กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: วิ่งมาราธอนบ่ได้เพิ่มความเสี่ยง

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    วิ่งมาราธอนบ่ได้เพิ่มความเสี่ยง

    วิ่งมาราธอนไม่เพิ่มความเสี่ยงหัวใจวาย
    ช่วงหลังๆ ข่าวคราวการแข่งขัน มาราธอน จากหลายๆ ประเทศทั่วโลกมักมีเรื่องเศร้าอย่างการเสียชีวิตของผู้เข้าแข่งขันแทรกอยู่เป็นระยะๆ
    บ่อยครั้งและติดหูเสียจนกลายเป็นความกลัวของคนเล่นกีฬาหลายคนว่า
    การวิ่งมาราธอนหรือแม้แต่ฮาล์ฟมาราธอนอาจเป็นต้นเหตุของอาการหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าการเลือกเล่นกีฬาชนิดอื่นๆอย่างไรก็ตาม
    วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ได้นำเสนอบทความออนไลน์ชิ้นหนึ่ง
    เป็นงานวิจัยเชิงสถิติซึ่งมาแย้งกับความเชื่อข้างต้นว่า มาราธอนไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของอาการหัวใจวายมากกว่ากีฬาอื่นอย่างที่หลายคนคิดกัน
    นายแพทย์แอรอน แบกกิช ผู้อำนวยการแผนกหัวใจของโรงพยาบาลแมสซาชูเซตต์และคณะ
    ทำการศึกษาข้อมูลชาวอเมริกันซึ่งเกิดอาการหัวใจวายระหว่างแข่งขันมาราธอนและฮาล์ฟมาราธอน
    ช่วงระหว่างปี 2000-2010 โดยดูประวัติการแพทย์ รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่รอดชีวิต หรือญาติและคนใกล้ชิดของผู้เสียชีวิต
    ได้ข้อสรุปว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ล้วนมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจมาแต่เดิมทั้งสิ้น
    ความที่มาราธอนมีคนร่วมแข่งขันทุกเพศทุกวัย ที่เป็นวัยกลางคนค่อนไปทางชราก็มาก
    หลายคนไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ จึงไม่ได้ระมัดระวังป้องกันและนำไปสู่เรื่องเศร้าในที่สุด
    งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า โอกาสของการเกิดอาการหัวใจวายระหว่างการวิ่งมาราธอนนั้นมีเท่าๆ กับ
    หรือน้อยกว่ากิจกรรมทางกายหรือการเล่นกีฬาลักษณะอื่นๆ อาทิ ไตรกีฬา หรือแม้กระทั่งวิ่งจ๊อกกิ้งธรรมดาทั่วไป
    หมายความว่ามาราธอนก็เป็นกีฬาที่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงไม่ต่างจากกีฬาอื่นแต่อย่างใด
    ทั้งนี้ จากผู้ร่วมแข่งขันราว 11 ล้านคน มีกรณีหัวใจวายเกิดขึ้น 59 ครั้ง (40 ครั้งในมาราธอน และ 19 ครั้งในฮาล์ฟมาราธอน)
    คิดเป็นร้อยละ 0.54 ต่อผู้ร่วมแข่งขัน 100,000 คน
    จาก 59 ครั้งดังกล่าว เป็นผู้ป่วยชายถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และเสียชีวิตรวม 42 ราย
    โดยมากสาเหตุการเกิดหัวใจวายมาจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจโต
    โดยปัจจัยที่จะช่วยให้รอดชีวิตได้คือการปฐมพยาบาลด้วยวิธีซีพีอาร์(CPR)
    หรือการช่วยฟื้นชีพขั้นพื้นฐาน อาทิ การปั๊มหัวใจ อย่างถูกหลักและทันท่วงที
    นั่นจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันพึงระลึกอยู่เสมอ
    :,1-:,1-:,1-:,1-:,1-
    ขอบคุณข้อมูลที่มา http://www.sportclassic.in.th
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pcalibration; 28-03-2013 at 10:14.

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1

    วิธีซีพีอาร์(CPR)

    ซีพีอาร์ CPR การช่วยผู้ที่กำลังจะตาย ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
    วิธีซีพีอาร์(CPR)
    ซีพีอาร์ (CPR) มาจากคำเต็มว่า CARDIO-PULMONARY RESUSCITATION
    คำว่า CARDIO หมายถึงหัวใจและ PUL-MONARY หมายถึงปอด และ RESUS-CITATION หมายถึงการทำให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
    การทำ CPR เป็นการผสมผสานกันระหว่างการผายปอดเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในปอด
    และการกดบริเวณหน้าอกข้างซ้าย (ตำแหน่งหัวใจ) เพื่อให้หัวใจทำการหมุนเวียนเลือดที่มีออกซิเจน
    การทำ CPR เป็นการช่วยชีวิตที่จะให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อผู้ทำการช่วยชีวิตผ่านการฝึกฝนมาแล้ว
    เพราะหากทำโดยไม่มีความรู้และไม่ผ่านการฝึกฝนมาก่อน จะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือได้
    เช่น กระดูกหัก หรือ หัวใจช้ำเพราะกดแรงไป ,ไม่นำเศษอาหารออกก่อนผายปอดทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ เป็นต้น

    การช่วยชีวิตด้วยวิธีCPR จะใช้เมื่อ

    - ไม่หายใจ
    - ชีพจรหยุดเต้น
    - ผู้ป่วยไม่ได้สติ
    ดังนั้นหากไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการ ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำ CPR เพราะจะก่อให้เกิดผลเสีย มากกว่าผลดี
    การกดหน้าอกในขณะที่หัวใจของผู้ประสบอุบัติเหตุยังเต้นอยู่ เป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดเต้นได้
    และถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง ไม่ควรขยับศรีษะหรือคอของผู้บาดเจ็บ


    ขั้นตอนการทำ CPR

    1. ตรวจสอบผู้บาดเจ็บ ว่ามีสติหรือไม่ด้วยการสัมผัสผู้ป่วย หรือเขย่าเบาๆ ตะโกนถามว่า”คุณเป็นไงบ้าง”
    2. ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น ติดต่อเรียกรถฉุกเฉินทันที ถ้าไม่มีใครให้ใช้โทรศัพท์ติดต่อโดยด่วน
    3. จัดท่านอนผู้บาดเจ็บให้นอนหงายบนพื้น ลำตัวตรง (ระวังศรีษะและคอ ของผู้บาดเจ็บด้วย )
    4. คลายเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บถ้าจำเป็น (เพื่อสังเกตุการเคลื่อนไหวของหัวใจบริเวณหน้าอก และนวดหัวใจ)
    5. เอาหูแนบบริเวณปากของผู้บาดเจ็บเพื่อฟังเสียงลมหายใจ พร้อมกันนั้นก็สังเกตุการเคลื่อนไหวที่บริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บไปด้วย 5 วินาที
    6. หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ให้เริ่มต้นช่วยทำการหายใจ ด้วยการเงยศีรษะผู้บาดเจ็บเล็กน้อย ใช้มือล้วงหาเศษอาหาร หรือฟันปลอมออกให้หมด จากนั้นปิดจมูกของผู้บาดเจ็บด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ใช้ปากประกบปากผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือ แล้วเป่าลมช้าๆเข้าไปให้เต็มลมหายใจ 2 ครั้ง (หยุดระหว่างครั้ง เล็กน้อย)
    7. ถ้าบริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บไม่ขยับขึ้น ให้จัดศัรษะใหม่ แล้วเป่าปากอีก 2 ครั้ง ถ้าบริเวณหน้าอกยังไม่ขยับ แสดงว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจ (ให้ล้วงสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด)
    8. ถ้าหน้าอกขยับ ให้วางนิ้วสองนิ้วที่ลำคอของผู้บาดเจ็บ (ข้างลูกกระเดือก) เพื่อตรวจสอบชีพจร 5-10 วินาที
    9. ถ้าชีพจรเต้นครั้งแรก ให้เป่าปาก 1 ครั้ง ทุก 5 วินาที , ตรวจสอบชีพจร 1 ครั้ง เมื่อเป่าปากถึง 12 ครั้ง
    10. ถ้าผู้ประสบเหตุยังไม่มีชีพจร ให้เริ่มทำการปั๊มหัวใจ โดยวางส้นมือที่หน้าอกข้างซ้าย (ห่างจากบริเวณกระดูกซีโครงตรงกลางหน้าอก ชิ้นล่างสุด ประมาณ 2 นิ้ว) วางส้นมือของมืออีกข้างทับมือที่วางอยู่บริเวณอกผู้บาดเจ็บ กำนิ้วเข้าด้วยกันให้แน่น ตั้งข้อศอกให้ตรง ให้ไหล่อยู่ตรงกับมือที่ที่จะปั๊มหัวใจ ออกแรงกดลงไปที่หน้าอก ให้ึลึกประมาณ 2 นิ้ว ทำซ้ำ 15 ครั้ง (การกดหน้าอก เพื่อปั๊มหัวใจต้องทำอย่างนุ่มนวล เป็นจังหวะ และทำติดกันกันโดยไม่หยุด)
    11. ผายปอดผู้บาดเจ็บ 2 ครั้ง และปั๊มหัวใจ 15 ครั้ง ทำซ้ำเช่นนี้ 4 รอบ
    นับดังๆ ระหว่างที่ปั๊มหัวใจ อัตราความเร็วในการปั๊มหัวใจควรอยู่ที่ 80-100 ครั้ง ต่อนาที (นับทุกครั้งที่ปั๊มเป็นจังหวะดังนี้ “1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 5……11 ,12 ,13 ,14 ,15″)
    12. ตรวจสอบการเต้นของชีพจร 5-10 วินาที
    13. ทำซ้ำ ตามขั้นตอนที่ 11 และ 12 จนกระทั่งชีพจรกลับมาเต้น และถ้าชีพจรกลับมาเต้น ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 9
    14. เมื่อชีพจร และการหายใจเข้าสู่ภาวะปกติ ให้รอการช่วยเหลือ เพือนำส่งโรงพยาบาล ระมัดระวังการเคลื่อนย้ายในกรณีที่มีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
    ขอบคุณข้อมูล http://www.thaisafetywork.com
    ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.thaimtb.com

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •