กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620

    เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี  มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานสรุปภาพรวมการเคลื่อนไหวเงินบาทว่า แข็งค่าขึ้นมาอยู่ในระดับ 28.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการแข็งค่าสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปี โดยการแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางการปรับตัวขึ้นของสกุลเงินและตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงค่าเงินหยวนของจีน
    ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนในช่วงปลายสัปดาห์ว่า ระดับเงินบาทในช่วงนี้ แข็งค่ามากเกินปัจจัยพื้นฐานไปบ้างแล้ว โดยต้องจับตากระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ทิศทางค่าเงินหยวน และสถานการณ์หนี้ในยูโรโซน ขณะที่ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่และบ้านมือสอง เดือนมีนาคม ตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 1/2556 (ครั้งที่ 1) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

    ค่าเงินบาทแข็งตัวมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
    สาเหตุของค่าเงินบาทแข็ง
    1) ดีมานด์หรืออุปสงค์ต่อดอลลาร์ลดลง
    - นักลงทุนกระจายความเสี่ยง แบ่งความสนใจลงทุนในสหรัฐมาในภูมิภาค ซึ่งหมายถึงไทยด้วย ทุนที่เข้ามาจะถูกเปลี่ยนจากสกุลดอลลาร์เป็นบาทก่อน ทำให้ดีมานด์ต่อดอลลาร์ลดลง ดีมานด์ต่อบาทเพิ่มขึ้น
    - ทุนไทยและต่างประเทศคงมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่ตกต่ำหรือถดถอยลงไปอีกแล้ว ความต้องการลงทุนทั้งโดยตรง (เข้ามาถือหุ้น ลงทุนเอง ทำบริษัท) หรือทางอ้อม (ลงทุนในหลักทรัพย์) มีมากขึ้น ทุนจะถูกเปลี่ยนเป็นบาท เป็นการเพิ่มอุปสงค์ต่อค่างเงินบาท
    - น่าจะเป็นผลจากมาตรการเหนี่ยวรั้งไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยลงในระหว่างขาขึ้นรอบใหม่ การที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งทำให้การค้าส่งออกสหรัฐลำบาก ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์อ่อนช่วยลดการขาดดุลการค้าลงได้ เพราะคนนำเข้าสหรัฐจะรู้สึกว่าสินค้านำเข้าราคาสูงขึ้นทันที
    - ทุนสำรองเงินตราของไทยอยู่ในระดับ 34.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะสูงกว่าสมัยรัฐบาลที่แล้วในหลักพันล้านเหรียญ ก็ถือว่าอยู่ในระดับหมดความกังวลใจ ความต้องการดอลลาร์เพิ่มเพื่อเติมให้ทุนสำรองจึงไม่จำเป็นต้องมี ดีมานด์ดอลลาร์จากจุดนี้ไม่มี
    - นักค้าเงิน (พวกแบงก์ สถาบันการเงิน ก็ค้า) ผู้นำเข้าสินค้า ไม่รีบร้อนเก็บเงินดอลลาร์ เพราะมั่นใจว่าค่าเงินบาทยังอยู่ในขาปรับตัวแข็งขึ้นไป ซื้อเก็บตอนนี้อาจเสียโอกาส ซึ้อวันข้างหน้าถูกกว่า อาทิ วันนี้ 41 บาท วันหน้าอาจจะ 40 บาท ต่อ ดอลฯ
    2) ปกติแล้วค่าเงินของแต่ละประเทศจะมีความสัมพันธ์กับเครดิตของประเทศ ซึ่งเครดิตนั้นไม่ได้วันด้วยมิติของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพียงด้านเดียวแต่ขึ้นกับด้านอื่นด้วย อาทิ ฐานะเศรษฐกิจของรัฐเสี่ยงต่อความล้มละลายหรือไม่ ซึ่งกรณีประเทศไทยนั้น บัดนี้มีความชัดเจนว่า สถานะของประเทศไทยยังไปได้ โดยพิจารณาจากหนี้สาธารณะซึ่งมีสัดส่วนไม่เกิน 64 % ของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทั้งนี้หลายประเทศในละตินอเมริกา หนี้สาธารณะอยู่ในเกณฑ์ 75-85 % ต่อ GDP

    อย่างไรก็ดี อย่างที่กล่าวไปการวัดเครดิตนั้นมีหลายมิติ ซึ่งอาจรวมถึงวิธีการหรือมาตรการจัดการหนี้สินภาคเอกชน มาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน รวมไปจนถึงการกำกับดูแลสถาบันการเงินอย่างมีมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือด้วย

    ข้อสังเกตนี้ดูได้จาก ญี่ปุ่น ทุนสำรองมาก เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่สหรัฐด้วย ประชาชนมีเงินออมมากมาย แต่ค่าเงินอ่อนค่ามายาวนานนับ 20 ปี และแม้ญี่ปุ่นจะเข้าวิกฤตก่อนไทย คือ ปี 2535 (ไทย 2540) แต่ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา เขามองว่าไทยดีกว่าและเป็นไปได้มากกว่า เนื่องเพราะเราจัดการอย่างเด็ดขาด ไม่ปล่อยคาราคาซัง ญี่ปุ่นมีแต่ดำริ แต่ไม่ได้ลงมือทำ ทีเอเอ็มซี ตั้งก่อนไทยหลายปี แต่ก็ไม่เคยดำเนินการแม้แต่รายเดียว เราตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว แก้ปัญหาจบไปเกินครึ่ง รัฐบาลปัจจุบันตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขามั่นใจว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าปัญหานี้คาราคาซังจะมีวันจบสิ้นแน่ แต่ญี่ปุ่นยังไม่เห็นแสงสว่างในปลายอุโมงค์ เลย
    3) การแทรกแซงมีผลต่อค่าเงิน ความจริงการแทรกแซงน่าจะเป็นหัวข้อย่อยของดีมานด์-ซัพพลาส์ การแทรกแซงมีทั้งขายบาทออก กับซื้อบาทเก็บ ขึ้นอยู่กับว่าจะถ่วงอย่างไรให้ค่าเงินเรามีเสถียรภาพ โดยทั่วไปแล้วช่วงไตรมาสสุดท้ายและเหลื่อมปีเล็กน้อย ค่าเงินบาทอ่อนจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจรวมหรือเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ เพราะการแทรกแซง (กรณีเห็นว่าบาทแข็งเกินไป) เพื่อให้ค่าเงินบาทแข็งตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับคู่ค้า โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตลาดใหญ่อาเซียน บวกกับฮ่องกง(ไม่เท่าไหร่) และไต้หวันจะทำให้โอกาสในการค้าไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันกับผู้ส่งออกประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกัน

    ผลการแทรกแซงเป็นอย่างไรคงเห็นกันมาแล้วเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา พอมีผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่ ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้น ผลจากการปรับดอกเบี้ยครั้งนั้นทำให้แบงก์ชาติมีกำไรขึ้นมาทันที และแบงก์ชาติได้เอากำไรที่เป็นบาทไปแลกซื้อดอลลาร์เก็บ ทำให้ค่าเงินบาทที่ค่อยๆ ปรับตัวแข็งขึ้นมาช้า ๆ เป็นลำดับ กลับกระตุกให้อ่อนวูบลงไป และหลังจากครั้งนี้ผมจับปฏิกิริยาพฤติกรรมแทรกแซงของแบงก์ชาติไม่ได้เลย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนดีของแบงก์ชาติครับ ถ้าคนระดับผมอ่านเกมออก เราคงหายนะพ่อการเก็งกำไรค่าเงินเป็นแน่
    ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง: ข้อดีข้อเสีย

    ค่าเงินที่แข็งขึ้นทำให้เกิดอำนาจซื้อสูงขึ้น จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากเงินถูกใช้ไปในการนำเข้าสินค้าทุน ต้นทุนจะต่ำกว่าเดิม การผูกพันหนี้หรือการกู้ยืมหนี้จะเป็นประโยชน์ กู้วันนี้ 41 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ แต่จ่ายคืนวันข้างหน้า (ถ้าค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นตลอด) 39-40 บาทต่อดอลลาร์ หรือรีบใช้หนี้สินเสียวันนี้ (หากไม่แน่ใจว่าวันข้างหน้าบาทจะแข็งต่อไปหรืออ่อนตัวลงมา) จะถูกกว่า เราจะเห็นว่า ปีสองปีมานี้บริษัทใหญ่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ประกาศว่ากิจการมีกำไร และหลายบริษัทที่ประกาศนั้นเขามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนครับ สมัยโน้นบอกว่ากิจการขาดทุนมาก เพราะตีค่าเงินบาทไว้ 50-55 บาทต่อดอลลาร์ วันนี้ตีใหม่เท่ากับ 41 บาท จำนวนหนี้ก็ลดพรวดพลาด บางทีก็กำไรขึ้นมาในพริบตา ซึ่งนี้เป็นกำไรจากตัวเลขเท่านั้น
    สังเกตดูนะครับ ตอนนี้ทุนต่างประเทศ (ทุนไทยด้วย) จะไล่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อ หรือซื้อเก็บเพื่อขายต่อในวันข้างหน้า เขาอ่านเกมแล้วว่าไทยไม่กลับไปตกต่ำอีก เศรษฐกิจมีสัญญานฟื้นชัดเจน ไม่ว่าฟื้นช้าหรือเร็วก็ต้องฟื้นแน่นอน จึงเข้ามาซื้อสินทรัพย์เพื่อทำกำไร เวลาทุนนอกมาก็ต้องเอาดอลลาร์มาแลกเป็นบาท ทำให้ดีมานด์บาทเพิ่มมากขึ้น เงินบาทจึงปรับตัวแข็งขึ้นไป เขาตัดสินใจซื้อขายตอนนี้เพราะมั่นใจว่า ขืนช้ากว่านี้สินทรัพย์เราจะแพงขึ้นตามการแข็งตัวของค่าเงินบาทนั่นเอง เมื่อมีการซื้อขายเงินก็สะพัดเป็นของธรรมดา



    ข้อเสียคือ ราคาสินค้าของเราแพงขึ้นทันทีครับ สมัยก่อนเขามีเงิน 1 ดอลลาร์ซื้อปากกาเราได้ 4 ด้าม เดี๋ยวนี้เขาอาจซื้อเราได้เพียง 3 ด้ามครึ่งเท่านั้น เพราะเดิม 1 ดอลลาร์เท่ากับ 44 บาทกว่า เดียวนี้ 40-41 บาท ถ้าบาทแข็งไปมากกว่านี้เขาอาจซื้อเราได้แค่ 3 ด้ามต่อหนึ่งดอลลาร์เท่านั้น

    สมัยวิกฤตใหม่ ๆ เราขายเลหลังทรัพย์สินที่ยึดมา ตอนนั้นค่าเงินดอลลาร์แข็งมากเทียบกับเงินบาท คือ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 45-50 บาท เมื่อมาซื้อสินทรัพย์ก็เท่ากับสินทรัพย์ของเราถูกลงไปตั้งครึ่งหนึ่ง เพราะก่อนวิกฤติ 2540 ค่าเงินอยู่ระดับ 25 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรับ

    ขณะนี้อยู่ระดับ 40-41 บาท เท่ากับว่าค่าเงินเราแข็งขึ้นเล็กน้อย ทรัพย์สินของเราก็แพงขึ้นเล็กน้อย อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินทรัพย์ของไทยลงไปบ้าง
    ข้อสังเกตุ : ค่าเงินของแต่ละประเทศไม่มีใครบอกได้ว่าต้องอยู่ที่ระดับใดเหมาะสม และนักสังเกตการณ์ทางการเงินก็รับรู้ว่า ถ้าเงินปล่อยให้อ่อนไปถึง 70-80 บาท ค่าเงินก็จะอยู่แถวๆ นั้น ถ้าปล่อยให้อยู่ระดับ 40-50 บาท ค่าเงินก็จะอยู่ในระดับนั้น เพราะฉะนั้น การบริหารค่าเงินที่ดี ไม่ควรให้ทิ้งห่างจากเดิมมาก เพราะถ้าปล่อยให้ทิ้งห่างเนิ่นนาน ค่าเงินจะอยู่ในระดับนั้นไปโดยปริยาย

    ในความคิดเห็นของผมนั้น เราจะบริหารค่าเงินเพียงเพื่อให้ค้าขายแข่งกับคู่แข่งขันให้ได้เท่านั้น ไม่น่าจะถูกต้อง บางทีเราต้องฝืนครับ อาจยอมให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าสูงกว่าประเทศคู่แข่งขันบ้าง เพื่อไม่ให้ค่าเงินหนีไปจาก "ฐานเดิม" ก่อนลดค่าเงินบาทมากนัก ถ้าผมรับผิดชอบบริหารเงินตราจะรู้สึกเสียชาติเกิดมากหากค่าเงินบาทตกต่ำเป็นเท่าตัวจากเดิม เพราะนั่นดูเหมือนจะขาดเหตุผลเกินไป

    ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งอยู่ในเวลานี้จะมีผลกระทบทางลบกับเราหรือไม่ ผมมั่นใจครับว่าไม่มีผลกระทบมากนัก เพราะเรากับประเทศคู่แข่งทางการค้า ค่าเงินแข็งตัวไปในทิศทางเดียวกัน เรายังขายสินค้าแข่งกับเขาได้เหมือนสภาวะปกติ ส่วนที่ใช้คำว่ามีผลกระทบบ้างก็เพราะว่า มีรายงานข้อมูลเข้ามาว่า พ่อค้ารายย่อยที่ค้าขายกับเวียดนามงดส่งออกแล้ว เพราะรู้สึกว่าขาดทุน เขาขายของแลกกับดอลลาร์ ส่งของก่อนรับชำระค่าสินค้าภายหลัง เมื่อค่าเงินแข็งขึ้นต่างกัน 1 บาทในรอบ 60 วัน เขารู้สึกว่ารายได้ลดลงไปทันทีแม้จะได้จำนวนดอลลาร์เท่าเดิมก็ตาม

    กรณีแบงก์วิเคราะห์เชิงตรรกะว่า ค่าเงินแข็งขึ้น 1 บาทส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลดลง 0.2 % นั่นเป็นการประเมินเชิงตรรกะเท่านั้น เราพอจะรับฟังได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการผลิตในประเทศหรือ GDP ลดไปจริง ๆ ที่วิเคราะห์ว่ามีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเพราะ เอาดอลลาร์มาแลกบาทได้น้อยลง ทำให้ปริมาณเงินบาทลดลง ตัวเลข GDP จึงลดลง เหตุผลทางตรรกะมีเพียงเท่านี้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อแหล่งผลิตในละตินอเมริกามีปัญหา สหรัฐอาจนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มก็ได้ ความเป็นไปได้ในข้อเท็จจริงสามารถเกิดขึ้นได้เสมอครับ

    แหล่งที่มา http://www.manager.co.th http://thaimisc.pukpik.com

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    บ่ใช่บ่ใช่เรื่องข่าวการเงินการทองแมนลับบ่ได้บ่ฮู้เลี่ยงเลยเพราะว่าปรึกหลายโพด555

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620
    นึกว่าภรรเมียควบคุมด้านการเงินไว้หมดซะอีก

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    สงสัยอนาคตของฉันต้องอยู่สหรัฐฯตลอดชีพเลยหรือเปล่า เหอๆๆๆ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •