กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มังคะ:หล่ำล่ำ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    มังคะ:หล่ำล่ำ

    มังคะ:หล่ำล่ำ

    ** มังคะหล่ำล่ำ **

    จุดเด่นที่น่าสนใจ จะออกดอกและติดผลตั้งแต่โคนต้นจากพื้นดินขึ้นไป โดยจะออกดอกและติดผลตลอดทั้งปี ฉะนั้นในต้นหนึ่งๆจะมีผลผลิตอยู่หลายๆ รุ่นด้วยกัน เช่น ออกดอก ผลอ่อน ผลแก่ และผลสุก

    ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย จะพบพรรณไม้ผลพื้นเมืองหลายๆ ชนิดที่น่ารู้และน่าสนใจ และในปัจจุบันนี้ไม้ผลพื้นเมืองเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วๆ ไป กันมากขึ้น เนื่องจากกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคตลอดจนสามารถที่จะจำหน่ายได้ในราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงจากในอดีตที่ผ่านมาซึ่งไม้ผลเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีราคา

    ไม้ผลพื้นเมืองหลายๆ ชนิดเกษตรกรจึงเริ่มพัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้ากันแล้ว ผู้เขียนได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของ “หล่ำล่ำ” ซึ่งเป็นไม้ผลพื้นเมืองของภาคใต้ที่ไม่ค่อยมีใครจะรู้จักกันอย่างแพร่หลายนักนอกจากในท้องถิ่นที่มีไม้ผลพื้นเมืองชนิดนี้ขึ้นอยู่เป็นไม้ผลที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากป่าแล้วก็ว่าได้ และใคร่ขอถือโอกาสแนะนำให้รู้จักกับไม้ผลพื้นเมืองชนิดนี้ เพื่อที่จะได้พัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้าเช่นเดียวกับไม้ผลพื้นเมืองอื่นๆ หรือได้ช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ต่อไป

    ลักษณะทั่วไป

    เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่มีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “มังคะ” แต่เกษตรกรในจังหวัดพังงานิยมเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “หล่ำล่ำ” จัดเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 3-4 เมตร มีรัศมีทรงพุ่มขนาดเล็กประมาณ 2-3 เมตร ลักษณะของเปลือกตามลำต้นจะมีสีน้ำตาลแกมดำ ใบจะมีลักษณะคล้ายๆ กับใบของต้นอโศกอินเดีย ใบมังคะจะสั้นกว่าและเส้นกลางใบจะไม่อยู่ตรงกึ่งกลางของใบ แต่เส้นกลางใบจะอยู่ชิดขอบใบด้านใดด้านหนึ่ง ออกใบเป็นคู่ ดอกมีสีขาว เมื่อดอกตูมจะมีลักษณะคล้ายดอกมะลิ ออกดอกเป็นกลุ่ม ส่วนของผลมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม ผิวของผลขรุขระคล้ายกับผิวหนังของสัตว์จำพวกคางคก ผลที่ยังไม่สุกมีสีเขียวอมน้ำตาล เมื่อผลสุกจะค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในผลหนึ่งๆ จะมีเพียงหนึ่งเมล็ดเท่านั้น เมล็ดมีลักษณะที่แบน มีเยื่อหุ้มสีน้ำตาล ชั้นถัดไปมีสีเขียว

    ถิ่นที่พบ

    จะพบหล่ำล่ำในป่าทางภาคใต้ของประเทศแต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันมีพบอยู่น้อยมาก จนใกล้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว ในภาคใต้ฝั่งอันดามันมีพบอยู่บ้างในจังหวัดพังงา

    การขยายพันธุ์

    ในการขยายพันธุ์หล่ำล่ำให้ได้ผลดี ควรใช้วิธีการเพาะเมล็ดโดยเก็บผลที่สุกเต็มที่แล้วเพื่อเอาเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์ จึงจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกดี สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด มีวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดไม้ผลโดยทั่วๆ ไป

    การใช้ประโยชน์

    เป็นไม้ผลที่นิยมนำมาบริโภคเป็นผลไม้สด เช่นเดียวกับไม้ผลโดยทั่ว ๆ ไป ผลที่สุกรับประทานได้จะต้องมีสีเหลือง รสชาติอร่อย หวานอมเปรี้ยวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

    การปลูก

    การปลูกไม้ผลชนิดนี้ยังไม่มีการพัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้าในปัจจุบัน แต่พบว่ามีปลูกกันอยู่บ้างเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนที่เหลือก็มีผลผลิตออกจำหน่ายบ้างในตลาดท้องถิ่น หรือมีปลูกอยู่แล้วตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มรำไร หรือพื้นที่โล่งแจ้งก็เจริญเติบโตได้ดี เป็นไม้ผลที่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจน่าจะได้พัฒนามาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้าให้มากขึ้น เช่นเดียวกับไม้ผลพื้นเมืองชนิดอื่นๆ

    การออกดอกและติดผล

    หล่ำล่ำจะออกดอกและติดผลตามลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นกลุ่ม จุดเด่นที่น่าสนใจ จะออกดอกและติดผลตั้งแต่โคนต้นจากพื้นดินขึ้นไป โดยจะออกดอกและติดผลตลอดทั้งปี ฉะนั้นในต้นหนึ่งๆ จะมีผลผลิตอยู่หลาย ๆ รุ่นด้วยกัน เช่น ออกดอก ผลอ่อน ผลแก่ และผลสุก

    การเก็บเกี่ยวและการตลาด

    ในการเก็บเกี่ยวควรใช้มีดหรือกรรไกรตัดตรงบริเวณขั้วผลให้ชิดกับลำต้น ผลที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยวจะต้องเป็นผลที่สุกแล้ว โดยสังเกตได้จากผิวของผลจะขรุขระน้อยลง เมื่อผลสุกใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ เนื่องมาจากผลของหล่ำล่ำจะขยายและเต่งขึ้นนั่นเอง ผลจะมีสีเหลือง แต่จะไม่เรียบ

    ในเรื่องของการตลาด จะมีจำหน่ายอยู่บ้างในตลาดท้องถิ่นแต่น้อยมาก เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่นิยมของผู้บริโภค ในอนาคตคาดว่าคงมีผู้ให้ความสนใจพัฒนาเป็นระบบการปลูกในเชิงการค้ากันมากขึ้น

    จะเห็นได้ว่าหล่ำล่ำเป็นไม้ผลพื้นเมืองของภาคใต้อีกชนิดหนึ่งที่น่ารู้และน่าสนใจ ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ หรืออาจช่วยกันปลูกเอาไว้บริเวณบ้านหรือสวน ก็สามารถที่จะมีผลไม้ชนิดนี้ไว้บริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปีที่เหลืองจากการบริโภคก็อาจจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวหรือไม่ก็ปลูกเป็นไม้ประดับยืนต้นไปด้วยในตัวและที่สำคัญเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ไม้ผลพื้นเมืองชนิดนี้ เอาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปอีกด้วย









    เครดิต ; http://www.thaikasetsart.com/มังคะหล่ำล่ำไม้ผลพื้นเมืองใต้
    คำนวณ แก้วช่วง
    วิทยาลัยเกษตรกรรมพังงา
    http://www.baanmaha.com/community

  2. #2
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่น่าสนใจค่ะคุณลุงใหญ่

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •