กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: สมุนไพรแก้โรคเริม

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    สมุนไพรแก้โรคเริม

    สมุนไพรแก้โรคเริม

    สมุนไพรแก้โรคเริม

    ขิง สมุนไพรแก้โรคเริม

    ทุกคนรู้จักขิงเป็นอย่างดี แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าขิงมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ซึ่งขิงนอกจากจะเป็นอาหารได้แล้ว ในทางสมุนไพร ยังถูกนไปใช้มีสรรพคุณหลายอย่าง โดยสูตรแก้โรคเริม ให้เอาเหง้าหรือหัวของขิงแก่ ใหญ่หรือเล็กตามต้องการหรือหาได้ เผาไฟจนผิวนอกดำเป็นถ่าน ค่อย ๆ ใช้มีดขูดเบา ๆ เอาถ่านเป็นผงใส่ภาชนะรองไว้ เผาและขูดต่อเรื่อย ๆ จากนั้นนำเอาผงที่ขูดได้ไปผสมกับน้ำดีหมู ที่มีรสขมเหมือนกับดีวัว คนให้เข้ากันทาบริเวณที่เป็นโรคเริมวันละ 3 ครั้ง จะหายได้ ซึ่งสูตรดังกล่าวเป็นสูตรยากลางบ้านนิยมใช้ได้ผลมาแต่โบราณ


    ขิง หรือ ZINGIBER OFFICINALE ROSCOE

    อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEA

    ชื่อสามัญ GINGER

    มีชื่อเรียกอีกคือ ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี) และขิงเผือก (เชียงใหม่) ประโยชน์ เหง้า หรือหัว มีสารเป็นน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ GINGEROL, ZINGIBERONE เป็นสารที่ทำให้ขิงมีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่นและเพิ่มรสอาหารหวานคาว ใช้เตรียมเครื่องดื่ม สารที่ทำให้ขิงแก่มีรสเผ็ด ได้แก่ SHOGAOL, ZINGERONE ขิงแก่ ใช้ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ลดอาการเมารถเรือ และอาเจียน ขิงอ่อน ประกอบอาหารได้หลายอย่างทั้งคาวและหวาน


    เริม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    โรคเริม (อังกฤษ: Herpes simplex) โรคเริมเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ "Herpes simplex" ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำให้เกิดแผล (cold sore) ที่พบบริเวณริมฝีปาก ทั้งบนและล่าง หรือมุมปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และชนิดที่มักจะพบเริมบริเวณอวัยวะเพศ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ลักษณะอาการแบ่งได้เป็นหลายระยะ โดยจะเริ่มจากความรู้สึกคันหรือเจ็บยิบๆบริเวณที่จะเกิดแผล แล้วจะมีผื่น กลายเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใสซึ่งภายหลังจะรวมตัวกันอยู่บนผิวหนังประมาณ 1-2 วัน จากนั้นตุ่มน้ำใสนี้ จะแตกออก และตกสะเก็ดแต่บางรายอาจเป็นนานกว่านั้นเกือบถึง 1 สัปดาห์ ทั้งนี้เราไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเริมได้เด็ดขาด แต่เชื้อจะมีระยะพักตัว ซึ่งมักพักตัวอยู่ในเส้นประสาท และก่อให้เกิดตุ่มใสขึ้นอีกได้เสมอๆ ซึ่งขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง ความเครียดทางกายหรือจิตใจ ช่วงประจำเดือน เป็นต้น

    ชนิดของไวรัสเริม

    ในทางการแพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมเป็น 2 ชนิดคือ
    1. Herpes simplex virus type I : HSV-I มักทำให้กิดแผลบริเวณริมฝีปาก หรือ ในช่องปาก หรือบริเวณใดก็ได้เหนือสะดือ
    2. Herpes simplex virus type II : HSV-II ทำให้เกิดโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศของทั้งชายและหญิง
    ทั้งนี้ ไวรัสทั้งสองชนิดสามารถติดต่อในบริเวณที่ต่างจากปกติได้ เช่น HSV-I ก่อให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ

    การติดต่อ

    เริม ทั้ง 2 ชนิดนี้ ติดต่อกันได้ทางการสัมผัสโดยตรง เช่น การใช้แก้วน้ำร่วมกัน การจูบกันและติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโดยการสัมผัสสิ่งของที่ผู้มีเชื้อใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ช้อน เป็นต้น[2]

    การเกิดโรคซ้ำ

    อาการแผลของเริมนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากเชื้อไวรัสเริมนี้จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท (ganglion) และมักจะทำให้เป็นเริมซ้ำที่บริเวณเดิม หรือใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมเสมอ ปัจจัยที่ทำให้เป็นเริมซ้ำได้อีกมีดังนี้

    1. การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
    2. ความเครียด วิตกกังวล เช่น ทำงานหนัก ใกล้สอบ เป็นต้น
    3. ความเจ็บป่วย ช่วงที่สุขภาพอ่อนแอ ทรุดโทรม ไม่ค่อยสบาย จะกลับเป็นเริมได้อีก
    4. อากาศร้อน แสงแดด
    5. ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ระหว่างมีประจำเดือน

    ลักษณะของโรคเริม

    เมื่อ เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 6-8 วัน จะทำให้ผิวบริเวณนั้นเกิดตุ่มน้ำพองใสเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 2-10 เม็ด ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคันหรือแสบร้อนรอบ ๆ ตุ่มใสนี้ ซึ่งต่อมาจะแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ หลายแผลติดกัน ตกเสก็ด และหายไปในที่สุด ซึ่งมักจะไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น

    เริมอวัยวะเพศ

    โรค เริมอวัยวะเพศนี้ มีอัตราการติดต่อสูง ซึ่งโดยมากมักจะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่ การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันได้ทีเดียว

    อาการของเริมอวัยวะเพศ

    มัก จะเป็นรุนแรงในช่วงการติดเชื้อครั้งแรกโดยเริ่มปรากฏขึ้นประมาณ 2-3 วัน ถึง 3 อาทิตย์ หลังจากได้รับเชื้อ คือ มีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคืองบริเวณที่จะเกิดตุ่มแผล และอาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก่อน เมื่อเวลาผ่านไปอีกประมาณ 10 วัน จะปรากฏมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นและมีอาการเจ็บปวดมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิงอาการของโรคจะเกิดขึ้นนาน 3-6 อาทิตย์ หลังจากนั้นไวรัสอาจจะยังอาศัยและซ่อนตัวอยู่ในร่างกายอีกในสภาวะพักตัว และทำให้เกิดเป็น ๆ หาย ๆ มากหรือน้อยแล้วแต่บุคคล เช่น เมื่อมีอารมณ์เครียด มีประจำเดือน หรือมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น


    ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเริมอวัยวะเพศ

    1. งดเพศสัมพันธ์ หรือสัมผัสโดยตรงกับแผลจนกระทั่งแผลหายดีแล้ว พยายามละเว้นการแตะต้องกับบริเวณแผล เพราะอาจจะแพร่ไปสู่บริเวณร่างกายได้
    2. สวมชั้นในชนิดฝ้าย ละเว้นการสวมเครื่องนุ่งห่มหรือกางเกงที่คับหรือยีนส์ สตรีควรงดสวมกางเกงชนิดทำจากไนล่อนหรือลินิน
    3. สตรีที่เป็นเริมอวัยวะเพศ โอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการตรวจ PAP SMEAR 1-2 ครั้งทุกเดือน
    4. ทุกครั้งที่เปลี่ยนแพทย์ ให้เล่าประวัติการเกิดโรคเริมของตนเองกับแพทย์ที่ท่านมารักษาใหม่
    5. สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจเกี่ยบกับเริมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด ถ้าสงสัยว่าจะเป็นโรคเริมควรรีบปรึกษาแพทย์


    วิธีการรักษา

    • สามารถ ใช้ยาระงับความเจ็บปวดได้ เช่น พาราเซตตามอล ไอบูโปรเฟน ทั้งนี้ ห้ามใช้ แอสไพริน ในเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ ที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้

    • การใช้ยาต้านไวรัสนี้ ปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
    1. Acyclovir
    2. Famciclovir
    3. Valaciclovir

    ซึ่ง เป็นยากลุ่มที่ฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ โดยควรใช้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ไวรัสจะเพิ่มจำนวน คือ ช่วงที่เริ่มรู้สึกคันๆ เจ็บๆ ที่บริเวณที่น่าจะเป็น หรือเคยเป็นมาก่อน (ช่วงที่ตุ่มน้ำใสแตกออกเป็นแผลคือ ช่วงที่ไวรัสหยุดเพิ่มจำนวน) และถ้านอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อาจหายเองได้ใน 2-3 วัน


    สมุนไพรแก้โรคเริม






    http://rermherb.blogspot.com/
    http://www.baanmaha.com/community

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ในพริกมีสารอะไรบ้าง

    ในพริกมีสารอะไรบ้าง

    ในพริกมีสารอะไรบ้าง

    กินเผ็ดบ้างก็ดีนะ....ในพริกมีสารอะไรบ้าง?

    พริกมีรสเผ็ดเพราะว่ามีสารชนิดหนึ่ง คือ
    แคปไซซิน (capsaicin) แคปไซซินเป็นสารธรรมชาติจำพวกอัลคาลอยด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทนทานต่อความร้อนและความเย็น
    ดังนั้นการต้มให้สุกหรือแช่แข็งก็ไม่มีผลทำให้ความเผ็ดสูญเสียไป แหล่งที่อยู่ของแคปไซซินในพริกก็คือ ภายในผล หรือภายในเม็ดพริก

    ส่วนใหญ่จะอยู่ในเยื่อแกนกลาง สีขาว หรือเรียกกันว่า รก (placenta) เปลือกและเมล็ดของพริกจะมีสารแคปไซซินน้อยมาก ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าเมล็ดของพริกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด ปริมาณของแคปไซซินที่มีอยู่ในพริก เรียกตามลำดับคือ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก และพริกหวาน

    คุณสมบัติที่ดีของแคปไซซินคือสามารถละลายได้ดีในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์คนไทยเราคุ้นเคยกับการดื่มน้ำหลังกินอาหารเผ็ดๆ แต่น้ำเพียงช่วยลดอาการแสบร้อนเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดความเผ็ดลงคุณค่าของพริกไม่ได้อยู่ที่ความเผ็ดอย่างเดียว สีของพริก ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดงของผล คือสารตั้งต้นของวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา ในพริกมีวิตามินซีปริมาณสูงมากกว่าปริมาณวิตามินซีในผลส้มแต่วิตามินซีสลายตัวเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นถ้าต้องการวิตามินซีจากพริก จะต้องกินพริกสด

    ประโยชน์ของพริก
    พริกได้รับการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้วมีข้อโต้แย้งกันมากเกี่ยวกับปริมาณการกินพริกมากๆ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรคกระเพาะหรือโรคระบบทางเดินอาหาร คำตอบที่ได้ก็คือ การกินพริกไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อสุขภาพจากการศึกษาเรื่องพริกทั้งอดีตและปัจจุบันพบว่า พริกมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

    1.บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น
    สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกช่วยลดน้ำมูก หรือสิ่งกีดขวางระบบการหายใจอันเนื่องจากเป็นไข้หวัด ไซนัสหรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาหารไอ

    2.ลดการอุดตันของหลอดเลือด
    การอุดตันของหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลว หรือการเสียชีวิตจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การกินพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากโรคทั้ง 2 ชนิด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดี ลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารจำพวกบีต้าแคโรทีนและวิตามินซีช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

    3.ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล
    แคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein)ขึ้นทำให้ปริมาณ ของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ

    4.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
    พริกเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง การกินอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหารวิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์ร้ายได้
    นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ทำการหยุดยั้งบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ สารบีต้าแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอดและในช่องปาก เพราะคนที่กินผักที่มีสารบีต้าแคโรทีนน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่กินผักที่มีบีต้าแคโรทีนสูงถึง 7 เท่าสารบีต้าแคโรทีนมีคุณสมบัติช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง

    5.บรรเทาอาการเจ็บปวด
    มนุษย์ใช้พริกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมานานแล้ว เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง
    ปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้งใช้ทาบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน และอาการผื่นแดงที่เกิดบนผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด โรคเกาต์หรือโรคข้อต่ออักเสบ

    6.อารมณ์แจ่มใส
    สารแคปไซซินช่วยเสริมสร้างอารมณ์สดชื่น เนื่องจากสารนี้มีการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสารเอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้อารมณ์แจ่มใส

    7.ป้องกันตัวประมาณ
    20 ปีที่แล้ว มีสเปรย์ป้องกันตัวยี่ห้อหนึ่ง มีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญสเปรย์ที่กล่าวถึงนี้ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3นาทีระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ได้ทำให้ความเผ็ดของพริกจางหายไป
    ในขณะเดียวกันมีการค้นพบสรรพคุณทางการแพทย์ของพริกที่สามารถนำมาปรุงเป็นตำรับยารักษาอาการต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายของคนเรา

    คราวนี้เพื่อนๆมารู้จักสรรพคุณของพริกต่างๆกัน


    พริกขี้หนู
    สกุล Capsicum frutescens
    Linn. วงศ์Solanaceae
    สรรพคุณ
    ใบ แก้อาการคันที่เกิดจากมดคันไฟ
    ผล ขับลม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเกาต์
    ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้พิษกัดต่อย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้ปวด แก้เจ็บคอ แก้อาหารไม่ย่อย แก้เบื่ออาหาร บำรุงธาตุเป็นยากระตุ้น ลดอาการไขข้ออักเสบ

    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

    ขับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนัง ฆ่าไส้เดือน ก่อการกลายพันธุ์ กระตุ้นการผลิตน้ำดี ลดโคเลสเตอรอล ยับยั้งอนุมูลอิสระ เป็นพิษต่อตา เป็นพิษต่อหนูขาว เสริมฤทธิ์บาร์บิทูเรต ยับยั้งการสร้างแอนติเจนของเชื้อ Epstein-Barr virus ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการหดเกร็งของลำไส้ บีบมดลูก กระตุ้นการอักเสบ ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหาร เพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
    ลดปริมาณไขมันในตับ ระงับปวด

    พริกชี้ฟ้า

    สกุล Capsicum annuum Linn. วงศ์ Acuminatum
    สรรพคุณ
    ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับลมในโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
    แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดตามบั้นเอว
    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
    กระตุ้นการขับเคลื่อนทางลำไส้

    พริกไทย
    สกุล Piper nigrum Linn. วงศ์ Piperaceae

    สรรพคุณ

    ราก บำรุงธาตุ แก้เสมหะ แก้ลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
    แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดท้อง ขับลม ช่วยเจริญอาหาร
    ใบ แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้นอนไม่หลับ
    เถา ขับลมในท้อง บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
    เมล็ด แก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร
    ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้อาหารไม่ย่อย
    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
    ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ขยายหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มการหลั่งน้ำดี ป้องกันตับจากสารพิษ แก้ปวด ลดการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแมลง

    พริกหยวก

    สกุล Capsicum annuum Linn. วงศ์ Solanaceae
    สรรพคุณ
    ผล ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
    ใช้ทาถูกนวดให้ร้อนแดง ช่วยย่อยอาหาร แก้ไขข้ออักเสบ
    แก้อาการปวดเมื่อย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับปัสสาวะ แก้กามโรค บำรุงเลือด
    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
    ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าพยาธิ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล ลดความดันเลือด เพิ่มการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร

    พริกหาง
    สกุล Piper cubeba Linn. วงศ์ Piperaceae
    สรรพคุณ
    ราก บำรุงธาตุ ถอน พิษฟกบวม แก้หนองใน แก้ปัสสาวะพิการ
    ผล ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อในระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
    ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาขับประจำเดือน
    แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก้บาดแผลสด
    เมล็ด ขับปัสสาวะ แก้โรคกาฬเลือด ขับลมในลำไส้ ทำให้หาว เรอ ถอนพิษฟกบวม แก้กามโรค บำรุงธาตุ
    ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงธาตุ
    ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
    ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าตัวอ่อนแมลง ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ลดความดันเลือด












    โดย ทางแพทย์สายพุทธ
    ขอขอบคุณข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
    1.คุณพรสวรรค์ ดิษยบุตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    2.รศ.ภญ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ)
    http://www.baanmaha.com/community

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •