่าเรื่อง อิเหนา เชิงประวัติศาสตร์


    เมื่อครั้งเสียกรุง ครั้งที่สอง (พ.ศ ๒๓๑๐)ให้ พม่า.. ต้นฉบับบทละครเรื่อง ดาหลัง และ เรื่อง อิเหนา ซึ่งเรื่องเดิมแต่งไว้ถึงตอนสึกชี สูญหายไป เมื่อกอบกู้เอกราชได้ ไทยต้องฟื้นฟูบ้านเมือง และ ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งรวบรวม วรรณคดีเก่าๆ แล้ว เรียบเรียงของเก่าขึ้นมาใหม่ ใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ใหม่ทั้งหมด เพื่อ เป็นบทละครรำ ทรงพิถีพิถันเลือกสรรถ้อยคำให้เหมาะแก่ท่ารำ การทรงพระราชนิพนธ์นั้น มีบางตอนที่พระองค์โปรดให้กวีท่านอื่นๆ มีส่วนแต่งร่วมด้วย แล้วนำบทละครนั้นมาอ่านถวายหน้าพระที่นั่ง ให้ที่ประชุมกวีช่วยกันปรับปรุงแก้ไขโดยพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย บางตอนก็ให้ผู้เชี่ยวชาญท่ารำ ทดลองรำตามบทด้วย บทละครเรื่องอิเหนา ของรัชกาลที่ ๒ จึงสนุก และ ไพเราะ เหมาะกับการ เล่นละครรำ อย่างยิ่ง จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 11-07-2012 at 10:58.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •