โคลงเดลงโคลงเคลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum
วงศ์ : Melastomataceae
ชื่อสามัญ : Malabar melastome, melastoma, Indian-rhododendron
ชื่ออื่น : กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี); กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี); โคลงเคลง, โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด); ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้); มายะ (ชอง-ตราด); อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มักมีขน เกสรเพสผู้ 10 เรียงเป็น 2 วง มีระยางค์ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ตรงกันข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบ ขั้นบันได ไม่มีหูใบ ดอก ดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้ 10 เรียงเป็น 2 วง (จำนวน 5 พบน้อย) มีระยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผล เมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก หรือผลมีเนื้อนุ่ม หลายเมล็ด
ประโยชน์ : เป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ
โคลงเดลง