กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ผลของการวิ่งกับหัวใจ

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    ผลของการวิ่งกับหัวใจ

    ผลของการวิ่งกับหัวใจ
    สิ่งที่นักวิ่งหลายคนอยากจะทราบ คือ การวิ่งทำให้หัวใจของเขาดีขึ้นไหม ถ้าดีแล้วดีอย่างไร การวิ่งป้องกันหรือรักษาโรคหัวใจได้ไหม และสุดท้ายซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามมาตั้งแต่โบราณกาล คือมันจะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นไหม
    ไม่มีคำตอบต่อคำถามเหล่านี้ทั้งหมด โดยเฉพาะคำถามสุดท้าย แต่ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ทำให้เชื่อได้ว่าการวิ่งมีผลดีต่อหัวใจ
    ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคหัวใจตายปีละไม่รู้เท่าไหร่ “โรคอันเกิดจากความสำราญ” นี้คืบคลานเข้ามาคร่าชีวิตคนไทยโดยไม่รู้ตัว จากโรคที่ติดอันดับแปดของสาเหตุการตายในปี พ.ศ. 2490 พุ่งพรวดมาเป็นอันดับสองใน พ.ศ. 2514
    …ชั่วเวลา 24 ปีคงไม่มีโรคใดที่จะคุกคามมาใกล้ตัวเราเท่าโรคนี้ ข่าวที่ว่า การวิ่งมีผลดีต่อหัวใจ จึงน่าลองลำดับดูว่าการวิ่งมีผลอย่างไรต่อหัวใจเราบ้าง

    เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น
    หัวใจของเราจำเป็นต้องมีเลือดไปเลี้ยง เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ตามปกติ โรคหัวใจที่เป็นกันส่วนใหญ่ คือ โรคที่มาเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ
    เราเรียกเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจว่า หลอดเลือดโคโรนารี่ มี 2 เส้นใหญ่ แบ่งซ้าย – ขวา แล้วแตกแขนงออกมาเป็นเส้นเลือดฝอยย่อยเล็กลงไป ถ้าเส้นเลือดโคโรนารี่เปิดโล่งลอดตลอดดีหัวใจเราก็ไม่มีปัญหา แต่ทว่าในคนอยู่ดีกินดี เหินห่างการออกกำลัง มักจะมีไขมันไปจับผนังเส้นเลือด ทำให้เลือดเดินได้ไม่สะดวก
    ถ้าไขมันจับตัวหนาเข้าเลือดที่ผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ อาจไม่พอกับความต้องการใช้ เมื่อไรที่เกิดภาวะไม่พออันนี้ จะมีอาการ “โรคหัวใจ” อาการนี้อาจเป็นไปอย่างอ่อน ๆ แค่เจ็บตึงหน้าอก หรือเป็นในระดับรุนแรงถึงกับเป็นลมล้มหมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
    การวิ่งทำให้เส้นเลือดโคโรนารี่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงยากที่ไขมันจะไปจับให้เกิดการอุดดัน

    เส้นเลือดแตกแขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
    หัวใจตามปกติจะมีเส้นเลือดไปเลี้ยงเป็นส่วน ๆ เช่น หัวใจซีกขวา เลี้ยงโดยหลอดเลือดโคโรนารี่ขวา และซีกซ้ายโดยหลอดเลือดโคโรนารี่ซ้าย เป็นต้น
    ในระดับย่อยลงไปก็เช่นกัน เส้นเลือดจะแตกแขนงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของหัวใจโดยเฉพาะเจาะจง แดนใครแดนมัน แต่การวิ่งจะทำให้เกิดการลํ้าแดนกันขึ้น ทำให้เกิดการประสานงานกัน
    หลอดเลือดที่มาร่วมแดนกันนี้ เราเรียกว่า หลอดเลือดคอลแลท เตอราล ระบบการหมุนเวียนที่เกิดขึ้น ก็เรียกระบบหมุนเวียนคอลแลท เตอราล (ดูรูป)
    ผลของการวิ่งกับหัวใจ
    ระบบหมุนเวียนแบบนี้มีประโยชน์มาก เหมือนระบบไฟฟ้าแรงสูงที่เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ พอมีจุดไหนเสีย ก็ดึงเอาไฟจากจุดอื่นไปใช้ได้ หัวใจที่มีระบบหมุนเวียนคอลแลทเตอราลมาก ๆ จึงไม่แตกง่าย ๆ เพราะพอมีจุดหนึ่งจุดใดขาดเลือดไป ก็มีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงทางเส้นอื่นได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่ถึงตาย โรคหัวใจก็ไม่เกิด

    ไขมันในเลือดลดลง
    ดังที่กล่าวแล้วว่า โรคหัวใจเกิดจากไขมันไปจับผนังเส้นเลือด ผู้ที่มีไขมันในเลือดมาก จึงมีโอกาสที่ไขมันจะไปจับผนังเส้นเลือดได้สูง
    เราจึงพยายามกันนักกันหนาที่จะลดไขมันในเลือดลง มีวิธีการต่าง ๆ นา ๆ ตั้งแต่กินอาหารที่มีไขมันน้อย ๆไปจนเสาะแสวงหาสิ่งมาลดไขมัน เช่น นํ้ามันดอกคำฝอย หรือกระทั่งยาลดไขมัน
    วิธีง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวไม่ต้องซื้อต้องหา คือการวิ่งนี่แหละ พบกันมากว่า 10 ปีแล้ว โดยจอห์น ฮอลลอชซี่ นักวิจัยทางการแพทย์เมืองเซนต์หลุยส์ว่า ถ้าเราออกกำลังจะทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง
    ออกกำลังหนัก ๆ และติดต่อกันเป็นจังหวะ เช่น การวิ่งครั้งหนึ่ง จะลดไขมันไปได้เป็นเวลา 48 ชั่วโมง
    ดังนั้น ถ้าท่านไม่มีเวลาจะเจียดมาให้ ก็ขอไว้เพียงอาทิตย์ละสามวัน จะเห็นผลอันนี้ทันที

    หัวใจใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ดีขึ้น
    หน้าที่ของเลือดคือนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เวลามันไหลผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ มันก็จะนำออกซิเจนไปให้ด้วย
    ทีนี้ถ้าให้ออกซิเจนแล้วไม่รู้จักรับหรือจับเอาไว้ มันก็จะพาออกซิเจนนั้นผ่านเลยต่อไป เหมือนกับนักเรียน ที่ครูผู้สอนอุตส่าห์เอาความรู้มาให้ถึงบ้านแล้ว ยังไม่รู้จักรับ
    ร่างกายเราก็เหมือนกับนักเรียน ต้องเพียรสอนให้รู้จักจับเอาสิ่งดี ๆ เช่น ออกซิเจนนี้ไว้
    การวิ่งเป็นการสอนกล้ามเนื้อหัวใจ (และกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของ ร่างกาย) ให้รู้จักจับออกซิเจนได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง หัวใจที่รับออกซิเจนได้ดี ย่อมมีความแข็งแรง และไม่ตกอยู่ในสภาพขาดแคลนออกซิเจนง่าย ๆ

    ความดันเลือดลดลง
    สมัยหนึ่ง โรงเรียนแพทย์เคยสอนนักเรียนว่า ความดันเลือดของคนสูงอายุ มีค่าปกติสูงกว่าคนหนุ่มสาว
    มาบัดนี้เราทราบกันดีแล้วว่า ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ความดันที่สูงกว่าในคนสูงอายุ เกิดจากสภาพเสื่อมของหลอดเลือด ในคนที่ไม่ได้ออกกำลัง
    ในผู้ที่ออกกำลังสมํ่าเสมอ แม้จะมีอายุมากขึ้น ความดันก็ยังเท่าคนหนุ่มสาว หรือผู้ที่มีความดันเลือดสูง
    เมื่อได้ออกกำลังกายไปพักหนึ่งความดันนั้นอาจจะลดได้โดยไม่ต้องใช้ยา
    หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดทั่วไปในร่างกาย จะพังได้เพราะความดันโลหิตสูง ที่กระหน่ำซ้ำเติมทุกการเต้นของหัวใจ (ปีหนึ่งปาเข้าไป40 ล้านครั้ง)
    จนหลอดเลือดแข็งกระด้าง
    กล้ามเนื้อหัวใจเองต้องทำงานหนัก จากการสูบฉีดเลือดผ่านแรง
    ต้านที่เพิ่มขึ้น การลดความดันลงได้จึงเป็นคุณแก่หัวใจอย่างมหาศาล
    พอซึ้งถึงขั้วหัวใจหรือยังว่า การวิ่งมีผลดีต่อหัวใจอย่างไรบ้าง
    :,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-:,1-
    ที่มา:http://www.healthcarethai.com

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวหัวเขียง
    วันที่สมัคร
    Jun 2012
    กระทู้
    406

    ต่างที่เหตุการณ์

    คนเฮาคันหน้าเหลืองกะสิแม่นเมื่อยเนาะครับ ชีพจรกะสิเต้นช้าจักหน่อย เป็นธรรมดาของคนบ่ซำบาย

    แต่ว่าบางคนที่เผิ่นมีความผิดแน ยามตกใจเห็นตำรวจ หน้านี้คักกว่าเหลือง ชีพจรตอนนั้นคือสิเต้นได้ 200 เทื่อ/นาที...555

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ suny
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    ภูมิลำเนา มหาสารคาม ทำงาน ประจวบ
    กระทู้
    787
    ขอบคุณสำหรับขอมูลดีๆเด้อครับอ้ายพี

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •