กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    มวลพฤกษา


    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ


    บัว

    ดอกบัวสัญลักษณ์แห่งความรู้สึก สงบ.. เย็น..
    ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความงดงาม ที่คอยแต่งแต้มให้โลกใบนี้มีสีสัน
    ดอกบัวสัญลักษณ์แห่งความงดงามล้ำค่ายิ่ง แม้จะไม่ฉูดฉาด สะดุดตา
    ความงามของดอกบัวดูเพียงเผินๆสามารถมองหาความงามได้โดยง่ายดาย
    ดอกบัว คือ ดอกไม้ที่คนไทย นำมาใช้บูชาพระ และผูกพันกับวิถีไทยมาช้านาน
    โดยเฉพาะถวายเป็นพุทธบูชาให้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาของพุทธศาสนา

    แต่น้อยคนนักที่รับรู้ความจริงว่า ดอกบัวสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์ไทยแท้
    ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยเต็มที หากไม่มีการอนุรักษ์รักษาไว้
    โชคดีที่ในวันนี้ มีพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี
    เป็นแหล่งสำคัญรวบรวมพันธุ์บัว ปลูกรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์
    และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์บัวทั้งไทยและต่าง ประเทศไว้

    บัวมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีหลายสี ชนิดพันธุ์ของบัวจำแนกสายพันธุ์ได้ดังนี้

    1. ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง ( Lotus ) จัดอยู่ในสกุล Nelumbo มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีไหลอยู่ใต้ดิน ใบมีขนาดใหญ่ ดอกมีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อน ใบและดอกชูขึ้นเหนือน้ำ
    ในประเทศไทยมีอยู่ 4 พันธ์

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ


    2. อุบลชาติ ( Water-lily ) จัดอยู่ในสกุล Nymphaea มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบลอยแตะผิวน้ำ รูปร่างใบมีหลายแบบ ก้านใบไม่มีหนาม กลีบดอกมีทั้งดอกซ้อน
    แบ่งเป็น 2 ประเภท


    2.1 อุบลชาติยืนต้น ( Hardy water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตอบอุ่น และเขตหนาว หรือที่เรียกว่า บัวฝรั่ง มีเหง้าเลื้อยไปตามผิวดิน แตกหน่อง่าย ติดเมล็ดยาก พักตัวในฤดูหนาว ขอบใบเรียบ ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูเหนือน้ำเล็กน้อย ดอกมีหลายสี กลีบดอกซ้อนสวยงามมาก มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะดอก และสีตามที่ผู้พัฒนาพันธุ์คิดขึ้น ได้แก่

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ



    2.2 อุบลชาติล้มลุก ( Tropical water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตร้อน ไม่พักตัวในฤดูหนาว มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ดอกมีหลายสี ใบลอยแตะผิวน้ำ ดอกชูขึ้นเหนือผิวน้ำ ขอบใบจักมน หรือ แหลม แบ่งออกเป็น 4 ชนิด

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    2.2.1 บัวผันและบัวเผื่อน ( บานกลางวัน ) ดอกมีกลิ่นหอมมาก บานตอนเช้าหุบตอนเย็น ก้านและใบไม่มีขน ดอกมีหลายสี ติดเมล็ดง่าย ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างสีต่างๆ ได้ง่ายทั้งโดยแมลงในธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ บัวชนิดนี้จึงเกิดสีสันต่างๆ มากมาย เป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก ราคาถูก ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลง่าย ดอกก็หอมมาก สามารถหาซื้อได้ตามร้านต้นไม้ทั่วไป ราคากระถางละ 25-50 บาท ( ในกระถางพลาสติก 10" )

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    2.2.2 บัวสาย (บานกลางคืน) เป็นบัวที่ชาวบ้านนิยมเก็บสายบัวมาประกอบอาหาร บานตอนใกล้ค่ำและหุบตอนเช้า บางชนิดไม่หอม บางชนิดหอมอ่อนๆ บัวชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกยาวสามารถขึ้นอยู่ได้ในระดับน้ำลึกๆ ได้ พบเห็นได้ทั่วไปตามหนองบึงและในแหล่งน้ำธรรมชาติตามชนบท แตกกอง่ายและมีหัวอยู่ใต้ดิน ในฤดูแล้งที่น้ำแล้งก็โทรมไปแต่หัวยังฝังอยู่ในดิน เมื่อฤดูฝนมีน้ำมาก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่เต็มหนองบึง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนเกิดสีสันและพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายชนิด และยังจะมีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ เศวตอุบล หรือ โกมุท ชมพูซีลอน ปริมลาภ มิชซิสจีซีฮิทธ์คอด ธัญกาฬ สัตตบรรณ หรือ บัวแดง

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    2.2.3 จงกลนี เป็นบัวพันธุ์ใหม่ที่พบในธรรมชาติ คาดว่าเกิดจากการแปลงพันธุ์ในธรรมชาติ ใบเหมือนบัวตระกูลบัวผัน บัวเผื่อน แต่ดอกซ้อนเหมือนบัวฝรั่ง มีเหง้าใต้ดิน เหง้าเจริญในแนวดิ่ง ต้นอ่อนจะเกิดจากเหง้าใต้ดินเจริญเติบโตขึ้นมาจากโคนต้นแม่ ใบลอยลอยแตะผิวน้ำ ดอกลอยแตะผิวน้ำเล็กน้อย ก้อนใบก้านดอกยาวและอ่อนควรปลูกในที่ระดับน้ำลึก ดอกบานแล้วบานเลยจะไม่หุบจนกว่าจะโรยไป ประมาณ 3 วัน จงกลนีเป็นบัวที่มีกลีบดอกเยอะ แต่สีสันยังไม่สวยและที่กลีบดอกมีสีเขียวดูเปรอะ กลีบดอกเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ

    มวลพฤกษา ต้นไม้ในพุทธประวัติ

    3. บัวกระด้ง หรือ บัววิคตอเรีย ( Royal water-lily, Victoria ) บัวใบใหญยักษ์ ขอบใบยกตัวขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยบนผิวน้ำ ใบ ก้านใบ ก้านดอกมีหนามแหลมอยู่ทั่ว ดอกสีขาว และ สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนกลางคืนและหุบในตอนเช้า เป็นบัวที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก และมีปัญหากอบัวหลุดลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ หากระดับน้ำที่ปลูกมีการเปลี่ยนขึ้นอย่างกระทันหัน

    "สันติภาพมิได้เกิดจากสภาวะนิ่งเฉย หากแต่เกิดจากความเข้าใจ"



    เครดิต : เวปธรรมจักร.เน็ต/บ้านมหา.คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 14-03-2013 at 14:49.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •