กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ


    *********************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    *********************






    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ

    บทนำ
    ประวัติโดยย่อ



    ทางรถไฟสายปากน้ำ เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร กับเมืองปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึงพ.ศ. 2503 เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย


    ดำเนินการโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ บริหารงานโดยอังเดร เดอ ริเชอลิเออร์ (พระยาชลยุทธโยธิน) ชาวเดนมาร์ก และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (พระนิเทศชลธี)


    ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479 เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434


    เปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวนรถไฟพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์

    มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์


    สถานีต้นทางรถไฟ คือ สถานีหัวลำโพง ตั้งอยู่ริมคลองหัวลำโพง ปัจจุบันคือบริเวณถนนพระราม 4 ตรงข้ามกับสถานีรถไฟกรุงเทพในปัจจุบัน สถานีปลายทางคือ สถานีปากน้ำ ปัจจุบันเป็นถนนหน้าทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์


    ระหว่าง พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2459 มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดสัมปทาน หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้วกรมรถไฟได้ดำเนินการต่อ

    จนกระทั่งยกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรื้อทางรถไฟสร้างเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่า



    การเดินรถในระยะแรก ใช้หัวรถจักรไอน้ำ ผลิตโดยบริษัท เคร้าส์ (Krauss) จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็นรถรางไฟฟ้า



    รายชื่อสถานี


    บางกอก Bangkok ระยะทาง 0.0 กิโลเมตร

    ศาลาแดง Sala Deng ระยะทาง 2.3 กิโลเมตร

    คลองเตย Klong Toi ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร

    บ้านกล้วย Ban Kluei ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร

    ที่หยุดรถพระโขนง Prakonong ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร

    บางจาก Bangdjak ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร

    บางนา Bang Na ระยะทาง 12.0 กิโลเมตร

    สำโรง Samrong ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร

    จอรเข้ (จระเข้) Chorakhe ระยะทาง 17.3 กิโลเมตร

    บางนางเกรง (บางนางเกร็ง) Bang Nang Greng ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร

    ที่หยุดรถมหาวง (มหาวงศ์)Mahawong ระยะทาง 20.0 กิโลเมตร

    ที่หยุดรถปากน้ำ Paknam ระยะทาง 21.3 กิโลเมตร





    [COLOR="rgb(65, 105, 225)"]ติดตามตอนต่อไป....[/COLOR]




    ขอบคุณ


    วิกิพีเดีย
    reurnthai





    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1


    ************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1

    ************************



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    ตอนที่ 1 เริ่มที่สมัยรัชกาลที่ 4



    วันที่ 30 มีนาคม 2398 มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปากส์ ราชทูตพิเศษของสมเด็จพระราชินีอังกฤษ ถวายเครื่องบรรณาการ อาทิเช่น รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง …เป็นครั้งแรกที่..คนไทยได้เห็นรถไฟจำลอง



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1



    พ.ศ.2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้า ให้ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูต พร้อมคณะทั้งสิ้น 27 คน เดินทางไปจำเริญทางพระราชไมตรีกับกรุงอังกฤษ ระหว่างที่คณะทูตของไทยอยู่อังกฤษนั้น ได้มีโอกาศเดินทางโดยรถไฟจากเมืองแมนเชสเตอร์ ไปเมืองลิเวอร์พูล ซึ่งห่างกัน 40 ไมล์ ตามเส้นทางที่ จอร์ช สเตเฟนสัน เป็นผู้ให้กำเนิดรถไฟโลกเมื่อปี


    พ.ศ. 2374 และได้เดินทางไปตามเส้นทางต่างๆระยะทางทั้งสิ้น 529 ไมล์ กิจการรถไฟในอังกฤษมีประโยชน์มาก ทำให้อังกฤษเจริญรุดหน้าไปย่างรวดเร็ว



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1

    คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียเพื่อถวายพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณการ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. 2400 หมอบอยู่หน้าสุด - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)

    ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เป็นให้เป็นราชทูตไทยคนแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราช บรรณาการไปถวาย สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เป็นการเจริญพระราชไมตรีตอบแทนที่พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ได้ส่งเซอร์ จอห์น บาวริ่ง (SIR JOHN BOWRING) เป็นราชทูตมายังกรุงสยามในปี พ.ศ. 2398

    ภาพลายเส้นตีพิมพ์ในหนังสือ The Illustrated London News ฉบับวันที่ ๕ ธันวาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ.2400)




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1

    พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 1


    จอร์ช สเตเฟนสัน George Stephenson ผู้ให้กำเนิดรถไฟครั้งแรก
    (จอร์จ สตีเฟนสัน (อังกฤษ: George Stephenson) เป็นผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำคนแรกของโลก เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2324 ที่ตำบลวีลัม นอร์ททัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ จอร์จ สตีเฟนสัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งการรถไฟ")



    พ.ศ.2401 มิสเตอร์เฮนรี่ แห่งอังกฤษ ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลมายังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ขุดคลองที่คอคอดกระของไทย เพื่อย่นระยะทางเรือเดินสมุทร บัดรี้ ได้พิจารณาว่าขุดคลองจะต้องลงทุนสูงมาก สมควรให้สร้างทางรถไฟข้ามแทน ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ก่อตั้ง ”บริบัทรถไฟสยาม” แต่ต้องหยุดดำเนินลงเพราะตกลงในเงื่อนไขกันไม่ได้และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ขาดหายไปบางส่วน จึงระงับอยู่เพียงนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว…ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ ทรงใช้เวลาว่างเสด็จประภาสต่างประเทศโดยมีประราชประสงค์เชื่อมสัมพันธไมตรี




    หมายเหตุ


    รายชื่อบุคคลในคณะราชทูตสยาม จากจดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 แต่งโดยหม่อมราโชทัย

    (1) ราชทูต พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ ร่วมมารดากับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้เปนที่สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือ

    (2) อุปทูต เจ้าหมื่นสรรพ์เพ็ธภักดี ( เพ็ญ ต้นสกุลเพ็ญกุล ) เปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นพระยา ราชสุภาวดี แล้วเลื่อนเปนเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บัญชาการ กรมพระสุรัสวดี

    (3) ตรีทูต (เดิมกะว่าหลวงชาญภูเบศร์ แล้วเปลี่ยนเปน) จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ด้วง) เปนข้าหลวงเดิม ร่วมพระนมในพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีความผิดต้องออกจากราชการ

    (4) ล่ามหลวง หม่อมราโชไทย ชื่อหม่อมราชวงศ์กระต่าย(อิศรางกูร ณอยุธยา) บุตรกรมหมื่นเทวานุรักษ์ ในเจ้าฟ้ากรมขุน อิศรานุรักษ์

    (5) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) เปนบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ กลับมา ได้เปนที่พระเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ ปลัดเมืองเพ็ชรบุรี แล้วเลื่อนเปนพระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม ในรัชกาลที่ 5 เป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี

    (6) ผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ นายพิจารณ์สรรพกิจ (ทองอยู่ กัลยาณมิตร) เปนบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร ต่อมา ได้เปนหลวงเดชนายเวร

    (7) ล่ามของราชทูต ขุนจรเจนทเล ชื่อฉุน ได้ไปเรียนวิชาเดินเรือในยุโรป ในรัชกาลที่ 5 ได้เปนหลวงชลธารพินิจจัย แล้วเลื่อน เปนพระชลธารพินิจจัย เจ้ากรมคลอง

    (8) ล่ามของอุปทูต ชื่อนายโนรี

    (9) ล่ามของตรีทูต ขุนปรีชาชาญสมุท ชื่อดิศ เปนนายรือในพระบวรราชวัง ภายหลังได้เปนหลวงสุรวิเศษ นายทหารหน้าในกรม พระราชวังบวร ฯ เปนครูสอนภาษาอังกฤษเจ้านายวังหน้าจนรัชกาลที่ 5

    (10) นายเทศ บุนนาค (คือเจ้าพระยาสุรพันธ์พันธุ์พิสุทธ) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยรูวงศ์ อายุ 17 ปี เปนนักเรียส่งไป เรียนวิชา

    (11) นายทด บุนนาค บุตรพระยามนตรี ฯ ราชทูต อายุ 16 ปีเปนนักเรียนส่งไปเรียนวิชา นักเรียน 2 คนนี้ เมื่อถึงเมืองอังกฤษราชทูตได้ขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยหาที่เล่าเรียน กระทรวงต่างประเทศอังกฤษสืบหาที่เล่าเรียน เดิมกะว่าจะให้ไปเรียนที่ราชวิทยาลัยในลอนดอน แต่จะเปนด้วยเหตุใด ไม่ปรากฎ เมื่อทูตกลับมา นักเรียนก็กลับมา หาได้อยู่เล่าเรียนไม่

    (12) เสมียนของราชทูต นายบริบาลบรรยงก์

    (13) เสมียนของอุปทูต ขุนบุรินทามาตย์

    (14) เสมียนของตรีทูต ไม่ปรากฎชื่อ

    (15) หมอยา

    (16) หมอนวด

    คนใช้ 11 คน

    รวมทั้งสิ้น 27 คน





    ติดตามต่อได้ที่นี่ค่ะ...





    ขอบคุณ


    วิกิพีเดีย

    reurnthai

    prakannews

    cavalry6

    board.postjung



    +++++++++++++++








    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 14-05-2013 at 10:54.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 2


    ****************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 2
    ****************************



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    ตอนที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มการสร้างทางรถไฟในประเทศไทย




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 2


    สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มการสร้างทางรถไฟในประเทศไทย




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 2



    พ.ศ. 2413 พระองค์ได้เสด็จประพาสสิงค์โปร์และชวาเป็นครั้งแรก ทรงทอดพระเนตรการก่อสร้างทางรถไฟในชวา


    พ.ศ.2414 ได้เสด็จประพาสประเทศอินเดีย ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยทางรถไฟจากเมืองกัลกัตตาไปเดลฮีและจากเดลฮีไปอัครา ลักเนา คอนปุระ จนถึงบอมเบย์ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับประพาสอินเดียและทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองแล้ว ก็มีข่าวลือว่ารัฐบาลไทยกำลังดำริที่จะสร้างรถไฟขึ้นในประเทศ จากกรุงเทพไปเมืองนครราชสีมา มีชาวยุโรปมาติดต่อเสนอขอรับเหมาก่อสร้างทางรถไฟให้แก่รัฐบาลไทยหลายชาติ แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นยังไม่อยู่ในฐานะที่อำนวยให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงยังไม่โปรดให้รับข้อเสนอ..


    พ.ศ. 2426 อังกฤษแผ่อิทธิพลเข้ามาทางด้านเหนือของไทย โดยขอทำสัญญาเกี่ยวกับ อำนาจทางศาลและการพาณิชย์ ระหว่างพม่ากับเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พร้อมกับขอตั้งสถานกงสุลประจำไว้ที่เชียงใหม่แห่งหนึ่งด้วย เมื่ออังกฤษตั้งสถานกงสุลที่เชียงใหม่แห่งหนึ่งด้วย เมื่ออังกฤษตั้งสถานกงสุลที่เชียงใหม่ขึ้นแล้ว ก็มุ่งหวังจะขยายอิทธิพลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อผลประโยชน์ของอังกฤษในดินแดน ภาคเหนือของไทย ในการนี้รัฐบาลอังกฤษได้ส่งวิศวกรเข้ามาทำการสำรวจทางรถไฟถึงเชียงแสน และต่อมาได้ส่งวิศวกรชื่อ โกลคูน (Colquhoun) และฮอลต์ ฮัลเลต (Holt Hallet) รวม 2 นาย เข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทย


    พ.ศ.2428 หลังจากอังกฤษตั้งสถานกงสุลที่เชียงใหม่ขึ้นแล้ว ก็หวังจะขยายอิทธิพลให้มากที่สุด รํฐบาลอังกฤษได้ส่งวิศวกร ชื่อ โกลคุน (Colquhoun) และ ฮอลต์ ฮัลเลต (Holt Hallet) รวม 2 นาย ขอสร้างทางรถไฟระหว่างพม่าติดต่อกับจีน ผ่านทางภาคเหนือของประเทศไทยทางจังหวัดตาก (ระแหง)

    เพื่อใช้เป็น เส้นทางขนส่งสินค้าจากประเทศจีนมายังอินเดียให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก แต่รัฐบาลไทยได้ พิจารณาแล้วเห็นว่า

    ถ้ายอมให้อังกฤษสร้างทางรถไฟ สายนี้ขึ้นแล้วก็จะแบ่งประเทศไทยออกเป็น 2 ส่วน อาจ เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนภาคเหนือประกอบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจะตกอยู่กับอังกฤษแต่ผู้เดียว เพราะไม่ผ่านกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย

    ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงปฏิเสธที่จะให้สัมปทานทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่และเชียงแสนเอง ถ้ารัฐบาลอังกฤษรับว่าจะสร้างทางรถไฟจากมะละแหม่งมาที่ชายแดนไทย รัฐบาลไทยก็ยินดีจะให้มีทางแยกไปเชื่อมต่อกันที่จังหวัดตาก (ระแหง)

    ในการเจรจาขอสร้างทางรถไฟของอังกฤษครั้งนี้ ปรากฏว่า เมื่อรัฐบาลไทยปฏิเสธไม่อนุมัติสัมปทานให้แก่อังกฤษแล้ว มิสเตอร์โกลคูน ก็ได้เสนอให้ไทยกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายนี้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 แต่รัฐบาลไทยเห็นว่าไทยอาจหาแหล่งเงินกู้จากที่อื่นในอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 6 ได้โดยไม่ยากนักและตามข้อเท็จจริงแล้ว ประโยชน์ในการสร้างทางรถไฟจากระแหงเข้าไปในดินแดนพม่าจะทำให้เมืองมะละแหม่งเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยอังกฤษเพียงแต่สร้างทางรถไฟจากมะละแหม่งมายังพรมแดนไทย ยาวเพียง 100 กิโลเมตร ในขณะที่ไทยจะต้องสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่และเชียงแสน และสร้างทางแยกไปจังหวัดตาก (ระแหง) ยาวถึง 1,200 - 1,500 กิโลเมตร


    พ.ศ.2429 รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์คสร้างทางรถไฟ สายแรก ขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพ-สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เพราะเล็งเห็นว่าทางรถไฟสายนี้จะอำนวยคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจและด้านยุทธศาสตร์ แม้ว่าบริษัทชาวเดนมาร์คจะได้รับอนุมัติสัมปทาน แต่บริษัทก็ยังไม่สามารถดำเนินก่อสร้างได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้า ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง นับเป็นพระปรีชาสามารถลึกซึ้งที่รัฐสนับสนุนให้ยอมเป็นครั้งแรกในโครงการอุตสาหกรรมขนส่งที่เอกชนลงทุน

    นับเป็นพระปรีชาสามารถลึกซึ้งที่รัฐสนับสนุนให้กู้ยืมเป็นครั้งแรก ในโครงการอุตสาหกรรมขนส่งที่เอกชนลงทุนและจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทย

    เพราะว่า ยุคสมัยนั้นชาติมหาอำนาจตะวันตกต่างมุ่งแสวงหาอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรอินโดจีน ในระยะนั้นนักสำรวจชาวฝรั่งเศสชื่อ ลาเกรอะ (Lagre) และการ์นีเอร์ (Garnier) ซึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนในแถบนี้ ได้ทำรายงานเปรียบเทียบไว้ว่า

    แหลมอินโดจีนมีลักษณะคล้ายฝ่านิ้วมือทั้ง 5 ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำแดง ในตังเกี๋ย และได้กล่าวสรุปไว้ในรายงานว่า ดินแดนเหล่านี้ควรต้องตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศสเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำโขง ซึ่งไหลมาจากประเทศจีนนั้น ถ้าสามารถเข้าควบคุมไว้ในอำนาจของฝรั่งเศลทั้งหมดได้แล้ว

    ก็จะเป็นอดิเรกลาภ และเป็นลู่ทางที่จะพัฒนาเกาะแก่งใช้เป็นทางเดินเรือติดต่อกับประเทศจีนทางมณฑลยูนนาน และสิบสองปันนา ได้โดยง่าย ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจึงพยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะยึดครองดินแดนของไทยผนวกเข้าเป็นอาณานิคมให้จงได้ทั้งรัฐสภาฝรั่งเศสเองก็รบเร้าให้รัฐบาลดำเนินการกับประเทศไทยเพื่อผนวกดินแดนฝั่งซ้ายตลอดแนว แม่น้ำโขงของไทยมาเป็นฝรั่งเศสให้จงได้


    พฤติการณ์ของฝรั่งเศสดังกล่าวทำให้รัฐบาลไทยตระหนักชัดว่า ราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์ของไทยเป็นที่ปรารถนาของบรรดาชาติมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษ และฝรั่งเศสประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงล้วนต้องตกเป็นอาณานิคมของทั้ง 2 ชาติ ดังกล่าว โดยสิ้นเชิงแล้ว เอกราชของประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ การคมนาคมของไทยซึ่งมีแต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลอง เป็นพื้นนั้นไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต เฉพาะอย่างยิ่งภูมิประเทศของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นทางทุรกันดาร ต้องผ่านป่าที่มีความไข้และสัตว์ร้ายชุกชุม ราษฏรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจแนวโน้มไปทางชาติใกล้เคียงสมควรที่จะสร้างทางรถไฟรัฐขึ้นในประเทศ เพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนเหล่านี้ ก่อนอื่นเพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน เป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารสินค้า ไปมาถึงกันโดยง่ายยิ่งขึ้น


    ปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์ แอนดรู คลาก (Sir Andrew Clark) และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ (Messrs Punchard Mac Taggart , Lowther & Co.) ทำการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรีถึงเมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ถึงตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 10 ปอนด์”



    หมายเหตุ

    เสด็จเสด็จอินเดียอย่างเป็นทางการ รวมระยะเวลา ๙๒ วัน ระหว่าง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๔ ถึง ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕ ร.ศ. ๙๐ ปีพุทธศักราช ๒๔๑๔
    มีผู้ติดตามทั้งสิ้น ๔๐ คน

    เส้นทางที่พระองค์ได้เสด็จ สิงคโปร์ มะละกา ปีนัง เมาะลำเลิง มะละแหม่ง ร่างกุ้ง จากนั้นเข้าทางอ่าวเมืองกัลกัตตา แล้วเดินทางโดยรถไฟไปพาราณสี เดลลี บอมเบย์ และสารนาถ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถไฟ รวมแล้วใช้เวลาบนรถไฟ 200 ชั่วโมง สำหรับเมืองที่พระองค์เสด็จประพาสในครั้งนั้น ประกอบด้วย กัลกาตา เดลี อักรา คอนปอร์ ลักเนาว์ บอม เบย์ และพาราณสี โดยใช้เวลาถึง 47 วัน

    อินเดียที่รัชกาลที่ 5 ทรงไปพบเห็นนั้น เป็นยุคสมัยของบริติชราช ที่สืบมรดกดินแดนและอำนาจมาจากบริษัทอีสต์อินเดียที่ถูกยุบเลิกไปในปี พ.ศ.2401 ภายหลังการมีกบฏอินเดียครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2400 ทำให้มีการตั้ง 'กระทรวงอินเดีย' ขึ้น มีรัฐมนตรีดูแลกำกับรับผิดชอบโดยตรงในกรุงลอนดอน ในขณะที่อินเดียเองมีตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ ซึ่งต่อมาได้รับยกย่องให้เป็นอุปราช

    ศ.สาคชิดอนันท สหาย กล่าวว่า จากเอกสารและข้อมูลที่สำรวจมา ชี้ให้เห็นว่า การเดินทางในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของรัชกาลที่ 5 ในขณะที่พระองค์ทรงเป็นยุวกษัตริย์อายุ 19 ปีนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความปรารถนาที่จะได้เห็นสถานที่แปลกใหม่ หรือเป็นการศึกษาส่วนพระองค์ หากแต่เป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตชั้นสูงที่วางแผนขึ้น เพราะได้ตระหนักถึงอำนาจของอังกฤษที่ทวียิ่งขึ้นในประเทศอินเดียและประเทศ พม่า ประการสำคัญ คือ

    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพยายามอย่างยิ่งในการสำรวจสถานการณ์ร่วมสมัยในบริบททั้งด้านการเมือง การทหาร สังคมและวัฒนธรรมของประเทศอินเดีย เพื่อใช้เป็นแบบอย่างสำหรับประเทศของพระองค์"


    +++++++++++++


    ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ในรัชกาลที่ 5

    พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

    พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

    พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา, โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย

    พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่, โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน, โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง

    พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี, โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า

    พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง

    พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯสมุทรปราการ, สมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน

    พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร, ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2

    พ.ศ.2427 โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

    พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน

    พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส, เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่, เปิดโรงพยาบาลศิริราช, โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน

    พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม, ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา

    พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ, กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

    พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

    พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

    พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง

    พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า

    พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต






    ขอบคุณ


    วิกิพีเดีย
    reurnthai
    prakannews
    cavalry6
    board.postjung
    gimyong.
    มูลนิธิชัยพัฒนา
    Siamrath



    +++++++++++++++









    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    จะพยายามเขียนต่อเนื่องอีกหลายตอนนะคะ ติดตามได้ที่นี่ค่ะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับเล็ก ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลยครับ

  6. #6
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3


    *************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3
    *************************



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    ตอนที่ 3 ปฐมฤกษ์สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-สมุทรปราการ




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3


    16 กรกฏาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินซะดินเป็นปฐมฤกษ์สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-สมุทรปราการ


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3


    วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี กลับจากการแปรพระราชฐาน ณ เกาะสีชัง ทอดเรือเพื่อทรงสักการบูชา องค์พระสมุทรเจดีย์ แล้วเสด็จทางเรือกรรเชียง เพื่อทรงประกอบพิธีเปิด บริการรถไฟสายปากน้ำ ทรงเจิมที่หัวจักรรถไฟ แล้วเสด็จขึ้นประทับบนขบวนรถไฟพระที่นั่ง


    “……พอเวลา 5 โมงเช้า นายกล เปิดหวูดใช้รถจักร แล่นรถไฟจูงรถพระที่นั่ง ขึ้นมาตามทางรางเหล็ก จากสะเตชั่นปากน้ำ ถึงสะเตชั่นที่พักหัวลำโพง เวลาเช้า 5 โมง 45 นิมิต…”

    การบริการประชาชนคิดค่าโดยสารรถไฟไปกลับ 1 บาท ตลอดระยะทางมี 10 ระยะ (10 สถานี) คิดระยะละ 1 เฟื้อง


    จากสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้ บางนางเกรง มหาวงษ์ แล้วก็ไปสิ้นสุดปลายทางเป็นโรงสังกะสีขนาดใหญ่ที่ปากน้ำ


    ความสำคัญของทางรถไฟสายแรกนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศด้วย ในช่วงแรกของการก่อสร้างทางรถไฟสายปากน้ำ บริษัทรถไฟยังได้เกิดปัญหาทั้งทางการระดมทุน และการเวนคืนที่ดิน ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุวิกฤติ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ร.ศ. 112) รุนแรงขึ้น

    รัชกาลที่ 5 จึงต้องทรงเร่งรัด และทรงช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ด้วยทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า จะต้องตระเตรียมรถไฟไว้สำหรับการขนส่งกำลังพล และยุทธปัจจัย ไปตั้งมั่นที่ปากน้ำเจ้าพระยา และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปดังที่พระองค์ท่าน ทรงคาดการณ์ไว้

    หลังจากที่มีการเปิดบริการรถไฟสายปากน้ำได้ 3 เดือน ฝรั่งเศสก็ส่งเรือรบบุกเข้ามา จนเกิดการสู้รบกันที่ปากน้ำเจ้าพระยา (13 ก.ค. 2436) การรบที่ปากน้ำเป็นไปอย่างดุเดือด จนเมื่อเรือรบฝรั่งเศสเลยเข้ามาถึงหน้าเมืองสมุทรปราการ ก็เกิดการยิงต่อสู่กัน ระหว่างป้อมผีเสื้อสมุทร ซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานีปากน้ำ กับเรือรบฝรั่งเศส

    ปรากฏว่าหัวจักรรถไฟขบวนสุดท้ายในคืนนั้น ถูกลูกหลง จากปืนไม่ทราบว่าของฝ่ายไทย หรือฝ่ายฝรั่งเศส มีผู้โดยสารเสียชีวิตหนึ่งราย บาดเจ็บหนึ่งราย และมีแม่เฒ่าหัวใจวาย เสียชีวิตไปอีกหนึ่งราย

    บริษัทรถไฟปากน้ำ ได้รับสัมปทานรถไฟสายปากน้ำ เป็นเวลา 50 ปี โดยสิ้นสุดการดำเนินการในปี 2479 ช่วงระยะเวลา 50 ปี มีรายงานการล้ม (ตกราง) เท่าที่มีหลักฐานจากหนังสือจดหมายเหตุอย่างต่ำ 3 ครั้ง


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3

    หมุดนี้แต่เดิม การรถไฟฯ สร้างไว้เพื่อแสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งสถานีหัวลำโพง ต้นทางรถไฟสายปากน้ำ บริเวณหัวถนนพระรามที่ 4 สี่แยกเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36 ที่ ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งปัจจุบันได้ขยายผิวจราจรโดยทับแนวทางรถไฟเดิมและถมคลองหัวลำโพงไปหมดแล้ว เหลือติ่งไว้ที่คลองเตยแถวถนนอาจณรงค์ ใกล้ ม. กรุงเทพ

    ช่วงก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน จำเป็นต้องใช้บริเวณพื้นที่ดังกล่าว จึงได้รื้อหลักหมุดที่ระลึกแห่งนี้ออก และทางชมรมเรารักรถไฟในขณะนั้น ได้นำมาตั้งแสดงที่หอเกียรติภูมิรถไฟ จนถึงทุกวันนี้




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3

    ภาพถ่ายทางอากาศวันที่ 24 ธ.ค. 2495 บริเวณท่าเรือคลองเตย กล้วยน้ำไท

    สังเกตเห็นคันทางรถไฟสายปากน้ำเป็นเส้นขาวๆ เลียบคลองหัวลำโพงอย่างชัดเจนครับ ภาพโดย กรมแผนที่ทหาร โครงการ World Wide Survey




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 3

    แผนที่เส้นทางรถไฟสายปากน้ำ




    หมายเหตุ

    1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม คือ

    รถไฟสายปากน้ำ จากกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร โดยรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานก่อสร้างและดำเนินกิจการโดย บริษัทรถไฟปากน้ำ ของชาวเดนมาร์ก มีสัญญาสัมปทาน 50 ปี

    เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2434 แล้วเสร็จในปี 2436 ค่ารถไฟในสมัยนั้น ไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี สถานีละ 1 เฟื้อง (1 เฟื้อง เท่ากับ 12.50 สตางค์)

    สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งคนโดยสารที่ ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้ (หัวตะเข้) บ้านนางเกรง มหาวง แล้วก็ถึงปากน้ำสมุทรปราการ

    สิ้นอายุสัมปทานเมื่อเวลาเที่ยงคืน วันที่ 12 กันยายน 2479 รัฐบาลได้รับซื้อทรัพย์สินไว้มอบให้กรมรถไฟจัดการเดินรถ

    ต่อมา รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งเลิกกิจการรถไฟสายนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2503 จึงสร้างอนุสรณ์แห่งทาง รถไฟสายแรกของไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ตกลงจัดทำหมุดหลักฐานเป็นแท่งคอนกรีต ติดแผ่นโลหะจารึกข้อความติดตั้งไว้ในบริเวณถนนพระรามที่ 4 หน้าสถานีกรุงเทพอันเป็นจุดปลายทางตันของสถานีหัวลำโพง-ปากน้ำ


    +++++++++


    2 จากหนังสือ “The Railways of Thailand” เขียนโดย R. Ramer จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotusผู้เขียน (R. Ramer) เคยเข้ามาทำงานในเมืองไทยในช่วงปี 2500 ให้ข้อมูลเรื่องหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ ไว้ว่า หัวจักรรถไฟปากน้ำนั้น มีทั้งหมด 4 เครื่อง แต่ทราบเพียงว่าหัวจักรเครื่องที่ 3 ชื่อ บางจาก ส่วนหัวจักรเครื่องที่ 4 ชื่อ สำโรง ที่สามารถติดตามได้ ก็เห็นจะเป็นหัวจักรที่ 4 "สำโรง"


    เพราะจากข้อมูลคุณ Ramer มีอยู่ว่าหลังจากหมดสัญญา บริษัทรถไฟปากน้ำได้ขายหัวจักรไอน้ำ "สำโรง" ให้กับ บริษัทฮิปเส็ง (Heip Seng) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเลื่อย ไว้ขนส่งไม้จากภาคเหนือ หัวจักร "สำโรง"

    ถูกใช้งานอย่างหนัก จากที่เคยขนส่งผู้โดยสารวันละ 6 เที่ยว ต้องมาขนส่งท่อนซุง และไม้ต่างๆ จากภาคเหนือตลอดทั้งวันทั้งคืน จนหมดป่า จนกิจการลากซุง และขนซุงถูกยกเลิกไป สำโรง จึงถูกโละขายต่อไปให้กับโรงงานน้ำตาล ที่จังหวัดอุตรดิตถ์



    สำโรงถูกใช้งานอย่างหนักอีกครั้ง คราวนี้ สำโรงถูกโรงงานน้ำตาล ใช้นำไปลากอ้อย ซึ่งแต่ละโบกี้ มีอ้อยเรียงกันสูง และหนัก กว่าพวกรถสิบล้อขนอ้อย ในปัจจุบันเสียอีก สำโรง ถูกนำไปใช้งาน ในกิจการโรงงานน้ำตาลอีกหลายสิบปี จนได้รับการปลดระวาง


    เรื่องราวของ “หัวจักรสำโรง” ถูกเก็บเงียบ โดยไม่มีใครทราบมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่ง มีชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย คือ คุณริชาร์ต บาร์โรว ให้ความสนใจ และติดตามค้นคว้า ทำให้เราได้ภาพหัวรถจักรโบราณ “สำโรง” มาให้ชมกัน





    ขอบคุณ

    การรถไฟแห่งประเทศไทย
    วิกิพีเดีย
    reurnthai
    prakannews
    mypaknam






    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  7. #7
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 4


    ***************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 4
    ***************************


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ

    ตอนที่ 4 สัญญารถไฟสายปากน้ำ



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 4



    สัญญารถไฟสายปากน้ำ

    เนื้อความข้อตกลงในสัญญารถไฟปากน้ำมีทั้งสิ้น 47 ข้อ เนื้อหาหลักกล่าวถึงสัมปทานการบริการรถไฟสายปากน้ำ 50 ปีตั้งแต่การทำหนังสือสัญญาและฝ่ายสยามได้ผลประโยชน์ค่าเช่าที่ดินของบริษัทรถไฟสายปากน้ำปีละ 19 บาทโดยกรมรถไฟหลวงเป็นผู้เก็บค่าเช่า แม้ว่าทางสยามให้สิทธิการทำธุรกิจแก่ชาวต่างชาติแต่ในสัญญามีการควบคุมการซื้อที่ดินก่อสร้างทางรถไฟและอาคารต่างๆของทางบริษัทรถไฟปากน้ำอย่างละเอียด


    แต่ที่สำคัญคือ


    ข้อ 3 ผู้ให้อนุญาต (ตามความที่ได้สัญญากันดังที่ว่ามาแล้ว) อนุญาตให้ผู้รับอนุญาตมีอำนาจซื้อที่ดินเปนแนวไปไม่กว้างกว่าเจ็ดสิบห้าฟิต(มาจากคำว่า ฟุต) ตามแนวที่จะทำเป็นทางแตรมเวฤา(มาจากคำว่า ตามเวลา)ทางรถไฟไปนั้น แลตามที่กำหนดไว้ในแผนที่ ซึ่งจะได้รับมอบเจ้าพนักงานดังที่จะกล่าวต่อไปนี้


    ข้อ 4 บันดาที่ดินซึ่งอยู่ในกำหนดที่ว่ามาข้างบนนั้นซึ่งเป็นที่หลวงแลในเวลานี้ว่างอยู่จะยอมให้ผู้รับอนุญาตเช่าไปในกำหนดห้าสิบปี คิดค่าเช่าเอเกอ(มาจากคำว่า เอเคอร์)หนึ่งห้าอัฐ แต่เนื้อที่นั้นถ้าผู้รับอนุญาตมิได้ใช้เพื่อการทำทางรถไฟฤารถแตรม(อาจมาจากคำว่า เดินรถตาม)นั้น มากน้อยเท่าใด เมื่อครบกำหนดห้าปี ตั้งแต่ทำหนังสือสัญญานี้ไป เนื้อที่เช่นนั้นต้องกลับคืนเปนของผู้ให้อนุญาต แลหนังสือเช่าที่ซึ่งมิได้ใช้นั้น ก็เปนอันใช้ไม่ได้

    สังเกตข้อ 3 และ 4 มีการใช้หน่วยวัดความยาวของตะวันตกในสัญญาคือฟิต(ฟุต)และเอเกอ(เอเคอร์) เนื่องจากอาจต้องการให้สัญญามีการรับรู้ทั้งสองฝ่ายให้เข้าใจกันและแสดงให้เห็นถึงการรับองค์ความรู้ของชาติตะวันตกมาใช้ในงานราชการของสยาม และฝ่ายสยามมีความระมัดระวังการทำธุรกิจของชาวต่างชาติคือ การออกกฎควบคุมผู้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทรถไฟปากน้ำโดยมีรายละเอียดดังนี้


    ข้อ 10 แม้ว่าผู้รับอนุญาตนี้ปรารถนาจะมอบประโยชน์แห่งความอนุญาตนี้ ให้กำปนีใดๆก็ต้องนำหนังสือสัญญาที่เข้าหุ้นส่วนเป็นกำปนีกันนั้น กับหนังสือสัญญามอบอนุญาตให้กำปนีนั้น มาหาฤาผู้ใดให้อนุญาต แลเมื่อผู้อนุญาตเห็นชอบลงลายมือไว้เปนสำคัญด้วย แล้วจึงจะใช้ได้ ถ้ามิฉนั้นซึ่งจะมอบอนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดก็เป็นอันใช้ไม่ได้ แต่ต้องถือว่าซึ่งจะอนุญาตดังนี้ จะไม่ขัดขืนโดยเหตุไม่สมควร แลซึ่งจะอนุญาตฤาไม่อนุญาตนั้น ก็ต้องให้เปนไปในกำหนดสามสิบวัน ตั้งแต่วันที่ได้ทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนแลหนังสือสัญญามอบอำนาจนั้นมาหาฤาผู้ให้อนุญาต


    ข้อ 11 แม้ว่าผู้รับอนุญาตปรารถนาจะมอบผลประโยชน์แห่งหนังสืออนุญาตนี้ให้ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งมิใช่กำปนีก็ต้องนำหนังสือสัญญาหนังสือมอบหมายนั้นมาหาฤาผู้ให้อนุญาต และเมื่อผู้อนุญาตไม่เห็นชอบด้วยแล้วจึงจะใช้ได้ถ้าอนุญาตไม่เหนชอบด้วยแล้วหนังสือสัญญามอบหมายอย่างหนึ่งอย่างใดนั้น ก็เปนอันใช้ไม่ได้

    เนื้อความกล่าวถึงผู้ที่ต้องการซื้อหุ้นของบริษัทรถไฟปากน้ำต้องทำสัญญาบริษัทรถไฟปากน้ำและ ยื่นเรื่องแก่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการคือผู้ให้อนุญาต โดยคำตัดสินผู้อนุญาตถือเป็นสิทธิ์ขาดของการซื้อหุ้นบริษัทรถไฟปากน้ำ


    ดังนั้นจึงถือว่าอำนาจการตัดสินใจตกอยู่ที่สยามเพียงผู้เดียว สาเหตุอาจเป็นเพราะสยามหวาดกลัวภัยคุกคามจากชาวต่างชาติในการสร้างอาณานิคมที่ ดินแดนต่างๆ ที่สำคัญการทำสัญญาสร้างรถไฟสายปากน้ำเป็นคนในบังคับของอังกฤษอันเป็นประเทศ ที่มีอำนาจจากการสร้างอาณานิคมดินแดนต่างๆในสมัยรัชกาลที่ 5 แม้ว่าประเทศสยามมีสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 3 ในเหตุการณ์ทำสนธิสัญญาเบอร์นี่

    แต่เมื่อถึงรัชกาลที่ 4 ทางอังกฤษต้องการให้สยามยอมรับสนธิสัญญาเบาริง อันเป็นสนธิสัญญามีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตย และอังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยมิได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แม้ว่าการทำสนธิสัญญาเบาริงไม่ได้แสดงถึงความมั่นคงของสยามต่อการรุกรานของชาวต่างชาติแต่เป็นความปลอดภัย ของสยามที่อังกฤษยกเลิกความคิดต้องการสยามเป็นอาณานิคมชั่วคราว ฝ่ายสยามอาจถือว่าผู้สร้างรถไฟสายปากน้ำคืออังกฤษ ถ้าให้อำนาจทั้งหมดอยู่ที่บริษัทอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายอาณานิคมในดินแดนสยามได้โดยง่าย ดังนั้นทางฝ่ายสยามจึงทำรายละเอียดสัญญาโดยทางฝ่ายสยามเป็นผู้คัดเลือกผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว


    ประโยชน์สำคัญของการสร้างรถไฟสายปากน้ำที่ฝ่ายสยามบันทึกข้อตกลงในสัญญารถไฟสายปากน้ำปรากฏในข้อที่ 40 ความว่า

    ข้อ 40 ถ้าเวลาใดเมื่อทำทางรถไฟฤาทางแตรมเว(มาทางตามเวลา)สำเร็จแล้ว ท่านเสนาบดีว่าการทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นอยู่ในเวลานั้น เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งแผ่นดินที่จะได้เอาทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นทั้งหมดหรือส่วนใดๆมารักษาไว้พลาง ฤาจะใช้เพื่อทำการสงคราม ท่านเสนาบดีว่าการทหารก็มีอำนาจที่จะเขียนหนังสือไปถึงผู้รับสัญญา แจ้งความว่าจะรักษาทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นไปพลางฤาว่าจะใช้ทางรถไฟแลทางแตรมเวแลเครื่องแลทรัพย์สิ่งของอื่นๆ ของผู้รับสัญญาแล้ว ผู้รับสัญญาจะต้องมอบทางรถไฟแลทางแตรมเวทั้งหมด ฤาส่วนใดตามที่ต้องการแลที่พักรถไฟแลรถแตรม แลทรัพย์สิ่งของที่ว่ามานั้นให้คนใช้ฤาเอเยน ซึ่งท่านเสนาบดีว่าการทหารจะได้กำหนดไว้ แลจะต้องช่วยท่านเสนาบดีว่าการทหารโดยเตมกำลัง

    เพื่อที่จะได้ใช้ทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นได้สดวกตลอดทางฤาในส่วนใดๆตามที่ท่านเสนาบดีจะเห็นสมควรแลเมื่อเปนดังนั้นแล้ว ท่านเสนาบดีว่าการทหาร ก็มีอำนาจที่จะบังคับการในทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นได้ตลอด

    แลจะให้หยุดการบรรทุกของแลโดยสานไปในทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นก็ได้ แลซึ่งผู้ใดจะฟ้องผู้รับอนุญาตฤาฟ้องกล่าวโทษท่านเสนาบดีเพราะที่ทำให้เสียเวลาแลประโยชน์ไป โดยที่ให้อยุดการโดยสานแลบรรทุกของนั้น ฤาโดยที่ได้บังคับรักษาทางรถไฟแลทางแตรมเวดังนั้นก็ไม่ได้เปนอันขาด

    แต่ต้องถืออยู่เสมอ ว่าท่านเสนาบดีว่าการทหารจะต้องใช้ค่าป่วยการกับผู้รับสัญญา ด้วยทรัพย์สิ่งของใดๆสูญ ฤาเสียไปในเวลาที่ท่านเสนาบดีรักษาอยู่นั้น เว้นแต่ถ้าอันตรายนั้น เปนโดยสัตรูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฤาเปนการที่พระเจ้าบันดาร แลท่านเสนาบดีว่าการทหารจะต้องเสียเงินค่าใช้ทางรถไฟแลทางแตรมเวนั้นนับตามวันฤาส่วนวันที่ได้ไปรักษาอยู่นั้น ตามที่จะเห็นสมควรแต่ไม่ให้น้อยกว่าเงินที่ทางรถไฟแลทางแตรมเวเคยทำได้ในระยะเวลาเท่านั้นแลในระดู(ฤดู)นั้น เปนอย่างกลาง


    เนื้อความกล่าวถึงเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายปากน้ำเสร็จสิ้น ทางเสนาบดีว่าการทหารสามารถออกคำสั่งใช้งานเพื่อเป็นยุทธปัจจัยเมื่อเกิดศึกสงคราม ทางเสนาบดีว่าการทหารสามารถยึดสิ่งของที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสยามได้ เช่น อังกฤษแอบขนอาวุธและไพร่พลเพื่อบุกยึดสยามและกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ดังนั้นประโยชน์ของการใช้งานเพื่อยุทธวิธีทางการทหารอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอนุญาตการสร้างรถไฟสายปากน้ำนี้

    นอกจากลงนามสัญญาเพื่อประโยชน์ยุทธวิธีทางการทหารของสยาม มีการลงนามสัญญาข้อตกลงให้ความสะดวกบริการแก่พระเจ้าแผ่นดินสยามในการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆโดยให้เตรียมขบวนรถไฟอย่างดีตลอดเวลา ดังหนังสือสัญญาข้อ 41 ความว่า


    ข้อ 41 ผู้รับสัญญาจะต้องจัดรถอย่างวิเศษสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จรถหนึ่ง ถ้ามีพระราชดำรัสสั่งว่าจะเสด็จประพาศในทางรถไฟ ฤาทางแตรมเวเมื่อใด ผู้รับสัญญาต้องจัดให้มีขบวนรถไปเฉกาะในการเสด็จพระราชดำเนินนั้น แลไม่คิดค่าธรรมเนียมสิ่งใด

    กล่าวโดยสรุปคือเนื้อหาหลักกล่าวถึงสัมปทานการบริการรถไฟสายปากน้ำ 50 ปีตั้งแต่การทำหนังสือสัญญา แม้ฝ่ายสยามให้สิทธิการทำธุรกิจแก่ชาวต่างชาติแต่ในสัญญามีการควบคุมการซื้อที่ดินก่อสร้างทางรถไฟและอาคารต่างๆของทางบริษัทรถไฟปากน้ำจำเป็นต้องขออนุญาตทางสยามก่อน

    และควบคุมการทำธุรกิจของชาวต่างชาติคือ การออกกฎควบคุมผู้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทรถไฟปากน้ำต้องขออนุญาตพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทุกครั้งเพื่อปกป้องความมั่งคงของสยามในสมัยการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก

    ผลประโยชน์ที่สยามได้รับนอกจากค่าเช่าที่ดินของบริษัทรถไฟสายปากน้ำปีละ 19 บาท คือเพื่อประโยชน์ยุทธวิธีทางการทหารของสยาม และให้ความสะดวกแก่พระเจ้าแผ่นดินสยามในการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆตามทางรถไฟสายปากน้ำ

    การทำสัญญารถไฟสายปากน้ำมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากเป็นหนังสือสัญญาที่ร่างขึ้นจากชาวต่างชาติและเสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆทางกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมทั้งหมด

    การทำสัญญารถไฟสายปากน้ำนี้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) ตามหลักฐานคำแปลที่ 11522 หมายเลข 2989 ความว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการแต่งตั้ง อีซีฟัน มาเลอ อยู่ตำแหน่งผู้แทนหัวหน้าออฟฟิศกลางและเป็นผู้ตรวจบัญชีบริษัทรถไฟปากน้ำ

    ตามสัญญาใหม่ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2482 ข้อ 68 ความว่า

    พวกรีดเรกเตอรจะตั้งผู้ตรวจบาญชีครั้งแรก พวกรีดเรกเตอรได้กระทำตามข้อนั้น แลเมื่อวันที่ 12 เดือนนี้
    เลขานุการได้มีหนังสือไปยังผ้ออนุญาตให้ ว่าด้วยเรื่องตั้งผู้ตรวจบาญชีกับได้ขอให้ยินยอมที่มิสเตอร์ชีดินเดอร์เซน ผู้ตรวจบาญชีผ่ายผ้อนุญาตให้

    ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าเมื่อเริ่มเปิดบริการรถไฟสายปากน้ำ ทั้งสองฝ่ายประสบปัญหาการดำเนินงานจึงมีการเพิ่มเติมเนื้อความในสัญญาอย่างน้อยอีก 21 ข้อ


    หุ้นและหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้น

    บริษัทรถไฟปากน้ำทำหนังสือชี้ชวนผู้ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทตน มีรายละเอียดหุ้นของ

    บริษัทรถไฟปากน้ำจำนวน 2,500 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 80 บาท ถือว่าเป็นการจำหน่ายราคาหุ้นที่สูงกว่ารายได้ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทยช่วงเวลานั้น

    เหตุนี้อาจทำให้บริษัทรถไฟปากน้ำเล็งเห็นการจำหน่ายหุ้นให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิเป็นเจ้าของง่ายขึ้น

    ดังนั้นทางบริษัทรถไฟปากน้ำจำหน่ายหุ้นละ 40 บาท
    สำหรับจำนวนที่เหลือ 40 บาท ทางบริษัทรถไฟปากน้ำมีการเรียกเก็บเงินภายหลังจำนวน 3 ครั้งๆละ 20 บาท

    โดยการเรียกเก็บเงินแต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน

    ทางบริษัทอาจต้องการให้ผู้ลงทุนซื้อหุ้นมีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายได้สะดวกในชีวิตประจำวัน


    สำหรับมูลค่าหุ้นทั้งหมดคือ 200,000 บาท แต่รายละเอียดค่าใช้จ่ายการก่อสร้างรถไฟสายปากน้ำในหนังสือชี้ชวนบัญชีหัวเรื่องว่า "เอสติเมต (อาจมาจากคำว่า unlimited)ประมาณทุนทำทาง-รถไฟในชั้นต้น

    ตารางที่ 1 เงินจำหน่ายในการทำทาง แลสั่งเครื่องทางเครื่องรถไฟ"
    รวมประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 240,000 บาท
    และแม้ว่ามีปัจจัยเรื่องการคาดการณ์ขายหุ้นช่วงแรกที่ทางบริษัทรถไฟปากน้ำได้เงินเพียง 100,000 บาท

    ถ้าขายหุ้นได้ทั้งหมด 2,500 หุ้น และมีการเรียกเก็บเงินภายหลังจำนวน 3 ครั้ง ช่วงที่มีการสร้างทางรถไฟ และค่าใช้จ่ายที่เหลือตามประมาณการณ์ 40,000 บาท อาจมีการเพิ่มจำนวนหุ้นขึ้นเพื่อเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือกู้เงินจากนายทุน เมื่อเริ่มก่อสร้างทางรถไฟเมื่อปี พ.ศ. 2434 อาจประสบปัญหามากเนื่องจากการสร้างทางรางรถไฟไม่สำเร็จ เพราะการขายหุ้นของบริษัทรถไฟปากน้ำไม่ได้จำนวนตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ขาดเงินทุนทำให้ไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมและการนำเข้ารถไฟที่ต้องเสียภาษีร้อยละสาม

    ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทยืมเงินทุนจนก่อสร้างและยกเว้นภาษีนำเข้ารถไฟ จนก่อสร้างเป็นผลสำเร็จ


    ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการถือหุ้นเกิดขึ้นเมื่อบริษัทรถไฟปากน้ำจำหน่ายหุ้นตามต้องการ จึงเชิญผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมเพื่อคัดเลือกผู้มีอำนาจการบริหารของบริษัทรถไฟปากน้ำ

    โดยคิดจำนวนผู้ถือหุ้นมากน้อยตามแต่ตกลงพร้อมแต่งตั้งผู้จัดการ (ไดเรกเตอ) และพนักงานที่ทำงานในสำนักงาน เช่น มิสเตอร์ อีซีฟัน มาเลอ เป็นผู้ตรวจบัญชี

    นอกจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้น มีข้อความเตือนเมื่อทางบริษัทรถไฟปากน้ำขาดทุนจำนวนเงินเท่าใด ผู้ถือหุ้นต้องขาดทุนตามจำนวนหุ้นเท่านั้น

    อาจถือได้ว่าหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้นมีรายละเอียดคล้ายคลึงกับหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้นในช่วงเวลา ร่วมสมัยโดยมีการเตือนถึงความเสี่ยงในการลงทุน

    การโฆษณาของหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้นนี้ถือเป็นเนื้อความสำคัญหลักโดยมีรายละเอียดหลายประการเพื่อให้ผู้อ่านแลเห็นประโยชน์ของรถไฟสายกรุงเทพ-ปากน้ำ และเหตุผลที่บริษัทรถไฟปากน้ำสามารถทำกำไรเพื่อผู้ถือหุ้น เช่น


    เมื่อได้ทำทางรถไฟผ่านไปในไชยภูมิที่ซึ่งเนื่องไปถึงที่ริมฝั่งน้ำฤาลำคลองตำบลที่ซึ่งมีผลประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชพันธุ์เหล่านี้ก็คงจะมีการค้าขายเนื่องตลอดกันมาได้ถึงกรุงเทพฯ โดยง่าย

    ทางแต่ปากน้ำถึงคลองขุดใหม่นั้น ถ้ามีทางรถไฟแล้วก็จะไปมาถึงกันได้ใน 45 มินิต ฤเรวกว่าที่จะเดินฤาแจวเรือไปแต่คลองขุดใหม่ถึงบางคอแหลมเสียอีก แลถ้าจะว่าโดยทางไปมาตามธรรมเนียมด้วยกิจธุระอันใดแล้ว พระโขนงกับบางพลีนั้น จะนับว่าใกล้กว่าเขตกรุงเทพฯ ทีเดียวก็ได้

    ตามทางรถไฟตลอดทางไปนั้น ก็จะเกิดบ้านเรือนที่อยู่กินขึ้นเปนต้นปลายเขตรกรุงเทพฯ ทางรถไฟนี้คงจะเทียบกับทางเหลกสำหรับรถม้าแต่ใช้เครื่องสตีมได้ เหมือนเช่นทางแตรมเวซึ่งเปนทาหนะไปมาในเมืองที่มีหมู่บ้านตลอดทางเหมือนกัน





    อ้างอิง

    เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กรมรถไฟ (รถไฟสายกรุงเทพ - ปากน้ำ) พ.ศ. 2492 - 2467 เรื่อง สัญญารถไฟปากน้ำระหว่างรัฐบาลสยามกับพระนิเทศชลรี [Alfred John Loftus] และ พระยาชลยุทธโยธิน [Clndrea du Plessis de Richelicu] (13 กันยายน พ.ศ. 2429) (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กต 5.3/1)


    งานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท(ไม่ทราบชื่อ) เรื่อง[สาระ] รถไฟสายปากน้ำ “รถไฟสายแรกของประเทศไทย”




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  8. #8
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 5


    *************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 5
    *************************


    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    ตอนที่ 5 ตารางการเดินรถไฟสายปากน้ำ




    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 5

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 5



    ตารางการเดินรถไฟสายปากน้ำ

    ขบวนรถไฟสถานีต้นทางหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร ไปสถานีปลายทางปากน้ำ สมุทรปราการ



    รายชื่อสถานี

    บางกอก Bangkok ระยะทาง 0.0 กิโลเมตร
    ศาลาแดง Sala Deng ระยะทาง 2.3 กิโลเมตร
    คลองเตย Klong Toi ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร
    บ้านกล้วย Ban Kluei ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร
    ที่หยุดรถพระโขนง Prakonong ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร
    บางจาก Bangdjak ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร
    บางนา Bang Na ระยะทาง 12.0 กิโลเมตร
    สำโรง Samrong ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร
    จอรเข้ (จระเข้) Chorakhe ระยะทาง 17.3 กิโลเมตร
    บางนางเกรง (บางนางเกร็ง) Bang Nang Greng ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร
    ที่หยุดรถมหาวง (มหาวงศ์)Mahawong ระยะทาง 20.0 กิโลเมตร
    ที่หยุดรถปากน้ำ Paknam ระยะทาง 21.3 กิโลเมตร


    หมายเหตุ

    สถานีบ้านกล้วย, สถานีบางนางเกรง และสถานีมหาคง เป็นเพียงที่หยุดรถเท่านั้น มิใช่อาคารสถานีรถไฟ ผู้โดยสารที่ประสงค์ต้องการลงสถานีดังกล่าวสามารถบอกเจ้าหน้าที่รถไฟหยุดรถ และเวลาเดินรถอาจมีการเดินรถก่อนเวลา 5 นาทีจากเวลาตามตารางดังกล่าว



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 5



    ค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้า


    ค่าโดยสารตลอดเส้นทาง แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ


    รถไฟชั้น 3 คิดค่าโดยสาร 32 อัฐ หรือ 4 เฟื้อง
    รถไฟ ชั้น 2 คิดค่าโดยสาร 1 บาท
    รถไฟชั้น 1 คิดที่ 1 บาท 32 อัฐ


    คาดว่าค่าโดยสารดังที่กล่าวมานี้ อาจเป็นค่าโดยสารเก็บอัตราเดียวทุกสถานี มิได้เก็บตามระยะทางเหมือนช่วงเวลาร่วมสมัย เนื่องจากไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้นอันถือว่าเป็นหนังสือที่มีข้อมูลที่มีการอธิบายการดำเนินงานอย่างละเอียด และประชาชนที่มีอาชีพเกษตรกรรมนิยมใช้บริการรถไฟชั้น 3 เนื่องจากมีราคาถูกและไม่มีเหตุจำเป็นเดินทางด้วยรถไฟชั้นที่ 1 และ 2


    หลักฐานค่าโดยสารปี พ.ศ. 2470 ตามเอกสารรายจ่ายของเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรความว่าตั้งแต่สถานีสำโรงถึง สถานีปากน้ำ คนละ 15 สตางค์ หรือประมาณ 10 อัฐ และ 1 เฟื้อง


    ดังนั้น ค่าโดยสารนี้จึงแตกต่างจากหนังสือชี้ชวนผู้ถือหุ้น
    อาจเป็นเพราะค่าโดยสารเดิมมีราคาสูงกว่ารายได้ของชาวสยามขณะนั้น
    จนทำให้ประชาชนไม่ใช้บริการ

    และอาจเป็นค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 เนื่องจากเป็นการทำงานราชการจึงไม่มีเหตุจำเป็นเดินทางด้วยรถไฟชั้นที่ 1 และ 2


    ค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าทางรถไฟปากน้ำ เรียกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้า


    คิดค่าธรรมเนียมตามน้ำหนักสินค้าตันละ 1 บาท
    ถ้าผู้โดยสารชั้น 3 ขนส่งสินค้าด้วยตนเอง คิดตามจำนวนคนละ 32 อัฐ
    และไม่มีหลักฐานของการเก็บค่าบริการขนสินค้าที่ตู้รถโดยสายชั้น 1 และ 2 อาจ
    เนื่องจากสถานที่ของตู้รถไฟโดยสารระดับชั้นที่ 1 และ 2 มีพื้นที่คับแคบเพราะมีที่นั่งโดยสารหันตามแนวขวาง ทำให้มีพื้นที่เพียงทางเดินไปมาเท่านั้น แต่ตู้รถไฟชั้นที่ 3 มีพื้นที่กว้างขวางกว่ารถไฟชั้นที่ 1 และ 2


    ลักษณะรถไฟ 3 ระดับ

    สัมภาษณ์นายประทุม ฟักเทพ อดีตนายกเทศมนตรีด่านสำโรงวันที่ 31 สิงหาคม 2552 เวลาบ่าย 3 โมง สถานที่ร้านชูชาติแก๊สให้ข้อมูลว่า
    “ลักษณะรถไฟสายปากน้ำแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ ชั้นที่ 1, 2 และ 3 แต่ละระดับมีตู้รถไฟเฉพาะตน ลักษณะรถไฟชั้น 3 มีเก้าอี้ไม้ยาวไม่มีพนักพิงวางไว้ทั้งสองด้านติดกับผนังตามแนวยาวของโบกี้รถไฟ ผู้โดยสารเวลานั่งหันหน้าเข้าหากัน

    สำหรับผู้ที่ไม่มีที่นั่งหรือที่นั่งเต็มจำนวนจำเป็นต้องยืนและจับราวเพื่อพยุงตัวโดยมีราวจับอยู่ 2 แถว

    ลักษณะของรถไฟชั้น 3 คล้ายคลึงกับรถบริการสาธารณะขนาดเล็กหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า รถสองแถวในช่วงเวลาร่วมสมัย

    สำหรับรถไฟชั้น 1-2 มีความคล้ายคลึงกันคือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
    ด้านซ้ายและด้านขวาทั้งสองด้านมีเก้าอี้ไม้ขนาดใหญ่มีพนักพิงสำหรับผู้โดยสารสองคนเรียงไปตามแนวขวาง โดยเก้าอี้ทั้งหมดมีการหันที่นั่งเข้าหากันทำให้ผู้โดยสารเก้าอี้ฝั่งตรงข้ามสามารถพูดคุยกับผู้โดยสารท่านอื่นได้

    แต่มีความแตกต่างเพียงสิ่งเดียวคือ คือ รถไฟชั้น 1 มีเบาะลูกฟูกหรือนุ่นที่เก้าอี้โดยสาร แต่รถไฟชั้น 2 ไม่มีเบาะลูกฟูกหรือนุ่น สำหรับวิธีการขนส่งสินค้าจำนวนมากกว่า 1 ตัน ทางบริษัทรถไฟปากน้ำอาจมีขบวนรถไฟเพื่อขนส่งสินค้าโดยเฉพาะเนื่องจากต้องใช้เวลานำสินค้าจำนวนมากขึ้นรถไฟซึ่งใช้เวลานาน "




    หมายเหตุ

    1 บาท เป็น 100 สตางค์
    1 สลึง เป็น 25 สตางค์
    1 เฟื้อง เท่ากับ 12.50 สตางค์ ( 2 เฟื้อง เท่ากับ 1 สลึง)
    1 อัฐ ประมาณ 1.56 สตางค์ ( 8 อัฐ เท่ากับ 1 เฟื้อง)



    +++++++++++++++++



    ขอบคุณ

    การรถไฟแห่งประเทศไทย
    วิกิพีเดีย
    reurnthai
    prakannews
    mypaknam
    เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กรมรถไฟ (รถไฟสายกรุงเทพ - ปากน้ำ) พ.ศ. 2492 - 2467
    เรื่อง สัญญารถไฟปากน้ำระหว่างรัฐบาลสยามกับพระนิเทศชลรี [Alfred John Loftus]
    และ พระยาชลยุทธโยธิน [Clndrea du Plessis de Richelicu] (13 กันยายน พ.ศ. 2429)
    (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กต 5.3/1)
    งานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท(ไม่ทราบชื่อ) เรื่อง[สาระ] รถไฟสายปากน้ำ “รถไฟสายแรกของประเทศไทย”






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 14-05-2013 at 14:02.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  9. #9
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 6


    *************************
    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 6
    *************************



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ
    ตอนที่ 6 วิถีชีวิต



    ตามรอยเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ ตอนที่ 6



    วิถีชีวิต

    รถไฟจากต้นทางถึงปลายทาง (สถานีหัวลำโพงและสถานีปากน้ำ) ใช้เวลาทั้งสิ้น 60 นาที เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยเรือพายด้วยระยะทาง 21.3 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ดังนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้สถานีรถไฟสายปากน้ำนิยมใช้บริการรถไฟมากกว่าเรือพายส่วนตัว

    สำหรับวิถีชีวิตชุมชนคลองสำโรง ผู้ที่มีเรือส่วนตัวนิยมจอดเรือที่ท่าเรือใกล้กับ สถานีรถไฟสำโรง ห่างจากด่านเก็บภาษีไม่มากนัก ผู้คนฝั่งสำโรงเหนือและบางพลีจำเป็นต้องผ่านด่านเก็บภาษีสำโรง

    จากการสัมภาษณ์นาย ประทุม ฟักเทพ อดีตนายกเทศมนตรีด่านสำโรงให้ข้อมูลว่า
    สามารถนำเรือส่วนตัวที่ไม่มีจุดประสงค์ทำการค้าผ่านด่านเก็บภาษีโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมอันอาจเป็นนโยบายของสยามขณะนั้น แม้ว่าคลองสำโรงเชื่อมต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราจึงมีผู้ใช้บริการรถไฟสายปากน้ำบ้าง แต่หลังจากการเกิดเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผู้คนที่ฉะเชิงเทรานิยมใช้บริการรถไฟเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครแทนการใช้ เรือโดยสาร


    ท่าเรือที่ใกล้กับสถานีรถไฟสำโรงอยู่ระหว่างวัดด่านสำโรงและสถานีรถไฟสำโรง ท่าเรือดังกล่าวมีขนาดเล็กเพราะจำนวนเรือส่วนตัวแต่ละวันไม่มากประมาณ 20-30 ลำ

    เนื่องจากจำนวนประชากรบริเวณริมคลองสำโรงมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่นิยมตั้งถิ่นฐานที่ปากน้ำ สมุทรปราการเนื่องจากเป็นชุมชนใหญ่และมีสาธารณูปโภคให้บริการแก่ประชาชน เช่น โรงพยาบาลและโทรเลข เป็นต้น เมื่อผู้คนนำเรือจอดที่ท่าเรือเสร็จสิ้นจึงเดินเท้าไปที่สถานีรถไฟสำโรง

    สำหรับเรือที่จอดท่าเรือไม่ปรากฏความเรื่องขโมยเรือ เนื่องจากบริเวณชุมชนวัดด่านสำโรงมีสถานีตำรวจขนาดเล็กและมีสภาพสังคมชนบทที่ผู้คนรู้จักกันเพราะประชากรมีจำนวนน้อย สำหรับชุมชนบริเวณวัดด่านสำโรงนิยมเดินทางด้วยเท้าไปสถานีรถไฟสำโรงเนื่องจากมีระยะทางเพียงเดินเท้า 5 นาที

    จุดประสงค์การเดินทางรถไฟสายปากน้ำของผู้คนบริเวณริมคลองสำโรงเพื่อเดินทางไปทำธุระที่พระนครหรือปากน้ำ อันเป็นสถานที่ราชการของจังหวัดสมุทรปราการ

    ยกตัวอย่างเช่น

    - ผู้คนเดินทางไปโรงพยาบาลปากน้ำเพื่อรักษาตัว สำหรับการสาธรณสุขของจังหวัดสมุทรปราการสมัยนั้นมีโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวที่อยู่ใกล้กับชุมชนบริเวณริมคลองสำโรงและมีทางคมนาคมที่ดีคือ รถไฟสายปากน้ำ โดยใช้ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีสำโรงไปสถานีปากน้ำเพียง 20 นาที ถ้าโดยสารด้วยเรือพายต้องใช้เวลามากกว่าชั่วโมงหนึ่ง ดังนั้นผู้คนบริเวณริมคลองสำโรงนิยมเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยรถไฟ สายปากน้ำ เป็นต้น

    - จุดประสงค์การซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคด้วยทางรถไฟของผู้คนบริเวณริมคลองสำโรง ไม่เป็นที่นิยม แม้ว่าบริเวณชุมชนวัดด่านสำโรงช่วงเวลานั้นไม่มีตลาดซื้อขายอุปโภคบริโภค แต่อยู่ใกล้กับด่านเก็บภาษีประตูน้ำสำโรง ทำให้เรือที่มีจุดประสงค์ทำการค้าต้องจอดเรือเสียภาษี ผู้คนบริเวณวัดด่านสำโรงสามารถเรียกเรือจอดเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ผลไม้ อุปกรณ์การก่อสร้างบ้าน เช่น ใบจากเพื่อทำหลังคาบ้าน เป็นต้น แม้ว่าผู้คนบริเวณริมคลองสำโรงไม่นิยมเดินทางซื้อของอุปโภคบริโภคด้วยรถไฟ แต่พ่อค้าส่วนใหญ่ที่เป็นคนจีนอาศัยและทำธุรกิจที่ปากน้ำนิยมเดินทางด้วยรถไฟชั้น 3 เวลาเช้า (คันที่ 1) เพื่อเดินทางไปที่พระนคร หาซื้อสินค้ามาขายที่ปากน้ำและเดินทางขนส่งมาที่ปากน้ำด้วยตนเองโดยเสียค่าธรรมเนียมตามจำนวนคนที่ขนสิ่งของคือ คนละ คนละ 15 สตางค์ สำหรับข้าราชการที่เดินทางมาทำธุระช่วงระหว่างพระนครและสมุทรปราการนิยมใช้รถไฟเนื่องจากมีความรวดเร็วและสามารถเบิกเงินค่าเดินทางรถไฟกับพระคลัง เช่น การจัดหาพันธุ์ข้าวปลูกตามตำบลต่างๆในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้น

    - สำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟเฉพาะสถานีรถไฟสำโรง สินค้าส่วนใหญ่เป็นข้าวสารที่ผลิตขึ้นบริเวณริมคลองสำโรงคือ ตำบลจระเข้, อำเภอบางพลี และอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากสถานที่กล่าวมานี้อาจมีการผลิตข้าวเปลือกจำนวนมากและมีโรงสีขนาดใหญ่ แต่บริเวณวัดด่านสำโรงจนถึงวัดหนามแดงที่อยู่ริมคลองสำโรงมีโรงสีข้าวเพียงแห่งเดียวที่ผู้คนนิยมนำข้าวเปลือกมาที่โรงสีนี้มีขนาดเพียง 5 เกวียน ดังนั้นบริเวณที่กล่าวมานี้มีเพียงการส่งออกข้าวเปลือกเท่านั้นและไม่นิยมขนส่งทางรถไฟเนื่องจากโรงสีส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำลำคลองเนื่องจากนิยมขนส่งสินค้าทางเรือ

    - การขนส่งข้าวสารด้วยเรือขนส่งโดยเดินทางตามทางคลองสำโรงต้องผ่านประตูน้ำด่านเก็บภาษีสำโรงและจอดเรือที่ท่าเรือสำโรงเพื่อขนถ่ายสินค้าเดินทางด้วยรถไฟ บริเวณท่าเรือคลองสำโรงมีกุลีแบกหามนำข้าวสารขึ้นรถไฟ เมื่อขนข้าวสารเสร็จสิ้นจึงเดินทางไปที่หัวลำโพง กรุงเทพมหานคร และกระจายสินค้าทั่วกรุงเทพมหานครเนื่องจากเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกข้าวของจังหวัดสมุทรปราการ






    ขอบคุณ

    เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กรมรถไฟ (รถไฟสายกรุงเทพ - ปากน้ำ) พ.ศ. 2492 - 2467 เรื่อง สัญญารถไฟปากน้ำระหว่างรัฐบาลสยามกับพระนิเทศชลรี [Alfred John Loftus]และ พระยาชลยุทธโยธิน [Clndrea du Plessis de Richelicu] (13 กันยายน พ.ศ. 2429) (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กต 5.3/1)

    งานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโท(ไม่ทราบชื่อ) เรื่อง[สาระ] รถไฟสายปากน้ำ “รถไฟสายแรกของประเทศไทย”





    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  10. #10
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับ ข้อมูลดีมากเลย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •