พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อศิลา พระประธานในมณฑปหลวงพ่อศิลา
วัดทุ่งเสลี่ยม บ้านทุ่งเสลี่ยม ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย

หลวงพ่อศิลา เป็นนามที่ชาวบ้านวัดทุ่งเสลี่ยมเรียกขาน พระพุทธรูปนาคปรก ปางสมาธิ สกัดจากหินทรายสีเทา ทรงกรองศอพาหุรัด กุณฑล สวมศิราภรณ์ สวมมงกุฎเทริด พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานขนาดนาค 3 ชั้น นาคที่ปรกอยู่เหนือพระเศียรนั้นมี 7 เศียร ด้านหลังหางนาคพาดขึ้นมาถึงลำตัว มีลวดลายแบบศิลปะลพบุรี องค์พระวัดจากฐานถึงปลายยอดเศียรนาคสูง 85.50 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 44 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 126.5 กิโลกรัม

ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงประทานความเห็นไว้ว่า

"..พระพุทธรูปองค์นี้ ที่กระบังหน้ามีแนวขึ้นมาตรงกลาง ลักษณะเช่นนี้เป็นรูปแบบของโบราณวัตถุที่ทำขึ้นในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ศิลปะแบบลพบุรี เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากศิลปะเขมร เพราะแม้ลักษณะทั่วไปจะดูคล้ายกัน แต่พระพักตร์นั้นไม่เป็นแบบขอม"

คำแนะนำที่ทรงประทานนี้ ได้รับการยืนยันโดย นายอาวุธ สุวรรณาศรัย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งกรมศิลปากรได้ส่งมาตรวจพิสูจนอายุและคุณค่าทางศิลปวัตถุขององค์พระ ดังนี้

"องค์พระพุทธรูปศิลานั้นแกะสลักจากหินทรายเทา มีความสมบูรณ์และมีลักษณะพิเศษที่ชัดเจนมาก กล่าวคือ มีผ้าทิพย์รองรับตัวองค์พระ ซึ่งปกติแล้วจะเดินเป็นเส้นตรงมากกว่า นอกจากนี้บริเวณด้านหลังมีลายดอกจันที่ขุดลึกลงไปในเนื้อหิน ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นลายขีดธรรมดา สาเหตุที่องค์พระมีความสมบูรณ์ไม่บุบสลายไปตามกาลเวลา น่าจะเป็นเพราะตั้งอยู่ในถ้ำ ไม่ได้จมอยู่ในดินเหมือนองค์อื่นๆ ที่เคยขุดพบ ลักษณะนั้นเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สิลปะผสม ลักษณะสำคัญซึ่างบ่งชี้ว่า ไม่ใช่ศิลปะแบบบายนแท้ ก็คือ พระพักตร์จะไม่แย้มพระโอษฐ์ ผิดกับเทวรูปกษัตริย์ชัยวรมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะแย้มพระโอษฐ์ทุกพระองค์ จากการตรวจสภาพเนื้อหิน ยืนยันได้ว่าเป็นของแท้ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นศิลปะลพบุรีที่ได้รับอิทธิพลจากเขมร มีคุณค่ามากด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ …"

แต่เดิมนั้นหลวงพ่อศิลาประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำเจ้าราม ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชาวบ้านได้ไปหามูลค้างคาวในแถบถ้ำเจ้าราม ได้พบพระธุดงค์รูปหนึ่งซึ่งเล่าให้ฟังว่า ภายในถ้ำเจ้ารามมีพระพุทธรูปเก่าแก่อยู่หลายองค์ และองค์หนึ่งมีความงามโดดเด่นกว่าองค์อื่นใด เป็นพระพุทธรูปศิลานาคปรก

เมื่อกลับถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านก็นำความมาเล่าให้พระอภัย เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยม ซึ่งได้หารือกับผู้ใหญ่บ้านว่า จะนำพระพุทธรูปมาไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม แต่เนื่องจากพระอภัยนั้นสูงอายุ เดินทางไม่ไหว จึงได้เลิกล้มความตั้งใจ ความได้ล่วงรู้ไปถึงครูบาก๋วน เจ้าอาวาสวัดแม่ปะหลวง ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งท่านก็มีความศรัทธาจึงได้รวบรวมคนเดินทางไปอัญเชิญพระพุทธรูปปางนาคปรก ณ ถ้ำเจ้าราม เมื่อคณะเข้าสู่ภายในถ้ำเจ้าราม ได้พบพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งมีฦูงค้างคาวบินวนเวียนอยู่อย่างมากมาย ครูบาก๋วนจึงได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปออกจากถ้ำ และเดินทางรอนแรมมาด้วยความยากลำบาก ผ่านหนองปลาซิว (บ้านห้วยทราย) หนองส้มป่อย (บ้านน้ำดิบ) จนกระทั่งถึงอำเภอทุ่งเสลี่ยม

เมื่อชาวบ้านทุ่งเสลี่ยมรู้ข่าว จึงพากันจัดขบวนดนตรีพื้นเมือง และขบวนฟ้อนรำมาต้อนรับด้วยความปีติยินดีถ้วนหน้า จวบจนขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปนาคปรกเดินทางมาถึงวัดทุ่งเสลี่ยม ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น ท้องฟ้าที่แจ่มใส แสงแดดที่ร้อนแรงของเดือนเมษายนก็ถูกบดบังด้วยเมฆฝน เกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน เมื่อฝนหยุดตกก็มีฝูงค้างคาวบินมาวนเวียนเหนือบริเวณวัดทุ่งเสลี่ยมแล้วจึงบินกลับถ้ำเจ้าราม

ชาวบ้านได้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปศิลา จึงไม่ยอมให้ครูบาก๋วนอัญเชิญกลับไปยังอำเภอเถิน เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยมจึงได้หารือไปยังเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก ซึ่งเจ้าคณะอำเภอได้ตัดสินให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดทุ่งเสลี่ยม ชาวบ้านได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปนาคปรกนี้ว่า พระศิลา เพราะเห็นว่าแกะสลักมาจากหินทราย ครูบาก๋วนจึงได้จำลองพระศิลา กลับไปประดิษฐานไว้ที่วัดปะหลวง อำเภอเถิน จังหวัดลำปางด้วยใจศรัทธา

ครั้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนเข้ามาโจรกรรมพระศิลาไปจากพระอุโบสถใหญ่ วัดทุ่งเสลี่ยม พระศิลาจึงได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย

อีก 17 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2537 กลุ่มอนุรักษ์ชาวไทยในต่างแดนได้พบข่าวพระศิลาในประเทศอังกฤษจึงได้เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มติชนว่า ได้พบภาพพระพุทธรูปปางนาคปรก ในหนังสือประมวลศิลปวัตถุ เพื่อประมูลขายของสถาบันโซธบี (Sotheby Institute) ในกรุงลอนดอน หน้า 52

ความทราบถึงชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชาวบ้านจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และกรมศิลปากรเพื่อให้ทางราชการติดตามทวงถามพระพุทธรูปที่หายไป ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน กรมศิลปากรได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาหาแนวทางติดตามทวงคืนพระพุทธรูปศิลา

ต่อมาหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษได้แจ้งให้ไทยทราบว่า มีผู้ประมูลพระพุทธรูปศิลาไปและถูกเคลื่อนย้ายไปที่สหรัฐอเมริกาแล้วทนายความของผู้ครอบครองได้ติดต่อเข้ามาว่า ผู้ครอบครองไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่ได้มาจากการโจรกรรม แต่จะคืนให้ประเทศไทยโดยเรียกร้องค่าชดเชยเป็นเงิน สองแสนเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,200,000 บาท ในครั้งแรกทางรัฐบาลไทยพยายามจะติดตามทวงคืนพระพุทธรูปศิลาโดยอาศัยกรณีที่คล้ายคลึงกันกับการหายของรูปปั้นเทพีในประเทศอิตาลี ที่สามารถติดตามทวงคืนได้โดยดำเนินการผ่านทางกระทรวงยุติธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา ตามสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่เมื่อคณะผู้แทนไทย นำโดยศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจเดินทางไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ทางหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา(เอฟ บี ไอ) ได้แจ้งให้ทราบว่า การติดตามเรื่องนี้มิใช่คดีอาญา จึงอยู่นอกเหนืออำนาจของเอฟบีไอ รวมถึงการยื่นฟ้องตามสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็ไม่สามารถกระทำได้

ในที่สุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 คณะกรรมการติดตามพระพุทธรูปศิลา นำโดยร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้นได้เดินทางไปตรวจสอบพระพุทธรูปตามรอยตำหนิ และมอบค่าชดเชยรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเป็นจำนวนเงินสองแสนหนึ่งพันเหรียญสหรัฐ ซึ่งนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นชอบให้การสนับสนุนค่าชดเชยนำพระพุทธรูปล้ำค่าของไทยกลับคืนมา

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อศิลากลับถึงประเทศไทย ณ สนามบินดอนเมือง มีชาวทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยได้เหมารถบัสจำนวนกว่า 10 คัน มารอรับองค์หลวงพ่อศิลา ภาพมหัศจรรย์ที่ปรากฏ คือ มีค้างคาวบินวนเวียนในสนามบินดอนเมือง ทั้งทั้งที่ความสว่างไสวของไฟสปอต์ไลท์ในสนามบินดอนเมืองนั้นไม่แพ้แสงแดดเวลากลางวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานหลายคนได้ยืนยันว่า เท่าที่ทำงานมาหลายสิบปีไม่เคยเห็นเช่นนี้มาก่อน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะดำเนินการอัญเชิญหลวงพ่อศิลา นำโดยร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ และผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ นำโดยนายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ นายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าเฝ้าเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายหลวงพ่อศิลา เนื่องในปีกาญจนาภิเษก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และรับพระราชทานคืน พร้อมทั้งอัญเชิญกลับไปประดิษฐาน ณ วัดทุ่งเสลี่ยมดังเดิมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

ชาวทุ่งเสลี่ยมจึงได้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อศิลาเป็นประจำทุกปีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปัจจุบันหลวงพ่อศิลาประดิษฐานอยู่ในมณฑปวิหารวัดทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย โดยมีประชาชนจากทั่วประเทศเดินทางมากราบไหว้ด้วยความศรัทธาเป็นประจำตลอด


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)








พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)

หลวงพ่อโต พระประธานในพระวิหาร
วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ
สุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์
มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์
สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากา
แตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมา
นมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเล
ไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระ
ชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46
เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปาง
ปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูป
ขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12

ตรงข้ามวิหารวัดมีร้านขายสินค้าที่ระลึกพื้นเมืองหลายร้านให้แวะเลือกซื้อ ด้านหลังวัดมี “คุ้มขุนช้าง” ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามบทพรรณนาเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นฉากภาพวาดตัวละครขุนช้างสำหรับให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเป็นที่ระลึก บนเรือนแต่ละห้องมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีตู้จัดแสดงภาชนะเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นฉากกั้นหรือถ้วยโถโอชามเก่าแก่แบบต่างๆ



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อวัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี

"หลวงพ่อวัดมะนาว" พระพุทธรูปใหญ่คู่เมืองสุพรรณบุรี ประดิษฐาน ณ วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

หลวงพ่อวัดมะนาวมีพุทธศิลปะที่ไม่เหมือนใคร ด้วยผู้จัดสร้างตามจินตนาการ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

เป็นวัดที่สร้างจากไม้เป็นทรงไทยหมู่ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อายุไม่น้อยกว่า 140-150 ปี

วัดมะนาวเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักสะสมนิยมพระเครื่องและเซียนพระทั่วไป เนื่องจากชื่อของหลวงพ่อโบ้ย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี ผู้มากด้วยเมตตาธรรม มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลังอาคมที่แก่กล้า นามของท่านจึงขจรขจายไปไกลทั่วภาคกลาง

ทั้งนี้ หลังหลวงพ่อโบ้ยมรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2508 วัดมะนาวได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อโบ้ย เมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นรุ่น 102 ปี เพื่อเฉลิมฉลองหลวงพ่อโบ้ยอายุครบ 102 ปี

เนื้อองค์หลวงพ่อวัดมะนาวมีการสร้างจากปูนซีเมนต์จากต่างประเทศในสมัยนั้น ผสมมวลสารชนิดต่างๆ เข้าไป และในองค์หลวงพ่อวัดมะนาวยังมีพระเครื่องจำนวนมากมายอยู่ด้านในองค์และใต้ฐาน

หลวงพ่อวัดมะนาวมีความสูง 6 เมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร มีสีทองทั่วองค์พระพุทธรูป ซึ่งเนื้อองค์พระมีความแข็งแรงมาก

ชาวบ้านเล่ากันว่า มีโจรมาพยา ยามขุดเพื่อจะเอาพระในหลวงพ่อวัดมะนาว แต่ไม่สามารถขุดและเจาะเข้าไปได้ และประดิษฐานอยู่ที่บริเวณหน้าวัดกลางแจ้ง ซึ่งมีการสร้างพุทธกุฏิ กว้าง 12 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างด้วยไม้สักเป็นฝาทรงไทย ไม้ประดู่ทำพื้น และไม้ตะเคียนทำโครงสร้างครอบหลวงพ่อวัดมะนาวไว้ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าสักการะหลวงพ่อวัดมะนาว ดำเนินการสร้างเมื่อปี 2549 สร้างเสร็จเมื่อปลายปี 2551 ใช้เวลาในการสร้าง 1 ปี 6 เดือน ด้วยงบประมาณกว่า 12 ล้านบาท และมีการเปิดให้ประชาชนเดินทางเข้ากราบไหว้ได้แล้วในขณะนี้

สำหรับหลวงพ่อวัดมะนาวชาวบ้านเชื่อถือกันว่า หญิงสาวสตรีที่มีครรภ์คนใดได้ดื่มกินหรืออาบน้ำมนต์หลวงพ่อวัดมะนาว จะทำให้คลอดบุตรง่าย ปลอดภัยทั้งแม่และบุตร เด็กที่คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เลี้ยงง่าย ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน

ชาวบ้านเชื่อกันว่า ผู้ใดเดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อวัดมะนาวแล้วบ้านเรือนที่อาศัยจะไม่เกิดไฟไหม้อย่างเด็ดขาด บางรายขอให้การงานก้าวหน้า ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเมื่อสมประสงค์ดังใจหมายจะมีการนำภาพยนตร์หนังกลางแปลง ลิเก จัดหมากพลู ขนมต้มขาว ต้มแดง มาถวาย เพื่อแก้บน

ส่วนการเดินทางไปที่วัดมะนาว ให้เดินทางตามถนนสายสุพรรณบุรี-เก้าห้อง ผ่านบ่อนไก่ทับตีเหล็ก มองด้านซ้ายมือจะเห็นป้ายของวัดมะนาวอย่างเด่นชัด เมื่อขับรถเข้าไปจะพบมะนาวผลขนาดใหญ่สีเขียวทำจากปูน ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ตรงทางเข้าที่ผลมะนาวยังสามารถหมุนได้เอง มีข้อความเขียนไว้ด้านข้างผลว่า "มะนาวกลมเอง" และมีนิราศสุนทรภู่ 2384 เขียนไว้ที่ด้านล่างของผลมะนาวว่า "ถึงหน้าท่าน้ำวัด มนาวหวาน ฤาเลื่องเบื้องบูราณ ร่ำพร้อง หวานอื่นคลื่นไสร้นาน นักเบื่อเหลือแม่ หวานแต่น้ำคำน้อง เสนาะน้ำคำหวาน"








พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด


วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี


วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อยู่ตำบลเวียง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๔๑ และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๑๑ เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ ๑๓๗ องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง ๔ ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐ ๗๗๔๓ ๑๐๙๐, ๐ ๗๗๔๓ ๑๔๐๒

- พระบรมธาตุไชยา

พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ เจดีย์พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ถ้ำคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

- ที่ตั้ง

พระบรมธาตุไชยาอยู่ในวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดโบราณของจังหวัด ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟทางตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร มีถนนรักษ์นรกิจตัดผ่านหน้าวัด

- ข้อมูลทั่วไป

จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยาได้มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่า ครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดียสองคนชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึง เมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นเสร็จก็ตัดมือตัดเท้า เสีย เพื่อมิให้ปะหมอไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน และตึงรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก

เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยาสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

หลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า 1200 ปี จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของ เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกอง และผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยาแล้วก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียว ในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่ บนฐาน สี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตร ฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะ ตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด บริเวณโดยรอบ ฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำพุ ขึ้นมา ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด ได้ใช้ปูนซีเมนต์ ปิดตาน้ำเสีย

โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก เปิดมีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุข อีกสามด้าน ทึบทั้งหมด ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น 3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม 24 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอ ระฆัง ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมาก รวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์ และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์

อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์ ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอ



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
พระพุทธรูปศิลาแลงสมัยศรีวิชัย และเจดีย์พระบรมธาตุไชยา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
พระพุทธรูปในระเบียงวิหารคด

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
พระเจดีย์ บรมธาตุไชยา
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
พระเจดีย์ บรมธาตุไชยา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
ลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูองค์พระบรมธาตุไชยา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๕)
ซุ้มประตูทางเข้าวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร




หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ออนไลน์
คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ โดย เสถียร ท้วมจันทร์
วันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6828
http://www.dhammathai.org/watthai/south/watphraboromthatchaiya.php
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35