“การตรวจรับบ้าน” ถือเป็นปราการด่านสุดท้ายที่เจ้าของบ้านใหม่ไม่ควรละเลย การใส่ใจเช็คความเรียบร้อยในส่วนต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้คุณไม่ต้องหัวหมุนเมื่อพบปัญหาในภายหลัง วันนี้เรามีวิธีตรวจรับบ้าน 10 ประการเพื่อบ้านใหม่ของคุณครับ

1. งานระบบสุขาภิบาล ส่วนสำคัญในบ้านที่ต้องการๆ ทดลองใช้จริง คุณอาจต้องลองใช้งานสุขภัณฑ์ทุกตัว เปิดก๊อกน้ำเพื่อดูการไหลของน้ำ ตรวจดูการทำงานของวาล์วทุกตัวว่าใช้งานได้ไหม ตรวจดูว่าช่องน้ำล้นทำงานได้ดีหรือไม่ โดยการขังน้ำไว้ในเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ หรืออ่างล้างจาน จนน้ำเต็ม แล้วคอยดูว่าน้ำไหลระบายได้สะดวกไหม แล้วปล่อยน้ำออกทันที ถ้าน้ำไหลไม่สะดวก เกิดเสียงดังปุดๆ สันนิษฐานได้ว่าไม่มีท่ออากาศ ท่ออากาศอุดตัน หรือทำท่ออากาศเล็กเกินไป

2. ระบบไฟ ให้เปิดทุกดวงทั้งในและนอกบ้าน เพื่อตรวจดูว่าสามารถใช้งานได้ครบทุกดวงหรือไม่ ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อดูการทำงาน สำหรับสวิตช์ไฟฟ้าให้ลองเปิด ปิด เตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กไปด้วย

3. การระบายน้ำ ให้ลองเอาน้ำมาราด หรือฉีดน้ำให้ทั่วพื้นที่ แล้วสังเกตดูทิศทางการระบายน้ำ ว่าไหลลงสู่ท่อระบายน้ำหรือไม่ ความลาดเอียงของพื้นเพียงพอให้น้ำระบายได้อย่างสะดวกหรือเปล่า ผิวพื้นยุบตัวเกิดเป็นแอ่งน้ำขังหรือไม่ หากเกิดอาการที่ว่าก็ควรแก้ไข อนุโลมไม่ได้

4. พื้น ตรวจสอบด้วยการการสังเกต และการสัมผัส เช่นว่าพื้นผิวเรียบดี หรือแอ่น และโก่งตัวที่อาจมีสาเหตุมาจากโครงสร้าง ในด้านการพิจารณาวัสดุมี

5. ผนัง ที่มีลักษณะเหมือนการแตกลายงาที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการแยกตัวของปูนฉาบที่แห้งไม่สม่ำเสมอกัน สามารถแก้ไขได้ด้วยการโป๊สี บางรอยเกิดจากปูนฉาบล่อน เพราะไม่เกาะตัวกับวัสดุก่อผนัง วิธีแก้ไขคือ การสกัดปูนฉาบหน้าออกแล้วฉาบทับใหม่ แต่งสีให้เหมือนเดิม

6. ฝ้าเพดาน ได้ระดับเสมอกันตลอดทั้งห้อง รอยต่อของตัววัสดุจะต้องได้แนวได้ฉาก แผ่นฝ้าเไม่เป็นริ้วคลื่นจนขาดความสวยงาม เว้นระยะห่างให้เท่ากันโดยตลอด ฝ้าเพดานที่ปิดโครงหลังคา จะต้องสังเกตดูว่ามีร่องรอยน้ำรั่วมาจากหลังคาหรือไม่ ถ้ามีก็ควรบอกให้ช่างแก้ไข หาสาเหตุของน้ำรั่วซึม

7. งานสี ให้ดูที่ความสม่ำเสมอของเนื้อสี ความกลมกลืน สม่ำเสมอ ไม่มีรอยด่าง เนื้อสีไม่ลอกหลุดล่อนหรือปูดโปน

8. ประตู หน้าต่าง ตรวจดูอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ทั้งมือจับ บานพับ กลอนประตู หน้าต่าง ติดตั้งได้เรียบร้อยหรือไม่ ตำแหน่งในการติดตั้งต้องถูกต้อง ได้แนวได้ระดับดูสวยงาม ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนใช้งานลำบาก การเจาะรูกลอนประตู หน้าต่างต้องเรียบร้อย ไม่ฉีกหรือแหว่ง ตำแหน่งของรูกลอนต้องพอดีกับกลอน ไม่หลวมหรือฟิตจนเกินไป ต้องลองใช้งานให้ประตู หน้าต่างทุกบานปิด เปิดได้สะดวก ไม่ติดขัดหรือเกิดเสียงดังขณะใช้งาน กลอนและกุญแจทุกตัวใช้งานได้จริง ลูกฟักบนบานประตูได้ดิ่ง ได้ฉาก ได้ระดับ ขนาดของกรอบบานลูกฟักเจาะเป็นช่องขนาดเท่ากัน

9. หลังคา การตรวจสอบไม่ให้มีการรั่วซึมของน้ำ สามารถทำได้ด้วยการฉีดน้ำให้ทั่วหลังคา แล้วตรวจดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ โดยการสังเกตร่องรอยน้ำหยดที่พื้นหรือคราบน้ำที่ฝ้าเพดาน

10. มาตรการป้องกันความร้อน ส่วนสำคัญสุดท้ายที่ควรได้รับการใส่ใจของบ้านใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่มาตรการป้องกันความร้อน โดยสังเกตก่อนว่าบ้านของเราหันหน้าไปทางทิศใด โดยหากพบว่ามุมใดที่หันไปทางทิศที่ปะทะความร้อนมากที่สุดอย่างทิศใต้ ให้มองหาว่าโครงการได้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันส่วนนั้นอย่างไรบ้าง เช่นการเลือกใช้แผงระแนงกันแดด ที่ช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ซึมซับเข้าสู่ตัวบ้านอย่างเต็มๆ การเลือกใช้วัสดุนวัตกรรมใหม่อย่างฝ้าระบายอากาศ หรือแผ่นฝ้าสมาร์ทบอร์ดหรือไม่ โดยหากไม่มีการใช้แนะนำให้เปลี่ยนให้เป็นแบบป้องกันได้ เลือกที่จะลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจะได้ไม่ต้องทุกข์ทนกับความร้อน และค่าไฟจากการเปิดแอร์คอนดิชั่นนะครับ