ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก


ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก


ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก


ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก
หากเรารู้สึกไขสันหลังเย็นวาบ ไม่ว่าจะเกิดจากความเย็นหรือความกลัว ระบบตอบสนองที่อยู่นอก อำนาจจิตใจจะทำให้ขนบนร่างกายของเราลุกตั้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่าขนลุก หรือที่เรียกว่า goose bumps (หนังห่านที่มีความตะปุ่มตะป่ำ) ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากลักษณะตุ่มเล็กๆ บนผิวหนังนั้นดูเหมือนผิว ของห่านที่ถูกถอนขนออกไปแล้ว แต่ว่าทำไมเราถึงเกิดอาการขนลุกและสัตว์ชนิดอื่นสามารถเกิดอาการ ขนลุกได้หรือไม่ ในครั้งนี้ เราจะมาศึกษากลไกชีวภาพ ของอาการขนลุกกัน

อาการขนลุกเป็นการตอบสนองต่อฮอร์โมนที่ เรียกว่าอะดรีนาลิน ซึ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรอบรูขุมขนนั้นหดตัวและยกขนให้ตั้งขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังนูนขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆ อาการขนลุกจะเห็นได้ชัดที่สุดบริเวณปลายแขน แต่ก็สามารถพบได้ที่ขาคอ หรือแม้แต่บน ศีรษะของมนุษย์ นอกจากนั้น อาการขนลุกยังเกิดได้ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เช่น ลิงชิมแปนซี แมว สุนัข และแม้แต่เม่น ซึ่งอาการขนลุกจะช่วยรักษาความ อบอุ่นในร่างกายสัตว์ เพราะขนที่ตั้งชันขึ้นจะทำหน้าที่ เป็นฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกาย และหากสัตว์ รู้สึกว่าถูกคุกคาม ขนที่ตั้งชันขึ้นก็จะช่วยให้มันดูตัวโต ขึ้นเพื่อข่มขู่คู่ต่อสู้ ในกรณีของเม่นนั้น อาการขนลุก ทำให้ก้านขนเม่นตั้งชันและบางครั้งร่วงจากผิวหนังก่อให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเม่นสามารถสลัดขนเม่น เหมือนการยิงลูกดอกไปยังศัตรูได้เลยทีเดียว

แต่ตอนนี้คุณอาจสงสัยว่าตุ่มเล็กๆ บนหนัง ห่านที่ถูกถอนขนนั้น จัดว่าเป็นตุ่มที่เกิดจากอาการ ขนลุกด้วยหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ค่ะ เพราะมันไม่มี การหดตัวของกล้ามเนื้อแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ห่านและสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ก็มีระบบตอบสนองที่อยู่ นอกอำนาจจิตใจที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งทำให้ขนของ มันตั้งชันขึ้นเพื่อปกป้องพวกมันจากความหนาวเย็น ได้เช่นกัน

เนื่องจากอาการขนลุกนั้นสามารถเกิดขึ้น ได้ในสัตว์หลายชนิด ดังนั้นคราวหน้าที่คุณรู้สึก ขนลุกขณะดูภาพยนตร์สยองขวัญละก็ อย่าลืม เหลือบตาไปมองสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณด้วย




เครดิต : เวปธรรมจักร.เน็ต/บ้านมหา.คอม