นิพพานัง ปรมัง สุขัง


องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า



นิพพานัง ปรมัง สุขัง

ที่มาของคำว่า ” นิพพานัง ปรมังสุขัง ” พระนิพพานเป็นสุขยิ่ง คือ บรมสุข เรียกว่าสุขยากที่จะบรรยาย ไม่ใช่สุขที่เกิดจากการอาศัยผัสสะเป็นตัวให้เกิดสุข

แต่เป็นสุขเหนือสุข จนไม่มีคำจัดกัดความ เป็นสุขที่เกิดจากเหตุของการดับต้นเหตุของการเกิด จึงเป็นที่มาของพระนิพพานเป็นสุดยอดบรมสุข

ได้แก่


๑. เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะต่างๆ เดิมๆซ้ำๆจนจำสภาวะต่างๆได้อย่างขึ้นใจ เป็นเหตุให้รู้ดีว่า สภาวะนั้นๆคืออะไร แล้วควรทำตัวอย่างไร เมื่อเจอสภาวะเหล่านั้น จึงไม่ไปทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

๒. ไม่ยึดติดในคำเรียกต่างๆของสภาวะ คือ แค่รู้ว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้น ว่ามีชื่อเรียก แค่รู้ว่ามีชื่อเรียก แต่ไม่ไปยึดติดกับบัญญัตินั้นๆจนกระทั่ง นำสิ่งที่คิดว่ารู้ไปสร้างเหตุใหม่ที่เป็นเหตุของการเกิดขึ้นอีก

๓. ความอยากต่างๆที่เคยมีเกี่ยวกับการปฏิบัติ เช่น อยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากรู้สภาวะต่างๆ แม้กระทั่งสิ่งต่างๆที่มีการนำมาพูดๆกันนั้น จากพระไตรปิฎกก็ตาม จากอรรถกถาจารย์ก็ตาม จากหนังสือสอบอารมณ์ก็ตามฯลฯ

ความอยากเหล่านั้นหมดสิ้นไปไม่มีเหลือ จะมีแค่ความอยากที่เป็นมาแต่ดั้งเดิมของตัวเองที่มีอยู่ เช่น เป็นคนชอบกิน เป็นเหตุให้เห็นโลภะด้านอาหารได้อย่างชัดเจน ส่วนความอยากในด้านการปฏิบัติเพื่อเพิ่มกิเลสนั้นไม่มี

๔. เมื่อเกิดสภาวะปัจจเวกฯเป็นครั้งที่ ๒ สภาวะยิ่งตอกย้ำลงไปชัดๆในสิ่งที่ถูกรู้ว่าไม่ผิดอย่างแน่นอน ดูสภาวะ ดูผัสสะ ดูกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเป็นหลัก

เมื่อไม่ยึดติดกับสภาวะ ย่อมอยู่กับสภาวะนั้นๆได้แบบสบายๆ ยังมีให้ค่าก็ยอมรับตามความเป็นจริงว่าให้ค่า แต่ไม่ไปยึดติดกับการให้ค่านั้นแต่อย่างใด จึงไม่หลงสร้างเหตุอันเป็นวิวาทะกับใครๆอีก เรียกว่าถ้ายังมี จะสามารถหยุดตัวเองได้ทันมากขึ้น


เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้ว จึงไม่คิดโน้มน้าวหรือแสดงท่าทีเพื่อชักจูงให้ใครมาเชื่อ แต่จะทำตามเหตุ ถ้าใครเคยสร้างเหตุร่วมกันมา เขาจะเข้ามาหาเอง หากไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน ย่อมไม่มาเชื่อกันอย่างแน่นอน แล้วจะไปพูดให้เหนื่อยทำไม

พูดแค่ควรพูด พูดตามกาล ดูเหตุเป็นหลัก เพราะเหตุนี้ การสร้างเหตุของการเกิด นับวันจึงสั้นลงไปเรื่อยๆ เหตุเก่าชดใช้ไป เหตุใหม่ไม่สร้าง แล้วการเกิดขึ้นมาอีกจะมีขึ้นได้อย่างไร ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผลอย่างแน่นอน

๕. นับวันอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น รู้ชัดอยู่ในกายและจิตมากขึ้น มองสิ่งต่างๆด้วยจิตที่เป็นปกติมากขึ้น เพราะเขา,เรา ล้วนไม่แตกต่างกันเลย เหมือนกันหมดทุกๆสภาวะ เพียงแต่เรามองเห็นแล้ว ส่วนเขาจะมองเห็นหรือยังเท่านั้นเอง

เราเห็นแล้ว ย่อมหยุดได้ ใจจะมีแต่เมตตาต่อผู้อื่น ส่วนเขาถ้ายังไม่เห็น ย่อมหยุดตัวเองยังไม่ได้ นี่ก็เรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องของเหตุแล้วก็เหตุ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องของความถูกผิดแต่อย่างใด

๖. ยังมีกิเลสด้านกามราคะอยู่ ปฏิฆะหรือเจ้าตัวหงุดหงิดยังมีอยู่ แต่อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น ไม่ได้ไปรู้สึกอะไรกับสิ่งที่มีอยู่ เพราะไม่ได้มีความอยากได้ อยากเป็น หรืออยากรู้สภาวะต่อๆไปอีก เพียงแต่เขียนตามความเป็นจริงที่รู้ว่ามี

ตำรามีเขียนไว้ ก็เขียนไปตามสภาวะในตำราที่มีเขียนไว้ เพียงจะบอกว่า กิเลสกามราคะและปฏิฆะนี้ เป็นสภาวะที่ละเอียด เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีตัวผัสสะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด


นิพพานัง ปรมัง สูญญัง

ส่วนคำว่า ” นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ” มีที่มาจากคำว่า ” สุญญตา ” ได้แก่ ความว่างเปล่า คือ ความว่างจากตัวตน

สุญญตา เมื่อนำไปเทียบกับสภาวะ เป็นสภาวะของสังขารุเปกขาญาณ

แต่ถ้าเป็นสุญญตาที่เกิดจากจินตามยปัญญา โดยการน้อมเอาคิดเอาเองว่า นั่นไม่ใช่ตัวตน นี่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรๆ อันนี้เป็นเพียงอุบายในการพิจรณาเท่านั้น ยังไม่ใช่สภาวะสังขารุฯที่แท้จริง

เพราะคำว่า ” ไม่ใช่ตัวตน นี่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรๆ ” ไม่แตกต่างจากคำบริกรรมภาวนา เป็นเพียงอุบายเท่านั้นเอง

เพราะสภาวะที่แท้จริง ที่กล่าวว่า ” ไม่มีคน ไม่สัตว์ ไม่มีอะไรๆ ” ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ยังเห็นคนเป็นคน เห็นสัตว์เป็นสัตว์ เพียงแต่แค่ดู แค่รู้ ไม่ใช่รู้ที่ก่อให้เกิดเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด


การที่เห็นและรู้ตามสัญญาว่า แล้วไปยึดติดในบัญญัติ เมื่อผัสสะเกิด ย่อมมีความชอบหรือชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีต่อสิ่งๆนั้น ล้วนเป็นก่อเหตุของการเกิดทั้งสิ้น

ส่วนที่กล่าวว่า ” ไม่มีเขา ไม่มีเรา ” หมายถึง ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีใช่หรือไม่ใช่ เรียกว่า ไม่มีการนำอัตตาตัวตนที่ยังมีอยู่ลงไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

สภาวะของสังขารุฯ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์ เห็นเดิมๆซ้ำๆ จนจิตเห็นโทษของการเกิด เป็นเหตุให้จิตเบื่อหน่าย จิตมุ่งสู่พระนิพพาน ( ความดับ )

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ จิตรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้ดี สติ สัมปชัญญะดี สมาธิมีกำลังแนบแน่นดี จิตเป็นอุเบกขา คือ รู้ชัดอยู่กับรูปนาม กับ เกิดสภาวะดับ สลับไปมาแบบนี้

สภาวะดับ คือ เกิดที่จิต มีอาการเหมือนคนสัปหงก แต่เป็น จิตสัปหงก อาการนี้บางครั้งเกิดแค่ครั้งเดียว บางครั้งเกิดเป็นสิบๆครั้งขึ้นไป ไม่แน่นอน

แต่ละครั้งที่เกิดการดับแต่ละครั้ง จะมีโอภาสเกิดขึ้นสว่างมากๆ แบบไม่มีประมาณ คือ สว่างกว่าปกติในโอภาสที่เกิดโดยทั่วๆไป จะมีสติรู้ตัวตลอดขณะที่เกิดสภาวะนี้ ดับก็รู้ว่าดับ คือตอนที่ดับไปแล้ว จิตจะงุบลงไป แล้วถึงจะรู้ตัว ก่อนงุบจะไม่รู้

อาการที่เกิดขึ้นภายใน ไม่ส่งผลไปที่ภายนอก คือไม่ได้เกิดที่กายภายนอก เช่น หัวสัปหงก ภายนอกนั่งตัวตรงปกติ ไม่มีอาการงูบหรือโงกแต่อย่างใด ขณะที่เกิดสภาวะจิตสัปหงกนี้


สภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากความง่วง หรือนิวรณ์ครอบงำแต่อย่างใด แต่เกิดจากกำลังของสมาธิที่มีกำลังมาก

อุปมาด้วยนกการู้ทิศ

สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นแล้วนี้นั้น ถ้าเห็นพระนิพพาน อันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว

หากว่า ยังไม่เห็นพระนิพพาน โดยความสงบ ( สังขารุเปกขาญาณนั้น ) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว แล้วดำเนินไปอยู่ แล้วๆเล่าๆ เปรียบเหมือนนกกาของพวกพ่อค้าเดินทะเล

อนุโลมญาณ

สภาวะดับเทียม

การเข้าสู่ความดับ เป็นจุดสุดยอดของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฏฐาน เพราะความดับที่ไม่แท้อาจเกิดขึ้นได้โดยเหตุหลายประการคือ-

๑. ดับด้วย ปิติ

๒. ดับด้วย ปัสสัทธิ

๓. ดับด้วย สมาธิ ( ขาดความรู้สึกตัว )

๔. ดับด้วย ถีนมิทธะ

๕. ดับด้วย อุเปกขา


ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นความดับเทียม ใช้ไม่ได้ เป็นการล่อให้หลงเข้าใจผิด ส่วนมากเกิดในอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ๑ ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ในสังขารุเปกขาญาณ ๑ ถ้าเกิดขึ้นในญาณเหล่านี้ พึงตัดสินเลยว่าเป็นของเทียมใช้ไม่ได้

ส่วนความดับที่แท้จริง ที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนี้ ก็คือ ดับโดยมรรค ขณะที่สังขารุเปกขาญาณถึงความแก่กล้าที่สุด สังขารอารมณ์ซึ่งอ่อนละเอียด มีอาการสม่ำเสมอเป็นธรรมดานั้น ก็จะค่อยๆเร็วขึ้นๆจนถี่มาก

แล้วกลับช้าลงไปเป็นธรรมดาอีก ต่อไปจะมีอาการเร็วขึ้นๆแล้วค่อยๆช้าลงอีก เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยๆ โดยเป็นไปตามสภาวะของญาณ อุปมาในเรื่อง ทิสากากะ

หมายเหตุ:-

สำหรับผู้ที่ฝึกให้เกิดสภาวะดับ พึงระวังอุปกิเลสให้ดี เพราะตาบใดที่ยังมีกิเลส อุปกิเลสจะเกิดอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่จะรู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ไม่ได้เกิดตามที่ตำรามีการบันทึกไว้ ว่าจะต้องเกิดที่ญาณ ๓ เมื่อเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงของสภาวะ

การทวนญาณ

สภาวะจะทวนด้วยตัวของสภาวะเอง ไม่ต้องไปตั้งจิตอธิษฐานแต่อย่างใด

แต่ตามตำราที่เขียนไว้ ให้ฝึกทวนญาณ เหตุของการฝึกเพื่อให้เกิดความแม่นยำในสภาวะ

ถ้าผู้ฝึกไม่รู้ความจริงตรงนี้ ถ้าฝึกด้วยความอยาก ย่อมติดอยู่ในอุปกิเลส เพราะสภาวะแต่ละสภาวะ กว่าจะรู้จะเข้าใจ ต้องวางความอยากโดยตัวจิตเอง ถึงจะรู้ชัดตามความเป็นจริงของสภาวะนั้นๆได้


ที่มา:หนังสือธรรมะ/บ้านมหา.คอม