การให้ทุกอย่างไม่ว่าจะให้อาหาร ให้ผ้า ให้น้ำ ให้ความไม่มีภัย ให้ชีวิตสัตว์ หรือ

การให้ธรรมทาน ก็เพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อสละกิเลส เพื่อเป็นปัจจัยให้ออกจากวัฏฏะ



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกายอัฏฐกกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472

ทานวรรคที่ ๔

๑. ปฐมทานสูตร

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ

เป็นไฉน คือ

บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑

บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า ทานเป็นการดี ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชนเหล่านี้หุงหา

กินไม่ได้ ๑

เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทาน

แก่ชนเหล่านี้ผู้ไม่หุงหากินไม่

สมควร ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานกิตติศัพท์อันงาม

ย่อมฟุ้งไป ๑

บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่จิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ปฐมทานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น

บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า

ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า

ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.

ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม

พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า.

ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง

พึงหวังผลทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้

จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน

ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี

ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี

ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์

ในปัจเจกสัมพุทธะ และในตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 140

ฯลฯ


พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน

มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า

ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม

สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่

ความเป็นอย่างนี้ ฯลฯ

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำ

ให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและ

พราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่

สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์

สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น

อย่างนี้.

ฯลฯ

ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวัง

ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้

ไห้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว ก็ได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทาน

ฯลฯ



ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความ

ปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน

เช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูก่อนสารีบุตร

นี้ เหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น

ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

จบ ทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172


๓. สาธุสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน


[๙๔] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา


มากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้


มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงได้ยืน



อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


[๙๕] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้


เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า


ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง


ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล เพราะความ


ตระหนี่และความประมาทอย่างนี้ บุคคล


จึงให้ทานไม่ได้ อันบุคคลผู้หวังบุญ

รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.

[๙๖] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของ-


พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า


ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง


ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล อนึ่ง แม้เมื่อ


ของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ


ได้ บุคคลพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อย ย่อม


แบ่งให้ได้ บุคคลพวกหนึ่ง มีของมากก็



ให้ไม่ได้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย

ก็นับเสมอด้วยพัน.


[๙๗] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ


ผู้มีพระภาคเจ้าว่า


ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง


ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่


น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง


ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้


สำเร็จได้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า


ทานและการรบเสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มี


น้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มีมากได้ ถ้าบุคคล


เชื่ออยู่ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยได้ เพราะ


ฉะนั้นแล ทายกนั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข


ในโลกหน้า.


[๙๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้


มีพระภาคเจ้าว่า


ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง


ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่


น้อย การให้ทานได้เป็นการดี อนึ่ง ทาน


ที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ


ได้ อนึ่ง ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอัน


ได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี บุคคลใดเกิดมา


ย่อมให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มี


ธรรมอันบรรลุแล้วด้วยความหมั่นและ


ความเพียร บุคคลนั้นล่วงพ้นนรกแห่ง


ยมราช ย่อมเข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์.
....................................................................................

ทานและการรบเสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มีน้อยย่อมชนะคนขลาดที่มีมากได้

ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ ย่อมให้สี่งของแม้น้อยได้ ทานที่

ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่งทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรม


อันได้แล้ว ยี่งเป็นการดี สำหรับผมอ่านอานิสงส์ต่างๆ ของทานในพระไตรปิฏกแล้ว

เกิดความคิดว่า จะต้องทำกุศลทั้งปวงมากๆ บ่อยๆ ให้เต็มที่ตลอดไป จนกว่าจะสิ้นชีวิต


ปัญญา ค่อย ๆ เจริญขึ้น ทีละน้อย ๆ

แต่สำหรับผู้ที่ "เริ่มต้น" นั้น.....จะไม่มีผลอะไรบ้างเลยหรือ.?

ที่พอจะทำให้มีกำลังใจ ในการที่จะอบรมเจริญปัญญาขึ้นบ้าง

อย่างน้อยที่สุด....คนที่เริ่มต้น ก็คง "อยากจะเห็นผล"

ในการอบรมเจริญปัญญา บ้าง.!
จะเห็นผลทันทีไม่ได้หรอก.!


แต่ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะมั่นใจขึ้น................

และจะ"เข้าใจ"เพิ่มขึ้น ว่าทำไม จึงรู้สึกทุกข์-สุข

และสามารถที่จะเผชิญกับความทุกข์ได้มากขึ้น ฯ

ด้วย "ความรู้-ความเข้าใจ" ที่เจริญขึ้น

จากการอบรมเจริญปัญญา

และจะเห็น "คุณค่าของการอบรมเจริญปัญญา" ยิ่งขึ้น.



.
"การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน"

ซึ่งเป็น "เหตุ" ให้เกิดอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น

จะละคลายได้

ก็ด้วย "ปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย"

เท่านั้น.!



เราควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครได้ยิน ฯ

มีแต่สภาพธรรมต่าง ๆ ที่มี "ปัจจัยปรุงแต่ง" จึงเกิดขึ้น เท่านั้น

เมื่อรู้เช่นนั้น จริง ๆ จึงจะละคลายความเป็นตัวตนได้.

เราไม่อาจจะพูดได้ ว่า

มีความเห็นผิด ว่า เป็นตัวตน ทุกขณะที่เห็น หรือได้ยิน ฯ .!



แต่อย่างไรก็ตาม

เรามีการสะสม ความยึดถือว่าเป็นตัวตน ไว้ลึกมาก

ถึงจะยังไม่ปรากฏออกมาให้เห็น

แต่ก็นอนเนื่องอยู่ในจิต.............

เหมือนกับเชื้อไวรัสที่แอบแฝงอยู่ในร่างกาย

ซึ่งเมื่อถึงเวลา ที่"ปัจจัยถึงพร้อม"

ก็จะปรากฏอาการขึ้นมา.



"ความเห็นผิด"

เป็น"ปัจจัย" ให้เกิดอกุศลธรรมมากมาย

และจะดับความเห็นผิดได้เป็นสมุจเฉท

เมื่อรู้แจ้ง "อริยสัจจธรรม"



"ความเห็นผิด"

เป็นสภาพธรรมที่จะต้องดับให้หมดก่อนเป็นสมุจเฉท

จึงจะสามารถดับ "ความติดข้อง" ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้.



และ จำเป็นมาก ที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา

จนกระทั่งรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง

ที่เกิดขึ้น ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน

จากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส

การสัมผัส และ การคิดนึก

ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน.



ที่เรายึดถือ ว่า เป็นจิตใจของเรา นั้น

สภาพธรรมตามความจริง ก็คือ จิต และ เจตสิก ซึ่งเป็น นามธรรม

และ สิ่งที่เรายึดถือ ว่า เป็นตัวตนของเรา ก็เป็นเพียงรูปธรรม.



เมื่อปัญญาเจริญขึ้น....เราจะรู้ว่า

หลังจากที่เห็น หรือ ได้ยิน ฯ แล้ว...ส่วนมาก "อกุศลจิต" เกิดต่อ.!



เราอยากเห็นในสิ่งที่ชอบ และ ชอบสิ่งที่เห็น

เราอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยากได้ยิน และ ชอบเสียงที่ได้ยิน

เรา "ติดข้อง" อยู่กับ "กามอารมณ์"

ซึ่งหมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.



ขณะที่ "ติดข้อง" นั้น.........

ผ่านไป โดยไม่ได้พิจารณา

เพื่อที่จะรู้จักสภาพธรรมที่มี "ลักษณะติดข้อง"

แต่เมื่อ อบรมเจริญปัญญา.........

ก็เป็น "ปัจจัย" ให้รู้จัก "สภาพจิตลักษณะต่าง ๆ"

อย่างละเอียดขึ้น.


" การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง "