ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)


" ฟอร์มัลดีไฮด์ "

ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
เป็นสารที่พบได้ง่ายในสิ่งแวดล้อมในอาคาร ไม่ว่าในบ้านหรือที่ทำงาน แหล่งสำคัญได้แก่ โฟม พลาสติก (ชนิดยูเรีย ฟอร์มัลดีไฮด์) ที่ใช้ฉนวน ในไม้อัดกาว (particle board) ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์สำนักงานในปัจจุบัน ในกระดาษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระดาษเช็ดมือ-เช็ดหน้า กระดาษห้องน้ำรวมทั้งถุงบรรจุของ กระดาษไข (ที่ใช้รองอาหาร) สารทำความสะอาดในบ้านหลายตัวมีฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารประกอบ ผลิตภัณฑ์ ในอาคารหลายชนิดใช้ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์เรซิน เช่น วัสดุเคลือบผิวพื้นกระดาษปิดผนัง แผ่นหลัง ของพรม เสื้อผ้าอัดกลีบถาวร พวกนี้ถูกเคลือบหรือพ่นด้วยยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์เรซินทั้งนั้น แหล่งอื่นๆ ที่อาจปล่อยสารฟอร์มัลดีไฮด์ ได้แก่ เชื้อเพลิงหุงต้ม เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันก๊าด และแม้แต่ควันบุหรี่ก็มีสารนี้เป็นส่วนประกอบ

ฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในดวงตา จมูก และลำคอ ยิ่งไปกว่านั้นฟอร์มัลดีไฮด์ยังเป็นสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้ง่าย สามารถรวมตัวกับโปรตีนได้ง่ายมาก จึงทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง แต่ก่อนที่รายงานเพียงว่าการสัมผัสกับฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดการระคายเคืองตา และปวดศีรษะการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าโรคร้ายแรงที่เกิดจากฟอร์มัลดีไฮด์ คือ หอบหืด นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาของ Environmental Protection Agency (EPA) ของอเมริกาได้ศึกษาวิจัย ซึ่งได้ผลสรุปว่า
ฟอร์มัลดีไฮด์น่าจะเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งลำคอของผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเคลื่อนที่ (mobile homes) ซึ่งคือรถตู้ที่คนตะวันตก ใช้เป็นบ้านอยู่อาศัยและเปลี่ยนที่จอดไปเรื่อย ๆ






ฟอร์มาลดีไฮด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟอร์มาลดีไฮด์ (อังกฤษ: formaldehyde) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟอร์มาลีน สูตรทางเคมี คือ CH2O เป็นสารกันเสียที่มีส่วนผสมในเครื่องสำอาง แชมพู น้ำยาเคลือบเล็บ น้ำยาบ้วนปาก ยาระงับกลิ่นผ้า นอกจากนั้นแล้ว สารฟอร์มาลดีไฮด์พบมากในที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสารที่อยู่ในกาวและสารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้อัด และไม้แปรรูปอื่นๆ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงสีทาบ้านบางชนิด

อาการที่พบเมื่อได้รับสารละลายหรือสารระเหย

ถ้าบริโภคสารนี้โดยตรงจะเกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตในที่สุด
ถ้าได้รับสารระเหยในจำนวนน้อย อาจเกิดอาการระคายเคืองได้ เช่นแสบตาหรือแสบจมูก แต่ในระยะยาวจะทำให้เกิดผลเสียกับระบบร่างกายต่างๆ หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้
ฟอร์มาลดีไฮด์ มีพิษทำให้เสียชีวิตได้



การกำจัด

เนื่องจากสูตรทางเคมีของสารฟอร์มาลดีไฮด์คือ CH2O จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยี Air Detoxify ขึ้นมาเพื่อย่อยสลายฟอร์มาลดีไฮด์ โดยแยกตัวสาร ดูดซับคาร์บอนและย่อยส่วนที่เหลือออกมาเป็นไอน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ถูกทำไปใช้ในสีทาบ้านบางชนิด เพื่อกำจัดสารฟอร์มาลดีไฮด์ในที่อยู่อาศัย (อาทิเช่น สี Nippon AirCare หรือ TOA Supershield Duraclean Oxygen Plus)







ความปลอดภัยด้านอาหาร

FOOD SAFETY



ฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formalin or Formaldehyde)



"ฟอร์มาลิน" คือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดอง..พ และยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นยับ เป็นต้น
สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเรียกทั่วไปว่า "ฟอร์มาลิน" หมายถึง สารละลายที่ประกอบด้วยแก๊ส ฟอร์มาลดีไฮด์
ประมาณร้อยละ 37 โดยน้ำหนักในน้ำ และมี เมทานอล ปนอยู่ด้วยประมาณ 10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์
ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติก
สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ในทางการแพทย์ใช้ในความเข้มข้นต่าง ๆ กันตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้เป็นหลัก เช่น ใช้ฆ่าเชื้อโรค (germicide) และฆ่าเชื้อรา (fungicide) และเป็นน้ำยา
ดอง..พ เป็นต้น นอกจากนี้ในความเข้มข้นประมาณร้อยละ 0.004 จะช่วยป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี
หรือกันการเน่าเสียในพวกข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญญพืชหลังการเก็บเกี่ยว
อันตรายจากฟอร์มาลิน
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จำหน่ายฟอร์มาลีน สถานที่เก็บรักษา จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์
ที่ระเหยขึ้นมาเมื่ออยู่ในที่จำกัดอาจจะระเบิดได้ และยังมีผลกระทบต่อคนงานที่ต้องสูดดมก๊าซนี้เข้าสู่ร่างกายเมื่อเวลา
นานขึ้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้ คนงานที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการขนย้ายสารเคมีประเภทนี้ ควรมีถุงมือ แว่นตา
ป้องกัน และมีผ้าปิดจมูกตลอดเวลาที่ทำงาน ถ้าสัมผัสฟอร์มาลีนแล้วเกิดอาการคันหรือระจายเคืองขึ้น ให้ล้างด้วยสบู่
หรือเมื่ออาการมากให้ไปพบแพทย์
แต่ก็ยังมีบางคนนำฟอร์มาลินไปใช้ในทางที่ผิดคือ ผสมในอาหาร โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักสดชนิดต่าง ๆ อาหารทะเลสดและเนื้อสัตว์ เป็นต้น
การบริโภคสารละลายนี้โดยตรง จะเกิดอาการเป็นพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ ปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด ถ้าบริโภคประมาณ 60-90 ลบ.ซม. จะเป็นผลให้การทำงานของตับ
ไต หัวใจ และสมองเสื่อมลง และก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ สารละลายของ
ฟอร์มาลินที่มีความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ระหว่าง 150-5,000 มก./กก. เมื่อสัมผัสจะทำให้เกิดอาการ
ระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือถ้าบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์อยู่ในระดับนี้ บางคนจะเกิดอาการ
ระคายเคืองและปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ ผู้ที่มีความไวต่อสารนี้จะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด
แน่นหน้าอก การสัมผัสกับสารละลายฟอร์มาลีนที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2-10 เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนัง
อักเสบ พอง และเป็นตุ่มคัน กรณีสูดดมหรือสัมผัสก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระดับประมาณ 2-3 มก./กก.
จะทำให้เกิดระคายเคืองที่ตา จมูก และคอ และที่ระดับประมาณ 10-20 มก./กก. จะทำให้เกิดอาการปวดแสบ
ปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ พร้อมกับมีอาการไอ เมื่อนำสารละลายฟอร์มาลีนมา ทดลองกับหนู
ทดลอง (mice) พบว่าเมื่อให้สารละลายนี้เข้าไปทางปากในปริมาณ 800 มก./กก. หนูทดลองร้อยละ 50 จะตายไป
สารฟอร์มาลินจะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้
ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์
และถ้าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้อง
โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่านอกจากจะเป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคแล้ว ถ้านำมาใช้ในทางที่ผิดก็จะมีโทษตามกฎหมายด้วย
ส่วนผู้บริโภคที่สงสัยว่าอาหารที่บริโภคนั้นมีฟอร์มาลีน ไม่ควรซื้อมารับประทาน
เนื่องจากฟอร์มาลินเป็นสารที่มีกลิ่นฉุนมาก หากนำไปใช้ในอาหาร เช่น ผักสดต่าง ๆ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผู้บริโภค
จะได้กลิ่นฉุนแน่นอน ก่อนประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน เพื่อความมั่นใจและรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัย










เครดิต : http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/formalin.htm
http://www.facebook.com/?ref=tn_tnmn
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=124