กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มารยาท 10 ข้อ ในการใช้มือถือที่ควรรู้

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    มารยาท 10 ข้อ ในการใช้มือถือที่ควรรู้

    มารยาท 10 ข้อ ในการใช้มือถือที่ควรรู้


    โทรศัพท์มือถือในยุคปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยที่4 ของคนเราไปเสียแล้ว ไม่ว่าเราจะนั่งชิลุกอยู่กับบ้าน หรือแม้กระทั่งต้องออกนอกบ้านก็ไม่สามารถอยู่ห่างมือถือได้เลย และเมื่อยิ่งต้องไปพบปะผู้คน เพื่อนฝูง ตามที่ชุมชนต่างๆ การรู้จักใส่ใจสิ่งเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ก็จะทำให้เราดูดีในสายตาของคนรอบข้างอย่างไม่น่าเชื่อ..

    1. เคารพสถานที่

    ในแหล่งที่ชุมชน มือถือของเราควรเก็บไว้ในที่มิดชิด เช่น กระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง ไม่ควรนำออกมาถือไว้ที่มือ (เพื่อโชว์เหนือ โชว์พาวน์) นอกจากจะไม่เป็นจุดสนใจของมิจฉาชีพแล้ว (โปรดระวัง: ปัจจุบันสมาร์ทโฟนโดยโจรฉกต่อหน้า มีทั้งทำร้ายร่างกาย โดยที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวมากมาย) นอกจากนี้แล้วเรายังได้ชื่อว่าเคราพและให้เกียรติสถานที่อีกด้วย

    2. เงียบ

    ไม่ควรเปิดหรือรับโทรศัพท์ขณะประชุม หรือคนรอบข้างกำลังสนทนากัน เราอาจจะปิดมือถือ หรือตั้งเป็นระบบสั่นแทน

    3. อย่าพูดแบบตะโกนเสียงดัง

    ขณะรับโทรศัพท์ไม่ควรสนทนากันอย่างเสียงดัง จนคนรอบข้างหันมามองอย่างสงสัย…

    4. ดับเบิ้ลเช็ค

    ให้ตรวจสอบคู่สนทนาฝ่ายตรงข้ามของเรา ว่าพร้อมที่จะรับโทรศัพท์ในขณะนี้หรือไม่ (ตัวอย่าง ^^) เช่น ไม่ทราบ..น้องสต็อป หรือพี่อนันดา ตอนนี้สะดวกรับโทรศัพท์มั้ย ครับ/ค่ะ เป็นต้น

    5. เก็บไว้ให้เราสองคน

    การรับโทรศัพท์ในพื้นที่สาธารณะ ไม่ควรพูดเนื้อหาของบทสนทนาให้คนอื่นได้ยิน ไม่มีใครต้องการฟังกัน..(นะ) ให้รู้กันเพียงแค่สองคนก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นควรพูดเสียงเบาๆเข้าไว้ (จะทำให้เราดูดี มีมารยาท เช่น บนรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟไต้ดิน เป็นตัน)

    6. SMS

    ในพื้นที่สารธารณะ การส่งเมสเซสแทนการรับโทรศัพท์ ก็เป็นหนทางแก้ไขปัญหาที่ดีได้เหมือนกัน

    7. อย่าเห็นโทรศัพท์ดีกว่าเพื่อน

    ในขณะบนโต๊ะอาหาร ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ เราควรหันมาพูดคุยหรือใส่ใจเพื่อนร่วมโต๊ะคนรอบข้างของเรา จะทำให้เราดูดี มีมารยาท เป็นที่ต้องตาต้องใจของคนที่ได้พบเห็น (ไม่เชื่อให้ลองดูกัน..)

    8. พูดไป ดูมือถือไป

    ขณะสนทนา ไม่ควรพูดไป เล่นมือถือไปด้วย

    9. ยกสมบัติให้คนอื่น

    ปัจจุบันมีแอพต่างๆ มากมาย หากเราไม่แน่ใจว่าฝ่ายตรงข้ามสนใจหรือไม่ ไม่ควรส่งเมสเซส รบกวนคนอื่น

    10. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    ในระหว่างนั่งหรือยืนอยู่กับคู่สนทนาของเรา บางคนอาจเซ้นซิทีฟ กับความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากมือถือ (ปัญหาเทคนิคขั้นสูง..) การรับโทรศัพท์ หรือการขอตัวออกไปข้างนอกเพื่อพูดคุยโทรศัพท์ จึงถือได้ว่าเป็นมารยาทที่ดี…ชนิดที่เรียกได้ว่า..ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวไปพร้อมๆ กัน..
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9



    โทรศัพท์มือถือเปลี่ยนแปลงวิธีสื่อสารของเราไปจากเดิมและก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่ดีแบบใหม่ๆขึ้น เกียก ลิม ที่ปรึกษาและวิทยากรเกี่ยวกับ มารยาททางสังคมจากสิงคโปร์ซึ่งจัดสัมมนาเรื่องมารยาทในการใช้โทรศัพท์มือถือมาแล้วหลายครั้งให้คำแนะนำในเรื่องนี้ไว้

    1.เมื่อมีสายเรียกเข้าแต่คุณไม่ได้รับ คุณต้องโทรฯกลับ "คุณควรโทรฯกลับเร็วที่สุดภายในวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างช้า ถ้าโทรฯกลับช้ากว่านั้น คุณควรขอโทษและบอกเหตุผลด้วยว่าทำไมถึงโทรฯกลับช้า"

    2.ควรส่งข้อความสั้นๆและตรงประเด็น ถ้าข้อความยาวกว่าสี่หรือห้าบรรทัด คุณควรโทรฯคุยหรือส่งอีเมลดีกว่า "คำที่พิมพ์แบบย่อๆควรใช้กับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเท่า นั้น ห้ามใช้ในการติดต่อธุรกิจเป็นอันขาด"

    3.รักษาระดับเสียงแบบ ที่คุณใช้พูดกับคนที่อยู่ตรงหน้า ถ้าสัญญาณไม่ดี อย่าเปล่งเสียงดังขึ้นเพื่อให้อีกฝ่ายได้ยิน คุณควรเปลี่ยนที่คุยเพื่อให้ได้สัญญาณดีขึ้น ถ้าสัญญาณยังขาดๆหายๆ รบกวนให้อีกฝ่ายโทรฯมาใหม่ หรือคุณจะเป็นฝ่ายโทรฯกลับไปเองภายหลัง

    4.เมื่อสายหลุดเพราะสัญญาณไม่ดี คนที่โทรฯมาควรจะโทรฯใหม่ "ผู้รับสายอาจไม่สะดวกโทรฯโดยเฉพาะในกรณีหมายเลขที่โทรฯเข้ามาไม่ใช่หมายเลขที่บันทึกไว้ หรือเป็นการโทรฯทางไกลจากต่างประเทศ"

    เรื่องอ่อนไหวหรือความลับไม่ควรสื่อสารกันด้วยการส่งข้อความ แต่อาจส่งข้อความเพื่อนัดพบหรือนัดเวลาโทรฯคุยเรื่องแบบนี้กันจะดีกว่า

    เมื่อมาไม่ทันนัดหมายหรือการประชุม คุณสามารถส่งข้อความบอกว่าจะมาสายได้ ข้อความควรสื่อการขอโทษและความจริงใจ "ข้อความว่า "ขอโทษ จะไปสายประมาณ 30 นาทีเพราะเครื่องบินมาถึงช้า" เป็นข้อความที่สุภาพและนึกถึงหัวอกผู้อื่น"

    การรับสายขณะประชุมจะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณบอกประธานในที่ประชุมไว้แล้วว่าอาจมีโทรศัพท์ด่วนถึงคุณ ถ้ามีโทรศัพท์ด่วนมาโดยไม่คาดคิด ให้ขอโทษผู้เข้าร่วมประชุมและอธิบายว่าทำไมจึงจำเป็นต้องรับสายนั้น จากนั้นจึงออกไปคุยโทรศัพท์นอกห้องประชุม
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •