กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: มารู้จักมะเร็งกันเถอะ

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620

    มารู้จักมะเร็งกันเถอะ

    มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
    เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
    ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

    มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย
    เพศหญิง
    1. มะเร็งปากมดลูก
    2. มะเร็งเต้านม
    เพศชาย
    1. มะเร็งตับ
    2. มะเร็งปอด

    สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
    1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
    1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
    1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
    1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
    1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
    1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
    2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ มี 2 ข้อ
    ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
    ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น

    ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
    1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
    2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
    3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
    4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
    5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
    6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
    7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
    8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
    9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

    การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
    เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น

    การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้
    1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
    มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น
    1.1 ประวัติครอบครัว
    มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
    1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม
    มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น
    1.3ประวัติส่วนตัว
    อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น – ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่ – ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน – ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก – เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง – หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ – การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ
    1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ – เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น – ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ – เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย

    2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
    ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้ – ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน – ศีรษะ และคอ – ทรวงอก และเต้านม – ท้อง – อวัยวะเพศ – ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง
    3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ
    3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่ – การตรวจเม็ดเลือด – การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ – การตรวจเลือดทางชีวเคมี

    3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์
    มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น – การเอ๊กซเรย์ปอด
    เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ – การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร
    ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร – การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม
    เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
    3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
    หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น

    3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
    เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
    3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา
    การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น – การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น – เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ
    3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา
    เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
    การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้
    การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย
    คือ การรักษามะเร็งแบบ วิธีผสมผสานของ ศัลยกรรม (ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) รังสีรักษา (ฉายแสงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับวิธี ของศัลยกรรม) เคมีบำบัด (การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เป็นการรักษามะเร็ง แบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็ง โดยการรับประทานยาที่มีความสามารถในการฆ่า หรือทำลาย เซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น) การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากมะเร็งบางชนิดมีความไวต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาโดยการเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกาย และผู้ป่วยก็ ็จะหายจากโรคมะเร็ง เนื่องจากการรักษา โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนี้ยังอยู่ ระหว่างการศึกษาอยู่ต้องการข้อมูลอีกมากมายเพื่อยืนยันว่า ได้ผลในการรักษามะเร็ง
    ดังนั้นวิธีหลังนี้จึงเริ่มเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการนำยาหรือสารเคมีในกลุ่มนี้ ้มาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาดีขึ้น มะเร็งแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชนิดจะได้รับ การรักษาแบบผสมผสานที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่ามะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อการ รักษาทางศัลยกรรมและรังสีรักษาดี เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรืออื่น ๆ มะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษาดีไม่จำเป็นต้องใช้ วิธีศัลยกรรม เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น มะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย บางกลุ่มโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหลังหมดระดูจะมีการตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ ฮอร์โมนหลังจากที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งต้นตอออกไปแล้ว
    จะเห็นว่าการรักษามะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษามะเร็งแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันแม้แต่การผสมผสานวิธีการรักษามะเร็ง แต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน
    โภชนาการกับโรคมะเร็ง
    จากการศึกษาพบว่า อาหารอาจมีส่วนสัมพันธ์ กับการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 30-50% แต่ในขณะเดียวกันอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้ ธัญพืช และ เครื่องเทศต่างๆ ก็มี คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลัก โภชนาการ จึงเป็นหนทางหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้

    อาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง
    1.อาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะราสีเขียว-สีเหลือง
    2.อาหารไขมันสูง
    3.อาหารเค็มจัด ส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ดินประสิว

    ยาเคมีบำบัด
    เป็นยาหรือสารเคมีที่ใข้ในการรักษามะเร็ง อาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ยาเคมีบำบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลมะเร็ง เเละทำลายเซลปกติบางส่วน ด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น
    ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ทำให้ เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิด ที่ให้ร่วมกัน

    อาการข้างเคียง
    ยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน

    อาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องปรึกษาแพทย์
    1. มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก
    2. มีผื่นหรืออาการแพ้
    3. มีไข้ หนาวสั่น
    4. ปวดมากบริเวณที่ฉีด
    5. หายใจลำบาก
    6. ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง
    7. ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน

    อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
    1. คลื่นไส้อาเจียน
    2. ผมร่วง
    3. แผลในปาก
    4. ปริมาณเม็ดเลือดลดลง


    อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่ง อาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา ของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิด ขึ้นจากการได้รับยา เพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลงหรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิด มีอาการรุนแรง อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมาก ขึ้น และความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัดต่อ เซลล์มะเร็ง


    ที่มา : http://www.nci.go.th/Knowledge/index_cancer.html

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนคลองห้า
    วันที่สมัคร
    May 2011
    กระทู้
    275
    ขอบคุณครับที่แบ่งปันความรู้ครับผม

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กะแยงนา
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    211
    บล็อก
    2
    มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่เฮ็ดให้เฮานิ่งนอนใจคิดว่าเป็นอาการของการปวดแข้งปวดขา หรือปวดหลังปวดแอวธรรมดา แต่กะบ่ธรรมดาจนลุกลามกลายเป็นมะเร็ง "กระดูก" ได้ค่ะ ถึงแม้วิทยาการทางการแพทย์จะสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ แต่คนเฮากะบ่ค่อยเฉลียวใจเพราะคิดว่าเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกบ้าง กระดูกทับเส้นประสาทบ้าง เพราะฉะนั้นอาการที่พึงระวังตัวด้วยการสังเกตตัวเองง่ายๆคือหากมีอาการปวดหลัง ปวดแขนขา โดยเฉพาะปวดในเวลากลางคืน ติดต่อกันเกิน 2-3 สัปดาห์แล้วบ่หาย หรือ มีก้อนโตขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปเด้อจ้า

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •