เทศกาลเข้าพรรษา คือ อะไร?
ความ เป็นมาของการเข้าพรรษา
ประวัติพิธีเข้าพรรษาของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าว่า ใน ประเทศอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝน น้ำมักท่วม ผู้ที่สัญจรไปมา ระหว่าง เมือง เช่น พวกพ่อค้า ก็หยุดเดินทางไปมาชั่วคราว พวกเดียรถีย์ และปริพาชก ผู้ถือลัทธิต่างๆ ก็หยุดพัก ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดฤดูฝน ทั้งนี้เพราะ การคมนาคม ไม่สะดวก ทางเป็นหลุมเป็นโคลน เมื่อเกิดพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จเผยแผ่พระศาสนา แต่เนื่องจากการเดินทางค่อนข้างลำบากอีกด้วย
พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติประพฤติตามพระพุทธเจ้า ไม่ต้องทรงตั้งบัญญัติพิธีอยู่จำพรรษา ครั้นพอพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไปกว้าง พระภิกษุสงฆ์ได้เพิ่มปริมาณเพิ่มขึ้น วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ มีพระภิกษุ ๖ รูป ฉัพพัคคีย์ แม้เมื่อถึงฤดูฝน ก็ยังพากันจาริกไปมา เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าเสียหาย สัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากิน ให้เกิดความเสียหาย และตายไป ประชาชนจึงพากันติเตียนเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล พากันเหยียบย่ำข้าวกล้า ต้นไม้ ตลอดจนทั้งสัตว์มากหลายตายจำนวนมาก ก็เลยก็ยังหยุดพักในฤดูฝน หรือจนแม้แต่นกก็ยังรู้จักทำรัง เพื่อพักหลบฝน
อาจเป็นไปได้ว่า พระภิกษุรูปอื่น ก็อาจจะมีบ้าง ที่ไม่ได้หยุดการจาริกในพรรษา แต่จะหมายความว่า พระภิกษุเหล่านั้น ท่านจะเผลอไผลไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านโดยไม่รู้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ความที่ว่า พากันเหยียบย่ำ ข้าวกล้าของชาวบ้าน เป็นสำนวนพูด ซึ่งหมายถึง หากพระภิกษุเที่ยวจาริกไปที่ไหน ชาวบ้านที่มีศรัทธา ก็จะต้องมาคอยถวาย ความอุปถัมภ์ ทำให้ไม่สามารถจะดูแลพืชผล เรือกสวนไร่นา ได้อย่างเต็มที่ในฤดูฝน จึงเหมือนกับทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดีนัก จึงเป็นเหมือนกับว่า พระภิกษุเดินเหยียบย่ำข้าวกล้า

เรื่องนี้ก็ได้ทราบถึงพระกรรณของพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงให้ประชุมสงฆ์ มีพุทธบัญญัติ ว่า ให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียว ตลอด ๓ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ห้ามมิให้ พระภิกษุเที่ยวไปค้างคืนที่อื่น หากมีธุระอันชอบด้วยพระวินัย จึงไปได้ด้วยการทำสัตตาหกรณียะ คือต้องกลับมา ที่พักเดิมภายใน ๗ วัน นอกจากนั้นห้ามเด็ดขาด และปรับอาณัติแก่ผู้ฝ่าฝืนล่วงละเมิดพระบัญญัติ พิธีการปฏิบัติในวันเข้าพรรษา และทำให้ต้องรีบกลับภายใน ๗ วัน หรือในวันนั้น
ข้อห้ามเรื่องเล่าต่างๆ กับการอยู่วัด
วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่ต้องจำวัด โดยต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ ที่ทรงวางเป็นระเบียบ ข้อบังคับให้พระสงฆ์ต้องเข้าจำพรรษา ในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้และจำกัดขอบเขต เข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบ คุณงามความดี เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีวันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้าพรรษาต้น ส่วนการเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒

พิธีกรรมของสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา
พระท่านจะทำการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เรียกว่า กุฏิ จัดการปัดกวาดเช็ดถู ให้สะอาด สาเหตุที่ต้องกระทำให้สะอาด ก็เพื่อจะได้ใช้บำเพ็ญสมณกิจในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้เต็มที่
ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วจึงกระทำพิธีเข้าพรรษา โดยกล่าวอธิษฐานตั้งใจ เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ในวันของท่านที่ตั้งใจจะอยู่ และจะต้องมีการปาราวนาตัว
คำกล่าวอธิษฐานพรรษา
อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาในวัดนี้ ตลอด ๓ เดือน โดยกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นพระผู้น้อยก็กระทำ สามีกิจกรรม คือ กล่าวขอขมาพระผู้ใหญ่ว่า ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไป ทางกาย วาจา ใจ เพราะประมาท ส่วนพระผู้ใหญ่ ก็กล่าวตอบว่า อดโทษให้ เป็นอันว่าต่างฝ่าย ต่างให้อภัยกัน นับเป็นอันเสร็จพิธีเข้าพรรษาในเวลานั้น ครั้นวันต่อไป พระผู้น้อยก็จะนำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบพระเถรานุเถระต่างวัด ผู้ที่ตนเคารพนับถือ
สิ่งที่เราควรปฏิบัติในช่วงเข้าพรรษา
มีการทำบุญตักบาตรกัน ๓ วัน คือวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ สำหรับ ท่านที่มีความเคารพนับถือพระภิกษุวัดใด ก็จัดทำบุญวัดนั้น ซึ่งขนมที่นิยมทำ เพื่อนำมาใส่บาตรได้แก่ ขนมเทียน พร้อมด้วยสิ่งของที่ที่นิยมเตรียมมาใส่บาตรด้วยส่วนใหญ่ คือ

๑. น้ำตาล
๒. น้ำอ้อย
๓. สบู่ แปรง ยาสีฟัน
๔. พุ่มเทียน / เทียนพรรษา
สำหรับเทียนทำบุญวันเข้าพรรษานั้น นิยมกระทำกันเป็นงานบุญอีกอย่างหนึ่ง บางแห่งจะมีการบอกบุญเพื่อร่วมหล่อเทียนแท่งใหญ่ แล้วแห่ไปตั้งในวัดอุโบสถ เพื่อจุดบูชาพระตลอด ๓ เดือน การแห่เทียนจำนำพรรษา หรือเทียนเข้าพรรษา เทียนนั้นมีการหล่อหรือแกะเป็นลวดลายอย่างงดงาม หรือจะแบบธรรมดาก็ตามสะดวก

ในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดา บางคนตั้งใจรักษา อุโบสถตลอด ๓ เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระ ตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่างๆ พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้น การกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และบางคนอาศัย สาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณ
๑. สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความ รู้สึกเกรงกลัวบาป (โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้ เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา ก็ไม่ยอมดื่ม เพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปว่า ไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา
๒. สมาทานวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ จากพระสงฆ์ โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง
๓. สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรง เป็นคุณธรรม ของพระอริยเจ้า ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลผู้งดเว้นบาป ความชั่ว และอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก เช่น กรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติด ระหว่าง พรรษากาล แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น

ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้น จากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิต ให้สะอาด แจ่มใส เคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุนคุณความดี ดังกล่าวก็คือ วิรัติ
วิรัติ หมายถึง การงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตาม ไปสู่ความสงบสุขปลอดภัย และความเจริญ รุ่งเรือง การทำบุญจาก ๓ วันนี้ จะทำให้เกิดบุญกุศลดีมาก ๆ เราก็เลยเน้นวันที่มีความสำคัญที่ต่อเนื่องซึ่งทำแล้วเกิดผลไว เพราะพระท่านสามารถใช้ิของที่เราถวายได้เลยครับ
การทำบุญถวายพระหลัก ๆ ที่ได้กุศลแรง คือ
๑. การเตรียมของ และจัดเอง
๒. การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นกับการอยู่จำพรรษา(ถวายเป็นสังฆทาน)
๓. ผ้าไตรจีวร ๑ เมตร ๙๐ เซ็นติเมตร หรือพระที่ท่านมีองค์ใหญ่หน่อยก็ ๒ เมตรคูณ ๓ เมตร
๔. ซื้อปลาในตลาดที่กำลังโดนฆ่า
๕. ชำระหนี้สงฆ์เอาเงินใส่ซองไว้นะครับแล้วแต่ศรัทธา(อธิฐานอโหสิกรรมด้วยนะครับ)
๖. เทียนเข้าพรรษา ๑ คู่
๗. ธูป สัก ๑ ห่อ
นี่แหละคือกุศลหลัก ๆ ที่สามารถทำแล้วเกิดผลดี

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.horolive.com