พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
“พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” พระประธานในพระอุโบสถ

• พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร

พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร”
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ วา ๒ ศอก หรือประมาณ ๓.๑๐ เมตร
สูงประมาณ ๒ วา ๑ ศอก หรือประมาณ ๔.๕๐ เมตร ด้านล่างเป็นฐานเขียนรูป
ยกขอบปลายกลีบบัว ลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกที่พระพุทธอาสน์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรังคารของ
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ใต้ฐานพระพุทธรูป
พระประธานในพระอุโบสถ “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร”
พร้อมกับถวายพระปรมาภิไธยประจำรัชกาล และศิลาจารึกดวงชันษา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร”
ประดิษฐานภายใต้พระมหาฉัตร ๙ ชั้น (นพปฏลมหาเศวตฉัตร)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวกันว่า
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างได้งดงามกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

นอกจากนี้แล้ว เบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถยังได้ประดิษฐาน
ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓
ทรงเครื่องราชภูษิตาภรณ์เสด็จออกรับราชทูตอังกฤษ ทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทอง
ภาพพระบรมสาทิศลักษณ์นี้เป็นภาพสีน้ำมันในพระอิริยาบทเต็มพระองค์ที่งดงามมาก
โดยนำมาเข้า กรอบลับแลลายทอง ซึ่งกรอบลับแลเป็นของโบราณ
นำมาซ่อมแซมปิดทองใหม่ ส่วนภาพพระบรมสาทิศลักษณ์เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)

[IMG]http://www.dhammajak.net/board/files/_11_118.jpg

• พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เมื่อทรงเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้างวัด
ได้ประทับที่ พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล
ที่ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ
และเล่ากันว่าเคยรับสั่งไว้ว่า “ถ้าฉันตายจะมาอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลนี้”

อาจจะเป็นเพราะพระราชดำรัสนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมายังพระอารามแห่งนี้
จะมาทรงถวายสักการะที่พระแท่นนี้เสมอจนกลายเป็นประเพณี
และเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระราชกฐิน
หรือเจ้านายเสด็จในการทอดกฐินพระราชทาน
เจ้าหน้าที่จะตั้งเครื่องมุกไว้ทรงสักการะ ณ ต้นพิกุลนี้ทุกครั้ง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
‘ซุ้มประตูแบบเก๋งจีน’ ซุ้มประตูทางเข้า-ออก
ไปสู่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน) อีกทางหนึ่ง

• พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)

“พระวิหารพระพุทธไสยาสน์” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนอน”
ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน
แต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง
โดยพระวิหารพระพุทธไสยาสน์เป็นพระวิหารขนาดใหญ่
ทั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะพระอุโบสถเท่านั้น
แต่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ก็มีศิลปะแบบจีนอันโดดเด่นเช่นกัน

ตรงที่ประตูทางเข้าไปสู่ พระวิหารคด (พระระเบียงคด) นั้น
ได้เจาะเป็นช่องวงกลมเหมือนประตูจีน
ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามา
ครั้นเมื่อเข้าไปด้านในแล้ว บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
มี แผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน
ภายในมีตุ๊กตาที่คงจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆ
น่าเสียดายที่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร

ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น รัชกาลที่ ๔ ทรงถวายพระนามว่า
“พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร”
เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีสัดส่วนงดงามมาก
วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลวพระรัศมีได้ ๒๐ เมตร สูง ๖ เมตร
พระเขนยสี่เหลี่ยม ใต้พระเศียรซ้อน ๗ พระเขนยลงรักปิดทองประดับกระจกสี
ฐานชุกชีประดับลวดลายสวยงาม ชั้นบนประดับปูนปั้นลายกลีบบัวรวนกลีบยาวติดกระจก
สี

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
จิตรกรรมภาพหงส์ ที่บานประตูด้านใน
ของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)


บานประตูและบานหน้าต่างด้านนอกทุกบานรอบพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ประดับด้วยลายปูนปั้นที่เรียกว่า ‘กระแหนะ’ เป็นรูปเซี่ยวกาง
(ทวารบาลของจีน) ทรงเครื่องแบบไทยยืนอยู่บนประแจจีน
ในมือถือแจกันดอกเบญจมาศและพานผลไม้ เช่น ทับทิม ส้มมือ ลิ้นจี่ มังคุด
และน้อยหน่า เป็นต้น ส่วนภาพจิตรกรรมบานประตูด้านในทำเป็นภาพหงส์

เพดานเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม
และหน้าบันด้านหน้าเป็นลวดลายปูนปั้นรูปหงส์
ส่วนหน้าบันด้านหลังเป็นกระเบื้องเคลือบสีลายดอกเบญจมาศ
และรูปสัตว์มงคลของจีน เช่น มังกร หงส์ เช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ
โดยหน้าบันทั้งสองด้านของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
มี รูปไก่ สัตว์ประจำปีระกาซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของรัชกาลที่ ๓

โดยรอบลานพระวิหารมี หมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
ประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์ ที่ผนังด้านนอกพระระเบียงของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
มี แผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวด
ติดไว้เป็นระยะๆ รอบพระระเบียงทั้งสี่ด้านจำนวนทั้งสิ้น ๙๒ แผ่น
โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระวิหารพระนอน)
โดยรอบมีหมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
“พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร”

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
พระวิหารพระยืน

• พระวิหารพระยืน

อยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนทั้งหลัง
หน้าบันเป็นลวดลายประแจจีน ประดับด้วยเครื่องถ้วย แปลกไปจากวัดอื่น
ภายในพระวิหารพระยืนมี ๒ ห้อง ห้องแรกอยู่ตอนหน้า
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ)
พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปแบบอู่ทอง
และห้องที่สองอยู่ตอนหลัง เป็นที่ประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปหลายปางหลายขนาด
มีพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปแบบอยุธยา
สันนิษฐานว่าบริเวณพระวิหารหลังนี้คงเคยเป็นพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทอง
โดยมี ‘พระพุทธรูปยืน’ ปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่า
ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓)
จะทรงมาบูรณะทั้งวัด และปรับปรุงพระอุโบสถให้เป็นพระวิหารพระยืนศิลปะแบบจีน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
‘พระพุทธรูปยืน’ พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ภายในพระวิหารพระยืนตอนหน้า
เป็นพระประธานพระอุโบสถหลังเก่าของวัดจอมทองก่อนรัชกาลที่ ๓ จะทรงบูรณะ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
ศาลาการเปรียญ (พระวิหารพระนั่ง)
ด้านหน้าจะมี ‘ถะหิน’ ที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรส

• ศาลาการเปรียญ (พระวิหารพระนั่ง)

อยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ
“ศาลาการเปรียญ” มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนั่ง”
เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรมระหว่างไทยและจีนเช่นเดียวกัน
หลังคาหลังคาเป็นแบบจีน ลด ๒ ชั้น แต่มุงกระเบื้องแบบไทย
บนสันหลังคาประดับรูปถะ (สถูปเจดีย์) ระหว่างมังกรล่อแก้ว ๒ ตัว
และกระเบื้องเคลือบสีอย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้
เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล (ฮก ลก ซิ่ว)
เช่น ส้มมือ หมายถึง การมีวาสนาสูง
ทับทิม หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และผลท้อ หมายถึง การมีอายุยืน


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
รอยพระพุทธบาทจำลองในพระอุโบสถ์

• สุสานพระธรรม

อยู่ข้างถะ (สถูปเจดีย์หิน) ด้านทิศเหนือหลังพระอุโบสถ
มีลักษณะเป็นเก๋งจีนเรือไฟหิน
ใช้สำหรับเผาพระคัมภีร์หรือข้อเขียนทางพระพุทธศาสนา
ภายในสุสานพระธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปแบบจีนหินสลักนูนจากแผ่นศิลา

• ถะ (สถูปเจดีย์หิน)

อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถูปเจดีย์หิน (ศิลา) แปดเหลี่ยมแบบจีน
มีทรงเหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น มีความสูงประมาณ ๕-๖ วา ยอดเป็นรูปทรงน้ำเต้า
ถัดมาเป็นทรงเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นช่องเว้นระยะโดยรอบ
ถะหรือสถูปเจดีย์องค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูนปิดทึบ
ภายนอกเป็นแผ่นหินอ่อนสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และลวดลายปะติดไว้ด้านนอก
ถะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอับเฉาเรือที่มาพร้อมกับสิงโตหิน
ตั้งอยู่เคียงกับ ศาลาราย, พระวิหารคด (พระระเบียงคด),
สุสานพระธรรม ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีน และพระปรางค์สีขาว,
พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)
สุสานพระธรรม, ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว และ ถะ (สถูปเจดีย์หิน)
ใกล้บริเวณพระวิหารคด (พระระเบียงคด) ด้านหลังพระอุโบสถ


• ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว

โดยรอบพระอุโบสถของวัดจะมี ‘ซุ้มเสมา’
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้ ‘ใบเสมา’
มีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น
โดยซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำหรับซุ้มเสมาวัดราชโอรสารามนั้นเป็น ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว
คือซุ้มเสมาที่ทำรูปแบบลักษณะซุ้มคล้ายอย่าง “เรือนเกี้ยว”
(พาหนะที่ตั้งบนคานใช้คนแบกหามของจีน)
เป็นแบบแผนซุ้มเสมาที่เริ่มนิยมมาตั้งแต่ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา
โดยซุ้มเสมานี้สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด    (๑๒)

• หอระฆัง

สร้างเป็นหอหกเหลี่ยม สูงประมาณหกวา
แบ่งเป็น ๓ ชั้น ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่

• ศาสนสถานและศาสนวัตถุอื่นๆ ภายในวัด








เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19388
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35