พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)
“พระพุทธสกลสีมามงคล” หรือ “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
พระพุทธรูปนั่งปางประทานพรสีขาว ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขากลางป่าเขียว


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธสกลสีมามงคล หรือ “หลวงพ่อขาว”
[พระพุทธรูปนั่งปางประทานพรสีขาว ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขากลางป่าเขียว]
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

เมื่อครั้งที่ หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)
มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพฯ นั้น
ท่านได้มาศึกษาปฏิบัติอยู่กับ ท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม
ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ซึ่งภายหลังท่านจึงติดตามพ่อท่านลี
ออกธุดงค์เดินทางไปภาคอีสาน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ
จนกระทั่งมาถึงดงพญาเย็น ท่านได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ ที่นั้น
ซึ่งเป็นเชิงเขาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาสีเสียดอ้า” หรือ “เขาเทพพิทักษ์”
บริเวณหมู่บ้านกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ต่อมาท่านพ่อลี มีดำริที่จะสร้าง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
ขึ้นมาพร้อมๆ กับสร้าง พระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง บนภูเขาสีเสียดอ้า
กระทั่งมีคณะศรัทธาญาติโยมมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดและพระพุทธรูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยวัดสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
แต่พระพุทธรูปยังไม่ทันจะสร้างแล้วเสร็จ ท่านพ่อลีก็มรณภาพลงเสียก่อน

พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งปางประทานพรสีขาวบริสุทธิ์ขนาดใหญ่
ได้ทำการขยายส่วนมาจาก พระพุทธรูป ภ.ป.ร. มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๗.๒๕ เมตร
สูง ๔๕ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีน้ำหนักถึง ๓,๐๐๐ ตัน
ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขากลางป่าเขียว สูงจากระดับพื้นดิน ๑๑๒ เมตร หรือ ๕๖ วา

การสร้างองค์พระในครั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ ถวายโดยพระราชกุศล
เป็นพระบรมราชานุสรณ์พิเศษ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระนาม
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ทั้งขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อของ ๒ พระองค์
อัญเชิญประดิษฐานที่ฐานพระพุทธรูป และ ทรงพระราชทานพระนามว่า
“พระพุทธสกลสีมามงคล” แต่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว”
หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้
ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร

พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)
มีพุทธลักษณะดังนี้

- สูงจากระดับพื้นดิน ๑๑๒ เมตร หรือ ๕๖ วา
หมายถึง พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๕๖ ประการ

- องค์พระพุทธรูปสูง ๔๕ เมตร
หมายถึง พระพุทธองค์โปรดเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา
หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ ๔๕ พรรษา หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว


- หน้าตักกว้าง ๒๗ เมตร (๑๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ)
หมายถึง องค์แห่งธุดงค์ค์วัตร ๑๓ ประการ

- พระเกตุ (โมลี) สูง ๗ เมตร
หมายถึง โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้


- พระกรรณ (หู) ยาว ๖.๘๐ เมตร

- ช่องพระนาสิก (จมูก) มีขนาดกว้างพอถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตรลอดได้

- พระเนตรดำขลิบด้วยเมฆพัด (โลหะผสมชนิดหนึ่ง) และดวงพระเนตรฝังมุก


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)
พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) องค์จำลอง

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)
พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)

ทางเดินขึ้นไปนมัสการ พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)
จะมีลักษณะเป็นบันไดขึ้น ๒ ด้าน สร้างโค้งเว้าประกอบกันเป็นรูปใบโพธิ์
ขึ้นไปบรรจบกันที่องค์พระพุทธรูป บันไดมีทั้งสิ้น ๑,๒๕๐ ขั้น
(นับรวมทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา) ซึ่งเท่ากับจำนวนพระอรหันต์สาวก
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ
เดือน ๓ โดยมิได้นัดหมาย อันเป็นการก่อกำเนิดแห่ง
“วันมาฆบูชา”
นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆ กับที่ประดิษฐานพระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)
ยังมีทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวไปสู่ยัง “ถ้ำเมตตา” และ “ถ้ำหมี”
ซึ่งถ้ำหมีแห่งนี้ เป็นถ้ำที่หลวงปู่เมตตาหลวงใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ

ต่อมา คณะศรัทธาญาติโยมจึงกราบนิมนต์ หลวงปู่เมตตาหลวง
ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
ซึ่งหลวงปู่เมตตาหลวงก็ได้เมตตารับนิมนต์ และพำนักจำพรรษา ณ ที่วัดแห่งนี้
รวมทั้ง อบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยม มาโดยตลอดกระทั่งได้มรณภาพลง
ปัจจุบันมี พระราชวิมลญาณ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ) เป็นเจ้าอาวาส


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)
ท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)
หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)

อุโบสถ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)

อุโบสถและเจดีย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๒๖)

พระพุทธสกลสีมามงคล หรือ “หลวงพ่อขาว”






เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38901
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35