กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: เอาน้ำมาเติมรถยนต์ัขับใ้ช้งานกันครับ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ cute
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    ป่าคอนกรีต
    กระทู้
    416

    เอาน้ำมาเติมรถยนต์ัขับใ้ช้งานกันครับ

    [CENTER]

    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=uaFY-c0IzKg


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=GVi6cyjPW2E


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=RM91JCBbCqI


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=N88nVs2a97s

    :l-:l-:l-:l-:l-:l-:l-

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คนจนผู้ยิ่งใหญ่
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    ที่อยู่
    สารคามคือหม่องอยู่
    กระทู้
    219
    ที่ทำงานติดตั้งมาแล้วครับ โตโยต้าไมตี้เอ็ก ใช้ได้จริง(ในเดือนแรก)แต่ตอนนี้รถซ่อมบ่อยมาก ปัญหาที่ตามมาคือ หม้อน้ำรั่ว น้ำมันเครื่องรั้ว ลูกสูบพัง รอบเครื่องสูง เร่งไม่ขึ้น ตอนนี้ยังไม่ได้เอาออก เพียงตัดวงจรไม่ให้ใช้งาน ใช้ระบบเดิมที่มากับรถดีแล้วครับ

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    โอ้ว...พระเจ้า...รถใช้น้ำ ถือว่าเป็นแนวความคิดที่ดีครับ อย่าลืมจดสิทธิบัตรด้วยนะครับ

    ต้องค่อย ๆ ลองผิดลองถูก และพัฒนาถึงข้อดีข้อเสีย ก่อนที่จะนำออกมาใช้กันอย่างจริงจัง

    ภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยส่งเสริมและพัฒนาครับ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    มาต่อ ยอดนำครับ

    ในปัจจุบันอัตราการใช้น้ำมันปิโตรเลียมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่จะทำใหัเกิดการขาดแคลนน้ำมันก็สามารถเป็นไปได้ จึงทำให้เกิดแนวคิดว่า น่าจะนำเชื้อเพลิงอื่นมาใชัทดแทน
    เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นสิ่งที่เลือกจะนำมาศึกษา เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและไม่เกิดมลพิษ โดยทางกลุ่มได้นำน้ำมาทำการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อ ให้ได้ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน แต่เนื่องจากก๊าซที่ได้นั้นไม่เพียงพอต่อการจุดระเบิด เนื่องจากเวลาในการศึกษาของปีการศึกษามีจำกัด ทางกลุ่มจึงได้ตกลง ใจที่จะพักการศึกษาในส่วน การผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วยการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าไว้ก่อน และได้ศึกษาส่วนต่อไปคือ การดัดแปลงเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง แก๊สโซลีนโดยใช้ก๊าชไฮโดรเจนและออกซิเจนจากถังก๊าซและนำก๊าซดังกล่าวเข้าสู่ระบบป้อนเชื้อเพลิงที่ได้ทำการดัดแปลงไว้แล้วต่อไป


    สินค้าคุณภาพมาใหม่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ทุกรุ่น


    ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากเดิมระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาผลผลิตจากภาคการเกษตรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันผลผลิตส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากการขยายตัวในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ ได้ส่งผลให้ประเทศต้องพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมมากขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานซึ่งนับวันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น นอกจากภาคอุตสาหกรรมแล้ว ความต้องการด้านพลังงานในภาคเศรษฐกิจ สังคมรวมถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดนโยบายการประหยัดพลังงานควบคู่กันไปด้วย

    พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen, H2) ซึ่งถือได้ว่าเป็นพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง, สะอาด, และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการคาดหมายและยอมรับว่าจะเป็นแหล่งของพลังงานเชื้อเพลิงที่สำคัญอย่างมากในอนาคต ในปัจจุบันนี้กระบวนการเปลี่ยนรูปสารไฮโครคาร์บอนด้วยไอน้ำ (Steam reforming of hydrocarbons) เป็นกระบวนการที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการผลิตพลังงานไฮโดรเจน แต่ปัญหาหลักที่สำคัญมากของกระบวนการนี้คือ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนหรือปรากฏการณ์เรือนกระจก นอกจากนี้แล้วยังประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งของไฮโดรคาร์บอนที่นำมาใช้ในกระบวนการอีกด้วย ดังนั้นกระบวนการอื่นซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัย และสามารถผลิตพลังงานไฮโดรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการพลังงานไฮโดรเจนในอนาคต
    **********************************

    Water Power Car Club คลับพลังงานทางเลือกที่รักษาสิ่งแวดล้อม

    Water Power Car คือนวตกรรมที่สามารถติดตั้งในเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เบนซิน ดีเซล LPG หรือ NGV โดยมีหลักการทำงานโดย แยกน้ำด้วยไฟแบตเตอรี่ในรถยนต์จะได้ ไฮโดรเจน 2 ส่วน ออกซิเจน 1 ส่วน ส่งผ่านท่อเข้าทางท่อรับอากาศ (ท่อไอดี) เข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โดยจะเข้าไปเสริมกับเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งจะมีผลดีกับเครื่องยนต์ ดังนี้

    1. ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีขึ้น เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้น เนื่องจาก ไฮโครเจนเป็นเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ
    2. เมื่อเครื่องยนต์มีการเผาไหม้ดีขึ้น การปล่อยไอเสีย หรือมลพิษที่ปล่อยออกมาทางท่อไอเสียก็น้อยลงไป รถดีเซลควันดำแทบหายไปหมด รถเบนซินกลิ่นเหม็นน้ำมันแทบจะหมดไป
    3. อัตราเร่งดีขึ้น
    4. เป็นการผลิตก๊าซทีเพียงพอต่อการใช้งานแล้วส่งไปใช้เลยไม่มีการกักเก็บไว้ในถังใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่เสี่ยงอันตรายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ หรือเกิดการระเบิดขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซที่ผลิตออกมา มีปริมาณสะสมไม่เพียงพอต่อการเผาไหม้ในบรรยากาศภายนอกห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์
    5. ความร้อนของเครื่องลดลง โดยเฉพาะรถที่ติดแก๊ส LPG จะช่วยลดความร้อนในห้องเผาไหม้ลง รักษาเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
    6. ความประหยัดเชื้อเพลิง สำหรับรถดีเซล จะประหยัดน้ำมันได้ 20-30%, รถเบนซินหรือติดแก๊ส จะประหยัดได้ 10-20%
    7. ตัวเครื่องแยกก๊าซ (Cell reactor) ทำจากวัสดุอย่างดี มีความคงทน ใช้งานได้ยาวนาน รับประกัน 2 ปี หรือ 30,000 กม.
    8. ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำสะอาดที่ผ่านการกรอง และสารละลายที่เป็นตัวเร่งการนำไฟฟ้าเท่านั้น

    ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่เพียง 1-2 แอมป์ เท่านั้น



    ***************************************************

    คนไทย เจ๋ง ผลิตอุปกรณ์รถใช้น้ำแทนน้ำมัน(จดสิทธิบัตรแล้ว)




    ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม มีการแนะนำนายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ต่อกรรมการสภาฯ ว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์แยกก๊าซ "ไฮโดรเจน" จากน้ำแล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ โดยมหาวิทยาลัยฯได้แลกเปลี่ยน และสนับสนุนเครื่องมือประกอบชิ้นส่วน และมีแผนถ่ายทอดความรู้ต่อนักศึกษา และบุคคลภายนอก


    นายชัยพร รัตนนาคะ อดีต ผวจ.อุดรธานี นายกสภาฯเป็นประธาน ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี ได้



    โดยรถต้นแบบ รถทดสอบ , H2O เทคโนโลยีแห่งอนาคต และ HGV. Hydrogas Vehicle เป็นรถเก๋งนั่ง 4 ประตู ขนาด 2,000 ซีซี. ก่อนที่นายสุมิตร อธิบายสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน และมีการทดสอบ “ไฮโดรเจน” ที่ได้จากน้ำบริสุทธิ์ ด้วยการนำก๊าซใส่ขวดพลาสติก วางกับพื้นและใช้ไฟทดลองจุด เกิดระเบิดเสียงดัง และขวดกระเด็นไปไกล


    นายสุมิตร เปิดเผยว่า สิ่งประดิษฐ์นี้คิดมาเมื่อ 4 ปีก่อน ขณะที่ยังคงทำงานอยู่”นาซ่า” สหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อนตัดสินใจซื้อรถคันต้นแบบ เป็นรถใหม่เอี่ยมป้ายแดง โดยได้รับการสนับสนุนงบทั้งหมด จากนายศักดิ์ชัย ตันคงจำรัสกุล นักธุรกิจ จ.อุดรธานี และได้รับความช่วยเหลือเครื่องมือต่างๆ จากมหาวิยาลัยราชภัฎอุดรธานี ซึ่งเคยเรียนอยู่ที่นี่มาก่อน เป็นรถมีเชื้อเพลิง 3 ประเภท คือ น้ำมันเบินซิน , ก๊าซ LPG. และก๊าซไฮโดรเจน มีการทดสอบมาแล้วกว่า 40,000 กม. ยังไม่พบปัญหาใดๆ จึงไปจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว


    นายสุมิตร กล่าวต่อว่า รถต้นแบบ “รีแอคเตอร์ 1” เป็นรถที่ใช้พลังผสมระหว่าง เบนซินกับไฮโดรเจน หรือ LPG.กับไฮโดรเจน ในสัดส่วนเบนซินหรือ LPG.40 เปอร์เซ็นต์ กับไฮโดรเจน 60 เปอร์เซ็นต์ ในการทดสอบวิ่งจากกรุงเทพฯมาอุดรธานี 560 กม. ใช้น้ำมันไปเพียง 10 ลิตรเท่านั้น ขณะที่น้ำที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนเล็กน้อย อีกราว 3 เดือนอุปกรณ์ชุดนี้ จะเริ่มผลิตออกจำหน่าย ในราคาสูงกว่า LPG. แต่จะต่ำกว่า NGV. ยังไม่รวมค่าติดตั้ง


    นายสุมิตรฯ อธิบายถึงอุปกรณ์ว่า จะเริ่มต้นที่น้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น(ดีไอโอไนซ์) เติมเข้าไปในเครื่องรีแอคเตอร์ ที่จะแยกไฮโดรเจน และออกซิเจนออกมา เป็น HH-O ผ่านออกมาเซฟตี้วาวล์ ส่งตรงไปที่เครื่องยนต์ หากรถมีหัวฉีดก็ผ่านหัวฉีด ซึ่งทั้งหมดจะควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์คอนโทรน ที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ เพื่อให้เครื่องผลิตไฮโดรเจน ออกมาเท่าที่เอาไปใช้เท่านั้น จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ หากอุณหภูมิ ความดันผิดปกติ ก็จะมีระบบป้องกันตัวเอง
    นายสุมิตร กล่าวด้วยว่า ที่ตัดสินใจจดสิทธิบัตรที่ประเทศไทย เพราะต้องการให้เทคโนโลยีนี้ เป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยสามารถนำเอามาต่อยอด ในแนวคิดที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ตนเองก็ต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังพัฒนา “รีแอคเตอร์2” อยู่ แต่หากจดที่สหรัฐอเมริกา จะต้องแจกรายละเอียดทั้งหมด ทำให้สิ่งประดิษฐ์ไม่เป็นความลับ หากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น สิทธิบัตรก็จะเป็นของอเมริกา ไม่ใช่สิทธิบัตรของคนไทย


    ผช.จรูญ อธิการบดี ม.ราชภัฎอุดรธานี กล่าวว่า นายสุมิตร เป็นศิษย์เก่าและได้ศึกษาต่อในระดับนานาชาติ ผ่านประสบการณ์มามาก แต่ยังคงแวะเวียนที่ ม.ราชภัฎอยู่ โดยจะแลกเปลี่ยนความรู้กับ อ.วิเชียร จันทะโชติ และมีโอกาสนำเครื่องไม้เครื่องมือ ไปช่วยชิ้นงานประดิษฐ์บ้างเล็กน้อย จนได้เครื่องต้นแบบออกมา นอกจากนี้นายสุมิตรฯยังสนใจ ให้เป็นสถาบันฝึกอบรม บุคลากรติดตั้งเครื่อง รองรับความเครื่องที่จะออกมาจำหน่ายด้วย


    ที่มา : มติชน


    ****************************************************



    วงจรเร่งการแตกตัวของน้ำ จากวงจรกระตุ้นไฟ





    ***************************************

    การผลิตเชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen)

    รู้ทันพลังงาน

    • ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์
    บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE)

    ด้วยราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้น และปริมาณการสะสมน้ำมันดิบทั่วโลกที่เริ่มลดน้อยลง ส่งผลให้ในปัจจุบันการพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่ (Alternative fuels) ขึ้นมาใช้แทนที่น้ำมันดิบเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น กำลังให้ความสนใจ และดำเนินงานวิจัยเพื่อสังเคราะห์เชื้อเพลิงประเภทใหม่จากวัตถุดิบต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย

    ตัวอย่างของเชื้อเพลิงสำคัญที่ทั่วโลก กำลังให้ความสนใจศึกษาและวิจัยอยู่ได้แก่ เชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่งถูกนำไปใช้งานควบคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cells) สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ โดยเชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen) สามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติหลากหลาย ประเภท อาทิ วัสดุชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ข้อดีของ ไฮโดรเจน (Hydrogen) คือ เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด โดยเฉพาะเมื่อใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษใด ๆ รวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน

    การ ผลิตเชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen) สามารถทำได้หลายกระบวนการ แต่กระบวนการที่ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยมากที่สุดและได้รับการคาดหมายว่าจะ สามารถใช้จริงในเชิงพาณิชย์ได้ง่ายที่สุด คือ กระบวนการความร้อนเคมี (Thermo-chemical Processes) เช่น กระบวนการรีฟอร์มมิง (แปรรูป) ซึ่งแบ่งออกได้เป็นอีกหลายกระบวนการย่อยขึ้นอยู่กับสารที่ใช้
    กระบวนการรีฟอร์มมิงหลัก ๆ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ 1.กระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (steam reforming) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการผลิต ไฮโดรเจน (Hydrogen) สูง แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงถูกนำมาใช้ในทางการค้าแล้ว โดยหลักการของกระบวนการนี้คือ การป้อนไอน้ำ (steam) เข้าสู่ระบบเพื่อทำปฏิกิริยากับสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซชีวภาพ และเอทานอล เป็นต้น โดย ไฮโดรเจน (Hydrogen) จะถูกดึงออกจากไอน้ำ (H2O) สารไฮโดรคาร์บอน (CH) ส่วนออกซิเจนที่เหลือจากน้ำและคาร์บอนที่เหลือจากไฮโดรคาร์บอนจะรวมตัวกันเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

    2. กระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide reforming หรือ Dry reforming) เป็นกระบวนการที่คล้ายคลึงกับกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ แต่จะต่างกันตรงที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ ข้อดีของกระบวนการนี้คือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ อีกทั้งยังควบคุมระบบการทำงานได้ง่ายกว่ากระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ แต่ข้อเสียคือ สัดส่วนของ ไฮโดรเจน (Hydrogen) ที่ได้จากกระบวนการนี้จะต่ำกว่ากระบวนการแรก และตัวเร่งปฏิกิริยาจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าเนื่องจากจะมีคาร์บอนจากคาร์บอน ไดออกไซด์ไปเกาะอยู่ที่บริเวณผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา

    3. กระบวนการออกซิเดชันบางส่วน partial oxidation) ซึ่งเป็นกระบวนการระหว่างสารไฮโดรคาร์บอนกับออกซิเจนกระบวนการนี้มีข้อได้ เปรียบกว่าสองกระบวนการแรก ตรงที่ไม่จำเป็นต้องป้อนพลังงานจากภายนอก เนื่องจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นแบบคายความร้อน ทำให้เกิดพลังงานขึ้นภายในระบบ แต่ข้อจำกัดของกระบวนการนี้คือ ปริมาณออกซิเจนที่ป้อนเข้าสู่ระบบต้องไม่สูงจนเกินไปเนื่องจากออกซิเจนที่ เหลือจากกระบวนการจะกลับมาทำปฏิกิริยากับ ไฮโดรเจน (Hydrogen) ที่ผลิตได้ กลายเป็นน้ำ ทำให้สูญเสียผลผลิต ไฮโดรเจน (Hydrogen)

    นอกจากนั้น ข้อจำกัดที่สำคัญอีกประการของการใช้กระบวนการนี้ในเชิงพาณิชย์คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะสูงกว่ากระบวนการรีฟอร์มมิงปกติ เนื่องจากต้องมีระบบแยกออกซิเจนจากอากาศก่อนป้อนเข้าสู่ระบบ เพราะหากไม่แยกออกซิเจนออก จะทำให้ปริมาณความเข้มข้นของ ไฮโดรเจน (Hydrogen) ที่ผลิตได้ลดลง เนื่องจากอากาศมีปริมาณไนโตรเจนสูง

    และ 4. กระบวนการร่วมระหว่างกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำกับออกซิเดชันบางส่วน หรือที่เรียกกันว่า ออโตเทอร์มัลรีฟอร์มมิง (Autothermal reforming) ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ที่นำข้อดีของกระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำและกระบวน การออกซิเดชันบางส่วนมารวมกันโดยการป้อนทั้งน้ำและออกซิเจนเพื่อทำปฏิกิริยา กับสารไฮโดรคาร์บอน ข้อดีของกระบวนการนี้คือ สามารถผลิต ไฮโดรเจน (Hydrogen) ได้ในอัตราส่วนที่มากกว่ากระบวนการออกซิเดชันบางส่วน และใช้พลังงานน้อยกว่ากระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ ในปัจจุบันกระบวนการดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมและเริ่มมีการใช้งานจริงในเชิง พาณิชย์อย่างแพร่หลาย

    อย่างไรก็ดีประเทศไทยมีข้อ ได้เปรียบในการใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen) คือมีแหล่งเชื้อเพลิงที่ สามารถใช้ผลิต ไฮโดรเจน (Hydrogen) ได้มากมาย เช่น ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซชีวภาพ วัสดุชีวมวล ถ่านหินหรือแม้แต่เอทานอลจากพืช

    หากประเทศไทย สามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนวัตถุดิบดังกล่าวไปเป็นก๊าซ ไฮโดรเจน (Hydrogen) เพื่อใช้งานในเซลล์เชื้อเพลิงได้ ถึงแม้ในอนาคตประเทศไทยต้องซื้อเทคโนโลยีเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเข้ามา ก็จะเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงานของประเทศได้อย่างมากมายอีกทั้งการพัฒนา เทคโนโลยีการแปรสภาพเชื้อเพลิงขึ้นมาเองเพื่อใช้กับวัตถุดิบที่มีอยู่ใน ประเทศ จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบโดยรวม สูงกว่าการซื้อเทคโนโลยีทั้งระบบมาจากต่างประเทศ เนื่องจากคุณสมบัติที่แตกต่างกันของวัตถุดิบในแต่ละประเทศ

    อย่าง ไรก็ตาม การใช้เชื้อเพลิง ไฮโดรเจน (Hydrogen) อย่างกว้างขวางในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องที่ยังต้อง ใช้เวลาพัฒนาอีกค่อนข้างยาวนาน เนื่องจากต้นทุนของเซลล์เชื้อเพลิงยังสูงมาก อีกทั้งยังต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนถานและกักเก็บ ไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงเช่นกัน

    หมายเหตุ : บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้รับการสนับสนุนจากโครงการ พัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


    หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
    ฉบับประจำวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2550 หน้า B6



    ***************
    ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ - ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คือ
    ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
    น้ำมิใช่เป็นเพียงสารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนกับออกซิเจนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารประกอบของไฮโดรเจนกับออกซิเจนอีกตัวหนึ่งคือ H2O2 -ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่อยู่ตัว สามารถสลายตัวให้ออกซิเจนกับน้ำ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คล้ายโอโซน (O3) มากในบางกรณีเช่นใช้เป็นตัวฟอกจางสีใช้ฆ่าแบคทีเรีย สลายตัวให้ออกซิเจน ได้เหมือนกับน้ำ

    ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีขายตามร้านขายยานั้น มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อยู่ 3% อีก 97% เป็นน้ำ นับว่าเป็นส่วนผสมพอเหมาะสำหรับการนำมาใช้ แสงและความร้อนทำให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวกลายเป็นน้ำได้อย่างดี ด้วยเหตุนี้ร้านเครื่องยาเขาจึงบรรจุไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไว้ในขวดทึบแสง และเขายังเติมสารบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ ลงไปเล็กน้อยเพื่อกันมิให้ H2O2 สลายตัวเร็วเกินไปและมีป้ายติดไว้ข้างขวดเตือนให้ผู้ตั้งเก็บไว้ในที่เย็น

    สรุป

    สัญลักษณ์ของไฮโดรเจนคือ H อะตอมมิคนันเบอร์ 1 น้ำหนักอะตอม 1.00797 จุดหลอมเหลว 259.2 องศาเซลเซียส จุดเดือด 252.7 องศาเซลเซียส ความหนาแน่น 0.071 gm/ml เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายในน้ำได้น้อยมาก และอุณหภูมิมีผลต่อการละลายน้อยมากไฮโดรเจนไม่ช่วยในการหายใจ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นพิษก็ตามแต่เมื่อรวมกับธาตุอื่น เกิดสารประกอบได้มากมาย และเนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนมีขนาดเล็กมาก สามารถแทรกเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอะตอมของโลหะได้กลายเป็นสารไฮโดรด์ของโลหะ เราเรียกสารประกอบที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้ว่า Interstitial compound.

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209
    อ้างถึง
    ที่ทำงานติดตั้งมาแล้วครับ โตโยต้าไมตี้เอ็ก ใช้ได้จริง(ในเดือนแรก)แต่ตอนนี้รถซ่อมบ่อยมาก ปัญหาที่ตามมาคือ หม้อน้ำรั่ว น้ำมันเครื่องรั้ว ลูกสูบพัง รอบเครื่องสูง เร่งไม่ขึ้น ตอนนี้ยังไม่ได้เอาออก เพียงตัดวงจรไม่ให้ใช้งาน ใช้ระบบเดิมที่มากับรถดีแล้วครับ

    เป็นกันหลายครับ ไหม่ๆแห่กันไปติดเป็นแถว สุดท้ายแล้ว ไ้ด้บ่อคุ้มเสีย
    ต้องไปจบที่ ngv หรือ lpg...

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •