หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 25

หัวข้อ: ฮีตสิบสอง–คลองสิบสี่

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125

    ฮีตสิบสอง–คลองสิบสี่

    ฮีตสิบสอง–คลองสิบสี่

    ฮีตสิบสอง - คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

    ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึง ประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

    คลองสิบสี่ บางทีเขียนหรือออกเสียงเป็น คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คลองสิบสี่หรือคองสิบสี่ มาจากคำสองคำ คือ คลองหรือคอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี ทางหรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติ 14 ข้อ ดังนั้นคำว่า คลองสิบสี่ จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ 14 ข้อ
    ...........


    ระบบการปกครองของชาวอีสานสมัยเก่า
    ระบอบการปกครองบ้านเมือง อันเป็นกติกาควบคุมสังคมสมัยเก่านั้น คนไทยทางภาค กลางหรือทางใต้ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกมาก เพราะยึดถือหลักจากคัมภีร์พระมนูพระธรรมศาสตร์ของสังคมชาวอินเดีย โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่มาจากทางด้านนี้ มักจะโน้มไปในทางจิตนิยม หรือเชื่อในสิ่งที่สมมติกันขึ้นมา เช่น นรก สวรรค์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไม่เคยเห็น
    ส่วนระบอบการปกครองของชาวลาวและชาวอีสานสมัยเก่านั้น ยังมีอิทธิพลของความ เชื่อดั้งเดิมตกทอดมาจากทางเหนืออยู่มาก โดยเฉพาะอิทธิพลแบบจีนซึ่งมักจะโน้มไปในทางวัตถุ นิยม หรือเชื่อในสิ่งที่เคยเห็นคุณเห็นโทษมาแล้ว เช่น บิดา มารดา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ ผู้ที่ล่วงลับ ตายเป็นผีไปแล้ว ได้รับการยกย่องเชิดชูมากจนมีการเซ่นไหว้บวงสรวงกันหลายระดับ
    ถึงแม้คนไทยทางใต้กับทางอีสานจะเป็นศิษย์ของชาวชมพูทวีปด้วยกัน แต่ลักษณะ การปกครองของคนไทยใต้นั้น ค่อนไปในแบบที่ใช้ประมวลกฎหมายคล้ายฝรั่งเศส เช่น การใช้ กฎหมายตราสามดวง ส่วนชาวอีสานนั้นไม่ปรากฏว่ามีประมวลกฎหมาย ข้อบังคับหรือกติกาของ สังคมส่วนใหญ่ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายแบบของอังกฤษ เผ่าชนซึ่งอาศัยอยู่ตาม ลุ่มแม่น้ำโขงสมัยเก่าใช้ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเครื่องมือหรือวิธีการปกครอง บ้านเมือง มากกว่าเผ่าชนทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทุกประเทศในสมัยเก่านั้นปกครองแบบราชา- ธิปไตย ซึ่งมีโครงสร้างหรือองค์กรฝ่ายปกครองดังนี้


    ตำแหน่งในเมืองหลวง ซึ่งเป็นเอกราชหรือเป็นประเทศราช
    ประมุขของรัฐ ...มีฐานะเป็นกษัตริย์ ดังนั้นจึงใช้คำนำหน้าว่า "พระเจ้า"
    อุปหลาด (อุปราช) ...เป็นตำแหน่งรองของกษัตริย์
    ราชวงศ์ ...เป็นตำแหน่งอันดับสาม
    ราชบุตร ...เป็นตำแหน่งอันดับสี่
    (ตำแหน่งในอันดับ 2 - 3 - 4 นี้เป็นเชื้อพระวงศ์มีคำนำหน้าว่า "เจ้า" )
    เมืองแสน,เมืองจันทน์ ...สองตำแหน่งนี้ส่วนมากทำหน้าที่เกี่ยวกับต่างประเทศหรือต่างเมือง และกิจการสำคัญ เช่น การรักษาความสงบตลอดจนตุลาการ
    เมืองขวา,เมืองกลาง,เมืองซ้าย ...สามตำแหน่งนี้ รักษาบัญชีกำกับการสักเลข (เกณฑ์ไพร่พล) ดูแลวัดวาอาราม ออกคำสั่งให้กักขัง - ปล่อยนักโทษ
    เมืองคุก,เมืองฮาม ...สองตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่พัสดีเรือนจำ
    นาเหนือ,นาใต้ ...สองตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่ฝ่ายพลาธิการ เก็บส่วยภาษีอากร
    ซาเนตร,ซานนท์ ...สองตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่เลขานุการของเมืองแสน เมืองจันทน์
    ซาบัณฑิต ...ทำหน้าที่อ่านโองการ ท้องตราและประการอื่นๆ รวบรวมบัญชีรายงาน คำนวณศักราชปีเดือน
    ตำแหน่งในอันดับ 5 - 16 นี้ ถือว่าเป็นขุนนางชั้นเสนาบดีหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ มีคำ นำหน้าว่า "พญา" (พระยา)


    ตำแหน่งในหัวเมืองต่างๆ
    มีโครงสร้างหรือองค์การแบบเดียวกับในเมืองหลวง แต่อาจจะเรียกชื่อต่างกันไปบ้าง คือ ประมุขหรือหัวหน้า เรียกว่า เจ้าเมือง อุปหลาด เรียกว่า อุปฮาด ตำแหน่งในอันดับ 1 ถึง 4 ดังกล่าวข้างต้นมักจะเป็นเชื้อสายหรือวงศ์ญาติของเจ้าเมืองเอง ตำแหน่งในอันดับ 5 ถึง 16 เป็น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของเมือง เป็นคณะกรรมการเมือง หรือตำแหน่งประจำมีคำนำหน้าว่า "เพีย" (ไม่ใช่เพี้ย) คำว่า พญา คือ เพีย นี้ก็คงมีที่มาจากคำว่า เพียร และ พีระ ตรงกับคำว่า พระยา ของ คนทางใต้
    ถ้าหากเมืองใดมีงานมากอาจจะแต่งตั้งตำแหน่งพิเศษเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งจะมีคำนำหน้า ชื่อว่า เพีย ทั้งนั้น เช่น เพียนามเสนา เพียมหาเสนา เพียจันทรยศ เพียซามาตย์ เพียซานุชิต เพีย แก้วดวงดี เพียสุวรรณไมตรี เพียอรรควงศ์ เพียเนตรวงษ์ เพียวุฒิพงษ์ เป็นต้น

    ตำแหน่งในชุมชนเล็ก
    ท้าวฝ่าย หรือ นายเส้น เทียบกับตำแหน่งนายอำเภอ
    ตาแสง คือ นายแขวง เทียบกับตำแหน่งกำนัน
    นายบ้าน หรือ กวนบ้าน เทียบกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
    จ่าบ้าน เป็นผู้ใหญ่บ้าน อาจจะมีหลายคนก็ได้

    cont....>>
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Gentleman007; 26-10-2012 at 15:29.

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฮีตสิบสอง

    ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสานแตกต่างจากภาคกลางตรงที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู และคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ ส่วนขนบ- ธรรมเนียมของอีสานได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง เข้าใจว่าวัฒนธรรมล้านช้างได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมจีน นั่นคือ การเคารพบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก (ผีนาผีไร่) ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นพราหมณ์มากกว่าพุทธ ฮีตสิบสอง หรือ จารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือน ที่สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันทำบุญ เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ซึ่งฮีตสิบสองมีรายละเอียดดังนี้


    ฮีตที่ ๑ บุญเข้ากรรมหรือบุญเดือนอ้าย
    เดือนอ้ายหรือเดือนหนึ่ง หรือบางทีอาจจะเรียกว่าเดือนเจียงก็ได้มีประเพณีการทำบุญประจำเดือน คือ "บุญเข้ากรรม" ได้มีบทผญาที่กล่าวถึงบุญประจำเดือนนี้ว่า...
    ตกฤดูเดือนอ้ายปลายลมมาสิหนาวหน่วง
    ตกหว่างช่วงสังโฆเจ้าเพิ่นเข้ากรรม
    เฮามาพากันค้ำทำบุญตักบาตร
    ปริวาสซ่อยหยู้ซูค้ำศาสนา

    การเข้ากรรม คือ การอยู่ปริวาสกรรมของภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งเรื่องของการอาบัตินี้เป็นเรื่องของพระที่ล่วงละเมิดพระวินัยหรือศีลแล้วเกิดโทษหรือความผิด ทีนี้เมื่อเกิดโทษแล้วก็ต้องมีการลงโทษอันเป็นเรื่องธรรมดาของการอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีขอบเขตของสังคม หรือกฏระเบียบต่างๆ ที่สังคมนั้นๆ บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันรักษาคนหมู่มากหรือสังคมส่วนรวม ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบของสังคม
    ในสังคมของพระก็เช่นเดียวกันมีกฏระเบียบคือศีลของพระ หรือ พระวินัยเมื่อเกิดความผิดหรือการล่วงละเมิดศีลเกิดขึ้นก็ได้มีการชำระโทษหนักบ้าง เบาบ้าง ตามสมควรแก่ความผิดที่เกิดขึ้น ที่หนักที่สุดสำหรับพระคือการขาดจากความเป็นพระ หรือการต้องอาบัติปาราชิกนั่นเอง สำหรับการอยู่ปริวาสกรรมเป็นการลงโทษพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติที่มีโทษอย่างกลาง เมื่ออยู่ปริวาสและออกจากปริวาสเรียบร้อยแล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศีลที่บริสุทธิ์ เป็นภิกขุภาวะที่สมบูรณ์แบบ การอยู่ปริวาสนี้ไม่ใช่เรื่องของการล้างบาป แต่เป็นเรื่องของการลงโทษแก่ผู้ประพฤติผิดกฏระเบียบของสังคม ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาๆ ของสังคมทั่วๆ
    ไปนอกจากนี้คำว่า เข้ากรรม คนอีสานสมัยก่อน ๆ ใช้คำนี้เรียกผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่แล้วอยู่ไฟเพื่อให้มดลูกแห้งและเข้าอู่เร็วว่า "แม่อยู่กรรม" เป็นที่น่าสันนิฐานได้ว่าการอยู่กรรมตามความหมายที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็เป็นเหตุผลอันหนึ่ง และนอกจากนี้ การอยู่กรรม น่าจะมีความหมายอีกลักษณะหนึ่งคือ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ที่ได้อุตส่าห์เลี้ยงลูกให้เติบโตมาด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะแม่นั้นนอกจากเลี้ยงลูกแล้วยังได้ดูแลลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง เพราะถ้าหากว่าลูกไม่ได้รับการเลี้ยงดูและการดูแลรักษาอย่างดีจากแม่ตั้งแต่อยู่ในท้อง อาจจะทำให้ลูกเสียชีวิต หรืออาจจะเกิดมามีร่างการไม่สมประกอบ มีความพิกลพิการ เช่นว่า ปากแหว่ง เพดานปากโหว่ แขนด้วน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะอิทธิพลสารเคมีและตัวยาบางชนิด เช่น ยาธาลิโดไมด์ ยาสเตรปโตมัยซิน ยาคอแรมฟินิคอล เป็นต้น และนอกจากนี้แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่สมัยใหม่ ก็อาจจะทำให้ลูกเป็นโรคสมองเสื่อม แท้งลูกง่าย คลอดก่อนกำหนดได้
    โดยอาศัยที่ว่าการอยู่กรรมมีการทรมานตนเช่นว่า มีการนั่งสมาธิเดินจงกรม สวดมนต์ภาวนา ใช้เวลามากกว่าปกติ บางทีมีการอดข้าว อดน้ำถึง ๒-๓ วันก็มี หรือบางทีก็ถูกอาจารย์กรรมฝึกหนัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้รู้และเข้าใจความยากลำบากของคำว่า กรรม หรืออยู่กรรม ที่แม่ได้อยู่ไฟหรือว่าอยู่กรรมนั้นมี ความยากลำบากเพียงไร เพราะฉะนั้น คนในสมัยก่อนๆ จึงมีความตระหนักและเข้าใจในบุญคุณของพ่อแม่ ไม่มีข่าวปรากฏให้ได้ยินเห็นว่าลูกฆ่าพ่อ ตีแม่ ลูกอกตัญญ แต่กลับเทิดทูนพ่อแม่ในฐานะปูชนียบุคคลในระดับครอบครัวอย่างแท้จริง
    ในกิจกรรมของพระในการนี้ พุทธศาสนิกชนผู้หวังบุญกุศลก็ร่วมกันดูแลอุปัฎฐากรักษาพระเจ้าพระสงฆ์ที่เข้าอยู่กรรม บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุ เรียกว่า"บุญเข้ากรรม" ส่วนกำหนดการทำบุญดังกล่าวได้กำหนดเอาเดือนอ้าย ส่วนจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ และเพราะมีกำหนดทำกันในระหว่างเดือนอ้ายนี้เอง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"บุญเดือนอ้าย"
    สำหรับมูลเหตุแห่งชำระศีลให้บริสุทธิ์นี้ มีเรื่องเล่าไว้ในธรรมบทว่า ในสมัยพระกัสสปะพระพุทธเจ้า ได้มีภิกษุรูปหนึ่งพายเรือข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในระหว่างนั้นแม่น้ำมีกระแสที่ไหลเชี่ยว ท่านได้เอามือจับใบตะใคร้น้ำ เมื่อเรือถูกน้ำพัดไปทำให้ใบตะใคร้น้ำขาด ทานคิดว่าเป็นเรื่องที่มีโทษเล็กน้อย เวลาใกล้ตายคิดอยากแสดงอาบัติ แต่หาภิกษุที่จะรับไม่มี แม้ว่าท่านจะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่านานถึง ๒๐,๐๐๐ ปีก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะบรรลุธรรมชั้นสูงได้ เวลาตายไปแล้วได้ ไปเกิดเป็นพญานาค ชื่อเอรกปัต หรือแปลว่า นาคใบตะใคร้น้ำ คงจะเป็นเพราะเหตุนี้นักปราชญ์โบราณอีสานจึงได้จัดการเข้ากรรมไว้ให้เป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้.
    เดือนอ้าย เป็นระยะอากาศหนาวชาวบ้านจะจัดสถานที่แล้วนิมนต์พระสงฆ์เข้ากรรม การเข้ากรรมของพระนั้นคือการเข้าอยู่ประพฤติวัตรโดยเคร่งครัดชั่วระยะหนึ่ง ในป่าหรือป่าช้า การอยู่กรรมเรียกตามบาลีว่า"ปริวาส" เพื่อชำระจิตใจที่มัวหมองปลดเปลืองอาบัติ สังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติหนักเป็นที่ 2 รองจากปาราชิก ฝ่ายชาวบ้านก็ได้ทำบุญในโอกาสนั้นด้วย "เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมุ่สังฆเจ้าเตรียมเข้าอยู่กรรม"
    บุญเข้ากรรม ได้แก่ประเพณีทำบุญเข้ากรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคมนั่นเอง โดยมีมูลเหตุ เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับตะไคร้น้ำขาดเป็นอาบัติ ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายมองหาภิกษุสักรูปหนึ่งเพื่อจะแสดงอาบัติก็ไม่เห็น ครั้นมรณภาพไปแล้ว จึงเกิดเป็นพญานาคชื่อ เอรถปัต เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เกิดมีการเข้ากรรมขึ้นทุกปี เพื่อให้โอกาสแก่ภิกษุอาบัติที่ไม่มีโอกาสแสดงอาบัติได้แสดงและได้อยู่กรรมจนพ้นอาบัติในเดือนนี้
    พิธีทำบุญเข้ากรรม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
    การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง
    นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแกนและผีต่างๆ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม มันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว
    บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ

    cont.....>>

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฮีตที่ ๒ บุญคูณลานหรือบุญเดือนยี่
    เดือนยี่หรือเดือนสอง นักปราชญ์โบราณอีสานได้จัดการให้มีประเพณีในการทำบุญประจำเดือนนี้ คือบุญคูณลาน โดยท่านได้กล่าวไว้เป็นผญาว่า...
    ฮอดเมื่อเดือนสองอย่าช้าข้าวใหม่ปลามัน
    ให้เฮามาโฮมกันแต่งบุญประทายข้าว
    เชิญให้มาโฮมเต้าอย่าพากันขี่ถี่
    บุญคูณลานตั้งแต่กี้มาถ่อนซ่อยฮักษา

    สำหรับมูลเหตุของเรื่องนี้มีปรากฎในหนังสือธรรมบทว่าในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหารที่ดีหรือประณึตอะไร คงจะโยนให้หมู่กาและสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางและเข้าใจในเรื่องที่นางปุณณทาสีคิด จึงได้สั่งให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลงแล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟังจนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยควาเชื่อแบบนี้คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาดดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...
    ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
    ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
    ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
    อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า

    สถานที่นวดข้าวเรียกว่า"ลาน" การนำข้าวที่นวดแล้วมากองให้สูงขึ้นเรียกว่า "คูณลาน" คนอีสานสมัยก่อนมีอาชีพทำนาเป็นหลักและต้องการจะทำบุญด้วยการบำเพ็ญทาน ก็ได้จัดให้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า"บุญคูณลาน"โดยกำหนดเอาเดือนยี่หรือเดือนสองเป็นเวลาทำเพราะมีกำหนดทำเอา ในเดือนยี่นี้เองจึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า"บุญเดือนยี่"
    เดือนยี่ ทำบุญคูณลาน คือเก็บเกี่ยวแล้ว ขนข้าวขึ้นสู่ลาน นวดข้าวแล้ทำข้าวเปลือกให้เป็นกองสูงเหมือนจอมปลวก เรียกว่า "กุ้มเข้า" เหมือนก่อเจดีย์ทรายนั่นเอง แล้วทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่โภสพ นิมนต์มาสวดมนต์ทำบุญลาน บางคนก็เทศน์เรื่องนางโภสพฉลอง บางคนก็มีพิธีสู่ขวัญข้าวก่อนจึงจะขนข้าวขึ้นสู่ยุ้งฉาง เสร็จแล้วก็ทำพิธีเลี้ยงเจ้าที่หรือตาแฮก และเก็บฟืนไว้เพื่อหุงต้มอาหารต่อไป
    "พอเมื่อเดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้"
    ลาน ในที่นี้คือ ลานนวดข้าว คือ เอาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมากองให้สูงขึ้น กริยาที่ทำให้ข้าวเป็นกองสูงขึ้น เรียกว่า คูณ หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วก็อยู่ในเดือนยี่หรือเดือนมกราคม ชาวนาก็จะทำบุญคูณลานหรือเรียกบุญเดือนยี่ก็ได้
    มูลเหตุที่มีการทำบุญคูณลานนั้นมีว่า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีชายพี่น้องสองคนทำนาร่วมกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายอยากทำข้ามธุปกยาสถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ทำ จึงตกลงแบ่งนากัน เมื่อน้องชายได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้วก็ทำทานถึง 3 ครั้ง คือ ตอนที่ข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้ง ฟาดข้าว 1 ครั้ง และขนข้าวขึ้นยุ้งอีก 1 ครั้ง ในการถวายทานทุกครั้งปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ครั้นถึงสมัยพระโคดมก็ได้เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โกญทัญญะ ได้ออกบวชเป็นปฐมสาวก แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    ส่วนพี่ชายถวายข้าวในในเพียงครั้งเดียวคือในเวลานวดข้าวเสร็จแล้ว และได้ตั้งปณิธานขอสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล และต่อมาได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชก ได้บวชในศาสนาของพระโคดม แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโคดม คงเพียงได้กราบบังคมทูลถามข้อสงสัยในขณะที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน เมื่อได้ฟังดำรัสแล้วก็สำเร็จเป็นพระอนาคา และเป็นอริยสงฆ์องค์สุดท้ายในสมัยพุทธกาล
    พิธีทำบุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้าง ตอนเข้าถวายภัตตาหารบิณฑบาตร เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
    การทำบุญคูณลานนี้ทำขึ้นเฉพาะนาใครนามัน ทำส่วนตัว แต่ถ้าทำส่วนรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญคุ้ม หรือ บุญกุ้มข้าวใหญ่ คนทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกัน โดยมีการปลูกปะรำขึ้น มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกัน มารับศีลฟังธรรมถวายอาหารพระสงฆ์ อันนี้เรียกว่า บุญคุ้ม แต่ถ้าเป็นบุญคุ้มข้าวใหญ่ก็มีการนำข้าวเปลือกมารวมกัน ทำพิธีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สถานที่ ซึ่งต้องใช้ศาลาโรงธรรมหรือศาลากลางบ้าน
    “ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้ อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก อย่าเอาใด ดอกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย”
    หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน นิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็น มงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียม เก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ดังคำโบราณว่า .... เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์ องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าว เตรียมเข้าป่าหาไม้เฮ็ดหลัว เฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อน อย่าได้ หลงลืมถิ่น ฮีตของเก่าเฮาเดอ...

    cont.....>>

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฮีตที่ ๓ บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม

    ข้าวจี่ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของคนอีสาน อาจจะถือกำเนิดขึ้นโดยการที่ขณะที่นั่งฝิงไฟในหน้าหนาว และเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จใหม่ๆ โดยธรรมชาติของข้าวใหม่ก็มีกลิ่นหอมอยู่แล้ว ในขณะที่นั่งฝิงไฟอยู่นั้นก็เอาข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วมาปั้นโรยเกลือทาไข่ไก่ นำมาอังไฟหรือนำมาย่างไฟให้เกรียมก็ถือว่าสุกแล้วและรับประทานได ้เพราะโดยอุปนิสัยเนื้อแท้ของคนอิสานแล้วเป็นคนที่ขยันและช่างคิดอยู่แล้วและต่อ มาได้นำข้าวจี่นี้ไปถวายพระจนกระทั่งได้กลายมาเป็นประเพณีงานบุญข้าวจี่มาจนถึงทุกวันนี้ การทำบุญให้ทานมีข้าวจี่เป็นต้นเรียกว่า"บุญข้าวจี่"และนิยมทำกันในช่วงเดือนสามข้างแรม จนกระทั้ง มีคำผญาอีสานโบราณท่านได้แต่งผญาไว้ว่า... "เดือนสามค้อยเจ้าหัว คอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยหลั่งน้ำตา" เกี่ยวกับเรื่องประเพณีบุญเดือนสามนี้ นักปราชญ์อีสานโบราณได้แต่งผญาไว้ว่า...
    ฮอดเดือนสามท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส
    ไปทางใดเห็นแต่คนใจบุญซั่วแซวเต็มคุ้ม
    เหลียวเห็นซุมสาวน้อยพากันปันข้าวจี่
    เฮือนละห้าสี่ปั้นพอได้ออกใส่บุญ
    พ่องกันบีบข้าวปุ้นตกแต่งอาหาร
    มีเทิงหวานเทิงคาวหนุ่มสาวมาโฮมต้อม

    สำหรับมูลเหตุของเรื่องนี้มีปรากฎในหนังสือธรรมบทว่าในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหารที่ดีหรือประณึตอะไรคงจะโยนให้หมู่กา และสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางและเข้าใจในเรื่องที่นางปุณณทาสีคิดจึงได้สั่งให้ พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลงแล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟังจนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยความเชื่อแบบนี้ คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาด ดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...
    ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
    ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
    ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
    อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า

    นอกจากนี้แล้วได้มีการเพิ่มการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเข้ามาในเดือนนี้ นั้นก็คือบุญมาฆะบูชา เพราะว่าวันมาฆะบูชานั้นเป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพุทธศาสนา โดยพระองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางพระอรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ณ วฬุวันมหาวิหาร ในเวลาตะวันบ่ายคล้อย ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสามหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า"มาฆมาส" สำหรับโอวาทปาฏิโมกข์หรือหลักการของพุทธศาสนาที่สำคัญที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้นั้นมี ๓ ข้อ คือ...
    ๑.การไม่ทำบาปทั้งปวง
    ๒. การทำความดีให้ถึงพร้อม
    ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิผ่องแผ้ว

    การทำบุญในวันมาฆะบูชานี้ เพื่อเป็นการบูชาให้ถูกต้องตามหลักการของคำว่า "มาฆะบูชา"ที่แปลว่า การบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสามนอกเหนือจากการบูชาตามปกติของวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยการสมทานศีล ฟังธรรม ถวายทาน และเวียนเทียนแล้ว ควรจะมีการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ดังที่ได้กล่าวแล้วด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นยอดแห่งการบูชาทั้งปวง..
    เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง "เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"
    การทำบุญข้าวจี่เป็นอาหารถวายทานมีผู้นิยมทำกันมาก เชื่อว่าได้กุศลมากเป็นกาละทานอย่างหนึ่ง ทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) โดยมีมูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวจี่นั้นว่า ครั้งพุทธกาลนางปุณณทาสีทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ตอนแรกนางคิดว่าถวายแล้วพระพุทธองค์คงจะไม่ฉัน เพราะเป็นอาหารพื้น ๆ พระพุทธองค์พรงทราบวาราจิตของนางปุณณทาสี ก็ทรงสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนาและทรงประทับนั่งละเสวยข้าวจี่ตรงนั้นทันที เป็นเหตุให้นางปุณณทาสีเกิดความปิติยินดีอย่างที่สุด เมื่อเสวยเสร็จพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้นางปุณณทาสีฟัง หลังจากฟังแล้วนางก็ได้บรรลุโสดาบันติผล เพราะเหตุนี้บรรดาชาวนาจึงถือเป็นนิมิตหมายในการทำบุญข้าวจี่หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่ออานิสงส์ทำนองนั้น
    พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์การทำข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านอาจไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้ายข้าวจี่ พอพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี
    ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยัง สินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม
    ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ เดือนสาม) จะมีการทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การทำบุญข้าวจี่ จะเริ่มตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อย นำไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วนำไป ถวายพระ ดังความว่า "พอเถิงเดือนสามคล้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ปั้นข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา"

    cont.....>>>

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฮีตที่ ๔ บุญเผวสหรือบุญเดือนสี่
    เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ ทุกวัดพอถึงเดือน 4 ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ชาวอีสานนิยมเรียกว่า "บุญผเวส" (พระเวสสันดร) มีคำพังเพยว่า "เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)"
    แต่การกำหนดเวลาก็ไม่ถือเด็ดขาด อาจจะเป็นปลายเดือนสาม หรือต้นเดือนห้าก็ได้ การเทศน์มหาชาติของอีสานผิดจากภาคกลางหลายอย่างเช่น การนิมนต์เขาจะนิมนต์พระวัดต่างๆ 10-20 วัดมาเทศน์ โดยแบ่งคัมภีร์ออกได้ถึง 30-40 กัณฑ์ เทศน์ตั้งแต่เช้ามืดและให้จบในวันเดียว พระในวัดถ้ามีมากก็จะเทศน์รูปละกัณฑ์สองกัณฑ์ ถ้าพระน้อยอาจจะเทศน์ถึง 5 กัณฑ์ การแบ่งซอยให้เทศน์หลายๆ กัณฑ์ก็เพื่อให้ครบกับจำนวนหลังคาบ้าน ถ้าหมู่บ้านนี้มี 80 หลังคาเรือน ก็อาจจะแบ่งเป็น 80 กัณฑ์ โดยรวมเอาเทศน์คาถาฟันมาลัยหมื่น มาลัยแสน ฉลองมหาชาติด้วยเพื่อให้ครบจำนวนโยมผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์ แต่บางบ้านอาจจะขอรวมกับบ้านอื่นเป็นกัณฑ์เดียวกันก็ได้ และเวลาพระเทศน์ก็จะมีกัณฑ์หลอนมาถวายพิเศษอีกด้วย คือหมู่บ้านใกล้เคียงจะรวบรวมกัณฑ์หลอนคล้ายผ้าป่าสมัยนี้ แห่เป็นขบวนกันมา มีปี่ มีกลองก็บรรเลงกันมา ใครจะรำจะฟ้อนก็เชิญ แห่รอบศาลาการเปรียญ 3 รอบ แล้วก็นำไปถวายพระรูปที่กำลังเทศน์อยู่ขณะนั้นเลย เรียกว่ากัณฑ์หลอนเพราะมาไม่บอก มาโดนใครก็ถวายรูปนั้นไปเลย เรื่องกัณฑ์หลอนนับเป็นประเพณีผูกไมตรีระหว่างหมู่บ้านได้ยิ่งดี เพราะเรามีเทศน์เขาก็เอากัณฑ์หลอนมาร่วม เขามีเราก็เอาไปร่วมเป็นการสนองมิตรจิตมิตรใจซึ่งกันและกันได้ทั้งบุญได้ ทั้งมิตรภาพ ได้ทั้งความสนุกเฮฮา รำเซิ้ง แม้แต่ในหมู่บ้านนั้นเองก็มีกลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มบ้านเหนือ กลุ่มคนแก่ กลุ่มขี้เหล้า หรือกลุ่มอะไรก็ได้ ร่วมกันทำกัณฑ์หลอนขึ้น แห่ออกไปวัดเป็นการสนุกสนาน ใครใคร่ทำทำ มีเงินทองข้าวของจะบริจาคได้ตลอดวัน จึงเห็นบุญมหาชาติของอีสาน เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ประจำปี และถือกันว่าต้องทำทุกปีด้วย
    อนึ่งก่อนวันงาน 5-6 วัน หนุ่มสาวจะลงศาลานำดอกไม้ ประดับตกแต่งศาลาบริเวณวัดเป็นโอกาสที่หนุ่มจะได้คุยกับสาว ช่วยสาวทำดอกไม้สนุกสนานที่สุด นี้แหละคืออีสานที่น่ารัก
    บุญเผวส เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวอีสาน โดยอาศัยความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ตั้งใจฟังเทศน์เผวสจบภายในวันเดียว ก็จะได้เกิดมาในยุคศาสนาของพระศรีอริยเมตไตย บุญที่มีการเทศน์เผวสหรือเทศน์มหาชาติเป็นเรื่องสำคัญ เรียกว่า "บุญเผวส" ซึ่งเรื่องหนังสือเผวสหรือพระเวสสันดรชาดกนั้น เป็นหนังสือที่แสดงถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า ในคราวที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร และได้บำเพ็ญทานบารมีในชาตินี้ด้วย ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าบุญเดือนสี่ เพราะมีกำหนดทำกันในช่วงเดือนสี่เป็นสำคัญ นักปราชญ์โบราณอีสานได้กล่าวเป็นผญาไว้ว่า...
    ให้ค่อยซอมไปข้างหน้าเดือนสิมาเป็นเดือนสี่
    หลังจากบุญข้าวจี่สิมาบุญเผวสเจ้าเฮาสิได้แต่งทาน
    ทุกเขตบ้านย่านถิ่นดินอีสาน
    สุขสำราญเหลือหลายม่วนมิงกะเลยฟ้อน
    ตกหว่างตอนคนตั้งใจฟังสิวอนหวี่
    ตอนกัณหาชาลีสิพรากพ่อแม่แก้วคนสิไห้นั่งฟัง

    สำหรับมูลเหตุหรือความเชื่อในเรื่องของการทำบุญเผวส มีเรื่องเล่าไว้ในหนังสือเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ในสมัยหนึ่ง พระมาลัยเถระได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกตแก้วจุฬามณีบนสวรรค ์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนาธรรมกับพระศรีอริเมตไตยโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในภัททกัปป์นี้ เมื่อพระศรีอริยเมตไตยโพธิสัตว์ได้ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยเถระแล้ว จึงได้สั่งความมากับพระมาลัยเถระว่า ถ้ามนุษย์ต้องการพบและเกิดร่วมกับท่านในอนาคต ให้เชื่อฟังพ่อแม่ สมณพราหมณ์ ครูบาอาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้า และอย่ายุยงให้สงฆ์แตกจากกัน และให้พากันตั้งใจฟังเทศน์มหาเวสสันดรให้จบภายในวันเดียว แล้วจะได้เกิดร่วมและพบเห็นพระองค์ ด้วยอาศัยเหตุนี้คนท้องถิ่นชาวอีสานจึงได้เอาบุญเผวสหรือบุญเทศน์มหาชาติ โดยได้กำหนดเอาในช่วงเดือนสี่ แต่ในส่วนของภาคกลางโดยเฉพราะในกรุงเทพฯ นิยมทำกันในช่วงเข้าพรรษาและใช้เวลาในการเทศน์หลายวันกว่าทางอีสาน แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในระยะ ๓ วัน.
    พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ
    พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง
    “ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าได้ไลหนีเว้น แนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว”
    ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัย แสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จง อย่าฆ่าบิดามารดา สมณะ พราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟัง เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดีนว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์ มา ก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่?

    cont.....>>

  6. #6
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ฮีตที่ ๕ บุญสรงน้ำหรือบุญเดือนห้า

    ทำบุญตรุษสงกรานต์ ประเพณีนี้ทำเหมือนๆกับภาคกลาง จะต่างกันก็ในเรื่องการละเล่นหรือการรดน้ำ สาดน้ำ สีกาอาจจะสาดพระสาดเณรได้ ไม่ถือ พระบางรูปกลัวน้ำถึงกับวิ่งก็มี บางแห่งสาวๆตักน้ำขึ้นไปสาดพระเณรบนกุฏิก็มี แต่การเล่นสาดน้ำนี้ไม่สาดเฉพาะวันตรุษเท่านั้น ระยะใกล้ๆกลางเดือนห้าสาดได้ทุกวัน บางปีเลยไปถึงปลายเดือนก็มีถ้าอากาศยังร้อนมากอยู่ นอกจากนี้ยังมีประเพณีสรงน้ำพระพุทธและพระสงฆ์ด้วย คือระยะกลางเดือนห้าอากาศร้อน สาวๆจะตักน้ำไปวัดสรงพระคือให้พระอาบและสรงพระพุทธรูปด้วย เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ ทุกวัดจะมีหอสรงอยู่ คือถึงเทศกาลนี้ก็อัญเชิญพระพุทธรูปไปตั้งในหอ ให้ชาวบ้านมาสรงกัน อากาศร้อนๆ เด็กๆ ก็ชอบเข้าไปเบียดกันใต้หอสรงรออาบน้ำสรงพระ ขลังดี ล้างโรคภัยได้ หอสรงเป็นไม้กระดานน้ำไหลลงใต้ถุนได้ เด็กก็เลยได้อาบน้ำสนุกสนานไปด้วย
    คำว่า "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า "สงกรานต์" ปีหนึ่งมี 12 ราศี แต่วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษ เราเรียกเป็นพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาขึ้นปีใหม่ตามคติโบราณ
    สงกรานต์ เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้น
    สงกรานต์ เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้
    ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีทำบุญวันตรุษ จะทำ 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย
    ส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปี
    วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันสำคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเอง
    เรื่องของสงกรานต์ มีตำนานปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ำรวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่า เศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดลองความรู้ โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ
    เช้าราศีอยู่ที่ไหน
    เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน
    ค่ำราศีอยู่ที่ไหน
    ภายใน 7 วันจะมาฟังคำตอบ ธรรมบากลุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียทำรังอยู่บนนั้น
    ตอนค่ำนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหากบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และคำตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า
    ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า
    ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก
    ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอน
    ธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อำนาจมาก ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าโยนลงน้ำ มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้ แห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ โดยกำหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจำวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้
    วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ
    วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค
    วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษส
    วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มัณฑา
    วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี
    วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา
    วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหทร
    สงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ำ มีการเล่นสาดน้ำและเล่นกีฬาพื้นบ้าน
    ประเพณีปล่อยปลาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเดือนเมษายน เป็นหน้าแล้ง อากาศร้อนมาก น้ำแห้งขอด ปลาก็จะไปรวมกันอยู่ตามแหล่งน้ำเล็ก ๆ หากน้ำแห้งก็จะตาย เป็นเหยื่อของนก กา หรือสัตว์อื่น คนเห็นก็เมตตา นำไปปล่อยในแม่น้ำ พอถึงฤดูฝนปลาที่รอดตายก็กลับมาแพร่พันธุ์เป็นอาหารของคนได้อีก
    พิธีทำบุญสงกรานต์ นิยมทำในเดือนห้า โดยเริ่มตั้งแต่วันทื่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน โดยวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ นที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้ายเป็นเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป(นวันขึ้นปีใหม่ วันแรกมีพธธีสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ตอนกลางคืนอาจมีการคบงันที่วัด มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันตลอด 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน ในวันที่ 15 เมษายนบางแห่งตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายมีการแขวนธงยาวและก่อเจดีย์ทรายที่วัด นอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การแห่ข้าวพันก้อน และการแห่ดอกไม้ด้วย
    ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ซาวเมือง จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป ให้ทำทุกวัด แท้อย่าไลม้างห่างเสีย ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน จั่งสิสุขยิ่งล้น ทำถืกคำสอน ถือฮีตคองควรถือแต่ปฐมพุ้น
    ตรุษสงกรานต์หรือบุญสรงน้ำ การสรงน้ำมีการรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยน้ำอบน้ำหอมเพื่อขอขมาและขอพร เป็นประเพณีอันดีงามควรรักษาไว้ มีการทำบุญถวายทาน การทำบุญสรงน้ำกำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า บางทีเรียกว่า บุญเดือนห้า ถือเป็นเดือนสำคัญ เพราะเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไทย
    การรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ เรียกว่า "สรงน้ำ" หรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ตรุษสงกรานต์ โดยตรุษสรงกรานต์คือ วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน ในระยะนี้เรียกว่าตรุษสงกรานต์ เพราะมีกำหนดดทำในเดือนห้าจึงได้ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนห้า" โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโปราณ ดังที่ปรากฏในบทผญาเกี่ยวกับบุญเดือนห้าว่า...
    ตกฤดูเดือนห้าสายลมบ่มาผ่าน
    เห็นดอกจานเพิ่นแย้มบานเย้ยท้องนา
    เดือนห้านี้บ่ได้ช้าปีใหม่มาเถิง
    ให้พากันทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ
    เต่าสิถามหาบุ้นคนใจบุญสิมาปล่อย
    นก สิ งอยง่าไม้คอยท่าตั้งแต่ฝน
    เดือนนี้ม่วนจ้นๆ คนกะหลั่งมาหลาย
    หาเอาทรายมากองก่อเจดีย์ไว้

    นอกจากนี้ยังมีการขนทรายเข้าวัดก่อเจดีย์ทราย หรือชาวอิสานเรียกกันว่า "พระทราย" คือทรายที่ก่อเป็นกองแล้วเอาธงผ้าธงกระดาษไปปักไว้บนยอดและรอบๆ โบราณอิสานเรียกว่า"กองประทาย"บ้าง เรียกว่า "กองประทราย" บ้าง หรือจะเรียกให้ตรงกับคำบาลีว่า "วาลุกเจติยํ" ซึ่งแปลว่า เจดีย์ทราย ซึ่งก็ได้แก่กองพระทรายนั่นเอง
    มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทรายนั้น มีเรื่องเล่าในหนังสือธรรมบทว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำใกล้เมืองพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นทรายขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง และมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงได้กวาดเอาทรายมากองบูชาพระรัตนตรัยนับได้ ๘๔,๐๐๐ กอง เท่ากับจำนวนที่เกี่ยวกับหมวดธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ตลอดช่วงที่บำเพ็ญพุทธกิจ ๔๕ พรรษา ครั้นแล้วจึงได้เสด็จไปทูลถาม พระพุทธเจ้าถึงอานิสงฆ์ของการก่อเจดีญ์ทรายถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือเจดีย์ทรายเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเกิดเป็นมนุษย์สมบัติเพรียบพร้อมไปด้วยยศศักดี์บริวาร มีเกียจชื่อเสียงขจรไปทั่วทิศานุทิศ ครั้นตายไปจะประสบสวรรค์สมบัติมีนางฟ้าเป็นบริวาร โดยอาศัยเหตุที่การก่อเจดีย์ทรายมีอานิสงส์มาก คนอิสานโบรานจึงนิยมก่อพระทราย หรือเจดีย์ทรายเป็นประเพณีจนทุกวันนี้
    ประเพณีในการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเทศกาลนี้ คือ การปล่อยสัตว์ เช่น นก ปู ปลา หอย เต่า เหล่านี้เป็นที่นิยมปล่อยกัน จนกระทั่งได้ปรากฏไว้ในบทผญาประจำเดือนที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เพราะถือว่าการไถ่ถอนสัตว์อื่นนั้นมีบุญมาก เป็นการปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์ในเหศกาลเดือนห้านี้ด้วย.

    cont.....>>

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    อ่านมาแต่ละฮีตลุงใช้เวลาไปเกือบ 45 นาทีแหมโอ้ยบ่เคยอ่านรายละเอียดแบบเช่นนี้มาก่อน
    ขอบคุณครับ

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Gentleman007
    วันที่สมัคร
    May 2012
    กระทู้
    125
    ..นึกถึงเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก (..แสดงว่าตอนนี้แก่แร่ะ 555)
    พอถึงงานบุญเผวส (..น่าจะจำไม่ผิด) จะรู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขมาก
    เพราะที่วัดเค้าจะมีเครื่องไฟแล้วประกาศเชิญชวนให้ทำบุญผ่านเครื่องขยายเสียงกัน
    อีตอนทำบุญก็มีกระดาษแผ่นเล็กๆให้เขียนชื่อไปด้วย
    จากนั้นพระท่านก็จะ"แหล่"(..น่าจะเรียกไม่ผิด)ให้ศีลให้พรออกทางเครื่องขยายเสียง
    ..พอได้ยินพระท่านให้พรถึงชื่อตัวเอง ก็ยิ้มซ่ะแก้มปริ .....มีความสุขที่สุดครับ

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558
    ขอบคุณ อ้ายสุภาพบุรุษ007
    เป็นข้อมูลที่ดีและมีค่าหลายครับ ผมสิลอกเก็บไว้
    บ้านผมวาปีฯ สารคาม กะยังคงมีอยู่เกือบทุกฮีต ขาดแต่บุญเดือนสี่บุญผเวส เว้นมานาน

    อีกบ่หลายมื้อกะสิอออกพรรษาแล้วเนาะครับ เป็นเด็กน้อยกะจูดกะโพกกับแล่นนำโคม ตกคันแทกะพองนั้น

  10. #10
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ suny
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    ภูมิลำเนา มหาสารคาม ทำงาน ประจวบ
    กระทู้
    787
    ขอบคุณหลายๆเด้อครับ สำหรับข้อมูลดีๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของทางอีสานบ้านเฮา

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •