กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: พระไตรปิฎก

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    พระไตรปิฎก

    พระไตรปิฎก

    เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก

    เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก "

    1. ฤกษ์งามยามดี
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในติกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทาง กาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เช้าวันนั้นย่อมเป็นเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทาง กาย วาจา ใจ ในเวลากลางวัน กลางวันนั้นย่อมเป็นกลางวันที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทาง กาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เย็นวันนั้นย่อมเป็นเย็นที่ดี ของสัตว์เหล่านั้น”

    จากคำตรัสนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนทันสมัยไม่งมงายกับความเชื่อที่ไม่มี เหตุผล พิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันจำนวนมากจะทำอะไรก็ต้องดูฤกษ์ รอยามจากหมอดูจากพระสงฆ์บางองค์ จากผู้ที่คิดว่าตัวเองรู้ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลสับสนและเสียทรัพย์ได้หากเป็นผู้มีปัญญาได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ ก็จะเห็นว่าพระองค์ไม่ได้เห็นความสำคัญของฤกษ์ยามมากกว่าการประพฤติ ปฏิบัติ ทรงถือว่าบุคคลใดประพฤติดี เมื่อใดเวลาใดก็ตามฤกษ์ดี ก็จะเกิดขึ้นในเวลานั้นและจะเกิดได้ทุกขณะ ถ้าประพฤติดีและปฏิบัติดี

    2. ความจนเป็นทุกข์ในโลก
    ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ความจนเป็นทุกข์ในโลก ของผู้บริโภคตน” ซึ่งได้อธิบายความหมายไว้ว่าความจนของคน มี 2 ประเภท คือ
    2.1 คนจนทางโลก คือ คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ยอมกู้หนี้ การกู้หนี้ทำให้เป็นทุกข์เพราะต้องเสียดอกเบี้ย ถูกทวง ถูกตามตัวและสุดท้ายก็จะต้องถูกจองจำ ซึ่งทุกอย่างล้วนเป็นความทุกข์ทางโลกทั้งสิ้น
    2.2 คนจนทางธรรม คือ คนที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ โอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ซึ่งย่อมจะทำให้เกิดการทุจริตทางกาย วาจา และใจ แล้วก็จะเกิดทุกข์เหมือนกับการกู้หนี้ เมื่อกายทำไม่ดี ก็จะต้องหาทางปกปิดจนเป็นทุกข์เหมือนต้องเก็บดอกเบี้ย แล้วจะต้องตามมาด้วยการพูดจาไม่ดี ก็มีทุกข์เหมือนถูกทวงหนี้ สุดท้ายก็จะทุกข์เพราะคิดไม่ดีเหมือนถูกตามตัว ถ้าทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ดีทั้งหมดก็เหมือนถูกจองจำ ที่เป็นการจองจำในนรก
    ท้ายสุดพระพุทธองค์ได้ตรัสสรุปไว้ว่า เราไม่เห็นควรถูกจองจำอย่างอื่นสักอย่างเดียวที่ทารุณ ที่นำทุกข์มาให้ ที่ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลส อันเป็นธรรมยอดเยี่ยม เหมือนการถูกจองจำในนรกหรือในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานนี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่จะแก้ความจนได้ก็คือ การปฏิบัติธรรมนั้นเอง


    3. สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นอย่างใจไม่ได้
    ตามปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายฐานะ 5 อย่าง เหล่านี้ อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ คือ
    3.1 ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย
    3.2 ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บไข้เลย
    3.3 ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย
    3.4 ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าได้สิ้นไปเลย
    3.5 ขอสิ่งที่มีความพินาศไปเป็นธรรมดา อย่าได้พินาศไปเลย
    จากคำสอนของพระพุทธเจ้าบอกได้ว่า ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความสิ้นไปและความพินาศไปของ สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงหรือหลีกเลี่ยงได้ เราจึงจำไม่ควรโศกเศร้าเสียใจมากเกินไป เพราะคนอื่นก็เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกัน ถ้าเราทำใจไม่ได้ก็จะทำให้เสียงาน กินอาหารไม่ได้ ร่างกายก็ทรุดโทรม เพื่อนฝูงก็จะพลอยเศร้าใจเปรียบเหมือนลูกศรที่ทิ่มแทงตัวเอง พระพุทธองค์จึงให้หลักคำสอนไว้ว่าเราควรระงับความเศร้า ไม่ลำบากใจ ไม่บ่นเพ้อ ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงใหล เปรียบเสมือนการถอนลูกศรออกจากตัวเอง ความสุขสงบก็จะเกิดขึ้น


    พระไตรปิฎก

    ที่มา : พระจิรวัฒน์ ญาณวโร/เฟส/บ้านมหา.คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 21-08-2012 at 15:52. เหตุผล: เพิ่มรูปภาพ

  2. #2
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469

    เช้าที่ดีของวันนี้

    อ่านพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า "ทรงตรัสไว้ในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย" แล้วซาบซึ้งยิ่งนัก หาซึ่งข้อแย้งอันใดไม่มีเลย กี่ยุคกี่สมัยก็เหมาะสมใช้ได้ดีไปทุกกาล...สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอบคุณลุงใหญ่ที่สรรค์หาสิ่งดีๆมาแบ่งปัน

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มแก่นนคร
    วันที่สมัคร
    Dec 2009
    ที่อยู่
    สุราษฎร์ธานี
    กระทู้
    45
    อ่านแล้วซึ้งๆ สาธุ สาธุ สาธุ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •