กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๓

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด o๓

    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    พระพุทธชินสีห์และพระโต
    พระประธานในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

    พระพุทธชินสีห์และพระโต
    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ


    ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
    มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ
    พระสุวรรณเขต (พระโต) และพระพุทธชินสีห์

    พระพุทธรูปองค์ข้างหลังชื่อ “พระสุวรรณเขต” หรือ “พระโต”
    หรือ “หลวงพ่อเพชร” (พระประธานในพระอุโบสถสมัยแรก)
    เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อโลหะขนาดใหญ่
    ขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว
    พุทธลักษณะเป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ผสมผสานกับศิลปะขอม
    หันพระพักตร์ออกมาทางด้านหน้าของพระอุโบสถ
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ผู้สร้างวัดบวรนิเวศวิหาร
    ได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
    เพื่อมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    โดยรื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่
    สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี ลักษณะแบบขอม พระศกเดิมโต
    พระยาชำนิหัตถการ นายช่างของสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ
    เลาะพระศกเดิมออกเสีย แล้วทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง
    ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง
    มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง เป็นพระปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ของพระสุวรรณเขตหรือพระโต
    เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้ เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร

    ส่วนพระพุทธรูปองค์ข้างหน้าชื่อ “พระพุทธชินสีห์”
    (พระประธานในพระอุโบสถสมัยหลัง)
    ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต
    ลักษณะของพระพุทธชินสีห์ต่างจากพระพุทธรูปอื่นแบบเก่าในบางอย่าง
    เช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว นิ้วพระบาททั้ง ๔ นิ้ว ยาวเสมอกัน
    ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ แสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น
    พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลังได้ถือเป็นแบบสืบมาจนทุกวันนี้
    แต่ก่อนนั้นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้
    ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกัน เหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    แต่เดิมพระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
    พระพุทธรูปสำริดขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว
    เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยผสมเชียงแสน
    และเป็นที่กราบสักการะของพระมหากษัตริย์และสาธุชนมาเกือบ ๗๐๐ ปี
    ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

    ประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์ ตำนานกล่าวว่า
    เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช
    แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้
    แล้วสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก

    จากนั้นได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง
    อีกทั้ง ได้ทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่
    พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
    โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ ณ พระวิหารทิศเหนือ
    และประดิษฐานพระศรีศาสดา ณ พระวิหารทิศใต้
    พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา (พระศาสดา)
    จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเดียวกันตลอดมาถึง ๙๐๐ กว่าปี


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
    เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของ
    สมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์
    และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
    และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช อีกหลายพระองค์ด้วย

    “พระพุทธชินสีห์” จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
    และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาช้านาน

    พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือ
    เคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ
    ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า

    “..เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก
    เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี
    ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง
    กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำ
    ได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า
    เพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา..”


    ‘พระพุทธชินสีห์’ แต่เดิมประดิษฐานไว้ในมุขหลัง
    ของพระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นจตุรมุข
    ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยยังทรงผนวช
    และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
    ออกสถิตหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ดังทุกวันนี้

    พระพุทธชินสีห์ประทับบนแท่นหล่อสำริด สถิตสถาพรมั่นคง
    ภายใต้ฉัตรตาล ๙ ชั้น ดูร่มเย็นเป็นสุข พระอุณาโลมฝังเพชร
    มีเครื่องราชสักการะ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ถวายเป็นพุทธบูชา
    เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ชาติไทย

    เสด็จพระราชดำเนินมาถวายเครื่องราชสักการะสืบมายาวนาน

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือเลื่อมใสพระพุทธชินสีห์มาก
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ได้โปรดให้ทำกาไหล่พระรัศมีองค์พระด้วยทองคำ
    ฝังพระเนตรฝังเพชรใหม่ และตัดพระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ
    ปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน

    เบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์มีโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่บนฐานชุกชีที่รับฐานพระ
    ถัดลงมาเป็นม้าหมู่บูชา ๓ ที่ เป็นผลงานการออกแบบของ
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
    สถาปนิกเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    พระรูปหล่อ ๓ องค์ ซึ่งประดิษฐานเรียงกันบนฐานชุกชี ประกอบไปด้วย
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปัญญาอคฺคโต) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐
    และ พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓
    ซึ่งทุกพระองค์ทรงเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

    พระสุวรรณเขต (พระโต) และพระพุทธชินสีห์
    เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง
    และเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    วัดประจำรัชกาลที่ ๖
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    • ประวัติของวัดบวรนิเวศวิหาร

    วัดประจำรัชกาลที่ ๖-๘...ไม่สร้าง แต่บำรุง

    ตามพระราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต
    ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง
    อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล

    อย่างใดก็ตามในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลง
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากแล้ว
    และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย
    เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด
    ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือในปัจจุบันคือ
    โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล
    และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

    การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘
    เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้น มาในงาน
    พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน
    เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    สำหรับประวัติของวัดบวรนิเวศวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๖ นั้น
    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร
    เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต
    ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    แต่เดิมวัดแห่งนี้ ชื่อว่า “วัดใหม่” ตั้งอยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส
    โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
    วังหน้าในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลปะไทยผสมจีน
    โดยทรงผูกพัทธสีมาเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๒
    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบวัดรังษีสุทธาวาสมารวมกับวัดบวรนิเวศวิหาร

    วัดบวรนิเวศวิหารได้รับการทะนุบำรุงและสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น
    จนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓
    ครั้นเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดว่างเว้นลง
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงอาราธนา
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์
    (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)
    ที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
    ให้เสด็จมาครองและทรงเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕
    แล้วจึงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่ว่า “วัดบวรนิเวศวิหาร”
    ซึ่งอาจเป็นการแสดงนัยว่าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ นั้น
    ทรงเทียบได้ว่าอยู่ในพระสถานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    ที่มีสิทธิ์ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป
    ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้น


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    ทรงเป็นพระราชาคณะ ในระหว่างที่เสด็จประทับที่วัดแห่งนี้อยู่นั้น
    ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น โดยทรงปรับปรุงและ
    วางหลักเกณฑ์วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
    มีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นจำนวนมาก
    วัดบวรนิเวศวิหารจึงเป็นวัดแห่งแรกในประเทศไทย
    ที่มีคณะสงฆ์เป็นธรรมยุติกนิกาย

    อีกทั้งได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง
    พร้อมทั้งได้รับพระราชทานพระตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย

    ในสมัยต่อมาวัดแห่งนี้เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์
    เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
    และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
    จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ

    ในปัจจุบันนี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุหลายสิ่งหลายอย่าง
    ยังอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และศึกษาได้เป็นจำนวนไม่น้อย

    วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรมและถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย
    แบ่งออกเป็นศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส
    เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดยกำแพงและคูน้ำ แยกจากกันอย่างชัดเจน
    มีสะพานเชื่อมถึงกัน ทำให้เดินข้ามไปมาได้อย่างสะดวก
    ศิลปกรรมล้ำค่าที่สำคัญภายในวัดแห่งนี้ที่น่าสนใจ มีดังนี้


    • ศิลปกรรมล้ำค่าในเขตพุทธาวาส

    ศิลปกรรมล้ำค่าในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจาก พระอุโบสถ
    ซึ่งได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ ๓
    แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง
    รูปแบบของพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓
    มีมุขหน้ายื่นออกมาเป็นพระอุโบสถ และมีปีกยื่นออกซ้ายขวาเป็นวิหารมุข
    หน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง
    และหน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะ
    ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยโปรดเกล้าฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก
    ประดับลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดเกล้าฯ ให้
    ขรัวอินโข่ง เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
    ขรัวอินโข่งเป็นพระสงฆ์ผู้มีฝีมือในการวาดภาพและเป็นคนไทยคนแรก
    ที่ใช้วิธีการวาดภาพแบบตะวันตกคือมีการแสดงระยะใกล้ไกล

    ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะด้วยการบุผนังด้วยหินอ่อนทั้งหมด
    เสาด้านหน้าของพระอุโบสถเป็นเสาเหลื่ยม มีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง
    ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างปิดทองประดับด้วยกระจก


    ด้านหน้าของพระอุโบสถ มี “ใบเสมา” รุ่นเก่าสมัยอู่ทอง
    ทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า จังหวัดเพชรบุรี
    ส่วนใบเสมาอื่นๆ มีลักษณะแปลกแตกต่างออกไป กล่าวคือ
    เป็นเสมาที่ตั้งไว้หรือประดับเข้ากับส่วนของผนังพระอุโบสถ
    ซึ่งแตกต่างจากวัดทั่วไปที่จะตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ

    พระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป
    เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓
    ซึ่งกระเดียดไปทางศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง
    จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้มีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ
    แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของศิลปะไทย

    เมื่อมองโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้
    จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว

    ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้ว
    ก็มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดเกล้าฯ ให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีค่ายิ่ง
    เพราะเป็นรูปแบบของจิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป
    มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย

    ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่า
    เขียนตั้งแต่สมัยที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ
    เข้าครองวัด
    โดยเขียนบนผนังเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน
    เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก
    นับเป็นผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ
    มีคำจารึกพรรณาเขียนไว้ที่ช่องประตู หน้าต่าง รวม ๑๖ บาน

    นอกจากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแล้ว
    ที่เสาพระอุโบสถได้เขียนภาพแสดงปริศนาธรรม
    เปรียบด้วยน้ำใจคน ๖ ประเภท เรียกว่า ฉฬาภิชาติ
    ด้วย


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    ภายในพระอุโบสถนี้มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ
    พระพุทธรูปองค์ข้างหลังชื่อ “พระสุวรรณเขต” หรือ “พระโต”
    หรือ “หลวงพ่อเพชร” (พระประธานในพระอุโบสถสมัยแรก)
    เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปะขอม

    ขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว
    หันพระพักตร์ออกมาทางด้านหน้าของพระอุโบสถ
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ผู้สร้างวัด
    ได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
    เพื่อมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    โดยรื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่
    สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี ลักษณะแบบขอม พระศกเดิมโต
    พระยาชำนิหัตถการ นายช่างของสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ
    เลาะพระศกเดิมออกเสีย แล้วทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง
    ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง
    มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง เป็นพระปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก

    นอกจากนี้ ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ของพระสุวรรณเขตหรือพระโต
    ยังเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้ เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓


    ส่วนพระพุทธรูปองค์ข้างหน้าชื่อ “พระพุทธชินสีห์”
    (พระประธานในพระอุโบสถสมัยหลัง)
    ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต
    ลักษณะของพระพุทธชินสีห์ต่างจากพระพุทธรูปอื่นแบบเก่าในบางอย่าง
    เช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว นิ้วพระบาททั้ง ๔ นิ้ว ยาวเสมอกัน
    ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ แสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น
    พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลังได้ถือเป็นแบบสืบมาจนทุกวันนี้
    แต่ก่อนนั้นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้
    ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกัน เหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

    แต่เดิมพระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
    พระพุทธรูปสำริดขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว
    เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยผสมเชียงแสน
    และเป็นที่กราบสักการะของพระมหากษัตริย์และสาธุชนมาเกือบ ๗๐๐ ปี
    ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

    ประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์ ตำนานกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐
    พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้
    แล้วสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก

    จากนั้นได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง
    อีกทั้ง ได้ทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่
    พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
    โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ ณ พระวิหารทิศเหนือ
    และประดิษฐานพระศรีศาสดา ณ พระวิหารทิศใต้
    พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
    จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเดียวกันตลอดมาถึง ๙๐๐ กว่าปี

    ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
    เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของ
    สมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
    และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช อีกหลายพระองค์ด้วย

    “พระพุทธชินสีห์” จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
    และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาช้านาน


    พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือ
    เคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ
    ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓

    “..เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก
    เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี
    ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง
    กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำ
    ได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า
    เพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา..”

    ‘พระพุทธชินสีห์’ แต่เดิมประดิษฐานไว้ในมุขหลังของ
    พระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นจตุรมุข
    ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยยังทรงผนวช
    และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
    ออกสถิตหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ดังทุกวันนี้

    พระพุทธชินสีห์ประทับบนแท่นหล่อสำริด สถิตสถาพรมั่นคง
    ภายใต้ฉัตรตาล ๙ ชั้น ดูร่มเย็นเป็นสุข พระอุณาโลมฝังเพชร
    มีเครื่องราชสักการะ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ถวายเป็นพุทธบูชา
    เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ชาติไทย
    เสด็จพระราชดำเนินมาถวายเครื่องราชสักการะสืบมายาวนาน


    พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด  o๓







    เครดิต : http://www.dhammajak.net
    http://www.baanmaha.com

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ คนจนผู้ยิ่งใหญ่
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    ที่อยู่
    สารคามคือหม่องอยู่
    กระทู้
    219
    อยู่ใสละ พระทางสารคามมีนำเพิ่นบ่

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •