นอกจากการตรวจรักษาโดยวิธีการจับชีพจรแล้ว
ทางแพทย์แผนจีน ยังมีอีกวิธีหนึ่ง


“การดูลิ้น”


การแพทย์แผนจีน


นอกจากการตรวจรักษาโดยวิธีการจับชีพจรแล้ว
ทางแพทย์แผนจีน ยังมีอีกวิธีหนึ่ง
มาดูกันค่ะ

“การดูลิ้น” โดยแพทย์จีนจะดูความสัมพันธ์ระหว่างลิ้นกับอวัยวะภายใน เมื่ออวัยวะภายในผิดปกติก็จะสะท้อนออกมาให้เห็นบนลิ้นได้ สาระที่สำคัญในการดูลิ้นมีดังนี้


1. ตำแหน่ง แพทย์จีนจะแบ่งลิ้นออกเป็น 4 ส่วนคือ โคน กลาง ปลาย และขอบลิ้น แต่ละตำแหน่งจะสัมพันธ์กับอวัยวะที่ต่างกัน คือ
โคนลิ้น สัมพันธ์กับ ไต
กลางลิ้น สัมพันธ์กับ กระเพาะอาหาร ,ม้าม
ปลายลิ้น สัมพันธ์กับ ปอด, หัวใจ
ขอบลิ้น สัมพันธ์กับ ตับ, ถุงน้ำดี

2. สีบนฝ้า เช่น สีขาว สีเหลือง สีดำ สีแต่ละสีบนฝ้าจะบอกอาการของโรคที่แตกต่างกัน ถ้าร้อนมักมีฝ้าสีเหลือง ถ้าร้อนมากจะมีสีดำ เป็นต้น

3. ความหนาของชั้นฝ้า ถ้าชั้นฝ้าบางโรคจะเบา ถ้าชั้นฝ้าหนา โรคจะหนักหรือเรื้อรัง

4. ขนาดของลิ้น (อ้วนหรือผอม, หนาหรือบาง) และความชุ่มชื้นของลิ้น เช่น ลิ้นแดง ผอม และแห้ง แสดงว่าร้อนมาก (คือ มีการสูญเสียของเหลวภายในร่างกายมาก)

ไม่ว่าจะเป็นการแมะหรือดูลิ้นจะต้องดูทั้ง 4 ลักษณะร่วมกัน จะดูเพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ทำให้การวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อนไป
นอกจากนี้แพทย์จีนยังมีวิธี การวินิจฉัยโรคอีกหลายวิธีที่แตกต่างไปจากแพทย์ตะวันตก เช่น การดูสีหน้า ตำแหน่งของใบหน้า ตำแหน่งบนหู ตำแหน่งตรงจุดปักเข็ม ฯลฯ เทคนิคเหล่านี้จีนยังนำมาใช้ในปัจจุบัน พร้อมทั้งผสมผสานกับแพทย์แผนตะวันตกอย่างได้ผล



นิตยสารหมอชาวบ้าน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: วิทิต วัณนาวิบูล



เครื่องยาจีนสารพัดตำรับเพื่อการบำรุงได้ที่เพจ
การแพทย์แผนจีน By คลินิกจันทน์/บ้านมหา.คอม