กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: มะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    มะเร็งต่อมลูกหมาก

    มะเร็งต่อมลูกหมาก!!!!


    มะเร็งต่อมลูกหมาก


    มะเร็งต่อมลูกหมาก

    ผู้ชายอายุเกิน40ปีขึ้นไป แพทย์แนะนำให้ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยตรวจเลือดหาค่าPSAปีละครั้ง


    มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของมะเร็วที่คร่าชีวิตของผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด พบว่าผู้ชาย 1 คน ในทุก 10 คน จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป

    PSA คืออะไร
    Prostatic specific antigen (PSA) สามารถตรวจได้จากเลือด เนื่องจาก ต่อมลูกหมากจะปล่อยสารชนิดนี้มาในกระแสเลือด ผู้ชายสุขภาพแข็งแรงอาจพบสารนี้ได้ในระดับต่ำ ๆ และเพิ่มปริมาณสูงขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้นเนื่องจากขนาดต่อมลูกหมากที่โตขึ้น แต่จะมีปริมาณสูงผิดปกติได้จากการอักเสบและ การเกิดมะเร็ง การตรวจระดับ PSA จะช่วยให้สามารถค้นพบโรคได้รวดเร็ว ในระยะเริ่มต้นเพื่อให้แพทย์สามารถทำการตรวจรักษาวิธีต่อไปได้ทันที

    ค่าปกติ ของ PSA
    ค่าปกติของ PSA อยู่ในช่วง 4 ถึง 10 ng/mL ในช่วงอายุที่แตกต่างกันอาจมีระดับของ PSA ที่ไม่เท่ากันได้ แต่จะไม่สูงเกิน10 ng/mLกรณีที่มีการตัดต่อมลูกหมากไปแล้วเพื่อรักษามะเร็งจะมีระดับPSA เป็น 0 ได้ แต่ยังต้องมีการตรวจระดับ PSA เพื่อติดตามอาการต่อไป หากพบว่ามีระดับสูง อาจเกิดเนื่องจากการพบการกระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้หมด




    มะเร็งต่อมลูกหมาก



    มะเร็งต่อมลูกหมาก

    ต่อมลูกหมากสำคัญอย่างไร?

    ต่อมลูกหมาก(prostate gland) จัดเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ชาย มีเฉพาะในเพศชายเท่านั้น โดยขนาดของต่อมขึ้นกับอายุ ในผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักประมาณ ๒๐ กรัม มีหน้าที่ สร้างน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ เพื่อให้อสุจิแข็งแรง วิ่งได้เร็ว เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผสมกับไข่ และช่วยรักษาคุณสมบัติของ ดีเอนเอ(DNA, สารทางพันธุกรรม) ในตัวอสุจิ

    ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมอยู่ในอุ้งเชิงกราน ในตำแหน่งใต้ต่อกระดูกหัวเหน่า โดยมีกระเพาะปัสสาวะ อยู่ติดทางด้านหน้า และลำไส้ใหญ่ส่วนอยู่ในอุ้งเชิงกราน(ลำไส้ตรง) ติดอยู่ด้านหลัง ดังนั้น ถ้าเป็นโรคของต่อมลูกหมาก หรือ เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงมักมีอาการทางปัสสาวะและ อุจจาระร่วมด้วยเสมอ



    มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากอะไร?

    ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่พบว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคของผู้ชายสูงอายุ ตั้งแต่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป พบได้น้อยเมื่ออายุต่ำกว่า ๖๐ ปี อย่างไรก็ตามแพทย์เชื่อว่า การเกิด น่ามาจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น

    -จากความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งชนิดไม่ถ่ายทอด และชนิดถ่ายทอด( มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก) -อาจจากการบริโภคอาหารประเภทไขมันสูง หรือเนื้อแดง(เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เป็นประจำ

    - จากเชื้อชาติ เพราะพบโรคเกิดสูงในคนผิวดำ

    -อาจจากติดเชื้อไวรัส เอชพีวีจากเพศสัมพันธ์ (HPV viruses)

    - และอาจจากสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า การทำหมัน ไม่เป็นสาเหตุ และไม่เป็น ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

    มะเร็งต่อมลูกหมากมีอาการอย่างไร?

    เมื่อเริ่มเป็น ยังจะไม่มีอาการ อาการมักเกิดภายหลังก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มักมีอาการเหมือนอาการทางการถ่ายปัสสาวะซึ่งเกิดในผู้สูงวัย จึงเป็นสาเหตุให้วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มเป็นได้อยาก

    อาการที่พบได้บ่อยของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ถ่ายปัสสาวะบ่อย รู้สึกเหมือนถ่ายปัสสาวะไม่สุด ลำปัสสาวะไหลไม่แรง ลำปัสสาวะเล็กกว่าเดิม กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปวดเวลาปัสสาวะ อาจมีอาการทางถ่ายอุจจาระร่วมด้วย เช่น ท้องผูก อุจจาระบ่อย ก้อนอุจจาระขนาดเล็กลง นอกจากนั้นอาจเป็นอาการจากการแพร่กระจายของโรค เช่น ปวดหลังมาก จากโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระดูกสันหลัง หรือ อาการอัมพฤกษ์/อัมพาติ จากโรคมะเร็งกระจายเข้าไขสันหลัง

    จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก?

    จะรู้ได้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยแพทย์สอบถามจากอาการ ประวัติการเป็นโรคของคนในครอบครัว จากอายุของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางทวารหนัก การตรวจเลือดดูสารมะเร็ง(tumor marker) และการตรวจพิเศษอื่นๆตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น การตรวจอุ้งเชิงกรานด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ คลื่นแม่เหล็ก เอ็มอาร์ไอ(MRI) หรือ อัลตราซาวด์ (ultrasound) แต่วิธีที่ให้ผลแน่นอน คือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในต่อมลูกหมาก เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา



    มะเร็งต่อมลูกหมาก


    มะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะ?

    โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มี ๔ ระยะเช่นเดียวกับในโรคมะเร็งอื่นๆ (แต่ระยะของโรคยังแบ่งเป็นระยะย่อยอีกหลายระยะซึ่งซับซ้อนสำหรับคนที่ไม่ใช่แพทย์ ทั้งนี้เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา) ได้แก่

    ระยะที่๑ ก้อนมะเร็งมีขาดเล็กมาก ยังคลำก้อนมะเร็งไม่ได้

    ระยะที่๒ ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้น แต่ลุกลามอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก

    ระยะที่๓ ก้อนมะเร็งลุกลาม และออกนอก เยื่อหุ้มต่อมลูกหมาก

    ระยะที่๔ ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ/หรือ แพร่กระจายเข้าอวัยวะอื่นๆซึ่งอยู่ไกลออกไป ที่พบบ่อย คือ เข้ากระดูก ไขสันหลัง และ ปอด

    มะเร็งต่อมลูกหมากรักษาอย่างไร?

    โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีรักษาสำคัญ ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา (ซึ่งมีทั้งการฉายรังสี และการใส่แร่) ฮอร์โมน(โดยการผ่าตัดลูกอัณฑะ หรือ ใช้ยา ซึ่งอาจเป็นยาพ่น ยาฉีด หรือยารับประทาน ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์) และ ยาเคมีบำบัด ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา

    ส่วนแพทย์จะเลือกใช้วิธีการใด ซึ่งอาจเป็นวิธีการเดียว เช่น ผ่าตัดอย่างเดียว หรือ ฉายรังสีอย่างเดียว หรือ ใส่แร่อย่างเดียว หรือ หลายวิธีการร่วมกัน เช่น ผ่าตัด ร่วมกับรังสี รวมกับฮอร์โมน ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย ที่สำคัญ ได้แก่ ระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง สุขภาพ และอายุของผู้ป่วย

    มะเร็งต่อมลูกหมากรักษาหายไหม?

    มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งมีความรุนแรงปานกลาง มีโอกาสรักษาหาย แต่ผลการรักษาขึ้นกับหลายปัจจัยสำคัญ เช่น ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง สุขภาพโดยรวม และ อายุของผู้ป่วย ซึ่ง โดยทั่วไป โอกาสหายประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐ ในโรคระยะที่๑ ในโรคระยะที่๒ ประมาณร้อยละ ๕๐-๗๐ โรคระยะที่๓ ประมาณร้อยละ ๒๐-๕๐ และไม่มีโอกาสรักษาหายในโรคระยะที่๔

    การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

    ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขึ้นกับวิธีรักษา ส่วนใหญ่มักเป็นอาการแทรกซ้อนทางปัสสาวะ และอุจจาระ ดังได้กล่าวแล้วว่า ต่อมลูกหมากอยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้น คือ เรื่องของความรู้สึกทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ และการเป็นหมัน

    โรคมะเร็งต่อมลูกหมากติดต่อไหม?

    โรคมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลต่างๆได้ตามปรกติ รวมทั้ง หญิงตั้งครรภ์ และเด็กทารก แต่เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ กล่าวคือ ผู้มีครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น บิดา พี่ หรือ น้องท้องเดียวกัน) มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงกว่าคนทั่วไป

    มีวิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่เริ่มเป็นไหม?

    ในปัจจุบัน มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ บุคคลที่มีครอบครัวเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้โดยการตรวจเลือดหาค่าสารมะเร็ง ซึ่งสร้างจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดซ้ำๆเพื่อเพิ่มความแน่นอนในการวินิจฉัย แต่สำหรับบุคคลทั่วไป แพทย์ทางด้านโรคมะเร็ง ยังถกเถียงกันอยู่ ทั้งนี้เพราะการตรวจคัดกรอง นำไปสู่การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยไม่จำเป็น ซึ่ง จัดเป็นการตรวจที่ซับซ้อน ต้องใช้แพทย์ผู้ชำนาญการ และอาจมีผลข้างเคียงโดยเฉพาะการติดเชื้อสูงและอาจรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้อ่านสนใจ ควรปรึกษาแพทย์ด้านโรคมะเร็ง



    มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากไหม?

    เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุเกิดที่แน่ชัด ดังนั้นจึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อาจลดโอกาสเกิดลงได้บ้าง จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว



    มะเร็งต่อมลูกหมาก




    ขอบคุณข้อมูล : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย
    ขอบคุณภาพจาก google /บ้านมหา.คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 12-06-2013 at 13:24.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •