กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: "โรคกระดูกคอมีปัญหา"

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    "โรคกระดูกคอมีปัญหา"

    "โรคกระดูกคอมีปัญหา"

    "โรคกระดูกคอมีปัญหา"

    โรคกระดูกคอมีปัญหาควรไปพบหมอด้วย...

    โรคกระดูกคอมีชนิดใดบ้าง...

    ๑ กระดูกคองอกกดทับรากประสาท : กระดูกคอแต่ละข้อมีรากประสาทงอกออกจากไขสันหลังเพื่อควบคุมการทำงานของไหล่ แขนและมือ เมื่อกระดูกคอเสื่อมลงตามวัย ข้อต่อจะหลวมหรือไม่แข็งแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอเรื้อรังถึงแม้ว่าบางรายอาจไม่มีอาการปวดคอก็ตาม แต่ก็จะรู้สึกเมื่อยคอเป็นประจำ ต่อมาร่างกายมีการปรับสภาพโดยพยายามสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสื่อมไป กระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า หินปูน หรือ กระดูกงอกประกอบกับหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและบางลง ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อกระดูกคอแคบลง ในที่สุดไปกดทับรากประสาทจึงเกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอและสะบัก บางครั้งรู้สึกเสียวหรือชาและมีเสียงกรอบแกรบเวลาหันคอ หากปล่อยไว้เรื้อรังจะมีอาการปวดร้าว เสียวหรือชาที่แขนและมือ อาการจะเป็นมากเวลาเงยหน้า อาจมีการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อที่แขนและมือด้วย

    ๒ กระดูกคอกดทับไขสันหลัง: หินปูนที่เกาะตามกระดูกคอหรือกระดูกคอที่เสื่อมจะทรุดลงมากดทับไขสันหลัง ซึ่งมักเกิดขึ้นในกระดูกคอข้อที่ 6-7 ทำให้เกิดอาการปวดและมึนศีรษะเจ็บหนังศีรษะ แขนชา ปวดเมื่อย ร่างกายรู้สึกอ่อนแรงโดยเฉพาะหัวเข่า เวลายืนจะโคลงเคลงก้าวขาไม่ค่อยออก ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน อาจควบคุมปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้และสุดท้ายอาจเป็นอัมพาต

    ๓ กระดูกคอกดทับหลอดเลือดแดง: กระดูกคอมีรูให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงสอดผ่าน เมื่อกระดูกคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมลงจะทำให้รูนี้แคบลง หลอดเลือดแดงก็จะเป็นตะคริวหรือถูกกดทับ เลือดจึงไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการปวดเวียนศีรษะปวดตุบๆ ที่ท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ วูบล้มลงอย่างกะทันหันแต่ไม่หมดสติ สามารถลุกขึ้นได้เองอย่างรวดเร็วเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แขนขาอ่อนแรง แขนชา หยิบของแล้วร่วง เวลาเงยหน้าหรือหันคออย่างกะทันหันจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ฯลฯ

    ๔ กระดูกคอกดทับประสาทซิมพาเธติก: ประสาทซิมพาเธติกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ความดันโลหิต การขยับตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ตลอดจนกล้ามเนื้อเรียบในอวัยวะและต่อมขับหลั่งต่างๆ ในร่างกาย หากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกเสื่อมและกดทับเส้นประสาทก็จะเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน รู้สึกศีรษะหนักๆ ปวดท้ายทอย สายตาพร่าปวดแน่นเบ้าตา ตาแห้ง เห็นแสงว็อบแว็บ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูงขึ้น ฯลฯ

    ๕ ปวดคอเนื่องจากกล้ามเนื้อตึงตัว: กล้ามเนื้อบริเวณคอมีโครงสร้างซับซ้อนและทอสานเกี่ยวพันกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวีเขียนหนังสือ เป็นต้น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณคอก็จะตึงตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยต้นคอและไหล่แล้วจะลามไปที่สะบักและแขนด้วย เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงเกร็งนานๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อกระดูกคอ ทำให้กระดูกคอเคลื่อนและเกยทับกันได้เช่นกัน ส่วนการหนุนหมอนที่สูงเกินไปหรือผิดท่าจนทำให้เกิดอาการคอตกหมอน นั้นก็เกิดจากการตึงตัวของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณคอเช่นกัน แต่ผู้ที่มีอาการคอตกหมอนเป็นประจำแสดงว่ากระดูกคอเริ่มเสื่อมแล้ว



    เครดิต : เฟซบุ๊ค/หมอสาระภี/บ้านมหา.คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 27-06-2013 at 13:09.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •