หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 11 ถึง 20 จากทั้งหมด 27

หัวข้อ: วรรณกรรมอีสาน

  1. #11
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    กลับมาอ่านทานย้อนยุคสมัย(ประวัติที่มาของแต่ละเมือง)แล้วให้มีความรู้สึกย้อนกลับไปเรียนป.เข้ไก่อีกพ่ะน่ะ

  2. #12
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน)


    5. ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน)




    ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน)

    อักษรธรรม 3 ผูก วัดหนองควายน้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี




    ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน)


    ท้าวขูลู เป็นโอรสเจ้าเมืองกาสี ส่วนนางอั้วเคี่ยม เป็นธิดาเจ้าเมืองกายนคร ทั้งสองเมืองมีความสัมพันธ์อันดี เจ้าเมืองและพระมเหสีของทั้งสองเมืองต่างก็เป็นมิตรกัน และเคยให้คำมั่นว่าถ้ามีโอรส ธิดาจะให้สมรสกัน ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมเกิดปีเดียวกัน นางอั้วเคี่ยมมีความงดงามมาก เล่าลือไปถึงเมืองขุนลางซึ่งเป็นขอมภูเขาก่ำ (เขมรป่าดงหรือชาวป่าสักขาลายสีดำ) เป็นชนเผ่าที่ยังไม่เจริญ

    เมื่อท้าวขูลูเจริญวัยอยากมีคู่ครองจึงลามารดามาเที่ยวเมืองกายนครและได้นำเครื่องบรรณาการมาเยี่ยมเจ้าเมืองด้วย เพื่อท้าวขูลูได้พบนางอั้วเคี่ยมต่างก็มีจิตใจปฏิพัทธ์ต่อกัน ท้าวขูลูลากลับพระนครเพื่อส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอ

    ขุนลางหัวหน้าเผ่าชนภูเขาได้ส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม มารดาของนางได้รับปากเพราะนางไม่พอใจที่มารดาท้าวขูลู ซึ่งเป็นเพื่อนกัน ตั้งแต่คราวที่นางตั้งครรภ์นางอั้วเคี่ยมและได้ไปเที่ยวอุทยานเมืองกาสี เห็นส้มเกลี้ยงในอุทยานนึกอยากกินตามประสาคนท้อง แต่มารดาท้าวขูลูไม่ยินดี นางนึกน้อยใจและโกรธจึงตัดขาดจากความเป็นเพื่อนกัน


    ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน)


    นางอั้วเคี่ยมเมื่อรู้ข่าวก็เสียใจและไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าขุนลางเป็นคนนอกศาสนา ไม่นับถือพระธรรม แต่มารดาได้ส่งแม่สื่อไปยอมรับคำสู่ขอนั้นและรับปากว่าจะปลอบประโลมนางอั้วเคี่ยมในภายหลัง

    ฝ่ายท้าวขูลูได้บอกบิดามารดามาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม แต่มารดานางอั้วเคี่ยมไม่ยินยอมโดยให้เหตุผลว่าได้รับหมั้นขุนลางไว้แล้ว ท้าวขูลูจึงขอให้บิดาส่งแม่สื่อมาขอพบนางอั้วเคี่ยมอีกครั้ง และได้อ้างคำพูดที่เคยตกลงกันไว้สมัยก่อน คราวนี้มารดาท้าวขูลูเดินทางมาด้วยและทวงคำมั่นนั้น

    แต่มารดานางอั้วเคี่ยมกล่าวถึงความโกรธในครานั้นและขอคืนคำมั่นทั้งหมด ในที่สุดจึงตกลงกันว่าจะเสี่ยงทายสายแนนหรือรกห่อหุ้มทารก ซึ่งเชื่อกันว่าทุกคนจะมีสายรกพัวพันกันอยู่บนเมืองแถนก่อนมาเกิดและต้องเป็นคู่กันตามสายแนนนั้น ถ้าแต่งงานผิดสายแนนจะต้องหย่าร้างกัน และให้คนทรงทำพิธีเซ่นพระยาแถนและนำของไปถวายพระยาแถนเพื่อขอดูสายแนนของทั้งสอง พบว่าสายของทั้งสองพันกันอยู่ แต่ตอนปลายยอดด้วนและปลายแยกออกจากกัน ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อคู่แต่อยู่กันไม่ยืดต้องพลักพรากในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าสายแนนของท้าวขูลูมีแท่นทองอยู่ด้วยแสดงว่าเป็นพระโพธิสัตว์

    เมื่อแม่สูนหรือนางทรงหรือนางเทียม กลับมาได้แจ้งความดังนั้น โดยบอกว่าทั้งสองต้องตายจากกัน ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันได้บางส่วน คือ มารดาท้าวขูลูจะส่งขันหมากมาสู่ขออีกครั้ง แต่มารดาของนางอั้วเคี่ยมกังวลที่ได้รับหมั้นขุนลางไปแล้ว ในที่สุดฝ่ายเมืองกาสีจึงลากลับ

    ฝ่ายมารดานางอั้วเคี่ยมทราบว่าธิดาของตนได้ลักลอบพบกับท้าวขูลูที่อุทยาน นางโกรธมากจึงด่านางอั้วเคี่ยมว่าไปเล่นชู้ ไม่รักนวลสงวนตัว เสียพงศาเผ่าพระยา

    นางอั้วเคี่ยมเสียใจมากจึงผูกคอตายที่อุทยาน ความทราบถึงเจ้าเมืองและมารดาต่างก็เสียใจ ส่วนขุนลางก็ถูกธรณีสูบในคราวเดียวกัน

    ท้าวขูลูทราบข่าวการตายเสียใจมาก คลุ้มคลั่งประจวบกับผีตายโหงเข้าสิงจึงคว้ามีดมาแทงคอตนเองตายในที่สุด


    ย้อนไปในอดีตชาติ เนื่องจากท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมได้ก่อเวรไว้จึงต้องมาใช้เวรกรรมในชาตินี้คือไม่สมหวังในความรัก เพราะเมื่อชาติก่อนท้าวขูลูเป็นเจ้าเมืองเบ็งชอน (บัญชร) นางอั้วเคี่ยมเกิดเป็นมเหสีชื่อว่านางดอกซ้อน มีผัวเมียคู่หนึ่งไม่ยำเกรงนางดอกซ้อน นางโกรธมากจึงฟ้องเจ้าเมืองให้ลงโทษคนคู่นี้ เจ้าเมืองสั่งไม่ให้เป็นผัวเมียกัน หากพี่น้องคนใดชักนำให้มาอยู่กินเป็นผัวเมียอีกจะถูกประหาร ทำให้ทั้งคู่เสียใจมาก เมียผูกคอตาย ผัวใช้มีแทงคอตนเองตาย เวรกรรมจึงตามสนองท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมในชาตินี้

    ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมได้ไปเกิดบนสวรรค์ทั้งสองคนและได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเมืองกาสีและกายนครนั้นได้จัดพิธีศพโดยเผาคนทั้งสองพร้อมกัน สร้างพระธาตุบรรจุอัฐิทั้งสองไว้ที่เดียวกัน และกลับมาสมัครสามัคคีดังเดิม ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมได้แสดงอภินิหารให้ผู้คนชาวเมืองได้เห็น



    ขูลู - นางอั้ว - คณะนกยูงทอง



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=NxwLSW7TsW4



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=Bc5GGJnPG18



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=n7sF2MVIBRA



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=h_x6fDtciGs



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=SPyMB4HzJmw



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=0psGsKDr4nE



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=Y5lJNMIvSSY



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=klFnaWepgP4






    ขอบคุณ
    - xn--o3cdbaaf0a2nen1byqc.whitemedia.org
    -ผู้ใช้นามว่า gumjue712517 บน youtube.com
    - โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร op.mahidol.ac.th

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #13
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    จำปาสี่ต้น


    6. จำปาสี่ต้น


    จำปาสี่ต้น
    อักษรธรรม 1 ผูก วัดทุ่งศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี




    จำปาสี่ต้น



    เมืองจักขินมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีพ่อค้าวาณิชไปมาค้าขายอย่างเนืองแน่น อยู่ต่อมามีพญาฮุ้ง(เหยี่ยวรุ้ง)มาจับคนในเมืองกินทุกวัน เจ้าเมืองไม่อาจจะต่อกรกับพญาฮุ้งได้ มีผู้วิเศษอาสาต่อกรกับพญาฮุ้ง ก็ถูกจับกินจนหมดสิ้น เจ้าเมืองจึงนำพระธิดาชื่อนางปทุมา ซ่อนไว้ในกลองยักษ์กลางเมือง พญาฮุ้งได้มาจับผู้คนกินจนกลายเป็นเมืองร้าง ประชาชนที่เหลืออยู่ต่างก็หนีไปอยู่เมืองอื่น

    ท้าวจุลละนีครองเมืองปัญจานครออกประพาสป่าล่าสัตว์ ได้หลงเข้ามายังเมืองร้าง จึงพาเสนาสำรวจบ้านเมืองพบกลองใบใหญ่อยู่กลางเมือง จึงได้ตีกลองเพื่อจะเป็นสัญญาณให้รู้ว่ามีคนมา ครั้นตีกลองได้ยินเสียงหญิงสาวร้องอยู่ในกลองจึงใช้พระขรรค์ผ่าหนังหน้ากลองพบนางปทุมาเมื่อนำออกมาถามไถ่ได้ความว่าพญาฮุ้งจะมากินคนเมื่อได้ยินเสียงกลอง พระบิดานำนางมาไว้ในกลองเพราะโหรได้ทำนายว่าจะมีผู้วิเศษมาปราบพญาฮุ้งได้ เมื่อพญาฮุ้งบินมา ท้าวจุลละนีก็ฆ่าตายต่อหน้านางปทุมา

    ท้าวจุลละนีจึงรับนางปทุมาเป็นชายาพากลับเมืองปัญจานคร ท้าวจุลละนีมีมเหสีฝ่ายขวาก่อนแล้วชื่อว่า นางอัคคี ทั้งสองก็รักใคร่ปรองดองกันดี ครั้งเมื่อนางปทุมาตั้งครรภ์ ฝันว่าพระอินทร์เอาแก้วมาให้ ๔ ดวง โหรทำนายว่าจะได้โอรสมีบุญบารมีมาก นางอัคคีอิจฉาเพราะนางไม่มีโอรส แต่กระนั้นก็ตามนางก็ยังทำดีต่อนางปทุมาเสมอต้นเสมอปลาย

    ครั้งเมื่อนางปทุมา จะประสูติโอรส นางอัคคีก็ออกอุบายเอาผ้าปิดตาปิดหูนางปทุมา โดยอ้างว่าเป็นพระราชประเพณีของเมืองปัญจานคร นางก็เอาลูกสุนัขมาเปลี่ยนลูกนางปทุมา แล้วให้นางทาสีนำกุมารทั้งสี่ไปลอยแพทิ้งน้ำไป เมื่อท้าวจุลละนีทราบว่านางปทุมาคลอดบุตรเป็นสุนัขก็กริ้ว กล่าวหาว่านางสมสู่กับสุนัขจึงขับไล่ไปจากเมือง นางปทุมาอุ้มลูกสุนัขโดยเข้าใจว่าเป็นลูกของตนไปอาศัยอยู่กับหญิงม่ายซึ่งเป็นคนใจร้าย ใช้นางทำงานหนักจนซูบผอม


    จำปาสี่ต้น


    กล่าวถึงกุมารทั้งสี่ถูกลอยแพ แพได้ลอยไปติดอยู่ที่ท่าน้ำบ้านตายาย ตายายเห็นเป็นกุมารหน้าตาดีจึงเลี้ยงไว้ด้วยไว้ด้วยความเอ็นดู ความทราบถึงนางอัคคีว่ากุมารที่สี่ยังไม่ตาย จึงให้นางทาสีนำอาหารใส่ยาพิษมาให้กุมาร ตายายกลับจากนาเห็นกุมารทั้งสี่นอนตายกอดกันกลมก็โศกเศร้าสงสารจึงนำไปฝังเรียงกันทั้ง ๔ ศพ

    กาลเวลาผ่านไปไม่นานก็เกิดเป็นต้นจำปาสี่ต้น ตายายดีใจที่ยังเห็นหลานทั้งสี่มีชีวิตอยู่จึง หมั่นรดน้ำพรวนดินต้นจำปาจนงอกงาม นางอัคคีทราบความอีกจึงสั่งให้เสนามาโค่นต้นจำปานำไปทิ้งน้ำเสีย ต้นจำปาลอยน้ำไปติดอยู่หน้าอาศรมฤาษี ฤาษีใช้มีดตัดต้นจำปาเห็นมีเลือดออกจึงรู้ว่าไม่ใช่ต้นจำปาทั่วไป พระฤาษีจึงเสกให้เป็นคนเหมือนเดิม ส่วนเจ้าคนเล็กนิ้วขาดเพราะพระฤาษีตัดตอนเป็นต้นจำปา พระฤาษีจึงต่อนิ้วเพชรมีอิทธิฤทธิ์ “ชี้ตายชี้เป็น” พระฤาษีสอนวิชาอาคมต่างๆ แก่กุมารทั้งสี่ ตั้งชื่อว่า จำปาทอง จำปาเงิน จำปานิล และคนเล็กชื่อเจ้านล

    พระอินทร์ทราบว่านางปทุมาได้รับความลำบากมาก จึงปลอมเป็นชีปะขาวเล่าเรื่องให้กุมารทั้งสี่ฟัง กุมารทั้งสี่จึงขอลาพระฤาษีติดตามมารดา ระหว่างทางเดินเข้าเมืองยักษ์ เจ้านลได้ชี้นิ้วเพชรปราบยักษ์และชุบชีวิตยักษ์จนยักษ์ยกเมืองและธิดาให้ เจ้านลก็ให้พี่ๆ ได้ครองเมืองได้พระธิดาเป็นชายาทั้งสามเมืองที่ผ่านมา แต่ก็ได้พำนักอยู่แต่ละเมืองไม่นานก็ลาไปติดตามมารดา

    ระอินทร์ชีปะขาวมาส่งถึงเมืองปัญจานคร และบอกให้สี่กุมารปลอมตัวเป็นยาจกไปอาศัยอยู่กับยายเฒ่าเฝ้าสวน และสืบหามารดาจนพบว่าเป็นทาสีซูบผอม เมื่อทราบที่อยู่ของมารดาแล้วก็แต่งเครื่องทรงกษัตริย์สั่งให้ยายเฒ่าเฝ้าสวนพาไปพบมารดา เมื่อแม่ลูกพบกันและเล่าเรื่องแต่หนหลังก็โศกเศร้าอาดรู สี่กุมารให้ทรัพย์สินตอบแทนยายเฒ่าเฝ้าสวนจำนวนมาก และลงโทษหญิงม่ายใจร้ายที่ทารุณกรรมมารดาอย่างสาสม

    เจ้านลคิดแค้นนางอัคคีมาก จึงชวนพี่ทั้งสามเหาะไปยังปราสาทแล้วเขียนสารถึงบิดาไว้ที่แท่นบรรทม ให้ส่งตัวนางอัคคีและนางทาสีคนสนิทไปลงโทษและบอกความจริงทุกประการ

    ท้าวจุลละนีทราบดังนั้นก็ดีพระทัยที่โอรสทั้งสี่ยังมีชีวิตอยู่ วันรุ่งขึ้นจึงจับนางอัคคีและนางทาสีไปให้กุมารลงโทษ สี่กุมารจึงตัดสินให้ลอยแพนางอัคคีและนางทาสีไปในทะเลตามยถากรรม หลังจากนั้นพระองค์ก็นำราชรถไปรับนางปทุมากลับนคร

    สี่กุมารก็พาพระมารดาเข้าเมืองพร้อมกับท้าวจุลละนีและให้ไปรับตายายที่เลี้ยงดูตนมาอยู่ในวัง ส่วนพี่ทั้งสามก็ขอลาไปปกครองบ้านเมืองกับพระชายาส่วนเจ้านลก็ครองเมืองปัญจานครแทนบิดาสืบไป



    ลำเรื่องต่อกลอน ชุด จำปาสี่ต้น คณะรังสิมันต์


    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 1-3


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=fB6PNNofO68



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 4-6


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=HHDKg2P2Z0I



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 7-9


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=9SnwtotGkHw



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 10-12


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=IJkGcv96UBw



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 13-15


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=GX9id_otLCY



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 16-18


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=AwBA1fTfO1k



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 19-21


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=jM9B80P59U8



    จำปาสี่ต้น ตอนที่ 22 - 24


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=-ZHeNFJXGfc







    กรมศิลปากร 2531.
    ปิยะฉัตร ปีตะวรรณ. การสำรวจใบลานในเขตจังหวัดภาคอีสาน. ภาควิชาประวัติศาสตร์
    วิทยาลัยครูอุบลราชธานี, มปป.
    อรทัย เลียงจินดาถาวร และ โสรัจ นามอ่อน. หนังสือใบลานจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2545.
    บ้านจอมยุทธ



    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #14
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เชตพน


    7. เชตพน


    เชตพน

    อักษรธรรม 1 ผูก วัดบ้านกอก ต.บ้านกอก อ.เขื่องใน จ. อุบลราชธานี




    เชตพน



    พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทราบข่าวว่า วัดพระเชตพน เมืองสาวัตถีเจริญรุ่งเรืองมาก ประสงค์จะทราบความจริงและจะได้คัมภีร์พระอภิธรรม พระองค์จึงแต่งราชฑูตคณะหนึ่งไปสืบดู คณะราชฑูตที่ไปมีขุนไทยเป็นหัวหน้าออกขุนเมืองลิง, ออกขุนพล , และออกขุนพลายเป็นรองนายกรวิกเป็นองครักษ์ และมีคนโบราณใหญ่สูง 6 ศอก เป็นคนนำทางพร้อมกับไพร่ 500 คน เป็นชาย 400 คน หญิง 100 คน

    การเดินทางใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ คณะราชฑูตออกเดินทางประมาณเดือนอ้าย เดินทางไป 3 เดือน ถึงเมืองหงสาวดีเข้าเฝ้าเจ้าเมืองและพักอยู่ที่นั้น 3 วัน แล้วเดินทางต่อไปอีก 3 เดือน 14 วัน ถึงปลายแดนเมืองหงสาวดีมีเจดีย์ใหญ่ ชื่อพระธาตุชะกุ้ง (ชเวดากอง) พากันบูชาแล้วเดินทางเข้าป่าหิมพานต์พบสิงสาราสัตว์ ภูติผีปีศาจและธรรมชาติต่างๆ เป็นแวลา 7 ปี

    จนถึงแม่น้ำมหิง ไพร่หนุ่มสาวที่เดินไปด้วยได้แต่งงานให้กำเนิดเด็กประมาณ 300 คน คณะฑูตได้เดินทางไปอีก 1 ปี จึงไปพบพระฤาษีไตรคำ จึงได้ทราบข่าวเรื่องมาลัยเจดีย์วัดพระเชตพน เมืองสาวัตถี ซึ่งอยู่บนเขาเนมินธร์ ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี

    ขณะเดินทางขึ้นเขาเนมินธริ์ ผู้คนป่วยเป็นโรคลงท้องตายไป 205 คน ที่เหลือจึงเดินทางต่อไปเป็นเวลาแปดวันก็ถึงเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าถวายราชบรรณาการแด่กษัตริย์เมืองสาวัตถี พักอยู่ที่นั้นคืนหนึ่ง รุ่งขึ้นจึงเดินทางไปวัดพระเชตพนเข้าเฝ้าถวายสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราช แล้วบูชาพระมาลัยเจดีย์ วัดส่วนต่างๆ ของเจดีย์ ไว้

    คณะราชฑูตได้ทูลขอพระอภิธรรมปิฏก ทั้ง 7 คัมภีร์ สมเด็จพระสังฆราชก็ประทานให้ตามประสงค์ ชายที่ไปด้วยมีความเลื่อมใสบวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดเชตพน 15 คน นอกนั้นพักอยู่ที่นั้น 1 เดือน แล้วเดินทางกลับ ขากลับได้ชมหมู่บ้านหิมพานต์ ซึ่งมีความเจริญมาก

    แล้วเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาทั้ง 588 คน ซึ่งเมื่อเดินทางไปมี 506 คน เกิดใหม่ 300 คน รวม 800 คน ตายเสียระหว่างทาง 205 คน บวชที่วัดพระเชตพน 15 คน ขากลับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้คนไปรับถึงเมืองหงสาวดี และทรงต้อนรับอย่างดี





    ขอบคุณ
    esansawang.in.th
    บ้านจอมยุทธ




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #15
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เซียงเมี่ยง


    8. เซียงเมี่ยง



    เซียงเมี่ยง

    อักษรธรรม 1 ผูก วัดนามึน ต.ในเมือง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี





    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=sAsJMk0NiUg

    นิทานเซียงเมี่ยง ตอนนิทานเหลือเชื่อ



    เซียงเมี่ยงเป็นนิทานเจ้าปัญญาที่มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นสำนวนต่างๆ แล้วแพร่ กระจายไปทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เฉพาะสำนวนของภาคอีสานนั้นมีหลายสำนวน แต่พอสรุปเรื่องได้ว่า

    กษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองสียุดทิยา มเหสีประสูติพระโอรสแต่โหรทำนายว่า จะเลี้ยงยาก ต้องหาเด็กที่เกิดวันเดียวกันมาเลี้ยงด้วย จึงไปขอลูกนางคำฮางซึ่งเกิดวันเดียวกันมาเลี้ยงร่วมกัน โดยให้นางสนมเป็นคนเลี้ยง เมื่อโตขึ้นจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และมีช่วงหนึ่งได้ออกบวชแล้วก็สึกออกมารับใช้กษัตริย์ต่อไป


    ส่วนเนื้อเรื่องที่แสดงถึงความเป็นเจ้าปัญญาของเซียงเมี่ยงนั้นมีเป็นตอนๆ เช่น เซียงเมี่ยงเลี้ยงน้อง เซียงเมี่ยงเก็บหมาก เซียงเมี่ยงกินข้ออ้อยจนเกิดมีปัญญาเหนือกว่าคนอื่น ลองปัญญากับสมภาร พนันกับลาวส่งเมี่ยง เซียงเมี่ยงแต่งงาน (เลือกคู่) ให้ยาดีแก่พระราชา พระราชาแกงแร้งให้เซียงเมี่ยงกิน เซียงเมี่ยงหลอกพระยาเลียขี้แร้ง พระราชาให้นางสนมเล่นออกไข่ เซียงเมี่ยงติเรือนพระราชา เซียงเมี่ยงติช้างพระยา พระราชาให้ไปหาปากง่าม เซียงเมี่ยงหลอกพระยาลงหนองน้ำ พระราชาให้ไปหาผ้าลายตีนแต้ม เซียงเมี่ยงหลอกดูก้นสมภาร พระราชาสั่งให้เซียงเมี่ยงล่วงหน้าไปก่อน พระราชาสั่งให้มาก่อนไก่ เซียงเมี่ยงขอที่เท่าแมวดิ้นตาย เซียงเมี่ยงขอเงินหนึ่งบาท พระราชาให้นางสนมไปอุจจาระรดเรือนเซียงเมี่ยง เจ้าต่างเมืองมาท้าชนหัวล้าน ภรรยาบอกให้เซียงเมี่ยงหาเงิน เซียงเมี่ยงทายใจเสนา เซียงเมี่ยงหลอกให้ดมตด เซียงเมี่ยงทายว่าพระราชาจะตายใน 7 วัน เซียงเมี่ยงตอบปัญหากับราชครูเมืองตานี เซียงเมี่ยงแก้มือศึกเมืองปัญจานคร พระราชาให้เซียงเมี่ยงไปเก็บพริก เซียงเมี่ยงกองก้นรับเสด็จ เซียงเมี่ยงชนวัว เซียงเมี่ยงชนไก่ เซียงเมี่ยงสานตะกร้าในน้ำ เซียงเมี่ยงกู้เงินจะใช้คืนในสองเดือน

    เซียงเมี่ยงเอาเปรียบเณรน้อยในเรือ เณรน้อยแก้แค้นเซียงเมี่ยง เซียงเมี่ยงถูกยาเบื่อตาย กระดูกเซียงเมี่ยงทำพิษแก่แม่หม้าย เป็นต้น (ยังมีอื่นๆ อีก แตกต่างกันบ้าง)


    เช่น

    นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ-เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงแบ่งช้าง

    นิทานล้านนา เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงแบ่งช้าง



    บรรดาบุคคลที่เฉลียวฉลาดและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยคล่องแคล่วว่องไวใน วรรณคดีของไทยแล้ว ทุกคนต้องยกให้เซี่ยงเมี่ยง บางคนถึงเติมสร้อยให้ว่า เซี่ยงเมี่ยงเจ้าปัญญา มีช้างพังเชือกหนึ่งของเจ้าผู้ครองประเทศข้างเคียง หลงทางพลัดเข้าในสวนของเซี่ยงเมี่ยง เซี่ยงเมี่ยงสั่งให้ข้าทาสของตนจับช้างนั้นไว้ เขานำเอาช้างพังตัวนั้นไปรับจ้างชักลากฟืน ตลอดจนบรรทุกของต่าง ๆ
    ข่าวการได้ช้างของเซี่ยงเมี่ยงทราบไปถึงพระกรรณของเจ้าผู้ครองนคร พระองค์ให้เสนามาเรียกเซี่ยงเมี่ยงไป เมื่อพบก็ตรัสถามทันทีว่า

    ‘’ เออ เจ้าเซี่ยงเมี่ยง ข้าทราบว่าเจ้าจับช้างได้ใช่ไหม ”

    เซี่ยงเมี่ยงกราบทูลว่า ‘’ เป็นความจริงพระพุทธเจ้าข้า ”

    เจ้าผู้ครองนครตรัสว่า ‘’ ดังนั้นก็แล้ว ทรัพย์สินใด ๆ ที่พลัดเข้ามาในเขตขัณฑสีมาของข้าทรัพย์นั้นควรเป็นของข้าครึ่งหนึ่งเสมอ ‘’

    เซี่ยงเมี่ยงกราบทูลว่า ‘’ เป็นความจริงพระพุทธเจ้าข้า หากพระองค์มีพระประสงค์ข้าพระพุทธเจ้าขอแบ่งให้พระองค์ครึ่งหนึ่ง

    ( เล่าโดย สมบุญ ศรีชลธาร ตลาดพานิชเจริญ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ .)

    เจ้าผู้ครองนครสรวลออกมาด้วยความพอพระทัย

    ‘’ เออ …. เจ้านี่รู้หลักกฏหมายและขนบธรรมเนียมของบ้านเมืองดีนี่ เจ้าจะแบ่งส่วนไหนให้เราล่ะ ” เจ้าผู้ครองนครถามเซี่ยง เมี่ยงนิ่งคิดสักครู่ก็กราบทูลว่า ‘’ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นข้าแผ่นดินของพกระองค์ ดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าจึงเปรียบเหมือนช้างเท้าหลัง พระองค์เป็นช้างเท้าหน้า ดังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบครึ่งส่วนหน้าให้พระองค์ ส่วนครึ่งหลังเป็นของข้าพระพุทธเจ้าเองพระพุทธเจ้าข้า ”

    เจ้าผู้ครองนครตบพระหัตถ์ด้วยความพอพระทัย
    ‘’ ดีแล้ว ๆ เจ้าพูดถูกต้อง เจ้าคอยดูแลช้างให้ดีก็แล้วกัน ”

    เซี่ยงเมี่ยงก้มลงกราบรับบัญชาแล้วบังคมลากลับบ้าน

    นับแต่วันนั้นมาเซี่ยงเมี่ยงยิ่งใช้งานหนักขึ้น อาหารต่าง ๆ ที่ช้างกินนั้นเขาให้ช้างกินดีที่สุดส่วนค่าอาหารนั้นให้ไปคิดเอาที่เจ้าผู้ ครองนคร เวลารับจ้างได้เงินทองมา เขาก็เก็บรายได้ทั้งหมดที่ใช้ช้างทำงานตอนกลางวันเป็นของตนเสียผู้เดียว

    พอเย็นลงก็ปล่อยช้างให้เข้าไร่เข้าสวนกินกล้วยกินต้นหมาก ต้นมะพร้าวของชาวบ้าน ชาวบ้านจับเรียกค่าไถ่ เซี่ยงเมี่ยงก็ให้ไปเบิกเอาจากท้องพระคลัง เพราะส่วนหน้าของช้างเป็นผู้นำ ดังนั้นเจ้าผู้ครองนครจึงต้องเป็นผู้รับชดใช้ ส่วนของตนอยู่ข้างหลังต้องเดินตามเท้าหน้าไปจึงไม่ได้รับผิดชอบ

    ต่อมาช้างนั้นได้คลอดลูก เซี่ยงเมี่ยงก็รับค่าจ้างทั้งหมดเพราะถือส่วนที่ออกแรงที่สุดคือส่วนข้างหลัง

    เจ้าผู้ครองนครทราบเรื่องราวเห็นว่า ถ้าพระองค์ยังทรงขืนรับส่วนแบ่งเช่นนี้คงขาดทุนเรื่อยไป ดังนั้น พระองค์จึงตรัสบอกเซี่ยงเมี่ยงว่า

    ‘’ อ้ายเซี่ยงเมี่ยงเอ๋ย ช้างที่เจ้าแบ่งส่วนข้างหน้าให้ข้านั้นข้าขอคืนให้เจ้า ข้าไม่ขอรับเอาอีกต่อไปแล้ว ขอยกให้เจ้าทั้งหมด ”

    เซี่ยงเมี่ยงก้มลงกราบ กล่าวคำขอบพระทัยที่พระองค์ทรงพระกรุณาเช่นนั้น
    ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การใดจะได้จะเสียพึงพิจารณาให้รอบคอบ ไม่ควรด่วนตัดสินใจอะไรง่าย ๆ เพราะมักจะนำความเสียหายมาสู่ตนได้

    เซี่ยงเมี่ยงเป็นคนฉลาดแกมโกง คนเยี่ยงนี้จะทำให้คนเดือดร้อนตลอดมา
    คติ

    ‘’ อย่าใจเร็วด่วนได้ ”



    นิทานเซียงเมี่ยง ตอนขั้วขี้ให้หมู่กิน โดยสีคันโซ่


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=PWvbvjsvTKg



    เซียงเมี่ยง ตอน หลวงพ่อเคียดให้ปลา


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=_7_cTFVfyqI



    นิทานเซียงเมี่ยง ตอนยากินข้าวแซบ


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=ex4Y5rDadH4



    เซียงเมี่ยง ตอน หัวล้านชนกัน


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=hw3Y6PIQpug



    เซียงเมี่ยง ตอนพระยาเบื่ออาหาร


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=NLxxHu1GQCs




    ขอบคุณ
    esansawang.in.th
    บ้านจอมยุทธ
    ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    xn--o3cdbaaf0a2nen1byqc.whitemedia.org
    สีคันโซ จาก youtube




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #16
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับครูเล็กได้อ่านนิทาน ได้เบิ่งหมอลำพร้อมกับเซียงเหมี่ยงพร้อมโดยเฉพาะเรื่องจำปาสี่ต้นครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เปี๊ยกครับ; 15-12-2012 at 07:44.

  7. #17
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ทรายฟองหนองคำแสน


    9. ทรายฟองหนองคำแสน



    ทรายฟองหนองคำแสน
    อักษรธรรม 1 ผูก วัดมัชฌิมาวาส บ้านนานางวาน ต.ม่วงใหญ่ กิ่งอ.โพธิ์ไทร




    ทรายฟองหนองคำแสน


    (พระพุทธรูปที่เมืองทรายฟอง แขวงนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตามที่ปรากฏพระนามในจารึกว่า “พระสุคต” ในจารึกของปราสาทพระขรรค์
    รูปเคารพนี้น่าจะมีความหมายถึง “พระองค์ทรงบรรลุสู่พระนิพพาน บรรลุสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า” ดังพระนาม “มหาบรมสุคตบท” ภายหลังการสวรรคตของพระองค์)



    เรื่องราวของวรรณกรรม ทรายฟองหนองคำแสน


    กล่าวถึงเมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ไปโปรดสัตว์ในที่ต่างๆ พร้อมพระสาวกไปถึงดอยช้างสาร มีพระยานาคมาขอศีล ทรงเทศนาสั่งสอน และประทับรอยพระบาทไว้ให้สักการะบูชา ณ ที่แห่งนั้น พระอินทร์ได้มาทูลถามปัญหาถึงการทำบุญของพุทธบริษัทภายหลังที่พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ว่าจะได้อานิสงส์อย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ศาสนาของพระองค์จะมีอายุเพียง 5,000 ปี ใครที่รีบทำบุญในพระพุทธศาสนาจะได้อานิสงส์มาก

    และทรงพยากรณ์อานิสงส์ของการทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ในระยะเวลาต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 1000 เรื่อยไป จนถึง พ.ศ. 5000 ใครทำบุญในยุคหลังๆ จะได้อานิสงส์น้อย เพราะภิกษุในยุคหลังๆ ไม่ใช่พระอรหันต์ ซ้ำยังไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ผู้ทำบุญจึงไม่ได้บุญมากในยุคท้ายๆ การทำบุญแทบไม่มีผล และกล่าวถึงความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในยุคต่างๆ ตามความเชื่อปัญจอันตรธาน (พุทธพจน์จะอันตรธานเพราะสาเหตุห้าประการ)

    ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานแล้ว ถึง พ.ศ. 2430 พระอินทร์ได้เล็งดูสัตว์โลกพบว่าสัตว์โลกทั้งหลายเดือดร้อนกันทั่วไปทุกหย่อมหญ้า เช่น อดอยาก ยากจน เกิดโรคภัยเบียดเบียน เกิดอุบัตวเหตุ คนวิวาทตีด่ากัน คนอายุสั้นลง ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของยักษ์บันดาลให้เกิด

    พระอินทร์จึงให้คาถาไว้แก่ประชาชนเพื่อจะได้ท่องจำไว้รักษาตนเอง พร้อมกับกล่าวถึงคำพยากรณ์ว่า ผู้มีบุญจะมาในปีระกา จอ กุน โดยจะมีกำเนิดจากภูชุน (เว้) เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้วิเศษ จะมาสร้างเมืองทรายฟองหนองคำแสนให้เจริญ (อยู่ฝั่งประเทศลาว) และกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญต่างๆ พร้อมกับสถานการณ์บ้านเมืองในปีนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร

    เอกสารนี้อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้ปลุกระดมในขบวนการผีบุญ (ขบถผีบุญปี พ.ศ. 2444) ในแถบมณฑลอีสาน มณฑลอุดร (หมายเหตุ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกับ หนังสือก้อมกันยักษ์ : ครูวัฒน์)



    หมายเหตุ

    ข ๑. พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับพระยามหาอำมาตย์ ฯ เรียบเรียงทูลเกล้า ฯ ถวายในรัชชกาลที่ ๕
    ๒. พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเณจร) เรียบเรียง เคยพิมพ์อยู่ในหนังสือเทศาภิบาล
    ๓. ตำนานเมืองจำปาศักดิ์ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยตำนานพระพุทธ-บุษยรัตน์ ฉะบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์เมืองนคร-จำปาศักดิ์ เรียบเรียง
    ๔. เรื่องขุนบรม นายสุด ศรีสมวงศ์ เจ้าหน้าที่ในหอสมุดแห่งชาติถอดจากต้นฉะบับเดิมในใบลาน
    ๕. พงศาวดารเมืองยโสธร (เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอขึ้นจังหวัดอุบล ฯ )
    ๖. ตำนานเมืองทรายฟอง ถอดจากฉะบับเดิมเป็นใบลาน (เมืองทรายฟอง เป็นเมืองร้างอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงใต้เมืองเวียงจันทน์ลงมา แต่อยู่เหนือจังหวัดหนองคาย)
    ๗. ตำนานเมืองพวน ๒ ฉะบับ (เป็นแคว้นอยู่ทางตะวันออกของเวียงจันทน์ มีเมืองเชียงขวาง เชียงคำ เป็นต้น)
    ๘. พงศาวดารย่อเวียงจันทน์ ๒ ฉะบับ (เป็นชะนิดปูมโหร มีประโยชน์ในการสอบค้นศักราชเหตุการณ์)
    ๙. เรื่องสร้างวัดพระแก้วศรีเชียงใหม่ (บ้านศรีเชียงใหม่ อยู่ในจังหวัดหนองคาย ตรงข้ามกับเมืองเวียงจันทน์)





    ขอบคุณ
    th.wikisource.org
    lib.ubu.ac.th
    กรมศิลปากร ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๔
    บ้านจอมยุทธ
    โอเคเนชั่น




    ++++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  8. #18
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)


    10. ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)



    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)

    อักษรธรรม 1 ผูก วัดศรีคุณเมือง บ้านาจาน ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี




    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)


    แต่ก่อนนานมาแล้ว มีผัวเมียที่ยากจนมากครอบครัวหนึ่ง แต่งงานมา 7 ปี ไม่มีลูกจึงขอลูกจากพระอินทร์ พระอินทร์จึงประทานลูกให้เป็นชาย ก่อนท้องแม่ฝันว่าลูกแก้วสีดำตกเข้าปาก ลูกแก้วลอยหนีไปส่งแสงสว่างไปทั่ว เมื่อตั้งท้องเกิดลูกเป็นชายตัวดำเหมือนกา รูปชั่วตัวดำใครๆ ก็หัวเราะเยาะ แม่ไม่ยอมเลี้ยงเพราะอับอายจึงเอาไปล่องแพทิ้ง เด็กดำลอยไปอยู่ 7 วัน 7 คืน ก็มาถึงหาดทรายแห่งหนึ่ง พระอินทร์เล็งเห็นว่าลำบากเลยให้กาดำมาช่วยพาไปไว้เมืองเบ็งจาล กินรีเลยหาผลไม้กินเป็นอาหาร เจ้าของสวนมาพบเข้าจึงเอาไปเลี้ยงไว้


    วันหนึ่งกินรีช่วยยายเจ้าของสวนร้อยดอกไม้มาลัยได้สวยงามมาก ยายเอาไปถวายธิดากษัตริย์ชื่อนางลุน นางลุนก็อยากเห็นตัวคนร้อยมาลัย วันหนึ่งกินรีทำอุบายให้ยายพานางมาชมสวน เมื่อได้พบนาง ก็หลงรัก กินรีมีความสามารถในการเป่าแคนได้ไพเราะ จึงเป่าแคนให้ผู้คนฟัง เสียงเล่าลือว่ากินรีเป่าแคนได้ไพเราะไปทั่วเมือง วันหนึ่งกินรีได้ถอดรูปร้ายกลายเป็นคนร่างงามสง่าไปหานางลุนบอกนางว่ามาจากเมืองอินทปัฐ และได้นางเป็นเมีย เจ้าเมืองฝันว่าช้างมาไล่คน กินอ้อยกล้วยของเมือง จึงให้หมอมาทาย กาดำได้เฝ้ากษัตริย์ เพราะชื่อเสียงว่าเป่าแคนเพราะ กลางคืนกินรีไปหานางและได้ขอแหวนและผ้าสไบมาไว้เป็นที่ระลึก กลับมาบ้านให้ยายไปขอให้ เจ้าเมืองเรียกสินสอดเงินแสนชั่ง ทองแสนชั่ง ช้างพันตัว มีคนขับขี่พร้อม คนใช้พันคน สะพานเงิน สะพานทอง จากบ้านยายไปหาพระราชวัง พระอินทร์พระยานาคมาช่วยทำสะพาน หาสินสอดในที่สุดกินรีกับนางลุนก็ได้แต่งงานกัน


    เรื่องราวของนิทานพื้นบ้าน
    เรื่องท้าวกล่ำ กาดำ




    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)



    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง หลังจากอยู่กินร่วมชีวิตกันเป็นเวลาหลายปี แต่หาได้มีบุตรไว้สืบสกุลไม่ สามีจึงปรึกษากับภรรยาว่า
    “นี่แม่นาง พี่เห็นว่าเราก็อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีบุตรสักที
    พี่เองก็อยากมีบุตรไว้สืบสกุล แล้วน้องล่ะ” สามีถามทิ้งท้าย
    “น้องก็เช่นกัน การไม่มีบุตรก็เท่ากับขาดคนสืบสกุลใช่ไหม” ภรรยาพูดเป็นเชิงถาม
    “ถ้าอย่างนั้นเราไปบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอบุตรดีไหม” สามีชวนเมื่อรู้ว่าภรรยาเห็นดีด้วยที่จะมีบุตร
    “ไปก็ไปสิจ๊ะ เพื่อเราจะได้มีบุตรไว้สืบสกุลกัน” ภรรยาตอบตกลง

    เมื่อมีความเห็นตรงกัน และตกลงร่วมกันเช่นนั้น ทั้งสองจึงไปบนบานต่อศาลเทพารักษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน จากนั้นไม่นาน ภรรยาก็ตั้งครรภ์และคลอดลูกออกมาเป็นผู้ชาย แม้จะมีบุตรสมใจแต่ก็ไม่ให้ผู้เป็นมารดามีความสุขเลย เพราะกุมารน้อยที่เกิดมานั้นมีผิวดำเหมือนกา จนชาวบ้านเอาไปซุบซิบนินทานางว่า
    “มันต้องไปสมสู่กับกาแน่ ๆ ลูกจึงเกิดมาดำอย่างนั้น”
    “ข้าว่าในอดีตมันต้องเป็นคนใจดำ อาจทำชั่วมาก่อนจึงได้ลูกดำมากขนาดนั้น”
    คำพูด คำนิทามีมากขึ้น ยิ่งนานวันการซุบซิบปากต่อมากกระทั่งพูดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทำให้ผู้เป็นมารดารู้สึกอับอาย เมื่อผู้เป็นมารดาก็รู้สึกละอายที่ต้องมีลูกชายรูปชั่วตัวดำ จนนางอดทนไม่ไหวถึงกับเอ่ยปากกับผู้เป็นสามีว่า
    “พี่..ฉันคงเลี้ยงลูกคนนี้ไม่ไหวแล้ว เลี้ยงมันไว้ยิ่งนับวันจะอับอายขายหน้า ผู้คนในหมู่บ้านหาว่าฉันไปสมสู่กับอีกาจึงมีลูกตัวดำปี๋อย่างนี้ บางคนก็บอกว่าชาติก่อนฉันคงใจดำ ทำไม่ดีไว้มากชาตินี้จึงได้ลูกดำเหมือนกา” สามีไม่ปริปากว่าอะไร ได้แต่นั่งคิด ภรรยาเห็นสามีไม่พูดจึงปรึกษาว่า
    “ฉันว่าเอาลูกเราไปลอยแพทิ้งดีไหม” เมื่อได้ยินคำว่า “เอาลูกไปทิ้ง” สามีก็เริ่มปริปากพูด
    “เขาจะพูดกันก็ช่างปะไร แกจะไปเดือดร้อนทำไม ถึงตัวมันดำ ก็มีแขนขาหูตาครบส่วนทุกอย่าง ถึงอย่างไรก็เป็นลูกเรา นี่แกคิดจะลอยแพลูกทิ้งเชียวเหรอ” ผู้เป็นสามีติงอยางไม่เห็นด้วยฝ่ายภรรยาเมื่อเห็นสามีไม่เห็นด้วย จึงคิดกลอุบายหาทางกำจัดกุมารน้อยรูปชั่วตัวดำ โดยไปให้สินบนกับโหรทำนายทายทักไปในทางไม่ดี เพื่อให้สามีของนางเชื่อตามนั้น
    “อย่ากระนั้นเลย ข้าอายคนมาก ข้าต้องหาหาเอาลูกไปทิ้งให้ได้ เมื่อเขาไม่ยอมเราก็ควรหาวิธีอื่น วิธีที่ดีที่สุดก็คือให้โหรช่วยทำนายว่าลูกจะทำภัยพิบัติมาให้ แล้วเขาก็จะเชื่อ” นางวางแผน
    “พี่ ฉันว่าเราไปปรึกษาโหรดีไหม” นางชวนสามี สามีคิดนิดหนึ่งแล้วตอบว่า
    “เออ.....ก็ดี เพราะโหรเขาจะรู้อนาคตได้ดี” แล้วทั้งสองก็ไปให้โหรทำนาย


    โหรถูกว่าจ้างดังนั้นแล้วก็มาที่บ้านของสามีภรรยา บอกให้นำกุมารน้อยไปไว้ตรงหน้า แล้วถามถึงเดือนปีเกิดเวลาตกฟาก ซึ่งฝ่ายผู้เป็นภรรยาก็บอกให้โหรทราบทุกประการ ส่วนผู้เป็นสามีคอยนั่งฟังโหรทำนายด้วยใจจดใจจ่อ เพราะเขารักสงสารลูกชายตัวดำของเขามาก ผู้เป็นบิดาไม่เคยรังเกียจลูกเลย แม้จะเกิดมาตัวดำปี๋เหมือนอีกา หรือเหมือนถ่านก็ตามที


    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)


    ฝ่ายโหรเมื่อได้เวลาเกิดและยามตกฟากของกุมารผิวถ่านแล้ว ก็ทำทีขีดเขียนกระดานเพื่อคำนวณถึงชะตาราศรี เขาจึงทำนายไปตามที่ได้รับสินบนตามต้องการของหญิงผู้เป็นแม่
    “โธ่…กุมารน้อยตัวดำเกิดมาในฤกษ์เป็นกาลกิณีแท้ ๆ จะนำภัยพิบัติมาสู่พ่อแม่ ขืนเลี้ยงไว้มีแต่จะทำให้ทุกข์ยากถึงขนาดพ่อแม่จะอายุสั้นต้องพรากจากกันเลยทีเดียว กุมารน้อยช่างเกิดมามีกรรมน่าสงสารแท้ ๆ” ตอนท้ายโหรแกล้งบีบเสียงให้สมจริงสมจัง
    “นี่…โหรคำนวณไม่ผิดพลาดแน่นะ” ผู้เป็นพ่อสงสัย สงสารและเป็นห่วงลูกชายตัวดำ
    “รับรองว่าตรวจทานตามวันเวลาเกิดและเวลาตกฟากถูกต้องทุกประการ” โหรยืนยัน

    ผู้เป็นพ่อถึงจะรักและสงสารลูกน้อยตัวดำมากมายขนาดไหนก็มิอาจจะเลี้ยงได้แล้ว คำว่า “ภัยพิบัติ” และ “กาลกิณี” หมายถึงสิ่งชั่วร้ายจะต้องเกิดกับครอบครัว ไหนอายุพ่อแม่จะต้องสั้น ลูกอัปมงคลอย่างนี้คงเลี้ยงไว้ไม่ได้แล้ว กุมารน้อยตัวดำปี๋จึงลูกลอยแพทิ้งให้ลอยไปตามสายน้ำ แล้วแต่บุญกรรมนั่นแล้ว…
    ร้อนถึงเทวดาทิพยอาสน์เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งกระด้าง ท่านจึงสอดส่องลงมายังเบื้องล่างก็เห็นกุมารน้อยถูกลอยแพตามกระแสน้ำจึงบันดาลให้แพลอยไปเกยตื้นใกล้อุทยานของพระราชา


    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)


    บ่ายวันนั้นคนเฝ้าอุทยานลงมาอาบน้ำที่ท่าน้ำพบแพลอยน้ำใกล้เข้ามา ครั้นมองในแพ เห็นกุมารน้อยนอนดินกระแด่วอยู่ก็ดีใจ เพราะเขาเองยังไม่มีลูกทั้งที่อยู่กินกับภรรยามาหลายปี
    “โอ้…เจ้านี่เกิดมาตัวดำ ดำเหมือนอีกา พ่อจะตั้งชื่อให้นะ”
    เฝ้าอุทยานนั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง ควรจะตั้งชื่ออย่างไรจึงจะสมรูปสมร่าง ในที่สุดก็คิดได้จึงร้องออกมาว่า….
    “เออ…ข้าคิดออกแล้ว เข้าเกิดมาตัวดำ ดำเหมือนกา ดำเหมือนถ่าน ชื่อว่าท้าวก่ำกาดำ ก็แล้วกัน”

    ท้าวก่ำกาดำเจริญเติบโตขึ้นมาเพราะคนเฝ้าอุทยานของพระราชาเลี้ยงดู จนกลายเป็นหนุ่มเขาเป็นคนขยันขันแข็ง ช่วยงานปลูกต้นไม้ ดูแลต้นไม้ในอุทยานอย่างเอาใจใส่ จนต้นไม้ในอุทยานไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกไม้ผลก็ออกดอกติดผลจนกิ่งห้อยระดิน ท้าวก่ำกาดำจึงเป็นที่รักใคร่ของครอบครัวคนเฝ้าอุทยานของพระราชยิ่งนัก
    วันหนึ่งพระธิดาทั้งเจ็ดของพระราชาเสด็จมาชมสวนพร้อมสาวสนมในวัง ท้าวก่ำกาดำแอบดูความสวยงามของพระธิดาทั้งเจ็ดซึ่งแต่ละนางล้วนมีความสวยงามมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่ท้าวก่ำกาดำมีความสนใจในพระธิดาน้องนุชสุดท้องคนที่เจ็ด มีชื่อว่า “นางลุน”


    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)



    ท้าวก่ำกาดำมีความสามารถอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถเป่าแคนได้ไพเราะเพราะพริ้งมาก หากใครได้ยินเสียงแคนของท้าวก่ำกาดำก็จะหลงใหลจนลืมตัว นอกจากนั้นท้าวก่ำกาดำยังมีฝีมือร้อยพวงมาลัยดอกไม้ได้สวยงามยิ่งนัก

    วันหนึ่งเขาร้อยพวงมาลัยดอกไม้สดบรรยายเป็นความรักแล้วให้ภรรยาคนเฝ้าสวนนำไปถวายนางลุนในวัง นางลุนได้รับพวงมาลัยบรรยายเป็นความรักจึงเกิดความหลงใหลใคร่อยากเห็นหน้าผู้ร้อยมาลัยมาถวาย ตอนค่ำทุกวัน ท้าวก่ำกาดำจะเป่าแคนให้เสียงแคนลอยตามลงไปจนถึงวัง ครั้นพระราชาได้ฟังเสียงแคนที่ไพเราะจึงมีรับสั่งให้คนเฝ้าอุทยานนำท้าวก่ำกาดำไปเป่าแคนถวายในวังจนเป็นที่โปรดปรานของพระราชา หากวันใดพระองค์ไม่ได้ฟังเสียงแคนของท้าวก่ำกาดำพระราชาจะบรรทมไม่หลับ ดังนั้นท้าวก่ำกาดำจึงต้องเข้าไปเป่าแคนถวายพระราชาในวังทุกค่ำคืน
    ครั้นเมื่อพระราชาบรรทมหลับด้วยมนต์เสียงแคนของท้าวก่ำกาดำ จึงเป็นโอกาสให้หนุ่มรูปกายดำราวกับอีกาถือโอกาสลักลอบไปได้เสียกับพระธิดาองค์เล็ก คือ นางลุน ซึ่งจากนั้นเทวดาได้ดลให้ท้าวก่ำกาดำได้ถอดครบให้เป็นรูปกายอันงดงามด้วยความหล่อเหลาที่แท้จริงของเขา


    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)


    ท้าวก่ำกาดำได้ขอให้พ่อแม่ซึ่งเป็นคนเฝ้าอุทยานไปสู่ขอนางลุนเป็นคู่ชีวิตของตน พระราชาไม่รังเกียจแต่เรียกค่าสินสอดเป็นเงินทองมากมาย รวมทั้งให้ท้าวก่ำกาดำสร้างสะพานเงินสะพานทองจากในอุทยานมาจนถึงวังของนางลุน ถ้าท้าวก่ำกาดำทำได้ให้ดังนั้นจะยกธิดานางลุนให้

    ท้าวก่ำกาดำเป็นคนมีบุญญาธิการลงมาเกิด เป็นโอรสจากสวรรค์ พระอินทร์จึงลงมาช่วยอีกครั้งหนึ่งโดยเนรมิตเงินทองสินสอดทองหมั้น พร้อมสร้างสะพานทองจากอุทยานถึงวังของนางลุนได้สมกับความต้องการของพระราชา

    ท้าวก่ำกาดำจึงได้แต่งงานกับพระธิดานางลุนและอยู่อย่างมีความสุข ท้าวก่ำกาดำได้รับพ่อแม่คนทำสวนและสืบหาพ่อแม่ที่แท้จริงของตน และได้รับเข้ามาเลี้ยงดูในวังเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณทุกคน ท้าวก่ำกาดำจึงอยู่กับคนรักและพ่อแม่อย่างมีความสุขสืบมา


    ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)



    ท้าวก่ำกาดำ ชุด 1


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=ksYwX1xxyMw

    ท้าวก่ำกาดำ ชุด 2


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=jeWmabZ2rT0






    ขอบคุณ
    - กรมศิลปากร 2531.
    - ปิยะฉัตร ปีตะวรรณ. การสำรวจใบลานในเขตจังหวัดภาคอีสาน. ภาควิชาประวัติศาสตร์
    - วิทยาลัยครูอุบลราชธานี, มปป.
    - อรทัย เลียงจินดาถาวร และ โสรัจ นามอ่อน. หนังสือใบลานจังหวัด อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2545.
    - นายอนุรุทร บุญภูงา จาก kruaniruth.com
    - บ้านจอมยุทธ




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  9. #19
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ท้าวคันธนาม (คัชนาม)


    11. ท้าวคันธนาม (คัชนาม)



    ท้าวคันธนาม (คัชนาม)
    อักษรธรรม 1 ผูก วัดท่าลาด ต.ท่าลาด อ.วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี




    ท้าวคันธนาม (คัชนาม)


    ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองสาเกตุ มีสาวทึนทึกวัยกลางคนคนหนึ่ง ทำมาหากินอยู่ในหมู่บ้าน โดยมีที่นาอยู่ตรงบริเวณตรงกลางของที่นาชาวบ้านคนอื่นๆ ต่อมาได้ถึงกำหนดที่จะมีเทวบุตรมาจุติในโลกมนุษย์

    พอถึงหน้าเก็บเกี่ยวข้าว พระอินทร์ก็แปลงมาเป็นช้างบุกรุกเหยียบย่ำเข้าไปในนาของสาวทึนทึกนางนั้นจนเสียหายหมด แล้วก็หนีไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยบันดาลรอยเท้าให้เห็น

    ครั้นตอนเช้านางมาเห็นเข้าก็เสียใจและโกรธมาก จึงตกลงใจเดินทางตามหาสัตว์ที่มาทำลายข้าวในนาของนาง ระหว่างทางนางกินน้ำในรอยเท้าช้างแปลง ก็เกิดตั้งครรภ์ จึงเดินทางกลับเมืองสาเกตุ มาคลอดลูกเป็นชายใช้ชื่อว่า "คันธนาม" (คชนาม)


    เมื่อท้าวคันธนามอายุได้ 7 ปี ไปปราบยักษ์ซึ่งเฝ้ารักษาสมบัติอยู่ ได้สมบัติของยักษ์นั้นก็เอามาให้แก่มารดาของตน ต่อมาความทราบถึงเจ้าเมืองก็ต้องการจะได้คันธนามมาเป็นลูกเขย จึงเชิญคันธนามและมารดามาสร้างประสาทให้อยู่และประกาศยกลูกสาวให้


    ท้าวคันธนาม (คัชนาม)


    วันหนึ่งคันธนามคิดถึงพ่อ จึงลามารดาเดินทางออกตามหาพ่อระหว่างทางได้เพื่อนเดินทางเป็นผู้ทรงพลัง 2 คน คือ ชายลากไม้ร้อยกอ กับชายลากเกวียนร้อยเล่ม และได้ไม้เท้าวิเศษซึ่งถ้าเอาทางโคนชี้ใครคนนั้นจะตาย ถ้าเอาทางปลายชี้ คนตายจะฟื้นขึ้นมา (ไม้เท้าวิเศษนี้เรียกว่า "กกซี้ตาย ปลายซี้เป็น")

    จนในที่สุด คันธนามและเพื่อนเดินทางมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งได้พบลูกสาวเจ้าเมืองนั้นซ่อนตัวอยู่ในกลอง จึงสอบถามได้ความว่า เมืองนี้ได้มียักษ์งูซวง มาอาละวาดจับคนในเมืองกินเป็นอาหาร

    คันธนามจึงจัดการปราบยักษ์นั้นจนแพ้ แล้วใช้ไม้เท้าวิเศษชุบคนในเมืองฟื้นกลับมาทั้งหมด จากนั้นคันธนามก็เดินทางต่อไป รบกับเมืองต่างๆ เช่น เมืองผาญี เดินทางจนไปถึงเมืองไกรลาศ แต่ไม่ได้พบพ่อ จนถึงเมืองจัมปานาคบุรี (จำปาศักดิ์) ก็เข้ารบยึดมาเป็นเมืองของตนขึ้นครองสมบัติสืบต่อมา และได้นางสีดาธิดาของเจ้าเมืองเป็นมเหสีฝ่ายขวา นางศรีไลลูกสาวเศรษฐีเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย

    ต่อมาก็เดินทางตามหาบิดาจนเข้าสู่ป่าหิมพานต์ พบบิดาสมปรารถนา พญาช้างได้สั่งสอนท้าวคัทธนาม และมอบงาทั้งคู่ให้ เมื่อพญาช้างสิ้นอายุ

    ท้าวคัทธนามขี่ช้างมาถึงเมืองตักศิลา ทำสงครามกับ พญาตักศิลา ๆ พ่ายแพ้ และแต่งตั้งให้ท้าวคัทธนามเป็นครูสอนศิลปศาสตร์ และหลอกเอาไม้เท้าวิเศษ ชี้ท้าว
    คัทธนามกลายเป็นแท่นหิน

    ที่เมืองจัมปา คัทธเนกโอรสที่เกิดจากนางศรีไล และคัทธจันทร์โอรสที่เกิดจากนางสีดา เดินทางตามหาบิดา รบพญาตักศิลาชนะ ใช้ไม้เท้าชุบชีวิตบิดาคืนมา แล้วถวายเมืองให้บิดาครอง

    เมื่อกลับมาถึงเมือง จัมปานครเกิดการแย่งชิงของวิเศษต่างฝ่ายต่างสู้กัน พระอินทร์ผู้เป็นปู่ ให้พญาแถนส่งลมกระดิงหลวงมาห้ามทัพ คัทธเนก ถูกลมกระดิงหลวงตัดคอขาด คัทธจันทร์สู้จนเอาชนะลมได้ และได้อภิเษกเป็นพระเจ้า
    จักรพรรดิครองนครจำปาอย่างสงบสุขจนสิ้นอายุขัย









    ขอบคุณ
    - ปิยะฉัตร ปีตะวรรณ. การสำรวจใบลานในเขตจังหวัดภาคอีสาน. ภาควิชาประวัติศาสตร์
    - วิทยาลัยครูอุบลราชธานี, มปป.
    - อรทัย เลียงจินดาถาวร และ โสรัจ นามอ่อน. หนังสือใบลานจังหวัด อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2545.
    - บ้านจอมยุทธ
    - happymomy.com
    - sites.google.com



    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  10. #20
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ขอขอบคุณหลายๆค่ะสำหรับวรรณกรรมดีๆมาให้อ่านค่ะ

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •