พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง
วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ก่อนจะมาเป็นวัด มัชฌิมาวาส วัดมัชฌิมาวาสเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่า"วัดโนนหมากแข้ง"แต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่า

เป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมาว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือ คร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบัน พระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวอุดรฯและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชา กันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา


"วัดมัชฌิมาวาส" เดิมชื่อ "วัดโนนหมากแข้ง" โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนโพนพิไสย อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหลายแห่ง คือ ใกล้ศาลจังหวัดอุดรธานี โดยห่างจากศาลจังหวัดอุดรธานทีเพียง 40 เมตรเท่านั้น ใกล้กับสถานีกาชาดที่ ๙ และสาธารณสุขจังหวัด ประมาณ 30 เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 120 เมตร ด้านหลังติดกับโรงเรียนเทคนิคอุดรธานี โดยห่างกันเพียง 30 เมตร ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองอุดรธานี ประมาณ 250 เมตร และตั้งอยู่ในย่านกลางของคุ้มต่าง ๆ คือ คุ้มบ้านห้วย คุ้มบ้านโนน คุ้มหมากแข้ง คุ้มทุ่งสว่าง และคุ้มบ้านคอกวัว

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวน ได้ทรงสร้างวัดโนนหมากแข้ง (เคยเป็นวัดร้าง) แล้วมีภิกษุจำพรรษาอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมัชฌิมาวาส เมื่อราว พ.ศ. 2436 พร้อมกับการสร้าง เมืองอุดรธานีขึ้น วัดมัชฌิมาวาสจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวัดที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอุดรฯจน ตราบเท่าทุกวันนี้

- หลวงพ่อนาค

หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อุดรธานี พบในวัดร้างโบราณที่บ้านโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้งและละแวกใกล้เคียงจัดให้มีงานสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีสืบมา
ในรัชกาลที่ 5 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ โปรดให้สร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่บริเวณวัดร้างนี้ แล้วอันเชิญหลวงพ่อนาคประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2437 ต่อมาในพุทธศักราช 2494 พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายใน

หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อน นำมาประกอบกันเป็นองค์พระประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้ง และบ้านใกล้เคียงนับถือว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐาน มีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี
ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้ จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น
ต่อมาทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่า และอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัด จะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส
หลวงพ่อนาคองค์เดิมเป็นพุทธรูปปางนาคปรกทำจากหินสีขาว หลังจากบูรณะแล้ว ชาวอุดรที่เคารพศรัทธา สามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๔ เซนติ เมตร สูง ๒๖๐ เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง ๑๔๙ เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)






พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
วัดสังกัสรัตนคีรี บ้านวังยาง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี


“วัดสังกัสรัตนคีรี” เป็นวัดที่เก่าแก่ของจังหวัดอุทัยธานี
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๕ บ้านวังยาง หมู่ที่ ๓ ต.น้ำซึม เขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี
อ.เมือง จ.อุทัยธานี เชิงเขาแก้วหรือเขาสะแกกรัง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๓ เดิมเรียกชื่อว่า “วัดเขาสะแกกรัง”
ซึ่ง พระสุนทรมุนี (ใจ คงฺคสโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ณ บริเวณเชิงเขาแก้วหรือเขาสะแกกรัง

วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นที่ตั้งของ วิหารพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
โดยวิหารแห่งนี้ได้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐
ด้านหน้าและด้านข้างของตัววิหาร เป็นทางขึ้นตกแต่งด้วยลายกระหนก
ส่วนบานประตูจำหลักเป็นภาพพุทธประวัติอย่างสวยงาม
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวอุทัยธานี

ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๓๕-๒๓๔๒ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้นำพระพุทธรูปที่ชำรุดไปซ่อม แล้วนำไปประดิษฐานไว้ยังหัวเมืองต่างๆ
จ.อุทัยธานีได้รับมา ๓ องค์ และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์

“พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์” หรือ “หลวงพ่อมงคล” วัดสังกัสรัตนคีรี
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าลิไท เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก หรือ ๑๕๐ เซนติเมตร ศิลปะสมัยสุโขทัย

ยุคเดียวกับ “พระพุทธชินราช” วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย
ในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๘๒๑-๑๘๖๐
ฝีมือช่างสุโขทัยยุค ๒ มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์
เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาประดิษฐานไว้ที่เมืองอุทัยธานี

เดิมประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าพระประธานในวิหาร วัดขวิด
บ้านสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ปัจจุบันมีอายุกว่า ๖๐๐-๗๐๐ ปี
ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัยมาทางแม่น้ำสะแกกรัง มาประดิษฐาน ณ วัดขวิด
โดยอัญเชิญขึ้นแพมาพร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมและชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๓๕-๒๓๔๒ สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับถึง ๓ องค์คือ
พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระโพธิ์มงคล และพระที่วัดหนองแกมาจากสุโขทัย
แล้วได้นำไปขึ้นที่ท่าแพ ใกล้ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี

พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดขวิด
ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ราวปีพุทธศักราช ๒๓๔๒-๒๓๔๕


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
วิหารพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐาน “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”


ครั้นพุทธศักราช ๒๔๗๑ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ ในขณะนั้น ท่านเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี
ได้เดินทางมาตรวจคณะสงฆ์และวัดวาอารามที่จังหวัดอุทัยธานี
ได้พบเห็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่มีพุทธลักษณะอันงดงามมาก
จึงมีความเลื่อมใสและศรัทธาเป็นอย่างมาก เมื่อได้กราบนมัสการสักการะแล้ว
จึงดำริให้ พระราชอุทัยกวี (พระมหาพุฒ สุทตฺโต) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
(ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ดูแลรักษาพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ให้ดี

ครั้นถึงวันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๗๑
หลวงพ่อป๊อก หรือพระครูอุเทศธรรมวิจัย
เจ้าอาวาสวัดอุโปสถาราม
พระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในจังหวัด
ได้เป็นหัวหน้าคณะร่วมกันประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญ
หลวงพ่อพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์จาก วัดขวิด มาประดิษฐาน ณ วัดสังกัสรัตนคีรี

บริเวณตรงข้ามกับ วิหารพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์
เป็น บันไดขึ้นสู่ยอดเขาแก้ว (เขาสะแกกรัง) จำนวน ๔๔๙ ขั้น
เมื่อเดินถึงยอดเขาแก้ว (เขาสะแกกรัง) จะพบ ระฆังสำริดขนาดใหญ่
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒ เมตร สูง ๑.๔๑ เมตร น้ำหนัก ๒ ตัน
ซึ่งพระปลัดใจและชาวอุทัยธานี ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓
โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์อุปถัมภ์
แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานบนยอดเขาสะแกกรัง
ผู้ที่เดินทางมาที่วัด ก่อนขึ้นไปบนยอดเขาจะต้องตีระฆังก่อนเป็นอันดับแรก

ถัดมาเป็นที่ตั้งของ มณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ เดิมสร้างขึ้นด้วยไม้ ต่อมาถูกไฟป่าไหม้
ชาวอุทัยธานีจึงได้ร่วมกันบริจาคปัจจัยสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเดิม
นับแต่การเริ่มก่อสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ถึง พ.ศ.๒๕๑๑
ใช้เวลาประมาณ ๑๔ ปีจึงแล้วเสร็จ องค์มณฑปมีส่วนกว้าง ๑๐ เมตร
และส่วนสูงนับแต่พื้นดินถึงยอดสุด ๓๕ เมตร สี่เหลี่ยมจัตุรัส


ทั้งนี้ โดยมี พระราชอุทัยกวี (พระมหาพุฒ สุทตฺโต) เป็นประธานอำนวยการ
นายพล วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีในสมัยนั้น เป็นรองประธาน
นายประยุทธ พัวพัฒนกุล เป็นฝ่ายวิชาการ
พระครูอุดมธรรมภาณ (สม) เป็นประธานคุมการก่อสร้าง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
ให้ความอุปถัมภ์
ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง
ซึ่งได้อัญเชิญมาจากวัดใหม่จันทราราม ต.ใหม่จันทราราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
โดยเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนในท้องถิ่นเป็นอันมาก

ใกล้กันกับมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง
ยังมี วิหารพระพุทธรัตนมุนี สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดยขุนกอบกัยกิจ
เป็นอาคารตึกมีขนาดกว้าง ๓ วา ๑ ศอก ยาว ๖ วา สูง ๙ ศอก

ช่วงระหว่างมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลองกับวิหารพระพุทธรัตนมุนี
ได้ประดิษฐาน พระพุทธโชติปาลชนะมาร และพระสังกัจจายนะโชติปาละ
ต่อจากนั้นเป็น อาคารศาลารัชมังคลาภิเษก และศาลเจ้าแม่กวนอิม

ปัจจุบันนี้ ประชาชนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านไปมา
จะเข้าไปกราบไหว้สักการะขอพร “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”
เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้ชีวิตการงานรุ่งเรือง ไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปที่วัดสังกัสรัตนคีรี ขอให้สังเกตว่า
วัดตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้างในเขตเทศบาลเมือง
อยู่ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี ต้องจอดรถยนต์แถวตลาด
แล้วเดินเท้าข้ามสะพานไปอีกฝั่งของแม่น้ำสะแกกรัง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
บันไดขึ้นสู่ยอดเขาแก้ว (เขาสะแกกรัง) จำนวน ๔๔๙ ขั้น

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
“พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวอุทัยธานี

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
วิหารพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐาน “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์”







พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด


พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานภายในหอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี บนอาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ วัดคุ้งตะเภา
หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
ประดิษฐานภายในหอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี บนอาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ วัดคุ้งตะเภา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเต็ม พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
ชื่อสามัญ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์, หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์, หลวงพ่อสุโขทัย, หลวงพ่อสัมฤทธิ์
ประเภท พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์
ศิลปะ ปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย-เชียงแสนชั้นครู
(เชียงแสนแปลง หรือแบบท่านมหาสวน)


หมายเหตุ เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน
พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี หรือ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 2 ศอกเศษ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบอย่างสกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน ซึ่งเป็นแบบที่พบได้น้อยมากและหายากที่สุด
พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เดิมองค์พระถูกพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ ตัวองค์พระสำริดดังปรากฏในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยแรกก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 สกุลช่างเชียงแสนยุคปลายผสมสกุลช่างสุโขทัยยุคต้น หรือในช่วงยุครอยต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เป็นรัชสมัยระหว่างพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพญาลิไท มีอายุประมาณ 7-800 ปี มีประวัติความเป็นมาและอภินิหารที่น่าสนใจยิ่ง
หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ประดิษฐานอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมนั้นทางวัดไม่เปิดเผยสถานที่ประดิษฐาน และไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าสักการะได้ถึงองค์พระ เนื่องด้วยปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย โดยจะอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการได้ถึงตัวองค์พระเพียงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น
ปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภา ได้สร้างห้องตู้กระจกนิรภัย พร้อมทั้งติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จึงทำให้สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน โดยปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี บนอาคารศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติฯ วัดคุ้งตะเภา


ความสำคัญ

หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่เป็นที่เคารพนับถือ 1 ใน 2 องค์ ของตำบลคุ้งตะเภา และเป็นพระพุทธรูปโบราณสำคัญคู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 9 องค์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์[6] เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์" ที่อัญเชิญมาจากวัดราชบูรณะราชวรวิหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สำคัญ ๆ ของประเทศไทยหลายครั้ง และมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ เนื่องจากหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีประวัติความเป็นมาผ่านช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทยกว่า 800 ปี ล่วงเลยแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน

ศิลปะ

หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี จัดเป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยศิลปะสกุลสุโขทัย-เชียงแสนแปลง แบบท่านมหาสวน ปัจจุบันปรากฏเพียง 4 องค์ในประเทศไทย โดยแบ่งเป็นปางขัดสมาธิราบ 2 องค์ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร) และปางมารวิชัยอีก 2 องค์ คือองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี (วัดคุ้งตะเภา) และองค์หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)

-ประวัติ

แรกสร้างในสมัยเชียงแสน-สุโขทัย
หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ สร้างในสมัยก่อนตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อกว่า 800 ปีก่อน สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญของพระวิหารในวัดโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งยุคนั้น
เมื่อมีข้าศึกประชิดเมือง ชาวบ้านเกรงว่าหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีจะได้รับอันตราย จึงได้พอกปูนองค์หลวงพ่อไว้เพื่อกันภัยจากข้าศึก ต่อมาเมื่อเมืองพ่ายแก่ข้าศึก และเสื่อมความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งอาณาจักรลง ทำให้วัดที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อต้องมีอันร้างพระสงฆ์และผู้คน พร้อม ๆ กับ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ที่ข้าศึกไม่สนใจ เพราะเป็นพระพุทธรูปปูน (ที่ถูกหุ้มไว้) ไม่ใช่พระเนื้อโลหะอย่างที่ข้าศึกต้องการ องค์หลวงพ่อจึงถูกทิ้งร้างอย่างปลอดภัยอยู่กลางป่ามาตลอดช่วงสมัยอยุธยา
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระผู้ทรงอัญเชิญองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมาประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร
จวบจนยุคสมัยก้าวล่วงเข้าสู่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปซึ่งอยู่ตามหัวเมืองเก่าต่าง ๆ ทั้งที่เป็นพระปูน พระโลหะ ซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ จึงมีพระราชดำริให้ชะลอพระพุทธรูป ซึ่งถูกทอดทิ้งตามวัดร้างและสถานที่ต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาเขต อัญเชิญมารวบรวมไว้ในพระนคร เพื่อรออัญเชิญประดิษฐานไว้ในที่อันสมควรแก่การสักการบูชา โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า 1,248 องค์ ซึ่งพระพุทธรูปปูนปั้นหุ้มหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ก็ได้ถูกอัญเชิญลงมาในคราวเดียวกันนี้ ในการนั้น มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมมาประดิษฐานไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2344
ลุจุลศักราช 1855 เอกศก (พ.ศ. 2336) พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามวัดว่า "วัดราชบุรณราชวรวิหาร" ตามนามวัดราชบุรณะซึ่งเป็นวัดคู่เมืองราชธานีตลอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้มีพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย
ต่อมา ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถอนสีมาวัดเลียบเก่า แล้วสร้างพระอุโบสถและพระวิหารใหม่ พร้อมกับทำการสร้างพระระเบียงล้อมรอบพระอุโบสถ ภายในอัญเชิญพระพุทธรูปปูนเก่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองรวม 162 องค์ มาประดิษฐานไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ด้วย
รอดจากระเบิดสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่ 2)
เวลาล่วงเลยมากว่า 7 รัชสมัย จนถึงช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดราชบุรณะได้ถูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรทำลาย เนื่องจากใกล้กับวัดเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าวัดเลียบที่สร้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดสำคัญที่หมายสำหรับการทำลายของเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะเป็นที่ตั้งของแหล่งสาธารณูปโภคสำคัญของพระนคร


ภาพวัดราชบุรณราชวรวิหารในปี พ.ศ. 2475 (ปล่องโรงไฟฟ้าเลียบอยู่ด้านหลังวัด) ก่อนถูกทำลายหมดทั้งวัดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี พ.ศ. 2488 ในภาพจะสังเกตเห็นพระระเบียงคตรอบพระอุโบสถวัดราชบุรณะ สถานที่ ๆ เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและพระพุทธรูปโบราณทั้ง 162 องค์
โดยวัดราชบุรณะถูกระเบิดทำลายลงในเวลาประมาณ 13.15 น. ของวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2488 ทำให้พระอุโบสถ สังฆาราม พระวิหาร และ กุฏิเสนาสนะ เสียหายมาก คงเหลือแต่พระะปรางค์และพระระเบียงคตที่ประดิษฐานหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีเท่านั้นที่ไม่ถูกทำลาย แต่ด้วยความเสียหายอย่างหนักของวัดยากแก่การบูรณะให้มีสภาพดังเดิม คณะสังฆมนตรีและคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติว่าสมควรยุบเลิกวัดเสีย จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ทำการยุบเลิกวัดได้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488
เมื่อวัดราชบูรณะถูกยุบเลิก สังฆมนตรีได้ประกาศยุบวัดราชบุรณราชวรวิหารรวมไปเข้ากับวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และบรรดาทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ของวัดราชบุรณะที่เหลือรอดจากการถูกทำลายให้โอนไปเป็นสมบัติของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระสงฆ์และสามเณรวัดราชบุรณราชวรมหาวิหารเดิมให้เข้าถือสังกัดอยู่ในวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
เมื่อวัดราชบุรณราชวรมหาวิหารถูกยุบเลิกดังกล่าว กรมการศาสนาจึงได้อนุญาตให้วัดต่าง ๆ ในหัวเมือง อัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณที่พระระเบียงที่รอดจากการถูกทำลาย ไปประดิษฐานยังวัดของตนได้ตามแต่ประสงค์ ทำให้หลังจากสงครามสงบลงในปีเดียวกัน พระพุทธรูปเหล่านั้นจึงกระจายไปอยู่ตามวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคของประเทศ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)


อัญเชิญขึ้นมายังอุตรดิตถ์
อัญเชิญจากกรุงเทพมหานคร

วัดคุ้งตะเภา ซึ่งในสมัยนั้นกำลังทำการก่อสร้างอุโบสถ และยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำหรับเป็นพระประธานเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงได้แจ้งความจำนงขอรับพระพุทธรูปเก่าจากวัดราชบุรณราชวรวิหารมาองค์หนึ่ง กรมการศาสนาจึงได้ส่งพระพุทธรูปโบราณทั้งที่เป็นพระปูนพระสัมฤทธิ์ รวมทั้งองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีที่เคยประดิษฐานที่พระระเบียงคต รวมจำนวน 8 องค์ คู่กับรูปหล่อสัมฤทธิ์พระอัครสาวกที่เคยประดิษฐานเป็นพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ภายในวิหารซึ่งเป็นพระที่รอดจากการทำลายจากระเบิดสัมพันธมิตรในครั้งนั้นมาด้วย


สถานที่แม่น้ำน่านเต็มตลิ่งถึงหน้าวัดเป็นอัศจรรย์ เป็นเหตุให้สามารถอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีขึ้นแพยังฝั่งแม่น้ำหน้าวัดคุ้งตะเภาเดิมได้ (แม่น้ำน่านในสมัยนั้นอยู่ห่างจากตลิ่งวัดไปกว่า 1 กิโลเมตร)
พระพุทธรูปองค์อื่นที่อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน
การอัญเชิญพระจากวัดราชบุรณราชวรวิหารในครั้งนั้น วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ลงไปขอพระพุทธรูปจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร เท่าที่ทราบนามในปัจจุบันมีด้วยกันห้าวัดคือ วัดคุ้งตะเภา (อัญเชิญ หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี กลับมา) , วัดธรรมาธิปไตย (อัญเชิญ หลวงพ่อเชียงแสน กลับมา), วัดยางโทน (อัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธโคดมศรีศากยมุนีกลับมา), วัดดอนไชย อำเภอลับแล (อัญเชิญพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยกลับมา) [11] และวัดดงสระแก้ว (อัญเชิญ หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) กลับมา1) โดยตอนอัญเชิญพระพุทธรูปกลับมานั้น ได้มาเพียงพระปูนปั้นธรรมดา (วัดคุ้งตะเภาได้พระปูนลงรักดำสนิทมา) แต่ต่อมาพระปูนทั้งหมดก็ได้กะเทาะแตกออกเป็นพระโลหะสำริดและทองคำดังในปัจจุบัน
ประดิษฐาน ณ วัดธรรมาธิปไตย
สำหรับการเคลื่อนย้ายนั้น กรมการศาสนาได้ชะลอหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีและพระพุทธรูปอื่น ๆ ขึ้นมายังจังหวัดอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์ และอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่วัดธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นวัดของพระเดชพระคุณพระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้น โดยท่านได้ทำการจัดแบ่งถวายยังวัดต่าง ๆ ที่แจ้งความประสงค์มาโดยการเลือกบ้างจับสลากบ้าง พระปลัดป่วน ซึ่งยังเป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภาในครั้งนั้นจึงได้ส่งมัคนายกวัดคุ้งตะเภา 2 ท่าน คือทายกบุตร ดีจันทร์ และทายกอินทร์ รัตนมาโต มาที่วัดธรรมาธิปไตยเพื่อคัดเลือกและรับอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมายังวัดคุ้งตะเภา โดยได้รับถวายรูปหล่อพระอัครสาวกมาจำนวน 2 องค์เพื่อประดิษฐานคู่กับหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีด้วย (ปัจจุบันรูปพระอัครสาวกทั้งสองได้สูญหายไปนานแล้ว)
อัญเชิญสู่วัดคุ้งตะเภา-สำแดงปาฏิหาริย์
การเคลื่อนย้ายหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมายังวัดคุ้งตะเภาในครั้งนั้น ทายกทั้งสองได้ชวนคนวัดและชาวบ้านร่วมกันอัญเชิญมาลงที่ท่าอิฐไม่ไกลจากวัดธรรมาธิปไตย และทวนแพมาขึ้นฝั่งหน้าวัดคุ้งตะเภาโดยทางแม่น้ำน่านในช่วงสงกรานต์ปี พ.ศ. 2489 ในครั้งนั้นเล่ากันมาว่ามีน้ำหลากสูงเต็มตลิ่งผิดปกติ ทำให้ชาวบ้านสามารถอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีขึ้นฝั่งตรงหน้าวัดบริเวณต้นโพธิ์หน้าศาลาการเปรียญได้เป็นอัศจรรย์
ในช่วงแรก ชาวบ้านคุ้งตะเภาได้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ไว้เป็นพระประธานบนบนศาลาการเปรียญเปิดโล่งสี่ทิศ หรืออาคารศาลาการเปรียญหลังเก่าที่สร้างมาแต่ พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นศาสนสถานหลักของวัดในสมัยนั้นก่อนจะมีการสร้างอุโบสถเพื่อประดิษฐานในช่วงหลัง โดยผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบมาว่าหลังอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีมาประดิษฐานเป็นหลักชัยของวัดในปี พ.ศ. 2489 ได้มีฝนตกต้องตามฤดูกาลเสมอมา ชาวบ้านคุ้งตะเภาในช่วงนั้นหากินได้อุดมสมบูรณ์มากกว่าปกติ และต่างเชื่อกันว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณะ ในภายหลังจึงได้การขนานพระนามถวายองค์พระว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" ที่แปลว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่บันดาลความสุขอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จดังปรารถนามาให้ และด้วยพระพุทธลักษณะแบบเชียงแสน-สุโขทัย ทำให้ในช่วงหลังพระสงฆ์ในวัดเรียกกันคุ้นปากว่า "หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์" ที่มีความหมายถึงความสุขเช่นเดียวกัน

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)



องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานในตู้กระจกนิรภัย
ปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมนั้น ทางวัดเก็บรักษาไว้ที่ห้องลับของทางวัด ทำให้ปกติมิได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้านมัสการได้ถึงตัวองค์พระ เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย วัดคุ้งตะเภาจะอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการได้ถึงตัวองค์พระเพียงวันเดียวในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น โดยหากเป็นนอกช่วงเทศกาลสงกรานต์ ผู้ประสงค์สักการะถึงองค์พระต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภาอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากการพิจารณาของที่ประชุมพระสังฆาธิการและคณะกรรมการวัดคุ้งตะเภา ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้เข้าชมสักการะได้เฉพาะราย และจัดชุดเข้าสักการะได้เป็นคราว ๆ ไปเท่านั้น
แต่ในปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภาได้สร้างห้องตู้กระจกนิรภัย พร้อมทั้งติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จึงทำให้สามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน โดยปัจจุบันหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประสิทธิมงคล (อาคารทิศตะวันตก) บนอาคารศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติฯ วัดคุ้งตะเภา


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
สถานที่แม่น้ำน่านเต็มตลิ่งถึงหน้าวัดเป็นอัศจรรย์ เป็นเหตุให้สามารถอัญเชิญหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีขึ้นแพยังฝั่งแม่น้ำหน้าวัดคุ้งตะเภาเดิมได้ (แม่น้ำน่านในสมัยนั้นอยู่ห่างจากตลิ่งวัดไปกว่า 1 กิโลเมตร)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี เมื่อคราวอัญเชิญออกประดิษฐานชั่วคราวให้ประชาชนสักการบูชาในวันสงกรานต์ 2552

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
สมเด็จพระสังฆราชฯ มีพระเมตตาธิคุณประทานพระนามให้หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์ใหม่ เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองและเพื่อให้คล้องกับนามจังหวัดอุตรดิตถ์

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๘)
องค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนีประดิษฐานในตู้กระจกนิรภัย


คำกล่าวสักการบูชาหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

คาถาบูชาหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
“อิมัสสะมิง เภตะระนะทีตีระอาราเม
อัคคะสิทธัตถะโลหะมะยัง สุโขทัยยัง นาม พุทธะปะฏิมัง
สิระสา นะมามิหัง
อิมิสสานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ”

คำแปลคาถาบูชาหลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี

“ข้าพเจ้า ขอบูชาองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
ด้วยบุญญานุภาพ แห่งองค์หลวงพ่อสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี
ขอความร่มเย็นเป็นสุข และความสำเร็จสัมฤทธิ์ดังปรารถนาทั้งมวล
จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญฯ”







เครดิต : http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=73
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35