พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้าล้านทอง
พระประธานในวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง


วัดพระธาตุลำปางหลวง ปูชนียสถานเก่าแห่งล้านนา


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ปูชนียสถานเก่าแห่งล้านนา



“วัดพระธาตุลำปางหลวง” ณ บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง เป็นปูชนียสถานสำคัญของ จ.ลำปาง ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดของล้านนา ภายในวัดมีความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่พระเจดีย์ พระวิหาร ซุ้มประตูโขง จนถึง ซุ้มพระเจ้าล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ล้วนแต่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและศิลปกรรมล้านนาเป็นอย่างดี

เป็นวัดที่ตำนานระบุไว้ชัดเจนว่า มี “พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า” ส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” อันล้ำค่าอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย และยังคงประดิษฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้

วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ ปัจจุบันยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาเยือนอย่างไม่ขาดสาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชาวเมืองทั้งใกล้และไกล

ในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สถานที่แห่งนี้ ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ความเชื่อทางคติธรรม สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด นอกจากมีหน้าที่ใช้สอยทางพิธีกรรมในศาสนาแล้ว ยังมีความหมายสำคัญที่แฝงอยู่คือ ช่างโบราณได้จำลองจักรวาลที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณ เช่น ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น

กล่าวคือ องค์พระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางของวัด คือ สัญลักษณ์แทนเขา พระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ขณะเดียวกัน องค์พระธาตุจึงเปรียบได้กับ พระเจดีย์จุฬามณี ที่ประดิษฐานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นวิมานของพระอินทร์ (ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช) ดังนั้น การได้นมัสการองค์พระธาตุลำปางหลวง เปรียบได้ว่าเป็นการได้กราบไหว้บูชาพระเจดีย์จุฬามณีอันศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมกันด้วย

พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์เจดีย์ประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของพระวิหารหลวงเป็นวิหารโถงเครื่องไม้แบบเปิดโล่ง ก่อสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังยกพื้นสูงจากพิ้นดินเล็กน้อย การลดของชั้นหลังคาพระวิหารถือเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมล้านนา คือ ลดด้านหน้า 3 ชั้น และด้านหลัง 2 ชั้น


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)
“กู่” หรือ “พระมณฑป” อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
“พระเจ้าล้านทอง” พระประธานในพระวิหารหลวง


ส่วนโครงสร้างของพระวิหารหลวงเป็นแบบเสาและมีคานรับน้ำหนัก ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าพระวิหารหลวงหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากข้อมูลที่ได้จากศิลาจารึก จุลศักราช 838 (พ.ศ.2019) กล่าวเพียงว่า มีการสร้างวิหาร แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นวิหารแห่งใด

อย่างไรก็ตาม พระวิหารหลวงหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2044 เนื่องจากได้มีการหล่อพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทอง เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง
ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นอาคารที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ.2466 โดยพระธรรมจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปางในสมัยนั้น

ในการบูรณปฏิสังขรณ์ได้พยายามรักษารูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของพระวิหาร เช่น เปลี่ยนเสาแปดเหลี่ยมที่รับโครงสร้างหลังคาส่วนบนตอนกลางพระวิหารมาเป็นเสากลม สร้างเพดานและลานประดับเป็นไม้ แกะสลักประดับกระจกสีภาพ 12 ราศี แต่เดิมพระวิหารหลวงไม่มีเพดาน เป็นอาคารที่เปิดให้เห็นโครงสร้างหลังคาทั้งหมด

ภายในพระวิหารหลวง มี “กู่” หรือ “พระมณฑป” อันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป “พระเจ้าล้านทอง” พระประธานของพระวิหารหลวง ซึ่งหล่อด้วยสำริดปิดทอง ในท่าขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบศิลปะเชียงแสนผสมกับศิลปะสุโขทัย

นอกจากนี้ ภายในพระวิหารหลวงยังมีภาพเขียนจิตรกรรมประดับอยู่บนแผงคอสองด้านข้างทั้งสองด้าน ภาพจิตรกรรมเหล่านี้เป็นภาพเขียนที่สวยงามและหาดูได้ยาก เป็นฝีมือของช่างท้องถิ่น เขียนเรื่องราวทศชาติชาดก พุทธประวัติ และพรหมจักรหรือรามเกียรติ์ ฉบับสำนวนล้านนา

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปนมัสการพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากถนนสายเอเชีย ประมาณ 4 กิโลเมตร


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)
พระธาตุลำปางหลวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลำปาง







พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)
วัดพระธาตุหริภุญชัย
ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน



วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
Wat PhraDhartHaribhunchai.jpg
พระบรมธาตุหริภุญชัย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ วัดพระธาตุหริภุญชัย
ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ประเภท พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกาย เถรวาท
ความพิเศษ พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 27 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา
เนื้อหา
1 เจ้าอาวาส
2 พระราชาคณะ
3 คณะ
4 อาณาเขตติดต่อ
5 ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัย
6 โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
7 ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
8 แหล่งข้อมูลอื่น
เจ้าอาวาส

พระมหาราชโมฬีสารีบุตร
พระราชโมฬี
พระคัมภีร์ คมฺภีโร
พระวิมลญาณมุนี พ.ศ. 2476 - 2486
พระครูจักษุธรรมประจิตร พ.ศ. 2486 - 2489
พระธรรมโมลี (พระสุเมธมังคลาจารย์ อมร อมรปญฺโญ) พ.ศ. 2489 - 2533
พระเทพมหาเจติยาจารย์ พ.ศ. 2533 - 2556
พระราชปัญญาโมลี พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน
พระราชาคณะ

พระสุเมธมังคลาจารย์ (อมร อมรปัญโญ, ปธ.๗) รองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัตร - มรณภาพ
พระเทพญาณเวที (สุเธียร อคฺคปญฺโญ, ปธ.๔) - มรณภาพ
พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุโล, นธ.เอก, พธ.ม.) มรณภาพ
พระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ, ปธ.๗) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ,เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
พระศรีธรรมโสภณ (บุญโชติ ปุญฺญโชติ, ปธ.๙, พธ.ม.) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร,เจ้าคณะอำเภอเวียงหนองล่อง
คณะ

คณะหลวง ทิศตะวันออกเฉียงใต้
คณะเชียงยัน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะอัฏฐารส ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
คณะสะดือเมือง ทิศตะวันตกเฉียงใต้
อาณาเขตติดต่ิอ

ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส
ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี
ทิศตะวันออก จรดถนนรอบเมืองใน
ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ
ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัย

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา
โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ตัวพระบรมธาตุ ประกอบด้วย
ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้
สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม
เจดีย์เชียงยันหรือเจดีย์เชียงยืน เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่นอกกำแพงทางทิศเหนือของพระธาตุหริภุญชัย ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยของพญาอาทิตยราช สำหรับเจดีย์ในปัจจุบัน เป็นเจดีย์ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าติโลกราช และกรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่ด้วยลักษณะทาสถาปัตยกรรมตรงส่วนของฐานล่างเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนขึ้นไปสี่ชั้น เหนือขึ้นไปทำเป็นบัวคว่ำและบัวถลาเป็นส่วนรองรับฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านทำเป็นซุ้มจระนำ แต่ก่อนคงประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ตรงเหนือ ส่วนของเรือนธาตุขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมซ้อนขึ้นไปรองรับองค์สถูปที่เป็นทรงระฆังแบบลังกา เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์จำลองทรงสี่เหลี่ยมตรงมุมทั้งสี่ เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์แต่ทำเป็นยอดบัวกลุ่มสลับกับบัวลูกแก้วลดหลั่นกันไปถึงส่วนยอดลวดลายที่ประดับและประกอบซุ้มจระนำ และผนังย่อเก็จประกอบไปด้วยลายบัวคอเสื้อประจำยามและบัวเชิงล่างมีลักษณะเป็นลายดอกเบญจมาศและใบไม้ประดิษฐ์ ล้อมรอบในกรอบเส้นลวดซึ่งเป็นรูปแบบของลวดลายที่นิยมทำกันในสมัยพระเจ้าติโลกราช
หอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. 2481 ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2403 ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย
หอไตรหรือหอธรรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัยจากศิลาจารึก ลพ.15 (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยจังหวัดลำพูน) เป็นจารึกอักษรไทยล้านนา จารึกขึ้นในราว พ.ศ. 2043 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว จารึกหลักนี้ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย เรื่องราวในจารึกได้กล่าวถึงพระเมืองแก้ว กับพระราชมารดาของพระองค์ได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศล อันยิ่งใหญ่สถาปนาหอไตรปิฎกหรือหอพระธรรมมณเฑียร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง 85,000 พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาและอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็นคัมภีร์ 420 พระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานทั้งหมด ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์ และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนา สำหรับหอไตร วัดพระธาตุหริภุญชัยหลังนี้ สร้างเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตร ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงห์โตหินประดับที่หัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้าทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนประตูทางเข้าชั้นล่าง ตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุก
วิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2057 เป็นแบบพื้นเมืองทรงล้านนาสวยงามมาก ต่อมาวิหารได้ถูกลมพายุใหญ่พัดปรักหักพังอย่างยับเยิน ในปี พ.ศ. 2458 ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันบูรณะขึ้นมาใหม่ ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วขาว พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทอง อย่างสวยงาม
วิหารพระละโว้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตัววิหารสร้างใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เรียกว่าพระละโว้
วิหารพระพุทธ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทอง เรียกว่า พระพุทธ
วิหารพระทันใจ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนซึ่งถือว่าเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้สมหวังได้ดังใจ
วิหารพระพันตน ตั้งอยู่หลังวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก
วิหารพระบาทสี่รอย ตั้งอยู่หลังวิหารพระพุทธ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองมาจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
วิหารพระไสยาสน์ ตั้งอยู่เหนือวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง

วิหารพระกลักเกลือหรือพระเจ้าแดง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระทันใจ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ทาด้วยสีแดง
เขาพระสุเมรุจำลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ด้านหน้าหอไตร มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ขนาดเล็กทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน ส่วนยอดทำลดหลั่นกันขึ้นไปเจ็ดชั้น มีการประดับสำริดซึ่งหล่อเป็นชั้นๆ แล้วนำมาประกอบเป็นทรงกลมภายหลังส่วนฐานที่รองรับ ยอดปราสาทที่อยู่ด้านบนสุด คือ สัตตบริภัณฑ์หรือภูเขาที่ล้อมรอบพระสุเมรุทั้งเจ็ดชั้น โดยมีเกษียรสมุทรคั่นระหว่างเขาแต่ละชั้น สัตตบริภัณฑ์นี้ช่างได้ทำเป็นรูปป่าไม้ มีสัตว์ป่า มีต้นไม้ และเหล่าอสุร ที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุด้าน บนสุดทำเป็นปราสาทซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์เทวดาในศาสนาพุทธ ที่มีหน้าที่คอยดูแลความเป็นไปบนโลกและคอยช่วยเหลือคนดีที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยทำเป็นปราสาทหกเหลี่ยมเล็กๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาทมีลักษณะเหมือนยอดมณฑปโบราณสถาน ภายในวิหารคต ทั้งหมดของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และ เล่มที่ 96 ตอนที่ 185 ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2522
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:Wat Phrathat Hariphunchai



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)






พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)
พระประธานในอุโบสถ
วัดศรีคุณเมือง ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๑)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้าใหญ่ หรือ “หลวงพ่อใหญ่” พระประธานในอุโบสถ
วัดโพนชัย บ้านเดิ่น ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย

พระเจ้าใหญ่ หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
พระประธานในอุโบสถ วัดโพนชัย
บ้านเดิ่น ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย


เมื่อเอ่ยถึงการละเล่นผีตาโขน ประเพณีประจำจังหวัดเลย คนส่วนใหญ่จะนึกถึงวัดโพนชัย บ้านเดิ่น ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน

วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งมากว่า 400 ปี สร้างหลังการก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย พระธาตุศรีสองรัก สร้างในปี พ.ศ.2103 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2106

วัดโพนชัยแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเกี่ยวพันกับพระธาตุศรีสองรัก โดยมีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า บริเวณที่ตั้งของวัดโพนชัยในขณะที่มีการก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก เป็นที่พักของพระสงฆ์ทั้งของไทยเละลาวมาพำนักอยู่

หลังจากที่การก่อสร้างพระธาตุศรีสองรักเสร็จ ก็แปรสภาพมาเป็นวัดมาจนถึงปัจจุบัน

ภายในวัดโพนชัยมีพระอุโบสถสองหลังอยู่ติดกัน โดยหลังใหญ่จะหันหน้าไปทางทิศเหนือ และหลังเล็กหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

จากการเล่าขานกันมา พระอุโบสถหลังเล็กนั้นสร้างทีหลัง แต่ละหลังการก่อสร้างจะเป็นศิลปะล้านช้างหลวงพระบาง

สำหรับพระอุโบสถหลังใหญ่ ภายในจะมีภาพเขียนสีผนังพุทธประวัติ และพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งชาวอำเภอด่านซ้ายเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระเจ้าใหญ่ หรือหลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

พระครูศรีรัตนลังการ เจ้าอาวาสวัดโพนชัย กล่าวถึงพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดโพนชัยว่า พระเจ้าใหญ่ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก องค์พระสูง 115 นิ้ว หน้าตักกว้าง 79 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะคล้ายของลาว

ชาวอำเภอด่านซ้ายจะมากราบไหว้บูชาในช่วงวันพระทุกวันมาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้มิได้ขาด

ด้านหลังของพระเจ้าใหญ่จะมีรูของพญานาคโผล่ขึ้นมา โดยรูพญานาคที่โผล่ทางด้านหลังหลวงพ่อใหญ่มีการเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เป็นรูที่พญานาคเจาะมาจากลำน้ำหมัน ห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร มาโผล่หลังหลวงพ่อใหญ่ คอยปกปักรักษาหลวงพ่อใหญ่

ซึ่งท่าวังเวิน เป็นที่ทิ้งหัวโขนหลังจากเล่นเสร็จแล้ว รูพญานาคแห่งนี้ได้มีคนทดลองว่ามาจากไหน จึงได้เอาส้มโอและมะพร้าวหย่อนลงไปในรูหลังพระพุทธรูป ปรากฏว่าไปโผล่ออกที่ท่าน้ำวังเวินในลำน้ำหมัน

ในอดีตที่ผ่านมา ทุกวันพระ บริเวณรูพญานาคหลังพระพุทธรูปมีดินโคลนปรากฏอยู่เป็นรอยเหมือนงูใหญ่เลื้อย ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรอยพญานาคที่ขึ้นมาสักการะหลวงพ่อใหญ่ ทำให้มีรอยเปื้อนเต็มไปหมดในบริเวณพระอุโบสถ บางคนจะได้ยินเสียงน้ำ ไหลอยู่ในรูพญานาคด้วย

ในปีพ.ศ.2531 ช่วงนั้นเกิดสงครามบ้านร่มเกล้าระหว่างไทยและลาว ที่อำเภอนาแห้ว จ.เลย มีคนเห็นน้ำสีแดงไหลออกจากตาของพระเจ้าใหญ่ ชาวบ้านเชื่อว่าหลวงพ่อใหญ่เกิดความเสียใจที่พี่น้องมาฆ่ากันเอง

อดีตเจ้าอาวาสวัดโพนชัยเคยทำการปิดรูพญานาคแห่งนี้ เนื่องจากไม่ต้องการให้พญานาคเอาโคลนเข้าในพระอุโบสถ แต่หลังจากปิดรูแล้วทำให้วัดโพนชัยไม่เจริญก้าวหน้า มีแต่ทรุดโทรมลงไป

ปีพ.ศ.2536 พญานาคได้มาเข้าทรงชาวบ้าน คือ คุณยายสมปอง ชามนตรี อายุร่วม 70 ปี หมู่บ้านเดิ่น ต.ด่านซ้าย ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่

คุณยายสมปองเล่าว่า "พญานาคมาเข้าทรง กล่าวว่า มาปิดทางเดินของกูทำไม" เพราะเขาไม่สามารถมารักษาดูแลพระเจ้าใหญ่ได้ มาปิดรูของเขาก็เหมือนปิดวัด ซึ่งก็เป็นความจริง เนื่องจากภายหลังที่ปิดรูพญานาค ช่วงนั้นวัดเกิดความทรุดโทรม

หลังจากพญานาคมาเข้าทรงแล้วชาวบ้านและคณะกรรมการวัดได้ตกลงเปิดรูที่อยู่หลังพระเจ้าใหญ่ ให้พญานาคขึ้นมาดูแลพระเจ้าใหญ่

นับแต่นั้นมา วัดโพนชัยมีความเจริญรุ่งเรือง และคุณยายสมปองทุกวันนี้ ทุกวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ จะจัดอาหารมาถวายพญานาคเป็นประจำ เชื่อกันว่าพญานาคน่าจะมาช่วยดูแลปกปักรักษาหลวงพ่อใหญ่หรือพระเจ้าใหญ่

วัดโพนชัย เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นศูนย์กลางการปกครอง และการศึกษาทั้งทางธรรม บาลีของคณะสงฆ์ อำเภอด่านซ้าย มาเป็นเวลานาน ในปีหนึ่งจะมีนักเรียนเข้าสอบธรรมสนามหลวงไม่น้อยกว่าร้อยรูป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒ รัฐได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ให้มีการศึกษาภาคบังคับ จนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น การศึกษาของสงฆ์ทั้งนักธรรม และบาลีได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากวัดในเขตอำเภอด่านซ้ายไม่มีสามเณร อยู่จำพรรษา ทั้งๆ ที่ในแต่ละปีจะมีสามเณรบวชกันมาก แต่ไปเรียนโรงเรียนสามัญกันที่อื่นหมด

ด้วยเหตุนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ คณะสงฆ์อำเภอด่านซ้าย จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน สมควรที่จะเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญขึ้น เพื่อให้พระภิกษุสามเณรที่อยู่ในเขต และบริเวณใกล้เคียง มีโอกาสศึกษาทั้งทางธรรม บาลีและสามัญควบคู่กันไปให้ทันยุคทันสมัย โดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนปริยัติสามัญวัดโพนชัย” ได้รับการอนุมัติให้ทำการเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อวัน ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นับเป็นโรงเรียนลำดับที่ ๑๓ ของจังหวัดเลย

ผู้บริหาร พระครูภาวนาวิสุทธาภรณ์ (สวัสดิ์ อมโร ป.ธ.๓) เจ้าอาวาสวัดเนรมิตวิปัสสนา และรองเจ้าคณะอำเภอด่านซ้าย เป็นผู้จัดการ พระครูศรีรัตนาลังการ (บุญเพ็ง ป.ธ.๖, ร.บ., ปว.ค.) เจ้าอาวาสวัดโพนชัย และเจ้าคณะอำเภอด่านซ้าย เป็นผู้อำนวยการ

ประวัติโรงเรียนปริยัติสามัญวัดโพนชัย

โรงเรียนปริยัติสามัญวัดโพนชัย ได้มีการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้น (ม.๑-ม. ๓) จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนผู้มีจิตศรัทธา ผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้เข้ามาบวชเรียน ศึกษาหาความรู้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมทั้งพัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในด้านวิชาการให้แก่พระภิกษุ สามเณรผู้ที่เป็นศาสนทายาท เป็นการดำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมและความมั่นคงของพระพุทธศาสนาสืบไปความเป็นมา







หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ออนไลน์
คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ โดย วิชัย จินดาเหม
เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=24592
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35